เวลาคับขัน สับสน และจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกตอบปัญหา ที่ไม่รู้จะตอบอย่างไรดี จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการเดาข้อสอบ ฉะนั้นคุณที่เคยผ่านการสอบมาแล้ว คงไม่มีใครที่จะหลีกเลี่ยงการเดาข้อสอบในบางข้อที่คุณไม่สามารถทำได้ หนทางในการตัดสินใจช่างมืดมนเสียเหลือเกินจะทำอย่างไรดี

ในสถานการณ์เช่นนี้ การเดาข้อสอบย่อมเกิดขึ้นได้เสมอและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นเมื่อเทียบกับการส่งกระดาษเปล่าคับ

หลายคนอาจเห็นว่าไม่ควรทำ แต่เมื่อเวลานั้นมาถึง ทุกคนต้องผ่านขั้นตอนนี้มาแล้วกันทั้งนั้น

เพราะฉะนั้นในการเดาข้อสอบแต่ละครั้งจึงต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ เป็นองค์ประกอบเข้าช่วย ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ การสังเกตและการพิจารณาคำถามนั้นๆ โดยเลือกตามหลักของความน่าจะเป็นไปที่จะหาความเสี่ยงน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้

เทคนิคในการเดาข้อสอบที่นิยมใช้เป็นหลักในเป็นการช่อยตัดสินใจมีดังต่อไปนี้

1.จงระลึกอยู่เสมอว่า คำตอบแรกที่นึกขึ้นได้ มักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องก่อนเสมอข้อนี้มักเป็นพื้นฐานในการเดาข้อสอบอยู่เสมอ

2.สังเกตเปรียบเทียบจากคำตอบและคำถามจากข้ออื่นๆเข้าประกอบตัดสินใจ บางครั้งมีคำตอบในข้อที่ต้องเดา อาจจะซ่อนอยู่ข้ออื่นๆก็ได้

3.คำตอบที่ไม่มีในข้อนี้ อาจจะมีในข้ออื่นๆ แม้บางครั้งคำตอบในข้ออื่นนั้นอาจจะไม่ใช่ข้อที่ถูกต้องที่สุดในข้อนั้น แต่ก็ต้องเปรียบเทียบดูก่อนที่จะตอบลงไป

4.การสลับข้อสอบแบบเรียง เช่น เมื่อข้ออื่นๆ มีคำตอบข้อ ก.ข.ค.ง.แล้วเริ่มต่อด้วย ข้อ ก.ข.ค. ใหม่ คำตอบต่อไปก็น่าจะเป็นไปได้ว่า เป็นข้อ ง. ข้อนี้ไม่ควรจะจริงจังจนเกินไป แต่ในความเป็นจริงก็มีบางวิชาที่อาจารย์บางท่านที่ชอบออกข้อสอบแล้วมีคำตอบต่างๆ ที่ทดสอบทักษะการสังเกตของนักเรียน หรือบางท่านที่ต้องการความสวยงามและง่ายในการตรวจ โดยเฉพาะข้อสอบแบบปรนัย (โดยปกติอาจารย์จะเจาะกระดาษคำตอบเป็นช่องๆ แล้วเอาทาบตรงกระดาษของนักเรียนแล้วตรวจตามนั้น แต่บางครั้งก็ตรวจโดยการใช้คอมพิวเตอร์)เพราะฉะนั้นนอกขากการเดาข้อสอบแล้ว ก็ต้องเดา(ทาย) ใจอาจารย์เจ้าของวิชาด้วย

5.การตอบแบบบรรยาย แบบน้ำท่วมทุ่ง (กรณีข้อสอบเป็นอัตนัย) ก็ช่อยแก้สถานการณ์ที่วิกฤตได้ หากไม่ตอบอาจจะได้ศูนย์คะแนน แต่บางครั้งอาจารย์จะให้คะแนนสงสารหรือค่าน้ำหมึก แม้ได้คะแนนน้อยแต่ก็มีผลไปเพิ่มคะแนนรวมในข้ออื่นๆได้

6.ให้นึกถึงการบรรยายที่ผ่านมาว่ามีอะไรลางๆ ที่พอจะเป็นเค้าในการเดาข้อสอบ มีข้อไหนที่ทำให้สะกิดใจเมื่อเห็นว่าควรจะเห็นไปได้ให้รีบเขียนลงในกระดาษคำถามทันที ก่อนที่คำตอบนั้นจะเลือนหายไปเสียก่อน

7.เมื่อเริ่มทำข้อสอบให้ทำตำหนิไว้ก่อน (ในข้อจำเป็นต้องอาศัยการเดา) เมื่อทำเสร็จหมดแล้วให้กลับมาทบทวนอีกครั้ง เพราะบางครั้งข้อสอบที่ทำไปอาจมีคำตอบในข้อนี้ อย่ารีบร้อนส่ง ควรอ่านให้ดีจนเวลาใกล้หมดจึงส่งกระดาษคำตอบนั้น

8.สรุปข้อสอบ ในทุกข้อที่มีแล้วหาคำตอบว่าเกี่ยวโยงหรือมีความคล้ายคลึงพอที่จะเป็นคำตอบได้หรือไม่ หรือนั่งรอในห้องสอบจนวินาทีสุดท้าย ไม่ควรเร่งรีบออกจากห้องสอบแม้รู้ตัวว่าทำไม่ได้ก็ตาม ก็ควรนึกตรึกตรองข้อสอบที่ใกล้เคียงที่สุด แล้วค่อยกาข้อสอบลงไปในวินาทีสุดท้ายของชั่วโมงสอบ ดีกว่าเอาปากกาหมุน ๆ จ่มพึมพำ ๆ แล้วกะจิ้มจึ๊ก ๆ อยู่เด้ล่ะ ฮ่า ๆ ๆ ๆ


-------------------------

ที่มา tlc.com