เซมัง (เงาะป่า)




เซมัง เป็นภาษามลายู แปลว่า ค่าง หรือลิงดำแขนยาวชนิดหนึ่ง เซมังที่อยู่ในเมืองไทยเรียก ชื่อหนึ่งว่าตองกา หรือ โม อาศัยอยู่ตามเขาในจังหวัดปัตตานี และนครศรีธรรมราช ชาวเซมังใน ประเทศไทยและ มลายูแบ่งออกเป็น 5 สาขา คือ
1. ตองงา หรือโม พบในจังหวัดตรัง พัทลุง เรียกตัวเองว่า “ก็อย”

2. เคนตา (Kenta) และเคนตาบิน (Kenta Began) อยู่ในรัฐเกดาร์ รัฐเประ

3. เคนซีอุ (Kensiu) อาศัยอยู่ตามภูเขาพรมแดนไทย ต่อกับรัฐเกดาห์ เประ และกะลันตัน ในไทยพบในจังหวัด ยะลา สงขลา และนราธิวาส

4. ยาไฮ (Djahai) อยู่ตามป่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกของรัฐกะลันตัน

5. เมนรี (Menri) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐกะลันตันและปาหังตอนเหนือ



ถิ่นที่อยู่อาศัยของเซมังเลือกอยู่ในป่าลึกใกล้แหล่งน้ำ และอาหาร เซมังไม่สร้างบ้านใหญ่โต แต่สร้างง่าย ๆ ไม่นิยมสร้าง กลางแจ้ง หลังบ้านติดไหล่ เขาเพื่อกำบังลม มุงหลังคาด้วย ใบหวย ใบปาล์ม บ้านคล้ายเพิงรูป 45 องศา บ้านแบบนี้เรียกว่า ท่อม ทับ เวลาฝนตกจะเข้าไปหลบอยู่ใต้ชะโงกหิน บางกลุ่มสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ ฝาสาน มุงหลังคาด้วยใบคา หรือหวาย การสร้างท่อมทับต้อง ให้สตรีสร้าง ท่อมทับจึงเป็นสมบัติของผู้หญิง ผู้ชายจะสร้างไม่ได้ จะถือว่าผิดจารีตเทพเจ้าการี (Karei) ที่นอนของ เซมังใช้ใบไม้ปูพื้น เวลานอนเอาศรีษะออกข้างนอกเพื่อคอยฟังเสียงสัตว์ร้าย

เซมังดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์เก็บของป่า ผู้ชายจะออกไปล่าสัตว์ หาผลไม้ ส่วนผู้หญิงจะใช้เวลาว่างสานตะกร้าหวาย เสื่อ หวีเพื่อนำไปแลกกับสิ่งของเครื่อง ใช้ เสื้อผ้า กับชาวบ้าน เซมังไม่ชอบการเพาะปลูก ไม่นิยมใช้เงิน ไม่มี สมบัติติดตัว ชอบเร่ร่อนไปตามป่า ล่าสัตว์เป็น อาหาร เช่น ค่าง ลิง กระแต หมูป่า เป็นต้น หรือจับปลาเป็น อาหาร แต่ไม่นิยมล่า สัตว์ใหญ่ เช่น หมี เสือ และช้าง ของป่าที่เซมังเก็บได้ ได้แก่ ยางไม้ ชัน ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง หวาย สมุนไพร หนังสัตว์ จะนำไปแลกสิ่ง ของเครื่องใช้

หนุ่มสาวชาวเซมังมีสิทธิเสรีในการเลือกคู่ครอง เวลาแต่งงาน ไม่มีพิธีรีตองมากมาย ชาวบ้านจะช่วยหาอาหารมาเลี้ยงร่วมกันโดยจะจัดพิธีที่ลานชุมชนของค่ายพัก เจ้าบ่าวจะนุ่ง ดอกไม้แดง ทัดดอกไม้ เหน็บมีดดาบงอนปลายโค้ง ส่วนเจ้าสาวนุ่งผ้าแดงสวมเสื้อหรือสะไบปิดทรวงอก ทัดดอกไม้ ในพิธีจะมีหมอผีฮาลาร่ายคำพลีกรรม จับหอกพุ่งประหาร กระบือเผือก เมื่อตาย แล้วหมอผีเอานิ้วมือปิดจมูกกระบือขับไล่รังควาน พวกผู้ชายหามกระบือไปที่ต้นไม้พร้อมด้วย อาหาร เผือก มัน ผลไม้ และสุรา เพื่อทำพิธีเซ่นสังเวย และหลัง จากนั้นมีการเลี้ยงสุรา ร้องรำทำเพลง พอถึงพิธีแต่งงาน หัวหน้าพิธีจะให้สัญญาณเจ้าสาววิ่งหนีเจ้าบ่าว ไปรอบ ๆ จอมปลวก เจ้าบ่าวจะจับเจ้าสาวจูงมือมาให้ผู้ใหญ่อวยพร

ครอบครัวของเซมังถือผู้หญิงเป็นใหญ่ในบ้านสามีต้องอยู่ใต้บัญชา ผู้หญิงเสมือนอาทิตย์ ผู้ชายเสมือนจันทร์ บุตรหลาน เสมือนดวงดาว ผู้หญิงเซมังมีลูกถี่การคลอดบุตรจะตัด สายสะดือด้วยไม้ไผ่ แล้วนำไปฝังไว้ตามต้นไม้ชายป่า เด็กจะถูกผูกด้วย ผ้าขาวม้าแนบทรวงอกของสตรี ชื่อของเด็กเรียกตามชื่อต้นไม้ดอกไม้ และธรรมชาติรอบตัว ผู้หญิง เซมังนิยมเอาดอกไม้ Cenwei มาคลึงกับใบหน้าและหน้าอกเพื่อให้ ผิวพรรณเปล่งปลั่ง บางคนเอาดินขาวผสมน้ำและใบหน้า และตามตัว ผู้ชายเซมังนุ่งผ้าผืนเล็กสั้น เวลานุ่งสอดปิด หว่างขาแล้วตระหวัดมารอบเอวให้ชายผ้าปิดข้าง หน้าและหลังโดยใช้หวายเล็กคาดให้แน่น

ชาวเซมัง บริเวณชายแดนไทย-มลายู มีรูปร่างเตี้ย ผิวดำแดง หน้าเสี้ยม ตาโต จมูกบาน ผมหยิกชาวเซมังเชื่อในผีและวิญญาณ เช่น ผีป่า ผีนางไม้ ผียักษ์ ผีประจำตัวสัตว์ ผีพราย ฯลฯ ผีเหล่านี้ถือกันว่าเป็นบริวารของ พระเจ้าคารี พระเจ้าคารีเป็น พระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ของเซมัง มีวิมานอยู่เหนือท้องฟ้าทางทิศตะวันตก พระองค์มีชายาว่า มานอยด์ พระเจ้าคารีมี อิทธิฤทธิ มีการร้อนดังไฟ ประทับอยู่บนหลังเสือ พระองค์สามารถบันดาลให้เกิดพายุฝนและมรสุม เซมังไม่เชื่อเรื่องนรก แต่เชื่อในเรื่องของวิญญาณ ที่ล่องลอยไป กับนกอากูและนกติลตอลตาปา วิญญาณที่ไม่ ได้พลีกรรมล้างบาปต่อพระเจ้าคารีจะไม่มีโอกาสไปสวรรค์ สวรรค์ของเซมังมีแต่ความสว่าง พรั่งพร้อมด้วยอาหาร ต้นไม้ ดอกไม้สีแดง ไม่มีสัตว์ร้ายและโรคภัยไข้เจ็บมีแต่ความอิ่ม ความสุข ไม่มีเสียงฟ้าร้องและมีญาติพี่น้องพร้อมหน้า