กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: วันนี้ในอดีต 2 มีนาคม

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    วันนี้ในอดีต 2 มีนาคม

    วันนี้ในอดีต 2 มีนาคม



    พ.ศ.2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ เนื่องจากไม่ทรงเห็นชอบกับรัฐบาลคณะปฏิวัติ 24 มิถุนายน ในการออกกฎหมายบางเรื่อง พระองค์จึงทรงสละราชสมบัติ เพื่อมิให้เกิดความยุ่งยาก รัฐบาลจึงพร้อมใจกันอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา



    พ.ศ.2477 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ขึ้นครองราชย์



    พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบัน เสด็จประพาสประเทศพม่าเป็นเวลา 4 วัน



    **********************


    รัชการที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ



    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม



    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม


    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม


    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม




    26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 “ สมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ ธเนศรมหาราชาธิราชจุฬาลงกรณ์นาถวโรรส อุดมยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภัยปักษนาวิล อสัมภินชาติพิสุทธิ์ มหามงกุฎราชพงศบริพัตรบรมขัตติยมหารัชฎาภิษิยจนพรรโษทัย มงคลสมัยสมากร สถาวรรัจฉริยคุณ อดุลยราชกุมาร” พระนามทั่วไปเรียกว่า “ทูล กระหม่อมเอียดน้อย" พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ทรงพระนามเต็มๆว่า...


    "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานท สนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทร ประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฎราธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว"


    เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมั่นคงอยู่ในทศพิธราชธรรม ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายด้านหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินพระราชหฤทัยครั้งสำคัญ เมื่อครั้งเกิดปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ทรงยินยอมที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็ยังมีกองทัพที่จงรักภักดีพอที่จะต่อสู้กับ คณะราษฎร ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้


    ...ต่อมาเมื่อรัฐบาลในขณะนั้นได้ใช้การปกครอง ไม่ตรงกับหลักการของพระองค์และทรงเห็นว่าพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่บรรลุผลสำเร็จ จึงทรงกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอย่างยิ่งด้วยการสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ในขณะที่พระองค์ประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ เพื่อเปิดหนทางให้ผู้ที่เหมาะสมกว่าเข้ามาทำหน้าที่แทนพระองค์สืบไป ดังพระราชหัตถเลขาว่า


    "…ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใด ใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม ให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร…"


    พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา


    ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์


    ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะราษฎร จะมีพระราชประสงค์และจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนแปลงจุดเดียวกัน นั่นคือการให้อำนาจปกครองตนเองแก่ประชาชน แต่ทว่าพระองค์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับหลักการและการกระทำของคณะราษฎร โดยเฉพาะอย่าง การออกพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ และการตั้งศาลพิเศษเพื่อตัดสินคดีเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฉบับนี้ การที่รัฐบาลได้แต่งตั้งพรรคพวกเข้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง และจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประกอบกับพระสุขภาพพลานามัยเกี่ยวกับสายพระเนตรของพระองค์เสื่อมลงอยู่เสมอ ดังนั้นในปีพุทธศักราช 2476 พระองค์จึงเสด็จต่างประเทศเพื่อทำการผ่าตัดพระเนตรอีกครั้ง และในวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 ขณะประทับอยู่ ณ บ้านโนล แครนลี ประเทศอังกฤษ พระองค์จึงตกลงพระทัยสละราชสมบัติ และทรงมี พระราชหัตถเลขา ถึงรัฐบาลของคณะราษฎร์ว่า


    “ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคลและหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจ และยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้


    ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”



    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม


    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม





    พระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล



    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม



    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม



    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม




    ภาพพระเจ้าอยู่หัวรัชการปัจจุบันเสด็จเยือนพม่า พ.ศ. 2503

    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม




    วันนี้ในอดีต  2 มีนาคม





    ขอบคุณ

    http://library.stou.ac.th/King7/reSaraSumbut.asp
    http://www.kpi.ac.th
    วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
    http://10000.narrative.biz
    http://www.travel-is.com


    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 02-03-2010 at 11:00.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ทิดยุทธ ลูกพญาแล
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    117
    ได้ความรู้มากเลยครับ ขอบคุณข้อมูลดีๆที่มีมาฝากกันครับ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •