วัฒนธรรมราษฎร์
วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเป็นไปที่ก่อให้เกิดแบบแผนปฏิบัติหรือวัฒนธรรมไทยนั้น เริ่มต้นที่หน่วยเล็กที่สุดในสังคม คือ ปัจเจกบุคคลไปถึงกลุ่มคน
และสิ่งแวดล้อมรอบตัวคน วัฒนธรรมจะพัฒนาได้ก็ต้องอาศัยการพัฒนาส่วนประกอบย่อยเหล่านี้อย่างเหมาะสม ถูกกาละเทศะ และถูกทิศทาง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อพัฒนาภาพชีวิตของราษฎรไทย
โดยเฉพาะชาวชนบทในทุกด้านดังกล่าวคือ
- พัฒนาคน
- พัฒนาสังคม
- พัฒนาสิ่งแวดล้อม

วัฒนธรรมไทย - วัฒนธรรมราษฎร์

โครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากพระราชกรณียกิจ พระราชประสงค์และพระราชดำริของพระองค์ท่าน เพื่อพัฒนางานวัฒนธรรม มีมากมายสุดที่จะนำมากล่าว และขอนำเสนอพอสังเขป ดังนี้
พัฒนาคน
1. บทบาทต่อเด็กและเยาวชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเมตตาอย่างยิ่งต่อเด็กและเยาวชน โดยถือเอากิจการเพื่อเด็กและเยาวชนเป็นหัวใจของชาติในอนาคต การประทานปริญญาบัตร โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ซึ่งเคยพระราชปรารภว่า การเรียนรู้ในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่างๆ โดยกว้างขวางเป็นเหตุให้เกิดความรู้ ความคิด และความฉลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับชีวิต ช่วยให้บุคคลสามารถสร้างประโยชน์สุข สร้างความเจริญมั่นคงให้แก่ตนเองทั้งแก่สังคม และบ้านเมืองอันเป็นที่พึงอาศัยได้ ทุกคนจึงควรมีโอกาสที่จะศึกษาหาความรู้ได้ตามความประสงค์และกำลังความสามารถโดยทั่วกัน

2. บทบาทต่อสตรี แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชจะทรงมีพระราชกรณียกิจที่ต้องเร่งปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาประเทศอยู่มากมาย จนแทบไม่น่าเชื่อว่าปัจเจกบุคคลผู้หนึ่ง จะสามารถแบกรับภาระอันหนักอึ้งเช่นนั้นไว้ได้ กระนั้นพระองค์ก็ยังไม่ละเลยบทบาทเกี่ยวกับการพัฒนาสตรี แม้จะมิได้ทรงดำเนินการเอง ก็ทรงมอบหมายให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระราชธิดาทรงรับพระราชภาระแทน ดังเช่นโครงการศิลปาชีพ โครงการอาชีพเสริมแก่กลุ่มสตรี ซึ่งมีพระราชดำรัสในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถตอนหนึ่งว่า "…จุดเริ่มต้นของศิลปาชีพนั้นมาจากพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยมีพระราชประสงค์สนับสนุนให้ราษฎรในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากการคมนาคม มีการพัฒนาตนเองและพึ่งตนเองได้ในหมู่บ้าน เรียกกันว่า หมู่บ้านเบ็ดเสร็จ ทรงช่วยเหลือทางด้านแหล่งน้ำ ด้านการเกษตรให้ชาวบ้านสามารถปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ มีธนาคารข้าวในหมู่บ้าน ข้าพเจ้าก็ไปช่วยด้านครอบครัว ให้ชาวบ้านทอผ้า เย็บผ้า เป็นช่างไม้ ช่างแกะสลัก ผลิตเครื่องปั้นดินเผาและทำงานฝีมือต่างๆ …"

3. บทบาทต่อชาวเขา ชาวไทยภูเขาเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดนไทยกว่าร้อยปีมาแล้ว มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และเนื่องจากตั้งหลักแหล่งอยู่บนยอดดอยที่สลับซับซ้อน จึงห่างไกลจากอารยธรรมของสังคมเมือง และยากที่รัฐจะเข้าไปควบคุมวิถีความเป็นอย
ู่ให้บรรทัดฐานเดียวกับชาวไทยพื้นราบทั่วไป ปัญหาชาวเขาเผาป่าทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น จึงเป็นปัญหาเรื้อรังให้ทางการคอยสอดส่องปราบปรามอยู่ในสมัยหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นถึงวิธีการแก้ปัญหานี้อย่างลึกซึ้ง ทั้งยังมีเมตตาต่อชาวไทยภูเขาไม่ต่างจากที่มีเมตตาต่อทวยราษฎร์ทั่วไป ดังเช่นพระราชดำรัสถึงประโยชน์ของโครงการหลวง "…เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้กับเขาเอง ที่มีโครงการนี้จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึง ให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร สามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัวมีความเจริญได้ อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วยเพราะเป็นปัญหาใหญ่ ก็คือ ปัญหายาเสพติด คือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการสูบฝิ่น และการค้าฝิ่นได้ผลดี อันนี้เป็นผลอย่างหนึ่งผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขาเป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูกโดยวิธีที่จะทำให้บ้านเมืองของเราไปสู่หายนะได้ โดยที่ถางป่าแล้วปลูกโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยเขาก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดี ความอยู่ดีกินดีและความปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้ชาวเขาอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง สามารถที่จะอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้ รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก…."

[วัฒนธรรมไทย - วัฒนธรรมราษฎร์

พัฒนาสังคม
- ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรมาแต่โบราณ การพัฒนาการเกษตรจึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่ได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาทุกฉบับ แต่กระนั้นเกษตรกรไทยก็ยังต้องเผชิญปัญหาต่างๆ เช่น ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ จากการเร่งรัดพัฒนาชนบทในช่วงที่ผ่านมา ปัญหาสภาพดินฟ้าอากาศ และปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง เมื่อประชากรที่อยู่ในภาคเกษตรอันเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในภาวะทุกข์ร้อน ก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อความเจริญงอกงามของงานวัฒนธรรมที่ขึ้นกับวิถีความเป็นอยู่ของคนในสังคม ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทุ่มเทพระวรกายในด้านการเกษตรมากเป็นพิเศษ ทรงเข้าใจข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขในการพัฒนาประเทศ
พระราชดำริที่เกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ทรงเน้นในเรื่องการค้นคว้า ทดลอง และวิจัย โดยทรงอุทิศพื้นที่บางส่วนในอาณาเขตพระราชฐานสวนจิตรลดาเป็นสถานีค้นคว้าวิจัยทางเกษตรทุกด้านมาตั้งแต่ปี 2505 ทรงศึกษากลไกการตลาด ศึกษาหลักการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง เน้นการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติมากที่สุดพึ่งพิงธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และทรงโปรดที่จะแนะนำเกษตรกรให้ใช้เทคโนโลยีท้องถิ่นที่ไม่ซับซ้อน ทั้งหมดนี้ก็เพราะพระราชประสงค์ให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้ในสภาพ "พออยู่-พอกิน" เช่น โครงการธนาคารข้าว โครงการสวนสาธิต โครงการโรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา โครงการตั้งฟาร์มโคนม การเกษตรทฤษฎีใหม่

- ด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียนจำนวนมาก เช่น จัดตั้งสถานศึกษา ส่งเสริมวิชาชีพครู ทุนพระราชทาน

- ด้านการศาสนา ในสังคมพุทธเกษตรแบบไทยนั้น ศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการกำหนดบทบาทของงานวัฒนธรรม เพราะศาสนาเป็นวิถีประพฤติกรอบศีลธรรมจรรยา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของคนทั้งชาติ "ในประวัติศาสตร์ไทย พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ รัฐธรรมนูญทุกฉบับก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้ง ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 7 บัญญัติว่า "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนาเฉกเช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในอดีตดังนี้
1. ด้านศาสนธรรม
2. ด้านศาสนบุคคล
3. ด้านศาสนวัตถุ
4. ด้านศาสนพิธี


ขอบคุณที่มา
โค้ด PHP:
http://technology.thai.net/culture/onccthai2.html