คาบเวลาข้างขึ้นข้างแรมมากกว่าคาบโคจรรอบโลกของดวงจันทร์




ความจริงแล้วการหมุนรอบตัวเองของดวงจันทร์
กับดวงจันทร์โคจรรอบโลกมีคาบเท่ากันพอดี


กล่าวคือ


อันที่จริงดวงจันทร์ไม่ได้โคจรรอบโลกฝ่ายเดียว
แต่โลกก็โคจรรอบดวงจันทร์ด้วย
นั่นคือทั้งโลกและดวงจันทร์
ต่างก็โคจรรอบจุดศูนย์ถ่วงระหว่างกัน


ดังนั้นจึงพบว่า
ดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองโดยมีจุดหมุนอยู่ที่จุดศูนย์ถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์


แล้วก็มีตัวเลขเกี่ยวกับการหมุนรอบตัวเองและการโคจรรอบโลกเป็น 2 ค่า คือ


27.3วัน และ 29.5วัน



ซึ่งอาจทำให้สับสนว่าตัวเลขใดกันแน่ที่ถูกต้อง

คาบการเกิดข้างขึ้นข้างแรมจะกินเวลา 29.5 น


ข้างขึ้นข้างแรมที่เราเห็นแท้ที่จริงแล้วคือการเห็นกลางวันกลางคืนของดวงจันทร์นั่นเอง
ก็หมายความว่าดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 29.5 วัน
(การหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดกลางวันกลางคืน)


แต่ทีนี้ในการนับระยะเวลาของคาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
กลับนับได้ 27.3 วันซึ่งดูเหมือนว่ามันไม่ใช่รอบเดียวกัน

แต่แท้ที่จริงแล้วทั้ง 29.5 วัน และ 27.3 วัน

เป็นการนับรอบวงจรเดียวกัน
เพียงแต่ว่าที่นับเวลาได้ต่างกันนั้น

เป็นเพราะตำแหน่งอ้างอิงในการนับการครบรอบนั้นต่างกัน
ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

ในการนับได้ 27.3 วัน

เป็นการนับเวลาเมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบ 360 องศาพอดี
แต่ในการนับเวลาใน 1 รอบ การเกิดข้างขึ้นข้างแรมนั้น
เราจะนับ 1 รอบ ก็ต่อเมื่อ ดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ซึ่งในแต่ละรอบที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์ต้องโคจรรอบโลกเป็นมุมประมาณ 390 องศา

(โคจรรอบโลกเกิน 1 รอบ ไปอีกประมาณ30องศา)



เนื่องจากแต่ละรอบที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ
ตำแหน่งของโลกบนวงโคจรรอบดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไปประมาณ 30 องศา
มีผลทำให้ตำแหน่งที่ดวงจันทร์จะโคจรเข้าไปอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
เคลื่อนไปจากตำแหน่งที่ดวงจันทร์โคจรครบ 360 องศาไปอีกประมาณ30องศา
รวมเป็นประมาณ 390 องศา

เราจึงนับคาบเวลาการเกิดข้างขึ้นข้างแรมได้มากกว่าคาบการโคจรรอบโลก