เพลงสรรเสริญพระบารมี



เพลงสรรเสริญพระบารมี (The Royal Anthem) เป็นเพลงที่บรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ เดิมที เพลงสรรเสริญพระบารมี ถูกใช้เป็นเพลงประจำชาติ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2431 - 2475 โดยเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 ของไทย นิพนธ์คำร้องโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ส่วนทำนอง แต่งโดย ปโยตร์ สซูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย

ในปัจจุบัน คำร้องของเพลง ได้ถูกดัดแปลงไป ซึ่งในตอนแรก ท่อนสุดท้าย ใช้คำว่า ฉะนี้ แต่ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า ฉะนี้ ให้เป็น ไชโย



ประวัติ

เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมี อยู่ก่อนแล้ว จนในกระทั้ง สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่พระองค์ทรงเสด็จประพาสเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414
ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์นั้น เหล่าทหารอังกฤษใด้ใช้เพลง God Save the Queen ในการรับเสด็จ ต่อมา เมื่อทรงเสด็จไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวฮอลันดาที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ กระนั้น จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จ ขณะนั้น ครูดนตรีไทย ได้เสนอเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งมีการประพันธ์ไว้ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร แต่งคำร้องเพื่อประกอบทำนองเพลงเป็นโคลง และให้ ปโยตร์ สซูโรฟสกี้ แต่งทำนองเพลงตามเพลง God Save the Queen ซึ่งโปรดมาก ครั้นที่ฟังที่สิงคโปร์ และยังได้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นิพนธ์หลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน


ต่อมา เมื่อถึงสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้นำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเอาไว้ มีบทร้องขึ้นต้นว่าเช่นเดิม แต่เปลี่ยนคำว่า ฉะนี้ ให้เป็น ไชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้กันจนถึงปัจจุบัน



วาระและโอกาสในการใช้

1 พิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ/หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ต้องบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ


2 พิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ/หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมกับประมุขต่างประเทศ ให้บรรเลงเพลงชาติของประมุขต่างประเทศ ก่อน แล้วจึง บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี รับเสด็จฯ เมื่อประมุขต่างประเทศเสด็จฯ กลับ หรือไปตามลำพัง ให้บรรเลงเพลงชาติของประเทศนั้น เพื่อ ส่งเสด็จฯ

3 พิธีที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนิน ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ


4 พิธีที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนิน ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ


5 พิธีที่ผู้แทนพระองค์ ปฎิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในงานเสด็จพระราชดำเนินต่างๆ


ถ้าผู้แทนพระองค์ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระบรมราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์หรือพระวรชายา หรือพระวรราชาทินัดดามาตุ เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จถึงให้บรรเลงเพลง มหาชัย เมื่อถึงที่ประทับเรียบร้อยแล้ว ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นการเปิดงาน และปิดงาน เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จกลับให้บรรเลงเพลงมหาชัย


ถ้าผู้แทนพระองค์เป็นบุคคลอื่น เมื่อผู้แทนพระองค์มาถึง ไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ และเมื่อผู้แทนพระองค์นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการเปิดงานและปิดงาน เมื่อผู้แทนพระองค์กลับไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ



เพลงสรรเสริญพระบารมี
คำร้อง : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้อยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ปรับปรุงขึ้นใหม่
ทำนอง : เฮวุตเซน



ข้าวรพุทธ-เจ้า เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาลบุญญะดิเรก
เอก บ รม-ะ จักริน
พระสยามินทร์ พระย - ศะ ยิ่งยง
เย็นศิระเพราะพระ บ-ริบาล ผลพระคุณ ธ รักษา
ปวงประชาเป็นสุขศานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด
จง สฤษดิ์ดัง วังวรหฤทัย
ดุ-จ ถ-วาย ชัย ไชโย




ที่มา:
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา