กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: รอบรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    รอบรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา



    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..... คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย



    อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ดังนี้เงินได้สุทธิ
    ช่วงเงินได้สุทธิ



    รายได้สุทธิหลังจากหักรายได้ลดหย่อนตามที่สรรพกรกำหนดแล้วเป็นดังนี้


    1 - 150,000

    ช่วงเงินรายได้แต่ละขึ้น 150,000 ได้รับยกเว้น



    150,001 - 500,000

    ช่วงเงินรายได้แต่ละขึ้น 350,000 เสียภาษี ร้อยละ 10



    500,001 - 1,000,000 เสียภาษี ร้อยละ 20

    ช่วงเงินรายได้แต่ละขึ้น 500,000 เสียภาษี ร้อยละ 20



    1,000,001 - 4,000,000 เสียภาษี ร้อยละ 30

    ช่วงเงินรายได้แต่ละขึ้น 3,000,000 เสียภาษี ร้อยละ 30



    4,000,001 บาทขึ้นไป เสียภาษี ร้อยละ 37


    หมายเหตุ :- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ( พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551 )




    - ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ?


    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
    ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้


    1) บุคคลธรรมดา

    2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

    3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

    4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง


    อายุการประเมินภาษี

    กรมสรรพกร มีสิทธิตรวจสอบได้





    รอบรู้เรื่องเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา





    ขอบคุณ
    http://www.sanpakornsarn.com









    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 08-11-2010 at 03:06.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    สิทธิยกเว้นและค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    สิทธิยกเว้นและค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา




    สิทธิยกเว้นและค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    บุคคลเมื่อมีเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) – (8) เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ ประมวลรัษฎากร จึงกำหนดให้หักค่าลดหย่อน (Allowances Exemptions) ได้อีก ค่าลดหย่อนแตกต่างกับค่าใช้จ่ายในข้อที่ว่า ค่าใช้จ่ายเป็น ต้นทุนหรือเงินที่จ่ายไปเพื่อให้ได้ซึ่งเงินได้ แต่ค่าลดหย่อนเป็นตัวบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ทำให้เสียภาษีน้อยลงหรืออาจจะไม่ต้องเสียภาษีเลยก็ได้ ยามใดที่รัฐบาลเห็นว่าประชาชนต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ รายได้ไม่พอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลก็อาจเสนอแก้กฎหมายให้เพิ่มค่าลดหย่อนมากขึ้น เมื่อค่าลดหย่อน เพิ่มขึ้น เงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีก็จะลด น้อยลง ภาษีที่จะต้องเสียก็ลดน้อยลงหรืออาจจะ ไม่ต้องเสียภาษีเลยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากค่าลดหย่อนจะเป็นตัวบรรเทาภาระภาษีแล้วยังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ชีวิตและครอบครัวของประชาชน กับเพื่อส่งเสริมความกตัญญู การศึกษา และการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันของสังคม


    สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นมีได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ออกใหม่ในปี 52 ที่ผ่านมานี้ มีการแก้ไขประมวลรัษฎากรในหลายประเด็น

    จึงขอนำเสนอเนื้อหาสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่มีลักษณะพิเศษไปจากการหักค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนตามปกติในการคำนวณภาษี พร้อมกับค่าลดหย่อนอื่นๆ ด้วย เพื่อท่านผู้อ่านจะได้นำไปใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2552 ที่จะต้องยื่นแบบภายในเดือนมีนาคม 2553 นี้ โดยมีกรอบการ นำเสนอคร่าวๆ ดังนี้
    [INDENT]

    เริ่มต้นด้วย

    1 การบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์

    2. การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ และคนทุพพลภาพ

    3. ยกเว้นภาษีให้ผู้สูงอายุ (65 ปีบริบูรณ์) สำหรับเงินได้ 190,000 บาท

    4. เบี้ยประกันชีวิต

    5. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย

    6. ค่าลดหย่อนบุพการี

    7. เบี้ยประกันสุขภาพบุพการี



    1.การบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์

    เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย สมควรกำหนดให้เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในปี พ.ศ. 2552 เป็นเงินได้พึงประเมิน ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา อันจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยออกเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552)ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178)




    1.1 สาระสำคัญ

    ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เป็นจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท



    1.2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
    1. ต้องจ่ายไปในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าว

    2. ผู้มีเงินได้ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์

    3. อสังหาริมทรัพย์นั้นต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน


    ตัวอย่างแนววินิจฉัยของกรมสรรพากร


    ตัวอย่างที่ 1 กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย2



    ประเด็นปัญหา

    นาย ต.ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร (พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) กับบริษัท ก. (บริษัทฯ) จำนวน 1 แปลง ในบริเวณหมู่บ้าน ข. ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าวเคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้อื่นมาก่อนแล้ว แต่บริษัทฯ แจ้งว่า จะดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ ดังนั้น กรณีเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน (พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) ให้แก่นาย ต. โดยตรงกับกรณีที่เจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่บริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ จึงจะจดทะเบียนโอนให้แก่นาย ต. อีกทอดหนึ่ง กรณีใดจะถือว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1(1) วรรคสอง ของประกาศอธิบดี เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหา- ริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือ ห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 และจะต้องใช้เอกสารใดประกอบการขอยกเว้นภาษีในกรณีดังกล่าว


    แนววินิจฉัย

    การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยตามข้อ 1(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178)ฯ ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 นั้น จะต้องเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุดที่ไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือห้องชุดมาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้น หากที่ดินจัดสรรและสิ่งปลูกสร้างที่นายต. ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับบริษัทฯ นั้น ยังไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ย่อมถือได้ว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่เคยผ่านการจดเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ตามข้อ 1(1) วรรคสอง ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ฉบับดังกล่าว และหนังสือรับรองที่จะใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์ว่า มีการจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องเป็นหนังสือรับรองที่ผู้ขายออกให้แก่ผู้ซื้อ และต้องมีข้อความอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ฉบับดังกล่าว


    ตัวอย่างที่ 2 กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ 3



    ประเด็นปัญหา

    ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีบ้านและมีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่แล้ว แต่มีความประสงค์จะซื้อคอนโดมิเนียมในโครงการเก่าที่ตั้งมากว่า 10 ปี แต่ยังขาย ไม่หมด หรือซื้อคอนโดมิเนียมจากการเคหะ- แห่งชาติและเป็นการซื้อแบบเงินผ่อนโดยนำเงินกู้จากธนาคารมาวางเป็นเงินดาวน์ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2552 จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่าย เป็นค่าซื้ออสังหา- ริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 หรือไม่


    แนววินิจฉัย

    ผู้มีเงินได้ฯ ต้องซื้อคอนโด มิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุด ในอาคารชุดนั้นให้แล้วเสร็จในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และเป็นคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดที่ไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดมาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วน โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดนั้น ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้ จะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ขายที่พิสูจน์ ได้ว่า มีการจ่ายเป็นค่าซื้อคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุด โดยมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศ และผู้มีเงินได้ฯ ต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดที่ซื้อเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในคอนโดมิเนียมที่เป็นห้องชุดในอาคารชุดดังกล่าว


    ตัวอย่างที่ 3 กรณีซื้อบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย4


    ประเด็นปัญหา

    นาย ก. ได้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากโครงการหมู่บ้านอยู่สบาย ราคา 3,045,000 บาท เป็นบ้านที่สร้างใหม่เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2552 โดยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และจำนองบ้านพร้อมที่ดินกับธนาคารกรุงไทย จำกัด ในวันเดียวกัน และได้ย้ายชื่อเข้ามาอยู่บ้านดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2552 จึงขอทราบว่า มีสิทธินำค่าซื้อบ้านมายกเว้นภาษีเงินได้ประจำปีภาษี 2552 จำนวน 300,000 บาท และนำดอกเบี้ยที่ชำระให้ธนาคารฯ มาหักลดหย่อน ได้หรือไม่


    แนววินิจฉัย

    1. กรณีนาย ก. ได้ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างใหม่ หากนาย ก. ได้จ่ายเงินค่าซื้อบ้านพร้อมที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ในปี 2552 ซึ่งบ้านหลังดังกล่าวต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปีนับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เท่ากับจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 178) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

    2. กรณีนาย ก. ได้นำบ้านพร้อมที่ดินไป จดทะเบียนจำนองกับธนาคารฯ นาย ก. มีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เท่ากับจำนวน ที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และได้รับสิทธิยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้อีกตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาทแต่ไม่เกิน 90,000 บาท ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 166) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551


    ตัวอย่างที่ 4 กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์

    [INDENT]
    ประเด็นปัญหา

    ได้ประมูลซื้ออสังหา-ริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ในราคา 800,000 บาท จากเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งได้ประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ ของจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดสรรที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างขายให้กับประชาชนทั่วไป แต่สิ่งปลูกสร้างยังสร้างไม่เสร็จ หากจะทำการก่อสร้างต่อ ต้องใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงจะแล้วเสร็จ และได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2552 ประเด็นจึงมีว่า การซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งยังสร้างไม่เสร็จดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนเงินสามแสนบาท หรือไม่


    แนววินิจฉัย

    กรณีได้ประมูลซื้ออสังหา-ริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินจากเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่สิ่งปลูกสร้างยังสร้างไม่เสร็จ หากจะทำการก่อสร้างต่อต้องใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงจะแล้วเสร็จ และยังไม่สามารถใช้เป็น ที่อยู่อาศัยได้ แต่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหา- ริมทรัพย์นั้นแล้ว เงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้รับยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในประมวล-รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แต่หากได้ทำการก่อสร้างให้แล้วเสร็จและพร้อมอยู่อาศัย ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินสามแสนบาท





    ขอบคุณ
    http://www.sanpakornsarn.com




    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 08-11-2010 at 03:14.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ลดหย่อนของผู้มีเงินได้ในความอุปการะเลี้ยงดูจำคนพิการและทุพพลภาพ

    ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

    เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๑๘๒)

    เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจำนวนคนพิการและ

    คนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อน

    ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย

    ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ

    ตามมาตรา ๔๗(๑)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร

    ………………………………………………………………….




    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๗(๑)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๗) พ.ศ.๒๕๕๒ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขรวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ ดังต่อไปนี้


    ข้อ ๑ การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา สามีหรือภริยา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ บิดามารดาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ หรือบุคคลอื่นที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คนละ ๖๐,๐๐๐ บาท โดยบุคคลดังกล่าวต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพ ตามมาตรา ๔๗(๑)(ฎ) แห่งประมวลรัษฎากร ให้หักลดหย่อนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข รวมทั้งจำนวนคนพิการและคนทุพพลภาพในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้


    (๑) ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อน สำหรับบุคคลซึ่งเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัว
    คนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือบุคคลซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้


    (ก) บิดามารดา ของผู้มีเงินได้

    (ข) บิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้

    (ค) สามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้

    (ง) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้

    (จ) บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้

    (ฉ) บุคคลอื่นนอกจาก (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวน ๑ คน


    กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม (ก) (ข) (ค) (ง) (จ) และ (ฉ) มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน


    (๒) บุคคลตาม (๑) ที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนต้องมีเงินได้พึงประเมิน
    ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท ในปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อน โดยไม่รวมถึงเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒ แห่งประมวลรัษฎากร

    กรณีบุคคลตาม (๑) เป็นทั้งคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และเป็นคนทุพพลภาพ ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ในฐานะคนพิการเพียงฐานะเดียว


    (๓) ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนคนพิการซึ่งเป็นบุคคลตาม (๑) ผู้มีเงินได้นั้นต้องเป็นผู้ดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลคนพิการในระหว่างปีภาษีให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้ดูแลคนพิการในบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการคนสุดท้ายในปีภาษีนั้นเป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน


    (๔) ผู้มีเงินได้ที่จะใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพซึ่งเป็นบุคคลตาม (๑) ผู้มีเงินได้นั้นจะต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้มาแสดงเพื่อขอใช้สิทธิหักลดหย่อน



    (ก) ใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าบุคคลตาม (๑) มีภาวะจำกัดหรือขาดความสามารถในการประกอบกิจวัตรหลักอันเป็นปกติเยี่ยงบุคคลทั่วไปอันเนื่องมาจากสาเหตุทางปัญหาสุขภาพหรือความเจ็บป่วยที่เป็นต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน หรือทุพพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๘๐ วัน และใบรับรองแพทย์ดังกล่าวต้องเป็นใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีที่ขอใช้สิทธิหักลดหย่อน


    กรณีผู้มีเงินได้หลายคนมีใบรับรองแพทย์จากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าว ตกลงกันเพื่อยินยอมให้ผู้มีเงินได้คนหนึ่งคนใดเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประกาศนี้ และทำความตกลงเป็นหนังสือโดยผู้มีเงินได้ทุกคนที่มีใบรับรองแพทย์ดังกล่าวเป็นผู้ลงนามในหนังสือตกลงยินยอมนั้น เพื่อให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนคนทุพพลภาพ ใช้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประกาศนี้


    (ข) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ ที่รับรองว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุคคลตาม (๑) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ โดยผู้รับรองต้องเป็นสามีภริยาหรือบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมหรือหลาน หรือบิดามารดา หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือปู่ย่าตายาย หรือลุงป้าน้าอา ของบุคคลตาม (๑) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพ หรือกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือบุคคลที่เป็นสมาชิกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่บุคคลตาม (๑) ซึ่งเป็นคนทุพพลภาพอยู่อาศัย โดยหนังสือรับรองดังกล่าว ผู้รับรองต้องรับรองของแต่ละปีภาษีที่ผู้มีเงินได้ได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนผู้รับรองตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และรับรองผู้มีเงินได้ ได้ไม่เกิน ๑ คน สำหรับการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพคนหนึ่งคนใด
    (๕) การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามประกาศนี้ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ทั้งนี้ การหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวรรคสองของ (๑) ด้วย


    (๖) กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพได้เฉพาะคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย


    ข้อ ๒ บุคคลตามข้อ ๑ (๑) ที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนตามประกาศนี้จะต้องเป็นบุคคลที่มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร


    ข้อ ๓ การหักลดหย่อนตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องแนบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.๐๔) ซึ่งมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้ และแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


    (๑) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของบุคคลที่ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิหักลดหย่อนพร้อมทั้งภาพถ่ายบัตรประจำตัวคนพิการดังกล่าวในส่วนที่แสดงว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้วย


    (๒) กรณีหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ ให้แนบหลักฐานดังต่อไปนี้


    (ก) ใบรับรองแพทย์ตามข้อ ๑(๔)(ก)

    (ข) หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (แบบ ล.ย.๐๔-๑) ตามข้อ ๑(๔)(ข) โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้


    ข้อ ๔ กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามหลักเกณฑ์ตามข้อ ๑ และคนพิการหรือคนทุพพลภาพดังกล่าวเป็นบุตรตามข้อ ๑ (๑) (ง) และ (จ) และผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้และอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว โดยภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร และใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ซึ่งสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ได้คนละ ๓๐,๐๐๐ บาท สำหรับบุตรซึ่งเป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพนั้น ตามมาตรา ๕๗ เบญจ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ต้องแนบหลักฐานดังต่อไปนี้ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


    (๑) ภาพถ่าย แบบ ล.ย. ๐๔ ของผู้มีเงินได้ตามข้อ ๓ ซึ่งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ได้ลงลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายนั้น

    (๒) ภาพถ่ายหลักฐานตามข้อ ๓ (๑) และ (๒) (ก) และ (ข) ของผู้มีเงินได้ ซึ่งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ได้ลงลายมือชื่อรับรองภาพถ่ายนั้น


    ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
    วินัย วิทวัสการเวช
    (นายวินัย วิทวัสการเวช)
    อธิบดีกรมสรรพากร


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    รายการเงินได้ที่ถึงได้รับการยกเว้น

    รายการเงินได้ที่ถึงได้รับการยกเว้น




    1เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ส่วนที่กิน 10,000 บาท)


    2เงินสะสม กบข


    3เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครู โรงเรียนเอกชน


    4ผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป 190,000 บาท


    5คู่สมรสต้องแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป และมีเงินได้รวมคำนวณ 190,000 บาท


    6เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน(กรณีนำมารวมคำนวณภาษี)






    ข้อมูลจาก แบบ ภงด.91








    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 08-11-2010 at 06:24.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง ?

    เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง ?



    1 ขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น กรณีเป็นผู้มีเงินได้ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

    เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้ เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก
    ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 30 แห่ง หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่ สาขา(อำเภอ)ทุกแห่ง
    สำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากร พื้นที่ (จังหวัด) และสำนักงานสรรพากร พื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี



    2 ยื่นแบบแสดงรายการ ปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ ของปีใด ก็ยื่นแบบฯ ภายใน วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่ เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได ้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้อง ยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายใน เดือนกันยายน ของทุกปี





    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  6. #6
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ตัวอย่าง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2534

    ตัวอย่าง คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2534


    (ถึงเก่าแต่ก็ใช้เป็นบรรทัดฐานได้นะคะ)



    นายอนันต์ วงศ์สุรเชษฐ์ กับพวก โจทก์
    กรมสรรพากร จำเลย



    ข้อเท็จจริง


    โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย กรมสรรพากรจำเลยได้ข้อมูลว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัททองไทการทอ จำกัด ได้ให้บริษัทดังกล่าว กู้ยืมเงินในปี พ.ศ. 2516 เป็นเงิน 5,800,000 บาท ปี พ.ศ.2517 เป็นเงิน 4,450,000 บาท และปี พ.ศ. 2518 เป็นเงิน 1,300,000 บาท นอกจากนี้โจทก์ทั้งสองยังได้ซื้อหุ้นในบริษัทต่างๆเพิ่มขึ้นในปีภาษีทั้งสามด้วย จากข้อมูลดังกล่าวจำเลยเชื่อว่า โจทก์ทั้งสองมีเงินได้มากกว่าที่สำแดงไว้ในแบบแสดงรายการเสียภาษีสำหรับ ปีภาษี 2516 ถึง 2518 เจ้าพนักงานประเมินจึงขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อประเมินภาษีโดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 49


    เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว ผลปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีเงินได้สุทธิหลังจากที่ได้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามประมวลรัษฎากรแล้ว ดังนี้ ปีภาษี 2516 เป็นเงิน 6,932,960.17 บาท ปีภาษี 2517 เป็นเงิน 6,908,092.72 บาท และปีภาษี 2518 เป็นเงิน 2,306,771.00 บาท เจ้าพนักงานประเมินได้คำนวณให้โจทก์ทั้งสองเสียภาษีและเงินเพิ่มตามกฎหมาย เมื่อได้ยอดภาษีที่ต้องชำระแล้วก็นำเงินค่าภาษีที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระไว้แล้วหักออก เหลือยอดเงินจำนวนเท่าใดได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันชำระ


    โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกอุทธรณ์


    โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง โดยฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลย
    ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท


    โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา



    คำวินิจฉัยศาลฎีกา


    ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว การที่จะประเมินภาษีโดยอาศัยประมวลรัษฎากร มาตรา 20 และมาตรา 49 กำหนดจำนวนเงินได้สุทธินั้น ข้อ เท็จจริงจะต้องเป็นที่ยุติก่อนว่าผู้ถูกประเมินมี เงินได้พึงประเมินเกินกว่าที่ได้ยื่นรายการไว้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเงินที่โจทก์ที่ 1 ให้บริษัททองไทการทอ จำกัด กู้ยืม และเงินที่โจทก์ที่ 1 นำไปซื้อหุ้นในบริษัทต่างๆ เพิ่มขึ้นในปีภาษี ทั้งสาม ส่วนหนึ่งได้มาจากเงินสดที่โจทก์ทั้งสองได้รับในพิธีมงคลสมรสและการรับมรดก อีกส่วนหนึ่งได้มาจากการนำทรัพย์สินจำพวกเครื่องเพชรเครื่องทองที่ได้รับในพิธีมงคลสมรสและการรับมรดกไปขาย กับอีกส่วนหนึ่งได้มาจากการยืมมาจากบุคคลอื่น เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่รายได้ที่เพิ่มขึ้นในปีที่ให้กู้ยืมหรือปีที่ซื้อหุ้นเพิ่มขึ้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวมิใช่รายได้ที่เพิ่มขึ้น โจทก์ที่ 1 ก็ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องระบุในแบบแสดงรายการเสียภาษี เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดว่าในการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี ผู้ยื่นแบบจะต้องระบุรายการว่าตนมีทรัพย์สินอยู่ทั้งหมดเท่าใด เพราะราษฎรจะมีทรัพย์สินอยู่มากน้อยเพียงใดนั้น ไม่มีบทกฎหมายกำหนดให้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ


    เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ มีรายได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนในแต่ละปีภาษีที่ เจ้าพนักงานประเมินอ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อาจประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มโดยอาศัยมาตรา 20 และมาตรา 49 ได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองฟังขึ้น


    พิพากษากลับให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองศาล โดยกำหนดค่าทนายความรวม 20,000 บาท



    ข้อคิดเห็น


    การที่บุคคลใดมีทรัพย์สินเงินทองมาก มีเงินใช้จ่ายอย่างคล่องมือ มีฐานะความเป็นอยู่ในขั้นเศรษฐี ย่อมสันนิษฐานได้ในเบื้องต้นว่าบุคคลนั้นมีรายได้มาก เมื่อบุคคลนั้นมีรายได้มาก บุคคลนั้นก็ควรยื่นรายการเสียภาษีมาก ถ้าบุคคลนั้นไม่ยื่นรายการเสียภาษีหรือยื่นรายการเสียภาษีต่ำกว่าที่ควรจะต้องยื่น ย่อมแสดงว่าบุคคลนั้นหนีภาษี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจที่จะตรวจสอบไต่สวนและประเมินเรียกเก็บภาษีจากบุคคลนั้นได้โดยอาศัยมาตรา 19 ถึง 26 แห่งประมวลรัษฎากร


    การตรวจสอบไต่สวนดังกล่าวจะเป็นการตรวจสอบไต่สวนหารายได้ที่บุคคลนั้นได้รับในรอบปีหรือภาษากฎหมายเรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน เหลือเป็นเงินได้สุทธิ แล้วจึงนำไปคำนวณกับอัตราภาษี เป็นเงินภาษีเท่าใด ก็ประเมินให้บุคคลนั้นเสียพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม


    หากบุคคลนั้นมีหลักฐานให้ตรวจสอบไต่สวนหายอดเงินได้พึงประเมินที่แท้จริงได้หรือเจ้าพนักงานประเมินสามารถหาหลักฐานเกี่ยวกับยอดเงินได้พึงประเมินที่บุคคลนั้นได้รับจริงในรอบปีได้ การตรวจสอบไต่สวนและการประเมินภาษีโดยวิธีดังกล่าวย่อมไม่มีปัญหา แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่มีหลักฐานให้ตรวจสอบไต่สวนหายอดเงินได้พึงประเมินที่แท้จริงได้ หรือเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจหาหลักฐานเกี่ยวกับยอดเงินได้พึงประเมินที่บุคคลนั้นได้รับจริงในรอบปีได้ การประเมินภาษีโดยอาศัยวิธีปกติดังกล่าวย่อมมีปัญหา ประมวลรัษฎากรจึงหาวิธีแก้ปัญหา โดยให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีโดยวิธีพิเศษ ทั้งนี้โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 49 ว่า "ในกรณีที่ผู้มี เงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้ หรือเจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเห็นว่า ผู้มีเงินได้ยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ให้เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีมีอำนาจที่จะกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้น ทั้งนี้ โดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้ หรือรายจ่ายของผู้มีเงินได้ หรือฐานะความเป็นอยู่ หรือพฤติการณ์ของผู้มีเงินได้ หรือสถิติเงินได้ของผู้มีเงินได้เอง หรือของผู้อื่นที่กระทำกิจการทำนองเดียวกับของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณา แล้วทำการประเมินแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ให้นำบทบัญญัติมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"


    การประเมินภาษีโดยวิธีพิเศษตาม มาตรา 49 ดังกล่าวทำได้หลายวิธี เช่น วิธีกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิจากค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิ (Networth Increase Method), วิธีพิจารณาจากเงินฝากในธนาคาร (Bank Deposit Method), วิธีพิจารณาจากค่าใช้จ่าย (Expenditures Method), วิธีพิจารณาจากร้อยละของรายรับทั้งหมด (Percentage of Gross Receipts), วิธีพิจารณาจากร้อยละของสินทรัพย์ (Percentage of Assets), วิธีพิจารณาจากวิถีชีวิตที่แสดงออก (Outward Signs of Lifestyle), วิธีการกำหนดข้อสันนิษฐานตามประเภทกิจการ แต่วิธีที่กรมสรรพากรนิยมใช้คือวิธีกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิจากค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิ (Networth Increase Method) จึงขอกล่าวเฉพาะวิธีนี้เท่านั้น ส่วนวิธีอื่นศึกษาได้จากวิทยานิพนธ์เรื่อง "ปัญหาภาษีเงินได้เชิงสันนิษฐานตามมาตรา 49 เปรียบเทียบกับประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา" ของนางสาวพรพรรษา สิงขรบุตร มหาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2550


    การประเมินภาษีโดยวิธีกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิจากค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิ (Networth Increase Method) นั้นทำได้โดยการหาผลต่างระหว่างมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ทรัพย์สินรวม – หนี้สินรวม) ณ วันต้นปีเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นปีเดียวกัน ผลเพิ่มที่หาได้หรืออีกนัยหนึ่งทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นให้นำมา บวกกับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้และทรัพย์สินที่สูญไปโดยไม่เกี่ยวกับการหารายได้แล้วหักด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี และค่าลดหย่อน ผลลัพธ์เป็นเงินได้สุทธิ นำไปคำนวณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผลลัพธ์เป็นภาษีที่ต้องเสีย


    ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้นั้น เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าใช้จ่ายครอบครัว ค่าบริจาคการกุศล ค่าการกีฬาและพักผ่อน ส่วนทรัพย์สินที่สูญไปโดยไม่เกี่ยวกับการหารายได้ เช่น รถยนต์สูญหายหรือถูกไฟไหม้



    ตัวอย่าง


    ในปี พ.ศ. 2547 นาย ก. มีค่าใช้จ่ายส่วนตัว 25,000,000 บาท บริจาคการกุศล 4,500,000 บาท ได้รับรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล 200,000 บาท และมีทรัพย์สิน ณ วันต้นปีและปลายปี ดังนี้

    ขอให้สังเกตว่าเงินได้สุทธิที่คำนวณได้ ดังกล่าวไม่มีการหักค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย เพราะถือว่าเป็นยอดรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายโดยตรงเกี่ยวกับรายได้แล้ว แต่มีคำพิพากษาฎีกาที่ 3802-3803/2534 (พันเอกณรงค์ กิตติขจร โจทก์ กรมสรรพากร จำเลย) วินิจฉัยให้ หักค่าใช้จ่ายตามกฎหมายได้ ซึ่งในปัจจุบัน หากเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) หรือ (2) กรมสรรพากรยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาตามมาตรา 42 ทวิ ได้ ต่างกับกรมสรรพากรของประเทศสหรัฐอเมริกาที่หักค่าใช้จ่ายให้ทุก ประเภท เว้นแต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องห้ามอย่างชัดแจ้ง (สัญชัย อ้นทองสุก,วิทยานิพนธ์เรื่อง "มาตราการในการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยวิธีกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิจากค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิเพื่อให้มีผลบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ : ศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา" ตามหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติ-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2550, หน้า 68, 89, 94 และ 156)


    เหตุที่ใช้ทรัพย์สินและค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้เป็นเกณฑ์ในการประเมินภาษี เพราะการที่บุคคลจะมีทรัพย์สินและมีการใช้จ่ายได้นั้น บุคคลนั้นจะต้องมีรายได้ เมื่อรายได้หรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" เป็นสิ่งที่ต้องเสียภาษีเงินได้ จึงเป็นการถูกต้อง ที่จะใช้ทรัพย์สินและรายจ่ายของบุคคลเป็นเกณฑ์ในการประเมินภาษีในเมื่อไม่อาจทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงของบุคคลนั้นได้ อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินบางอย่างได้รับยกเว้นภาษี เช่น ทรัพย์สินที่ได้มาจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี หรือจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา (ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(10)) จึงนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินภาษีไม่ได้ ในการคำนวณจึงต้องหักทรัพย์สินหรือ เงินได้พึงประเมินดังกล่าวออกก่อน ดังมี คำ พิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2520 (นางประเทียบ ชลทรัพย์ โจทก์ กรมสรรพากร กับพวก จำเลย) วินิจฉัยว่า "โจทก์ไม่ยื่นรายการภาษีเงินได้ แต่โจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นมาก เจ้าพนักงานจึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 โดยถือมูลค่าของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเป็นหลักและให้โจทก์ ชี้แจงตามมาตรา 23 และ 24 นั้นเป็นวิธีปฏิบัติ ที่ชอบแล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินจะไม่หักรายการที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 ออกก่อนไม่ได้"นอกจากนี้ทรัพย์สินใดหากได้มาโดยการนำทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษีไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนมาโดยมิได้มุ่งค้าหากำไรแล้ว ทรัพย์สินนั้นก็นำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินภาษีไม่ได้ เช่นเดียวกัน ดังมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2528 (นางประภา วิริยะประไพกิจ โจทก์ กรมสรรพากร กับพวก จำเลย) วินิจฉัยว่า "บิดามารดาโจทก์ประกอบอาชีพค้าขายมีโรงสีและฐานะร่ำรวยได้สะสมทรัพย์สินจำพวกเครื่องเพชรพลอยทองรูปพรรณและของมีค่าอื่นไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อมารดาตาย ทรัพย์สินจำพวก ดังกล่าวตกได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุตรสาวเพียงคนเดียว ระหว่างสงครามโลกโจทก์ค้าขายเหล็กกำไรมากจึงซื้อเพชรพลอยและของมีค่าเก็บสะสมไว้แทนเงินสด ซึ่งโจทก์ได้ใช้เป็นเครื่องประดับกายและประดับบ้านโดยมิได้มุ่งในทาง การค้าหรือหากำไร ต่อมา พ.ศ. 2515 ถึง 2517 โจทก์ต้องการนำเงินไปขยายกิจการจึงขายทรัพย์สินเครื่องใช้ส่วนตัวจำพวกเพชรพลอยและของ มีค่าไป ล้วนเป็นสังหาริมทรัพย์ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับว่าในการซื้อขายจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรอันได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นั้น ผู้มีเงินได้จะต้องจัดทำบัญชีหรือแจ้งรายการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้โจทก์ไม่มีเอกสารเป็นหลักฐาน แต่เมื่อเงินที่โจทก์นำมาซื้อที่ดินและลงทุนเข้าหุ้นในห้างหุ้นส่วนบริษัทระหว่าง พ.ศ. 2515 ถึง 2517 โจทก์ได้มาจากการขายทรัพย์สินเครื่องใช้ส่วนตัว อันได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิของโจทก์จากทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้น เพราะการได้ทรัพย์สินมาดังกล่าว แล้วประเมินภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระจึงไม่ถูกต้อง"



    ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2724/2534 ดังกล่าว เงินที่โจทก์ให้บริษัท ทองไทการทอ จำกัด กู้ยืมและเงินที่โจทก์นำไปซื้อหุ้นในบริษัทอื่นนั้นส่วนหนึ่งได้มาจากเงินสดที่โจทก์ได้รับในพิธีมงคลสมรสและการรับมรดก อีกส่วนหนึ่งได้มาจากการนำทรัพย์สินจำพวกเครื่องเพชรเครื่องทองที่โจทก์ได้รับในพิธีมงคลสมรสและการรับมรดกไปขาย และอีกส่วนหนึ่งได้มาจากการ หยิบยืมมาจากบุคคลอื่น เมื่อเงินสดและทรัพย์สินที่ได้รับในพิธีมงคลสมรสและการรับมรดก เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(10) และเงินที่โจทก์ได้รับจากการนำทรัพย์สินจำพวกเครื่องเพชรเครื่องทองที่ได้รับในพิธีมงคลสมรสและการรับมรดกไปขายได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42(9) และเงินที่หยิบยืมมาจากบุคคลอื่นมิใช่เงินได้พึงประเมินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเงินที่โจทก์ให้บริษัทดังกล่าวกู้ยืมและเงินที่โจทก์นำไปซื้อหุ้นมาใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินภาษี จึงไม่ชอบ


    คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวนอกจากจะสนับสนุนหลักที่ว่า "ทรัพย์สินที่จะนำมาใช้ในการประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องมิใช่ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษีและมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการนำทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษีไปขาย" แล้ว ยังให้หลักเพิ่มเติมว่า "ในการประเมินภาษีตามมาตรา 49 เจ้าพนักงานประเมินจะนำเงินสดที่ผู้ถูกประเมินหยิบยืมมาจากบุคคลอื่นมาประเมินภาษีไม่ได้" ซึ่งการให้หลักเช่นนี้นับว่าถูกต้อง เพราะเงินที่หยิบยืมมาจากบุคคลอื่นไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของ ผู้ถูกประเมิน เนื่องจากจะต้องชำระคืน มิใช่การได้มาโดยเสน่หา จึงไม่ต้องเสียภาษี


    อนึ่ง การประเมินภาษีโดยวิธีกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิจากค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิตามมาตรา 49 สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิทยานิพนธ์เรื่อง "มาตรการในการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยวิธีกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิจาก ค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิเพื่อให้มีผลใช้บังคับอย่างมีประสิทธิภาพ : ศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา" ของนายสัญชัย อ้นทองสุก มหาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย-ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2550










    ขอบคุณ
    sanpakornsarn.com






    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 08-11-2010 at 03:53.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •