หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 4 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 1234 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 11 ถึง 20 จากทั้งหมด 32

หัวข้อ: ขอคำแนะนำสมาชิกบ้านมหา ใครบ้างปลูกยางนา

  1. #11
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจัย
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    2,872


    น้องเอายางนามาฝากอ้ายครับ สิได้เป็นกำลังใจให้อ้ายปลูกไว้หลายๆครับ
    หล่อคืออ้าย กินข้าวบายกบตั๋วะหล่า

  2. #12
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวเคน
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    อุบลฯ เมืองดอกบัวงาม
    กระทู้
    360
    ปลูกยาง20-30 เท่ากับสร้างบ้านให่ลูกหลานหลังเลยเด้อครับ แต่ตอนตัดนี้ขออนุญาติยากแหน่อยู่
    แต่ผมว่านาปลูกครับ เพราะเฮาบ่ต้องดูแลอิหยังเลย

  3. #13
    Super Moderator สัญลักษณ์ของ หมูน้อย
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    ที่อยู่
    เหนือสุดในสยาม
    กระทู้
    1,977
    บล็อก
    17
    มาดเจ้าของสวนแม๋ๆๆๆๆๆ

    เท่ห์คักนาะอาจารย๋หล่าๆๆๆ

    ทางเหนือก็เห็นเขาปลูกยาพาราเยอะนนะ

    แต่บ่มีความรู้เรื่องนี้เท่าไร...แต่เห็นน้องในบ้านมหาคนหนึ่งปลูก

    ปลูกไว้ทางเหนือนิแหละ

    เห็นบ่นประจำว่าตุ่นกินรากยาง...

    เราได้แต่บอก..ปล่อยให้ตุ่นกินเถอะ...กินอิ่มเดียวตุ่นก็หยุดกินเองแหละ..คริๆๆๆๆๆๆๆ :l-:l-


    "รัก" และ "กำลังใจ" ฉันมีไว้เพื่อแบ่งปัน

  4. #14
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    ใส่ปุ๋ยมูลค้างคาว สูตรปุ๋ยจากระยอง
    แล้วก็มีวิตามินบำรุงครับ
    ยางนาที่จะปลูกต้องขออนุญาตทางอำเภอ ตามที่หาข้อมูล ปลูกแล้วต้องขออนุญาตเป็นไม้เอกชน ขนาดไม้สักเขายังขอนุญาตได้ครับ

    ปลูกไม่ได้หวังตัดขายครับ ปลูกเพื่อลูก หลาน เหลน โหลน ภายภาคหน้า แต่ระยะเลาที่ยางนากำลังเติบโต จำพวกเห็ด ทุกชนิดก็จะเกิดตามมา สัตวืนกกาก็จะได้มาอาศัย

  5. #15
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    การปลูกป่าเพิ่มเติมให้แก่ป่าสงวน ป่าชุมชน ป่าเอกชน ป่าหัวไร่ ป่าปลายนา ป่าคันนา ฯลฯ จะปลูกต้นไม้ชนิดใดก็มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของไทยทั้งนั้น แต่ถ้ามีการปลูกไม้ตระกูลยางนา ก็เหมือนเป็นการปลูกป่าอาหารและรายได้รายปีในอนาคต เป็นรายได้ตลอดหน้าฝน ในฤดูร้อนพอเมล็ดแก่ได้ที่แล้วร่วงหล่นจากต้นเมล็ดพืชตระกูลนี้มีปีกติด เมล็ดทำให้เมล็ดหมุนแบบลูกข่าง หรือกังหัน หมุนติ้วจนลงถึงดิน ถ้าลมพัดแรงก็พัดเมล็ดยางต่าง ๆ ไปได้ไกล ๆ ควรเก็บเอามาเพาะลงถุงพลาสติกทันที เพราะเมล็ดพืชเหล่านี้ไม่มีการพักตัว ความงอกจะหมดไปรวดเร็ว

    เมล็ด พืชในตระกูลนี้ขอให้เวลาหลุดจากต้นหมุนเป็นกังหันก็ใช้ได้ทั้งนั้นไม่ว่าจะ เป็น เต็ง รัง ยางนา ยางกราด ยางพลวง กระบาก ตะเคียน ฯลฯ เมื่อนำเอามาเพาะในถุงใช้ดินร่วนทั่วไปได้ทั้งนั้น ดินควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ผสม 10% ใช้โพลีเมอร์หรือสารอุ้มน้ำที่แช่ให้พองเต็มที่แล้ว 10% และผสมภูไมท์ซัลเฟต 10% ช่วยให้ต้นกล้าแข็งแรงขึ้นทนแล้งดีขึ้น และรากเจริญเติบโตแผ่ดี ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ที่ปลูกและรดน้ำต้นกล้าก็จะงอกอกมา ระยะแรกจะช้าหน่อย แต่พอต้นฝนมีเห็ดเผาะ (เห็ดเหียง เห็ดถอบ เห็ดพะยอม) ออกมาขายในตลาดก็เอาเห็ดมาใส่ให้จะโตเร็วขึ้นมาก

    เลือกเห็ดแก่ ๆ ใหญ่ ๆ เอามาผ่าเอาผงสปอร์ข้างในมาผสมกับน้ำ ขยี้ให้สปอร์ที่เกาะก้อนแตกออกเป็นผงละเอียดแขวนลอยในน้ำ เติมน้ำเพิ่มให้ได้ปริมาตรมาก ๆ เอาไปรดต้นกล้ายางต่าง ๆ ให้เปียกลงไปถึงโคนต้น ควรทำซ้ำ 3-4 ครั้งที่ยังมีเห็ดเผาะขายในตลาด หรือหาเก็บมาได้ สปอร์เห็ดเผาะจะงอกเป็นเส้นใย เมื่อเจริญแผ่ไปถึงรากก็เข้าไปอยู่ตามผิวรอบ ๆ ราก มีเล็กน้อยที่แทงเข้าในราก เชื้อเห็ดเผาะช่วยหาอาหารให้รากไม้ ช่วยซึมซับไอน้ำ และช่วยป้องกันโรคจากราในดิน กล้าไม้จะโตเร็ว เอาไปปลูกที่ใดที่นั้นต่อไปก็จะพัฒนาเป็นป่าเห็ด เก็บเห็ดได้ทุกปีในหน้าฝน

    เห็ดเผาะ เห็ดผึ้ง เห็ดแดง เห็ดน้ำหมาก เห็ดน้ำแป้ง เห็ดไค เห็ดตะไครหลังเขียว และเห็ดป่าอีกหลายชนิดที่ขึ้นในป่าเต็งรัง ป่าแพะ ป่าโปร่ง ที่มีต้นไม้ยืนต้นในตระกูลไม้ยางนาขึ้นได้ เช่น เต็ง รัง ยางนา เหียง กุง พลวง กระบาก สะแบง ตะเคียน พะยอม ฯลฯ เป็นเห็ดประเภทเอ็คโตมัยคอร์ไรซ่า คือ เป็นเห็ดที่อยู่อาศัยรอบนอกรากพืชเป็น ๆ แบบได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เส้นใยเห็ดช่วยทำให้พืชทนแล้งและพืชโตเร็วมีผลผลิตมากขึ้นรากพืชให้อาหารบาง ส่วนแก่เห็ด และต้นฤดูฝนทำให้เกิดการสร้างดอกเห็ดใช้เป็นอาหารของคนและสัตว์

    จำนวน ของดอกเห็ดที่ผลิตได้จากสวนป่าขึ้นกับจำนวนรากไม้ คือ ต้นไม้ ปริมาณอินทรียวัตถุคือเศษพืชตามผิวดิน และเชื้อเห็ดที่มีอยู่ที่ราก การใส่เชื้อเห็ดให้รากไม้ทำโดยการนำดอกเห็ดแก่มาล้างน้ำเอาเชื้อหรือสปอร์ ใต้หมวกเห็ด หรือผ่าดอกเห็ดเผาะที่ขนาดใหญ่แก่ ๆ เหนียว ๆ ข้างใน ผงสีดำคือสปอร์ หรือเชื้อเห็ด เอาน้ำที่มีสปอร์นี้โปรดโคนต้นไม้หากเป็นนอกฤดูเกิดดอกเห็ดก็ซื้อเชื้อในขวด มาใส่โคนต้นไม้กลบด้วยปุ๋ยหมัก รดน้ำให้ชุ่มชื้นเชื้อเห็ดจะงอกเป็นเส้นใยไปอยู่ที่รากพืช เจริญลามไปทั่วทุกส่วนของรากและอยู่ด้วยกันไปตลอดชีวิตของต้นไม้ ใส่เชื้อเพียง 2-3 ครั้งในปีแรก พอฤดูฝนถัดไปเริ่มเกิดดอกเห็ดบ้างแล้ว ก็หาเชื้อเห็ดอื่น ๆ มาใส่ให้อีก ต่อไปต้นไม้เหล่านี้จะเกิดเห็ดที่รากได้หลายชนิดตลอดหน้าฝน

    เห็ดผึ้ง หรือเห็ดห้า เห็ดตับเต่าเกิดได้กับต้นไม้ป่า ไม้ปลูกหลายชนิด คือ มะม่วง มะไฟ มะกอกน้ำ ชบา แค ทองหลวง สะเก ไทร รำเพย ยี่โถ ลำไย ลิ้นจี่ ส้มโอ และต้นไม้หลายชนิดในป่าทาม ใส่เชื้อปีแรกปีเดียว พอเริ่มเกิดเห็ดในหน้าฝนแรกแล้ว ต่อไปก็เกิดทุกปีใส่เชื้อด้วยน้ำล้างดอกเห็ด หรือเชื้อเห็ดในขวดเช่นเดียวกัน

    ที่มา : ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. เดลินิวส์. ฉบับที่ 20,594

  6. #16
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    หนังสือกรมป่าไม้
    ด่วนมาก ที่ กษ 0705(3)/ว 5798 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532
    เรื่อง นโยบายเกี่ยวกับการจัดการที่ดินป่าไม้

    ด่วนมาก ที่ กษ 0705(3)/ว.5798 กรมป่าไม้
    61 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม.10900

    24 กุมภาพันธ์ 2532

    เรื่อง นโยบายเกี่ยวกับการจัดการที่ดินป่าไม้
    เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด
    สิ่งที่ส่งมาด้วย บัญชีแสดงชนิดพันธุ์ไม้เศรษฐกิจที่กำหนดเป็นเงื่อนไขให้ปลูก

    ด้วยปรากฏว่าในปัจจุบัน สภาพป่าได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้พื้นที่ป่าตามธรรมชาติกลับกลายเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม และพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรมโดยทั่วไป นอกจากนี้พันธุ์ไม้ชนิดดีมีค่าถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมาก และนับวันจะหาได้ยาก จึงสมควรจะได้กำหนดมาตรการให้มีการปลูกทดแทนเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้ชนิดดีมีค่า และเพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป ทั้งยังเป็นการยึดมั่นในนโยบายป่าไม้แห่งชาติที่กำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ

    กรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อสนองนโยบายป่าไม้แห่งชาติ และเพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้มีพันธุ์ไม้ดีมีค่า จึงได้กำหนดมาตรการในกรณีที่มีการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หรือป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อการเกษตรกรรมและการปลูกสร้างสวนป่าหรือปลูกไม้ยืนยัน ไว้เป็นทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

    1. ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขให้ผู้รับอนุญาตใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม ต้องทำการปลูกไม้มีค่า (ไม้เศรษฐกิจ) ในท้องถิ่นตามที่กรมป่าไม้กำหนดในอัตราส่วน ดังนี้

    (1) การขออนุญาตในจำนวนเนื้อที่ไม่เกิน 15 ไร่ ไม่ต้องปลูกไม้ดีมีค่า

    (2) การขออนุญาตในจำนวนเนื้อที่ตั้งแต่ 16-50 ไร่ ต้องปลูกไม้ดีมีค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต

    (3) การขออนุญาตในจำนวนเนื้อที่ตั้งแต่ 51-100 ไร่ ต้องปลูกไม้ดีมีค่าไม่น้อยกว่าร้อย ละ 20 ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต

    (4) การขออนุญาตในจำนวนเนื้อที่มากกว่า 100 ไร่ขึ้นไป ต้องปลูกไม้ดีมีค่าไม้น้อยกว่า ร้อยละ 40 ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต

    2. ในกรณีที่มีการขออนุญาตใช้พื้นที่ทำการปลูกสร้างสวนป่าประเภทไม้โตเร็วเนื้อที่ตั้งแต่ 100 ไร่ ขึ้นไป ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขให้ผู้รับอนุญาตทำการปลูกไม้ดีมีค่า (ไม้เศรษฐกิจ) ในท้องถิ่นตามที่กรมป่าไม้กำหนดไม่น้อยหกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต หลังจากดำเนินการปลูกสร้างสวนป่าประเภทไม้โตเร็วไปแล้วเป็นเวลา 5 ปี โดยปลูกไม้ดีมีค่าปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต จนครบภายในระยะเวลา 10 ปี

    สำหรับไม้ดีมีค่า (ไม้เศรษฐกิจ) ในท้องถิ่นตามที่กรมป่าไม้กำหนดนั้น ให้ถือปฏิบัติทั้งการขออนุญาตใช้พื้นที่เพื่อเกษตรกรรม และการปลูกสร้างสวนป่าประเภทไม้โตเร็ว โดยกำหนดให้ปลูกเป็นภาคตามบัญชีแสดงชนิดพันธุ์ไม้เศรษฐกิจที่กำหนดเป็นเงื่อนไขให้ปลูก ดังนี้

    (1) ภาคเหนือ กำหนดให้ปลูกไม้สัก, ไม้สนเขา, (ไม้สนสองใบ, ไม้สนสามใบและไม้สนคาริเบีย), ไม้ยางนา, ไม้ประดู่, ไม้ตะเคียนทอง,ไม้เลี่ยน, ไม้แดง, ไม้จำปีป่า, ไม้มะค่าโมง, ไม้ยมหอม, หรือไม้มะม่วงป่า

    (2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดให้ปลูกไม้ยางนา, ไม้ประดู่, ไม้พยุง, ไม้สัก, ไม้สน เขา, (ไม้สนสองใบ และไม้สนคาริเบีย) ไม้ชิงชัน, ไม้ตะเคียนทอง, ไม้แดง, ไม้มะค่าโมง, ไม้พะยอม, ไม้มะม่วงป่าหรือ ไม้สะเดา

    (3) ภาคกลาง (รวมตลอดถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันตก) กำหนดให้ปลูกไม้ยาง นา, ไม้ประดู่, ไม้สัก, ไม้เลี่ยน, ไม้มะปิน (ตองจริง), ไม้กฤษณา, ไม้มะฮอกกานีใบใหญ่, ไม้แดง, ไม้สะเดา, ไม้มะม่วง ป่า, หรือไม้พุงทะลาย (สำรอง)

    (4) ภาคใต้ กำหนดให้ปลูกไม้สะเดาข้าง (เทียม), ไม้หลุมพอ, ไม้ทุ่งป้า, ไม้หัง, ไม้ไข เขียว, ไม้ตำเสา, (กันเกรา) ไม้ยางนา, ไม้มะฮอกกานีใบใหญ่, ไม้ตะเคียนทอง, ไม้ประดู่กิ่งอ่อน ไม้กฤษณา หรือไม้ตะกู

    3. เพื่อให้การปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายเกี่ยวกับการขอใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นไปในแนวทางเดียวกันก่อนที่จะมีการแก้ไขระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ถือปฏิบัติ ดังนี้

    (1) การขอเข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อสร้างวัด เรื่องใดที่ได้ยื่นคำขอ อนุญาตไว้ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 ให้พิจารณาไปตามระเบียบที่กำหนดทางปฏิบัติไว้แล้ว ส่วนเรื่องใดที่ยื่นคำ ขอหลังจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 ให้ปฏิบัติตามคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 กล่าวคือ ให้กรมการ ศาสนาเป็นผู้ขออนุญาต

    (2) การตรวจสภาพป่าเบื้องต้นกรณีป่าชายเลนให้กำหนดทางปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ สำรวจนับไม้ตามรายงานการตรวจสภาพป่า "สำหรับป่าชายเลนในการจัดทำบัญชีแสดงจำนวนต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ ให้แสดงรายละเอียดจำนวนลูกไม้แต่ละชนิดที่มีขนาดความสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป และไม้ที่มีความโตตั้งแต่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป (การวัดความโตให้วัดเส้นรอบวงตรงที่สูงเหนือคอรากขึ้นไป 20 เซนติเมตร ในกรณีที่ไม้มีคอราก และตรงที่สูงเหนือพื้นดิน 1.30 เมตร กรณีที่ไม้มีคอราก)"

    (2) การถ่ายภาพสีแสดงสภาพพื้นที่ที่ทำการตรวจสอบ ในกรณีที่ขออนุญาตใช้พื้นที่มาก กว่า 100 ไร่ขึ้นไป ให้ถ่ายภาพตรงกลางแปลงบริเวณที่ขออนุญาตและกระจายออกทั้ง 8 ทิศ โดยจะต้องแนบภาพถ่ายสีแสดงสภาพพื้นที่ที่ทำการตรวจสอบประกอบเรื่องราวคำขอไม้น้อยกว่า 9 ภาพ

    ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามนัย ข้อ 1-2 ดังกล่าวข้างต้น โปรดสั่งเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบและให้ทำบันทึกรับรองที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวไว้เป็นหลักญานก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับการปฏิบัติตามนัยข้อ 3 ขอให้ถือปฏิบัติไปจนกระทั่งมีการแก้ไขระเบียบซึ่งกรมป่าไม้จะได้แจ้งให้ทราบต่อไป

    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและพิจารณาสั่งเจ้าหน้าที่ถือเป็นทางปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
    กองจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ
    โทร. 5794048
    สำเนาส่ง
    รองอธิบดีกรมป่าไม้ทั้ง 3 ท่าน
    ผู้อำนวยการกองทุกกอง
    ผู้ตรวจการป่าไม้ทั้ง 4 ท่าน
    ป่าไม้เขตทุกเขต
    ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้แพร่
    ผู้อำนวยการโรงเรียนอบรมวนกรรมตาก
    หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน
    หัวหน้าสำนักงานเงินทุกหมุนเวียนค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับป่าสน
    หัวหน้าสำนักงานช่วยเหลือราษฎรให้มีสิทธิทำกิน
    ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชน
    เลขานุการกรมป่าไม้

  7. #17
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ บุรุษไร้ใจ
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    กระทู้
    192
    ครับ

    มันสิคือกันบ่อ ครับ ขอบคุณกับความรู้ใหม่ๆ

    หาเทียได้หัน เหการดำรงชีพ


    http://www.takuyak.com/index.php?mo=3&art=264221

  8. #18
    ศิลปิน นักเขียน สัญลักษณ์ของ maanoy
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    กระทู้
    2,271
    เรื่อง การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการปลูกไม้เศรฐกิจในเชิงพาณิชย์

    ประเทศไทยมีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม “การปลูกไม้เศรษฐกิจในเชิงพาณิชย์” น่าจะเป็นอาชีพที่มีความน่าสนใจเนื่องจากเป็นการประกอบอาชีพและยังเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้ด้วย แต่หากมองในมุมของกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ภาคเอกชนยังมีความสับสนและเห็นว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมาย ซึ่งโดยวัตถุประสงค์ของกฎหมายแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ?

    ตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่า อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพให้ประชาชนมีงานทำและผลิตไม้เพื่อเป็นสินค้า กำหนดให้เกษตรกรผู้ปลูกสวนป่าต้องขึ้นทะเบียนสวนป่า (สป.1) ถึงแม้จะปลูกในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของตนเอง ก็เพื่อจะได้ทราบว่า ที่ดินที่ใด ของผู้ใด ได้ดำเนินการปลูกต้นไม้ชนิดใด จำนวนเท่าใด เพื่อรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน จากนั้นเจ้าหน้าที่จะไปตรวจสอบก่อนรับขึ้นทะเบียนก็เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งจะต้องมีตราเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของไม้ที่ไม่ซ้ำกับเกษตรกรรายอื่นเพื่อใช้ตี ตอก หรือประทับที่ไม้ก็เพื่อควบคุมและตรวจสอบการทำไม้จากสวนป่าซึ่งทำให้ทราบแหล่งที่มาของไม้และป้องกันการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ ในกรณีที่จะทำการตัด สาง เพื่อขยายระยะปลูก เช่น ไม้สักทอง เป็นต้น จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก็เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติทำนองเดียวกับกรณีจะทำการเคลื่อนย้ายไม้ที่ตัดจะต้องทำบัญชีไม้ที่เคลื่อนย้าย ซึ่งภาคเอกชนเห็นว่ามีขั้นตอนมากที่ให้ผู้ปลูกสวนป่าต้องปฏิบัติ ซึ่งเมื่อหักลบกับต้นทุนต่างๆ แล้วแทบไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

    ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีเจตนารมณ์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อให้ป่าไม้คงอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและขั้นตอนควบคุมการทำไม้จากป่าธรรมชาติเท่านั้น โดยได้ควบคุมการทำไม้ไว้โดยห้ามมิให้ผู้ใดตัดไม้ที่กำหนดไว้ว่าเป็น “ไม้หวงห้าม” โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมี 2 ประเภท คือ

    1. ประเภท ก. ได้แก่ ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามกฎหมาย

    2. ประเภท ข. ได้แก่ ไม้หวงห้ามพิเศษ ซึ่งเป็นไม้หายาก โดยหลักจะทำไม้ประเภทนี้ไม่ได้
    เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเป็นผู้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

    นอกจากควบคุมการทำไม้แล้วยังห้ามการเก็บของป่าในพื้นที่ป่าหวงห้าม ควบคุมการนำไม้หรือของป่าตามที่กฎหมายกำหนดเคลื่อนที่จากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน ซึ่งโดยเฉพาะไม้สักและไม้ยางไม่ว่าจะอยู่ในเขตป่าไม้ หรือในที่เอกชนก็เป็น “ไม้หวงห้าม” ตาม พ.ร.บ. นี้จึงอาจเกิดความสับสนแก่ผู้ปฏิบัติในขั้นตอนการขออนุญาต

    นอกจากกฎหมาย 2 ฉบับข้างต้นแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งกฎหมายทั้ง 4 ฉบับนี้เป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์เพื่อมุ่งคุ้มครอง “ป่าอนุรักษ์” ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันมี 4 ประเภท คือ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยมีมาตรการที่จะจำกัดการทำลายป่าไม้และสงวนพื้นที่ป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในทางระบบนิเวศน์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร อันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ

    จะเห็นได้ว่าแม้เจตนารมณ์ของกฎหมายแต่ละฉบับดังกล่าว จะแตกต่างกันแต่ก็มีบางเรื่อง
    ที่เกี่ยวข้องกันจนอาจก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้เกี่ยวข้องได้ เช่น พ.ร.บ. สวนป่า พ.ศ. 2535
    นิยามคำว่า “สวนป่า” หมายความว่า ที่ดินที่ขึ้นทะเบียน เพื่อทำการปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ที่เป็น “ไม้หวงห้าม” ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ดังนั้น ไม้ที่ปลูกในที่ดินที่ขึ้นทะเบียนสวนป่าจะต้องเป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้เท่านั้นจึงจะอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. สวนป่าฯ

    จากกฎหมายข้างต้นดูเหมือนว่าจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ “การปลูกไม้เศรษฐกิจใน
    เชิงพาณิชย์” อยู่หลายฉบับ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในบางประเด็น ดังนั้น ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจให้ผู้ปลูกสวนป่าทราบถึงข้อกฎหมายเพื่อป้องกันความสับสน เข้าใจคลาดเคลื่อนและรู้ถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคอันเกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องแก่เกษตรกร ประกอบกับแก้ไข ปรับปรุง กฎ ระเบียบในการทำไม้จากสวนป่าเพื่อลดขั้นตอนและเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าของเกษตรกรผู้ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. สวนป่าฯ แต่ยังคงไว้ซึ่งมาตรการทางกฎหมายที่จำเป็นในการควบคุมการทำไม้เศรฐกิจจากสวนป่า เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและจำแนกไม้ให้ชัดเจนว่าเป็นไม้ที่ได้มาจากสวนป่า หรือเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าไม้ธรรมชาติเพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และป้องกันการสวมสิทธิจากการนำไม้ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มาใช้ประโยชน์ และเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาสนใจอาชีพการปลูกไม้เศรษฐกิจในเชิงพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น

  9. #19
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ชิงช้าชาลี
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    กระทู้
    644
    บล็อก
    1
    ถ้ามีที่ว่างๆแถวหัวหน้าสัก 2-3 ไร่ สิสามารถลงยางพาราได้จั๊กต้นคะ สนใจคือกันค่ะ

    แต่ไร่หัวนา ฮกอย่างแฮง มีแต่ป่าต้นดักดำ ป่าละเมาะ ให้คนหาเห็ดและขุดกี่นูน ต้องปราบที่ยังไง

    (ขอบคุณล่วงหน้าค้า )

  10. #20
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ภูเบตร์
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    กระทู้
    197
    :b-bฉายแวว อาเสี่ยสวนยาง แบบเตงๆ เลยครับ

หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 4 หน้า หน้าแรกหน้าแรก 1234 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •