วช. ประกาศรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2553




สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประกาศรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2553

(วช.) ประกาศให้รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นฝีมือคนไทย ประจำปี 2553 รวม 35 รางวัลจาก 162 ผลงาน


นางกาญจนา ปานข่อยงาม รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดการแถลงข่าว ว่า จากการที่ วช. ประกาศเชิญชวนให้นักประดิษฐ์คิดค้นเสนอผลงานประดิษฐ์คิดค้น ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ เพื่อขอรับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2553 ของสภาวิจัยแห่งชาตินั้น



คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ได้มีมติให้รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2553 รวม 35 รางวัล 35 ผลงาน ดังนี้



ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2 ผลงานรางวัลประกาศเกียรติคุณ รางวัลละ 100,000 บาท ได้แก่

“ดินเผานาโน” ของ ดร.สุพิณ แสงสุข และคณะ (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์) และ

“สื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือและวิธีการวัดสำหรับฟิสิกส์วัสดุโดยใช้แลปวิวและวิชวลเบสิก” ของ รศ.ธงชัย พันธ์เมธาฤทธิ์ และคณะ (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)


ด้านวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรม 8 ผลงาน ได้แก่ รางวัลระดับดีเด่น (250,000 บาท) - “อิเล็กทรอนิกส์บัลลาสต์แบบประหยัดพลังงานและราคาถูก” ของ นายวาณิชย์ สุรพงษ์วนิชกุล และคณะ (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย),




รางวัลระดับดี (150,000 บาท) -

“เครื่องปลูกอ้อยลักษณะแบบจานผานหมุน” ของ นายสมพร ขุริลัง

“เครื่องตรวจสอบความผิดปกติของนม ยู.เอช.ที. หรือผลิตภัณฑ์อาหารเหลวบรรจุกล่องโดยไม่ทำลาย แบบรายงานผลโดยตรง” ของ ผศ.สุวรรณ หอมหวล และคณะ

“ระบบควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้า (Do-Energy)” ของ นายปิยสวัสดิ์ นวรัตน์ ณ อยุธยา และคณะ



รางวัลประกาศเกียรติคุณ (100,000 บาท) ได้แก่

“เครื่องผสมสารน้ำสำหรับการปศุสัตว์ สมาร์ทโดสเซอร์” ของผศ.ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์

"เครื่องมือสนับสนุนการให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงผ่านข่ายสายทองแดง” ของ นายวรวิทย์ รอดอนันต์ และคณะ

“เครื่องทำแห้งเยือกแข็งสุญญากาศ” ของ นายยุทธนา ตันติวิวัฒน์ และคณะ

“หัวจับลวดเชื่อมไฟฟ้าใต้น้ำ” ของ นาวาเอกยุทธ ปัทมะรางกูล และคณะ




ด้านเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตร 7 ผลงาน ได้รับรางวัลระดับดี (150,000 บาท) ได้แก่

"กล้วยไม้หวายต้านทานไวรัส” ของ รศ.พัฒนา ศรีฟ้า ฮุนเนอร์ และ นางสาวอัญชลี ชูพร้อม

“นวัตกรรมการผลิตยางแห้งคุณภาพสูงแบบต่อเนื่องและรวดเร็วด้วยเครื่องอัดรีดสกรูคู่” ของ ดร.วรรณี ฉินศิริกุล และคณะ

“อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3” ของนายวีระพล พลรักดี และคณะ

“การตรวจหาเชื้อก่อโรคในอาหารหลายๆ ชนิดพร้อมกันด้วยแอนติบอดีอะเรย์” ของ ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ และคณะ



รางวัลประกาศเกียรติคุณ (100,000 บาท) ได้แก่

“รถตัดอ้อยสดชนิดตัดเป็นลำ” ของ นายอรรถสิทธิ์ บุญธรรม และคณะ

“ตำรับอาหารไก่สมุนไพรขมิ้นชันสำหรับป้องกันการติดเชื้อไวรัสในไก่” ของรศ.ดร.งามผ่อง คงคาทิพย์ และคณะ

“อุปกรณ์สำหรับตรวจหาเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์” ของ รศ.ดร.ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย และคณะ


ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 8 ผลงาน รางวัลระดับดี (150,000 บาท)


ได้แก่ “เครื่องสลายนิ่วอัจฉริยะแบบเศรษฐกิจพอเพียง” ของ นายเจษฎา เปาโสภา และคณะ


รางวัลประกาศเกียรติคุณ (100,000 บาท) ได้แก่

“เซฟสมายล์ เวอร์ชั่น 2.0 : โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์กะโหลกศีรษะและจำลองใบหน้าหลังการจัดฟัน” ของ ดร.จันทร์จิรา สินทนะโยธิน และคณะ

“เครื่องสลายนิ่วของอวัยวะระบบไตแบบภายนอกร่างกาย (ESWL) ของประเทศไทย รุ่น MTB-1 และ MTB-2” ของ นพ.ฐิติ เดชารักษ์ และคณะ

“แผ่นข้าวเจ้ากรดห้ามเลือด” ของ รศ.นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ และคณะ

“ระบบสกรูยึดกระดูกสันหลังส่วน Pedicle ชนิดแท่ง rod” ของรศ.นพ.ประกิต เทียนบุญ

“อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดโรคพังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือสงขลานครินทร์” ของผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ และคณะ

“การพัฒนาชุดทดสอบเพื่อใช้ตรวจหาปฏิกิริยาแอนติบอดีต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง” ของ รศ.ดร.อมรรัตน์ ร่มพฤกษ์ และคณะ

“เตียงลดอุณหภูมิ” ในผู้ป่วยโรคลมร้อน ของพันเอก นพ.รังสิกร เกตุพงศ์ และ จ่าสิบเอกวันชัย กลิ่นพินิจ




ด้านวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช 4 ผลงาน รางวัลระดับดี (150,000 บาท)

ได้แก่ “แผ่นพลาสติกใสทนแรงกระแทกสูง” ของ ดร.กิติกร จามรดุสิต และคณะ


รางวัลประกาศเกียรติคุณ (100,000 บาท) ได้แก่

“การตรวจหาสารอาร์ทิมิซินินโดยวิธีวิเคราะห์แบบเดนซิโตเมทริคทีแอลซี เพื่อการคัดกรองชิงเฮาที่มีอาร์ทิมิซินินสูง” ของ รศ.วันชัย ดีเอกนามกูล และ ดร.ธงชัย กูบโคกกรวด

“อุปกรณ์สกัดสารแบบไมโครที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ของ รศ.เพริศพิชญ์ คณาธารณา และคณะ รศ.ปณต ถาวรังกูร

“แผ่นเซลลูโลสชีวภาพจากอาหารเลี้ยงเชื้อปลายข้าว” ของ นายสมบัติ รุ่งศิลป์




ด้านสังคมศาสตร์ รางวัลประกาศเกียรติคุณ (100,000 บาท) ได้แก่

“Mild Scrub รักษ์ผิว รักษ์โลก” ของ นายองอาจ ชาญประสิทธิ์ชัย และคณะ

“ขาตั้งกล้องสำหรับการถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์ “สวนดอก 2” ของนายสมชาติ สุชัยธนาวนิช

“คู่มือการสอนศิลปะขั้นพื้นฐาน 9 กิจกรรม ประกอบอักษรเบลล์พร้อมดีวีดีอธิบายขั้นตอนกิจกรรมศิลปะโดยมีผู้บรรยายภาษามือประกอบ” ของ นางสาวสุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ และคณะ


“ชุดทดลองฟิสิกส์กลศาสตร์” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนา จันทร์ประเสริฐ “การพัฒนา Games-Based e-Learning ต้นแบบสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง “เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้” ของ พันเอกสิทธิโชค มุกเตียร์


ขอบคุณ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ