อักษรล้านนา (ตั๋วเมือง)

อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง (คำเมือง: ตั๋วเมือง) พัฒนามาจากอักษรมอญ เช่นเดียวกับอักษรตัวธรรมของล้านช้างและอักษรพม่า อักษรล้านนาใช้ในอาณาจักรล้านนาเมื่อราว พ.ศ. 1802 จนกระทั่งถูกพม่ายึดครองใน พ.ศ. 2101 ปัจจุบันใช้ในงานทางศาสนา และพบได้ในวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย

อักษรที่ปรากฎในการบันทึกเอกสารนานาชนิดในเขตล้านนานี้อาจพบได้ว่ามีถึง 3 ระบบ คือ

1. อักษรธรรมล้านนา คือ อักษรที่นิยมใช้จารคัมภีร์พุทธศาสนาทั่วไป
2. อัษรไทนิเทศ หรือ อักษรขอมเมือง นิยมใช้บันทึกกวีนิพนธ์ประเภทโคลง และจารในใบลาน
3. อักษรฝักขาม คืออักษรที่ปรับปรุงจากอักษรสุโขทัย นิยมใช้ในงานประเภทศิลาจารึก แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงอักษรธรรมล้านนาเท่านั้น


อักษรธรรมล้านนานี้เป็นชื่อนิยมใช้เรียกในเชิงวิชาการ แต่ในหมู่ประชาชนทั่วไปอาจเรียกว่า ตัวเมือง หรือ อักขระเมือง จากการศึกษาของผู้รู้หลายท่านก็อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า อักษรชนิดนี้พัฒนาขึ้นจากอักษรมอญโบราณแห่งอาณาจักรหริภุญชัยในช่วงประมาณ พ.ศ. 1600 และก็อาจสืบโยงต้นเค้าไปถึงอักษรพราหมี ของพระเจ้าอโศกแห่งอินเดียได้ด้วย


อักษรธรรมล้านนานี้ นิยมใช้ในการจารคัมภีร์ใบลานซึ่งเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ซึ่งมีคัมภีร์ชื่อต่าง ๆ ประมาณ 2000 ชื่อ นอกจากนี้ยังนิยมใช้บันทึกความรู้ต่าง ๆ ในรูปของสมุดที่ทำขึ้นจากเปลือกของ ไม้สา เรียกว่า พับสา หรือ พับหนังสา ซึ่งเป็นเสมือนตำราหรือคู่มือของนักวิชาการพื้นบ้านล้านนาได้เป็นอย่างดี


ในการเสนอแนวการเรียนอักขระชนิดนี้ ใคร่จะเสนอว่าน่าจะเรียนการเขียนภาษาล้านนาหรือล้านนาไทยเสียก่อนพอให้เข้าใจ จากนั้นจึงจะเรียนการใช้อักษรนี้ในการบันทึกภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลีสันสกฤต เป็นต้น

พยัญชนะ
อักษรธรรมล้านนาจัดตามกลุ่มพยัญชนะวรรคตามพยัญชนะภาษาบาลี แบ่งออกเป็น 5 วรรค วรรคละ 5 ตัว เรียกว่า“พยัญชนะวรรค”หรือ“พยัญชนะในวรรค”อีก 8 ตัวไม่จัดอยู่ในวรรคเรียกว่า“พยัญชนะอวรรค”หรือ“พยัญชนะนอกวรรค”หรือ“พยัญชนะเศษวรรค”ส่วนการอ่านออกเสียงเรียกพยัญชนะทั้งหมดนั้น จะเรียกว่า“ตั๋ว”เช่น ตั๋ว กะ/ก/ ตั๋ว ขะ/ข/ ตั๋ว จะ/จ/ เป็นต้น


พยัญชนะปกติ
อักษรไทยที่ปรากฏเป็นการถ่ายอักษรเท่านั้น เสียงจริงของอักษรแสดงไว้ในสัทอักษรสากล ซึ่งอาจจะออกเสียงต่างไปจากอักษรไทย

สระจม
เป็นสระที่ไม่สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเอง ต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อนจึงจะสามารถออกเสียงได้
สระลอย
เป็นสระที่มาจากภาษาบาลี สามารถออกเสียงได้ด้วยตัวเองไม่จำเป็นต้องนำไปผสมกับพยัญชนะก่อน แต่บางครั้งก็มีการนำไปผสมกับพยัญชนะหรือสระแท้ เช่น คำว่า "เอา" สามารถเขียนได้โดยเขียนสระจากภาษาบาลี 'อู' ตามด้วย สระแท้ 'า' คือ
วรรณยุกต์
เนื่องจากล้านนาได้นำเอาระบบการเขียนของมอญมาใช้โดยแทบจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเลยและภาษามอญเองก็เป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ดังนั้นในอดีตจึงไม่ปรากฏว่ามีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาล้านนาเลย (เคยมีการถกเถียงกันเรื่องชื่อของล้านนาว่าจริงๆแล้วชื่อ "ล้านนา" หรือ "ลานนา" กันแน่ แต่ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า "ล้านนา") จนกระทั่งในระยะหลังเมื่ออิทธิพลของสยามแผ่เข้าไปในล้านนาจึงปรากฏการใช้รูปวรรณยุกต์ในภาษาล้านนา

ภาษาล้านนาสามารถผันได้ 6 เสียง (จริงๆแล้วมีทั้งหมด 7 หรือ 8 เสียง แต่ในแต่ละท้องถิ่นจะใช้เพียง 6 เสียงเท่านั้น) การผันจะใช้การจับคู่กันระหว่างอักษรสูงกับอักษรต่ำจึงทำให้ต้องใช้วรรณยุกต์เพียง 2 รูปเท่านั้น คือ เอก กับ โท (เทียบภาษาไทยกลาง)
การที่มีรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูปนี้ทำให้เกิดปัญหากับอักษรกลาง คือ ไม่สามารถแทนเสียงได้ครบทั้ง 6 เสียง ดังนั้นจึงอาจอนุโลมให้แต่ละรูปศัพท์แทนการออกเสียงได้ 2 เสียง

วิถีชีวิตของชาวล้านนาหรือคนเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ภาษาล้านนามีความสำคัญในบทบาทที่หลากหลาย คุณค่าทางภาษา ที่สะท้อนวิถีชีวิตในอดีต เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะเป็นบทเรียนสำหรับการดำเนินชีวิตของอนุชนคนรุ่นหลังในปัจจุบัน ดังนั้น เราควรที่จะเรียนรู้ และสืบสานสิ่งที่ดีงามโดยปรับนำมาใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้มรดกวัฒนธรรมทางภาษาคงอยู่ตราบนานเท่านาน






ที่มา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี