ย้อนหลังไปราวไปราวปี พ.ศ. 2404 บรรพบุรุษของชาวเมี่ยนบ้านสันเจริญ อพยพมาจากมณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ลงตอนใต้ผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เคลื่อนย้ายตามสันดอยวาว ผ่านดอยภูแว ตำบลและ อำเภอและ ผ่านตำบลริม อำเภอท่าวังผา ผ่านขุนน้ำกาด ขุนสะละ ขุนน้ำพัน บางกลุ่มก็ตั้งรากฐานอยู่ขุนสะละและขุนน้ำพัน แต่บางกลุ่มได้เดินทางมาตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณที่เรียกกันว่า "สวนยาหลวง" ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะราว พ.ศ. 2430

ดูวิถึชนเผ่า++ชาวเมี่ยน++บ้านสันเจริญ น่าน++

สวนยาหลวง เป็นดอยสูงสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นเหมาะกับการปลูกฝิ่น ชาวบ้านในอดีตจึงรวมตัวกันปลูกฝิ่น ทำให้ฝิ่นกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของหมู่บ้าน และถือเป็นพื้นที่ที่ปลูกฝิ่นกว้างใหญ่มากที่สุดในประเทศไทย ประมาณ 20,000 ไร่

ดูวิถึชนเผ่า++ชาวเมี่ยน++บ้านสันเจริญ น่าน++

ในปี พ.ศ. 2532 ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดน่าน เริ่มมีการส่งเสริมการปลูกกาแฟทดแทนฝิ่น ในพื้นที่ที่เรียกว่า "สวนยาหลวง" และได้ทำการพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรชาวเขาที่มีความสนใจเดินทางไปศึกษาดูงาน ที่หน่วยพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาบ้านห้วยแก้ว จังหวัดเชียงราย โดยมีเกษตรกรชาวเขาบ้านสันเจริญ หมู่ที่ 6 ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จำนวน 22 ครอบครัว ซึ่งชาวบ้านดังกล่าวมีความสนใจและต้องการปลูกกาแฟ ได้มีการรวบรวมเงินซื้อเมล็ดพันธุ์กาแฟมาทำการเพาะปลูก และจัดทำแผนงานโครงการส่งเสริมปลูกกาแฟ โดยจัดให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดน่าน เป็นผู้ให้คำแนะนำวิธีการเพาะปลูก และสมาชิกโครงการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จนสามารถเปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่น และพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเป็นพื้นที่ปลูกกาแฟบนภูเขาอันกว้างใหญ่ไพศาล นับร้อยพันไร่ในปัจจุบัน

ดูวิถึชนเผ่า++ชาวเมี่ยน++บ้านสันเจริญ น่าน++

ดูวิถึชนเผ่า++ชาวเมี่ยน++บ้านสันเจริญ น่าน++
สำหรับวิถีชีวิตของชาวเมี่ยนสันเจริญกับป่าไม้ ชาวเมียนคุ้นเคยกับป่าเป็นอย่างดี เรียนรู้ที่จะอยู่และ ใช้ประโยชน์ จากป่าโดยไม่ทำลาย เรียนรู้ว่าต้นไม้ต้นไหนตัดได้ ต้นไหนไม่ควรตัด เพื่อรักษาสมดุลทางธรรมชาติ ทั้งการทำไร่แบบ หมุนเวียนเพื่อให้ป่าคืนความอุดมสมบูรณ์ จะเห็นว่าชาวบ้านสันเจริญมีการพึ่งพิงใช้ประโยชน์และมีองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้อง กับทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ สะท้อนให้เห็นความแนบแน่นในวิถีคนอยู่กับป่าที่สอดคล้องกับแนวเศรษฐกิจ พอเพียงมาอย่างยาวนาน และยั่งยืน แต่กระนั้นจากการที่ชาวบ้านสันเจริญถึงร้อยละ 98 ทำสวนกาแฟ ซึ่งสร้างรายได้ที่ เพิ่มขึ้นให้แก่ชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านเริ่มสัมผัสกับวิถีชีวิตบางอย่างที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป อันเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 25 จังหวัดน่าน มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาสังคมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2550 เลือกบ้านสันเจริญเป็นหมู่บ้านนำร่อง ซึ่งผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือของแกนนำชุมชนและ ชาวบ้านสันเจริญทุกคนที่มุ่งมั่นอยากเห็นชุมชนมีความอยู่เย็นเป็นสุข จึงเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ทั้งในเวที ชุมชนและการศึกษาดูงานเป็นอย่างยิ่ง จนสามารถสร้างกระแสความตื่นตัวด้านเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างน้อยในระดับ ความรู้ความคิด

ที่มา: เอกสารการจัดการความรู้ "บันทึกจากหุบเขา" ศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ 25 จ.น่าน

ดูวิถึชนเผ่า++ชาวเมี่ยน++บ้านสันเจริญ น่าน++