กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: การเป็นพุทธสาวกที่ถูกต้อง

Threaded View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ ญา ทิวาราช
    วันที่สมัคร
    Oct 2008
    กระทู้
    825
    บล็อก
    17

    สว่างใจ การเป็นพุทธสาวกที่ถูกต้อง

    การเป็นพุทธสาวกที่ถูกต้อง



    หากอยากจะเป็นพุทธสาวกที่ถูกต้อง จะต้องปฏิบัติดังนี้



    1. ศรัทธา: เชื่อมั่นว่าพุทธะ(จิต)เป็นจริง เชื่อใน(จิต)ตนเองไม่ใช่ของปลอม
    เชื่อผู้อื่นเช่นเดียวกัน เชื่อมั่นในสามสิ่งนี้ รวมเข้าเป็นหลักธรรม

    2. เข้าใจ: เข้าใจในพุทธธรรม ไม่ทำตนเป็นผู้ไร้การศึกษา เมื่อเข้าใจในพระ
    ธรรมแล้วก็ฝึกจิต หากเข้าใจพระธรรมแต่ไม่เข้าใจจิต ก็เหมือนนำเอาของล้ำค่า
    เข้าไปในคุกตารางด้วย แม้ตนจะมีของล้ำค่า แต่แท้จริงแล้วเป็นนักโทษคนหนึ่ง
    แล้วจะสำเร็จเป็นอรหันต์ได้อย่างไร? ละโลภ โกรธ หลง สามตัว มารร้าย ก็จะ
    ทำให้จิตและกายสะอาด ก็จะเข้าสู่พุทธภูมิ
    (หมายถึง เมื่อเข้าใจในจิตแล้ว จะไม่กล้ากระทำบาปกรรมใดๆทั้งปวง ดังนั้น ยืน
    นอน เดิน นั่ง ก็ไม่ห่างจากจิต คุมจิตตนให้ได้ตลอดเวลา)

    3. การปฏิบัติ: เมื่อศรัทธา เข้าใจแล้วต้องนำไปปฏิบัติ การบำเพ็ญธรรมที่สำคัญ
    อยู่ที่การปฏิบัติ จึงเรียกว่า “บำเพ็ญภาวนา” ผู้ปฏิบัติจะสะอาดสูงส่ง “ต้องปฏิบัติ
    ได้ทั้งลำพังโดดเดี่ยว หรือ บำเพ็ญธรรมเป็นกลุ่ม ” แต่เพื่อประโยชน์ตนไปสู่
    ประโยชน์ท่าน (ทั้งหลาย) โดยอาศัยหลักเมตตาธรรม ก็ไม่ทำแต่ลำพังตนเอง
    *หมายถึง ช่วยกันส่งเสริม ชี้แนะ ตักเตือน บำเพ็ญธรรมร่วมกันทั้งในบ้านนอกบ้าน

    4. การพิสูจน์: พุทธธรรมมีสี่หมื่นแปดพันพระธรรมขันธ์

    เรียกว่า พระไตรปิฎก ซึ่งบรรจุ สอนและเรื่องราวของพระพุทธศาสนาไว้โดยละเอียด แบ่งออกเป็น ๓ ปิฎกหรือ ๓ หมวดด้วยกันคือ

    ๑ พระวินัยปิฎก

    ๒ พระสุตตันตปิฎก

    ๓ พระอภิธรรมปิฎก

    พระวินัยปิฎก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พระวินัย เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับศีลหรือสิกขาบท (บทบัญญัติ) ตลอดจนพิธีกรรมและธรรมเนียมของสงฆ์ อันเป็นกฎระเบียบที่พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์จะต้องปฏิบัติ รวมถึงพุทธประวัติบางตอนและประวัติการทำสังคายนา มีทั้งสิ้น ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า อา ปา มะ จุ ปะ (หัวใจพระวินัย) ได้แก่

    ๑ คัมภีร์อาทิกรรม ว่าด้วยอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส อนิยต และต้นบัญญัติ ในสิกขาบท ต่าง ๆ

    ๒ คัมภีร์ปาจิตตีย์ ว่าด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นอาบัติอย่างเบา
    ๓ คัมภีร์มหาวรรค ว่าด้วยพุทธประวัติตอนปฐมโพธิกาล และพิธีกรรมทางพระวินัย

    ๔ คัมภีร์จุลวรรค ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัยต่อจากมหาวรรค ตลอดจนความเป็นมาของภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา

    ๕ คัมภีร์ปริวารวรรค ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย
    ผู้ที่มีจิตศรัทธาเจริญ
    ตาม ย่อมสำเร็จผล แต่ละคนย่อมมีการทดสอบให้เห็นชัด ไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรือ
    ฆราวาส ต่างปฏิบัติจริงก็จะพิสูจน์ได้จริง "ศาสน์ใดก็ถือตามศาสน์นั้น"ต่างคนต่าง
    ปฏิบัติต่างพิสูจน์ ไม่ควรแยกเขาแยกเรา อย่างโกรธแค้น นินทากล่าวร้ายต่อกัน
    อันจะเป็นการเผาผลาญคุณธรรมตนเองดับปัญญาตนเอง

    เมื่อศรัทธา จึงเริ่มศึกษาเพื่อความเข้าใจ แล้วจึงปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น หลักสำคัญ
    อยู่ที่ "จิต" คิดดี ทำดี พูดดี ไม่ให้ห่างจากจิต ขัดเกลา จนไม่เห็น ดี ชั่ว หรือ
    เกิดการแบ่งแยกภายในใจตน


    "สี่หมื่นแปดพันพระธรรมขันธ์ เกิดจากจิต จะต้องดับลงด้วยจิต กลับสู่

    ความเป็นหนึ่งในจิตพุทธะ"





    พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

    เป็นผู้รู้จริงจากการปฏิบัติเห็นจิต เห็นใจของตนเอง เข้าใจตนเองและผู้อืนนั้นแล
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ญา ทิวาราช; 04-04-2010 at 18:15. เหตุผล: แก้ไขคำ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •