กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: เหตุผลที่ฝุ่นละอองลอยอยู่ในอากาศได้

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เหตุผลที่ฝุ่นละอองลอยอยู่ในอากาศได้

    เหตุผลที่ฝุ่นละอองลอยอยู่ในอากาศได้




    คงเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่า
    ทำไมฝุ่นละอองจึงลอยอยู่ในอากาศได้ ?




    ก็เลยตั้งข้อสันนิษฐาน

    อาจเป็นเพราะแรงต้านอากาศ ฝุ่นละอองที่กำลังตกลงมา มันเคลื่อนที่ผ่านอากาศ จึงเกิดแรงต้านอากาศขึ้น ทำให้มันตกลงมาช้าๆ ทำให้มันดูเหมือนลอยได้

    และถ้าถูกถามต่อว่าแล้วฝุ่นละอองที่เราเห็นมันลอยขึ้นจากพื้นจริงๆล่ะ มันลอยขึ้นเพราะอะไร?

    คำตอบที่น่าจะได้รับก็คือ เป็นเพราะมันอยู่ในมวลอากาศที่กำลังลอยตัวขึ้น และอัตราการลอยตัวของมวลอากาศมันเร็วกว่าอัตราการตกของฝุ่น บวกลบกันแล้วฝุ่นยังคงมีอัตราการเคลื่อนที่ขึ้นข้างบนเมื่อเทียบกับพื้น


    และถ้ามีคนถามต่ออีกว่าฝุ่นเกิดจากอะไร ก็คงพบคำตอบที่ว่าฝุ่นเกิดจากวัตถุหลายชนิด

    บางครั้งก็เป็นฝุ่นหิน ความหนาแน่นย่อมเท่ากับหินก้อนธรรมดา(ความเล็กใหญ่ไม่ได้ทำให้ความหนาแน่นแตกต่างกัน)

    ก็เกิดคำถามขึ้นอีกว่า ทำไมหินธรรมดามันตกลงด้วยอัตราเร็ว และลมเบาๆพัดหินธรรมดาให้ลอยขึ้นไม่ได้ แต่ทำไมเมื่อกลายเป็นฝุ่น หินจึงตกช้าๆ และลมเบาๆก็พัดฝุ่นหินให้ลอยขึ้นได้ ทั้งๆที่ความหนาแน่นเท่ากัน?

    จะให้คำตอบอย่างไรดีล่ะถึงจะถูกใจดี ก็น่าจะมีคำตอบที่ว่าอัตราส่วนระหว่างแรงต้านอากาศต่อน้ำหนัก วัตถุขนาดเล็กแรงต้านอากาศเทียบต่อน้ำหนักจะมากกว่าวัตถุขนาดใหญ่ ยิ่งเล็กมากเท่าใดแรงต้านอากาศต่อน้ำหนักยิ่งมาก จนกระทั่งแรงลมเบาๆก็ยกมันให้ลอยขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะเหตุผลที่เราสามารถจะอธิบายได้ดังนี้สมมุติวัตถุให้มีรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ จะได้คำนวณค่าให้เห็นได้ง่ายๆ สมมุติให้เป็นรูปลูกบาศก์


    วัตถุชนิดเดียวกัน ก้อนเล็กมีขนาดด้านละ 1 ก้อนใหญ่
    จะมีขนาดด้านละ 100 หน่วย
    น้ำหนักวัตถุแปรผันตามปริมาตร
    พิจารณา

    วัตถุก้อนเล็กมีปริมาตร 1 ยกกำลัง 3 = 1
    วัตถุก้อนใหญ่มีปริมาตร 100 ยกกำลัง 3 = 1,000,000

    ดังนั้นหินก้อนใหญ่มีน้ำหนักเป็น 1,000,000 เท่า ของหินก้อนเล็ก

    ทีนี้เราก็หันมาดูแรงต้านอากาศบ้าง

    แรงต้านอากาศแปรผันตามพื้นที่ผิวของวัตถุ คือ
    วัตถุพื้นที่ผิวมากจะเกิดแรงต้านอากาศมาก

    วัตถุก้อนเล็กมีพื้นที่ผิว (1 ยกกำลัง 2) x 6 = 6
    วัตถุก้อนใหญ่มีพื้นที่ผิว (100 ยกกำลัง 2) x 6 = 60,000
    (ที่ต้องคูณ6เพราะลูกบาศก์มี 6ด้าน)

    เมื่อนำทั้ง 2 ก้อนมาหาอัตราส่วนแรงต้านอากาศต่อน้ำหนักจะได้ดังนี้

    ก้อนเล็กจะได้ 6 หาร 1 = 6
    ก้อนใหญ่จะได้ 60,000 หาร 1,000,000 = 0.06

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า
    วัตถุก้อนเล็กจะมีอัตราส่วนแรงต้านอากาศต่อน้ำหนักสูงกว่าวัตถุก้อนใหญ่
    ฝุ่นหินเล็กกว่าหินก้อนธรรมดาเป็นพันเป็นหมื่นเท่า
    อัตราส่วนนี้จะยิ่งสูงกว่าในตัวอย่างมากนัก

    ฝุ่นละอองจึงลอยได้ด้วยเหตุผลดังกล่าวเบื้องต้น
    (ผิดถูกอย่างไรก็หาข้อมาหักล้างเองนะคะ)


    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 10-03-2010 at 15:07.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวโก้ เกียรติณรงค์
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    กระทู้
    102
    โอย อั่นผมกะปึกเกินกว่าตัวเลขสิแหล่นเข้าหัวครับครูฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆไคแหน่แต่อ่านกลอนของครูหล่ะครับหม่วนดีอิอิ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •