กำลังแสดงผล 1 ถึง 7 จากทั้งหมด 7

หัวข้อ: เศษผมในแก้วน้ำ

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    สว่างใจ เศษผมในแก้วน้ำ

    “น้ำใสในแก้วฉ่ำเย็น น่าดื่มกินเพียงใด



    หากแม้นมีเพียงเส้นผมเส้นเดียว หย่อนลงไปปนอยู่ในน้ำในแก้วนั้น



    น้ำที่ว่าใส เย็นฉ่ำ น่าดื่มกิน ก็หมดซึ่งคุณค่าไป



    เป็นที่น่ารังเกียจ ไม่อาจดื่มกินลงไปได้



    น้ำใสนี้ กลายเป็นน้ำที่ไม่น่าดูไม่น่าดื่ม



    ก็ด้วยความน่ารังเกียจ ของสิ่งที่ปนเปื้อน ที่ใส่เข้าไป”



    “ความดี” ก็เป็นดั่งนี้ ทำความดีทำไว้มากเพียงใดก็เหมือนดังเติมน้ำลงไปใส่น้ำลงไปในแก้ว ความดีเปรียบดังน้ำที่ใสสะอาด ฉ่ำเย็น น่าดื่ม น่ากิน แต่เมื่อใดที่ผิดพลาดพลั้งเผลอนำความชั่ว แม้เพียงครั้งเดียว ด้วยความไม่รู้ด้วยความไม่ตั้งใจหรือด้วยเหตุใดๆ ก็เปรียบเหมือนดั่งหย่อนเส้นผมลงไปในน้ำในแก้วนั้น ความดีที่สร้างที่ประจักษ์อยู่ก็จะทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของความดีนั้นมัวหมองลงไปด้วยความไม่ดี ด้วยความชั่วที่ตนกระทำ

    นี้เป็นการมอง...นี่เป็นการมองของคนในโลกมนุษย์ทั้งหลาย ชอบที่จะมอง“ความเลว”ของผู้อื่น แทนที่จะมองซึ่ง “ความใสสะอาด” อันเป็นเหมือนดั่ง “ความดี”ของผู้นั้น “น้ำในแก้วใสสะอาดแต่ไม่มีใครมอง กลับมัวแต่มองเส้นผมเส้นเดียวที่อยู่ในแก้วนั้น”นี่เป็นการมอง...นี่เป็นการมองที่เป็นของคนทั้งหลาย เป็นการมองของปุถุชนผู้ยังมีกิเลสอยู่

    แต่หากเป็นผู้รู้ ผู้มีปัญญา ผู้เป็นบัณฑิต เขาจะไม่มองแบบนั้น เขาจะยังมองคุณค่าของแก้วน้ำที่มีน้ำใสอยู่แต่จะหยิบเส้นผมนั้นออกไป แก้วน้ำนั้นก็บรรจุน้ำใสเหมือนดั่งเดิม แม้อาจจะไม่น่าดื่มกินแต่ก็ยังดีที่ยังน่ามอง และสามารถให้ประโยชน์ กับสิ่งมีชีวิตอื่นนอกเหนือจากตน อาจเป็นต้นไม้ อาจเป็นสัตว์อื่น ที่จะยังคุณค่าให้กับสิ่งมีชีวิตนั้น น้ำก็ยังมีคุณค่าของน้ำ เส้นผมที่เป็นเศษเส้นผมก็ด้อยค่าตามลงไป

    “ผู้มีปัญญา” จึงต้อง รู้จักมอง รู้จักเลือกที่จะมอง รู้จักที่จะดำรงตน เพื่อให้รู้จักเห็น รู้จักคิด มองในส่วนที่ดี มองเห็นในส่วนที่ชอบ และหยิบสิ่งที่เป็นส่วนเสียของผู้อื่นให้ทิ้งไป การมองแบบนี้จะทำให้โลกสงบร่มเย็นเต็มไปด้วยความสุข ไม่เพ่งโทษ ไม่กล่าวร้าย ไม่นินทา ไม่ว่ากล่าวใดๆ อันนำมาซึ่งความทุกข์ให้กับตนและกับผู้อื่นจึงน่าสังเวชยิ่งกับผู้ที่ไม่รู้จักมอง “ผู้ที่ด้อยปัญญา” มัวแต่นินทา มัวแต่ว่ากล่าว มัวแต่กล่าวโทษ เพ่งโทษ ไม่หันกลับมามองตน

    เฉกเช่นเดียวกันหากแก้วน้ำนั้น...เป็นของตนเอง เส้นผมนั้น...เป็นของตนเอง กลับไม่น่ารังเกียจยังสามารถดื่มกิน ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มใจ




    หากเป็นของตนทั้ง “ดี” และ “ชั่ว” กลับภูมิใจ.. ไม่อาจบอกใคร



    แต่หากเป็นของผู้อื่นแล้วไซร้กลับน่ารังเกียจ



    ผู้มีปัญญา จึงต้องมองให้ลึกและมองให้เห็นว่า การมองตนกับการมองผู้อื่นสิ่งไหนสำคัญยิ่งกว่ากัน? จึงอยากบอกกล่าวและอยากเผยแพร่ให้บอกออกไปว่า



    “หากคิดจะมองสิ่งใด ความดี หรือ ความชั่ว



    ต้องกลับมองมาที่ตัวตนของตนเองเถิด”


    เพราะเมื่อใดก็ตามที่รู้จักมองและสามารถพบเห็นความผิดความบกพร่องของตนได้ ก็เหมือนดั่งการหยิบจับเอาเส้นผมนั้นทิ้งไปจากแก้วน้ำ น้ำนั้นก็มีคุณค่ากับตนเองได้ตนก็ยังได้ประโยชน์จากน้ำนั้น เปรียบเหมือนดั่งตนก็ได้ประโยชน์จากความดีที่ตนกระทำ เพราะได้หยิบจับความชั่วหรือหลีกลี้หนีไกลจากความชั่วช้าให้หมดไปนั่นเอง

    เมื่อจิตของผู้ใดคิดได้แบบนี้ก็จะสามารถดำรงตนด้วยความสุข และสามารถขัดเกลากิเลสออกจากจิตของตน ก็จะทำให้จิตเปรียบเหมือนดั่งน้ำใสอยู่ในแก้วใสเย็นฉ่ำชื่นใจตลอดเวลา ยังประโยชน์ให้กับตนและยังประโยชน์ให้กับผู้อื่น ถือเป็นคุณค่าที่สุดแล้ว

    “ความดี” อย่างไรก็คือ “ความดี”
    ความดีของผู้อื่น กับ ความดีของตนเปรียบเทียบกันไม่ได้ ความดีของผู้อื่นกับความดีของตน.เปรียบเทียบกันไม่ได้ ความดีของผู้ใดก็ให้เปรียบเทียบภายในกับความดีของผู้นั้น ไม่ต้องเพ่งโทษไม่ต้องกังวลว่าดีของตนจะดีกว่าใครหรือจะด้อยกว่าใคร ไม่มีน้อยใจในความดี เพราะความดีอยู่ที่จิตใจ ความดีอยู่ที่จิตใจ ความดีอยู่ที่จิตใจ เมื่อรู้จักมองเห็น เมื่อรู้แจ่มชัดในคุณค่าของความดีของตนเองแล้ว ก็จะรู้จักคุณค่าอย่างชัดแจ้งในความดีของผู้อื่น ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยความดีที่มีต่อกัน ความดีนี้แหละที่จะนำพาแต่ละคน แต่ละจิตให้ไปสู่สุคติภูมิ แม้ในโลกนี้ก็มีความสุขสงบเย็น แม้ในโลกหน้าก็ถึงซึ่งความสุขนั่นเอง

    หากสม่ำเสมอในการพิจารณา การดำรงชีวิตของแต่ละคนนั้นก็ไม่ต้องสนใจใยดีกับคำครหานินทาทั้งหลาย และเช่นเดียวกันก็ไม่หลงระเริงกับคำเยินยอของคนทั้งหลายที่รายล้อมอยู่ ก็ไม่ต้องทุกข์หนักกับการมอง การส่งจิตออกนอก จิตก็จะอยู่ภายในพิจารณาแต่จิตของตนว่าดีพร้อมมากน้อยเพียงใด จะสามารถดำรงชีวิตได้ ด้วยความสงบเย็น จะไม่ทุกข์ร้อน จะไม่ร้อนรน และจะทนได้กับทุกสภาวการณ์ นี่เป็น “นิสัยของผู้รู้ผู้มีปัญญา”


    ในการพิจารณานั้น จะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ให้ถ้วนถี่ว่า จิตของตนฝึกดีเพียงใด
    - เอื้อเฟื้อต่อตนก็เพื่อให้ความเอื้อเฟื้อของตนเองนั้นเผื่อแผ่จากตนออกไปสู่ผู้อื่นด้วยความเยือกเย็น
    - เมื่อรู้จักให้เกียรติตนก็รู้จักให้เกียรติผู้อื่น
    - เมื่อรู้จักีสั่งสอนตักเตือนตน ก็รู้จักสั่งสอนตักเตือนผู้อื่นได้
    - เมื่อให้ตนรู้จริงได้ก็ให้ผู้อื่นรู้จริงได้ เช่นเดียวกัน

    การพิจารณาเพื่อเข้าถึง กระแสแห่งพระนิพพาน
    กระแสแห่งพระนิพพานเริ่มต้นด้วย... การรู้จักคิดการรู้จักมองเข้าไปข้างในจิตของตนก็จะเห็นทั้งกุศลและอกุศลภายในจิตตน ก็จะเห็นทั้งกุศลและอกุศลของจิตผู้อื่น เมื่อรู้จักตนดีแล้วก็จะรู้จักตัวตนของผู้อื่นเช่นเดียวกัน เมื่อรู้จักทั้งตนและรู้จักทั่วถึงตนแล้วก็จะรู้จักปล่อยวางตนเอง เป็นผู้ไม่ยึดถือ เป็นผู้สงบเย็น ไม่ปล่อยให้ทนทุกข์อยู่อีกนาน จะเป็นผู้ก้าวข้ามพ้นจากบ่วงมารอันเป็นวัฏฏสงสารนี้ได้ พื้นฐานแห่งจิตนำมาซึ่งปัญญา ปัญญาที่มีค่ายิ่งเป็นปัญญาอันเกิดจากธรรม ธรรมนำสู่ปัญญา ปัญญาเข้าถึงธรรม ธรรมอันเป็นของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมใดที่ผุดขึ้นจากภายในธรรมนั้นจะอยู่กับผู้นั้นตราบจนวันตาย และธรรมนั้นจะนำพาผู้นั้นไปสู่จุดหมาย คือ “พระนิพพาน”













    ที่มา ธรรมะจากสวนพุทธ 1
    จาก พลังจิต คอม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ญา ทิวาราช; 20-01-2010 at 17:21. เหตุผล: ..................

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •