หลายปีก่อน ผมเคยได้ยินนิทานเรื่องนี้.........
เศรษฐีคนหนึ่งชอบใจลูกสาวชาวนาผู้ยากไร้คนหนึ่ง เขาจึงเชิญชาวนากับลูกสาวไปที่สวนในคฤหาสน์ของเขาซึ่งเป็นสวนกรวดกว้างใหญ่ที่มีแต่กรวดสีดำกับสีขาว
เศรษฐีบอกกับชาวนาว่า "ท่านเป็หนี้สินข้าอยู่จำนวนมาก แต่หากยกลูกสาวให้ข้า ข้าจะยกหนี้สินทั้งหมดให้"
ชาวนาไม่ตกลง
เศรษฐีจึงบอกว่า "ถ้าเช่นนั้นเรามาพนันกันดีไหม ข้าจะหยิบกรวดในสวนมาใส่ในถุงผ้านี้ ก้อนหนึ่งสีดำ ก้อนหนึ่งสีขาว ให้ลูกสาวของท่านหยิบกรวดจากถุงนี้ หากนางหยิบได้ก้อนสีขาว ข้าจะยกหนี้สินทั้งหมดให้ท่าน และนางไม่ต้องแต่งงานกับข้า แต่หากนางหยิบได้สีดำ นางต้องแต่งงานกับข้า และแน่นอนข้าต้องยกหนี้สินทั้งหมดให้ท่านด้วย"
ชาวนาตกลง
เศรษฐีหยิบกรวดใส่ในถุงผ้าอย่างรวดเร็ว
หญิงสาวเหลือบไปเห็นว่าก้อนกรวดสองก้อนนั้นเป็นสีดำ เธอจะทำอย่างไร?
หากเธอไม่เปิดโปงความจริง ก็ต้องแต่งงานกับเสรษฐีขี้โกง หากเธอเปิดโปงความจริง เศรษฐีก็ต้องเสียหน้าและยกเลิกเกมนี้ และบิดาของเธอก็ต้องเป็นหนี้เศรษฐีต่อไปอีกนาน
ลูกสาวชาวนาเอื้อมมือไปหยิบกรวดในถุงผ้าอย่างราดเร็ว หยิบกรวดขึ้นมาหนึ่งก้อนในอุ้งมือพลันเธอปล่อยกรวดในมือร่วงสู่พื้นกลืนหายไปในสีขาวกับสีดำของสวนกรวดเธอมองหน้าเศรษฐีและเอ่ยว่า
"ขออภัยที่ข้าพลั้งเผลอปล่อยหินร่วงหล่น แต่ไม่เป็นไร ในเมื่อท่านใส่กรวดสีขาวกับดำอย่างละก้อนลงไปในถุงนี้ ดังนันเมื่อเราเปิดถุงออกดูสีกรวดก้อนที่เหลือก็ย่อมรู้ทันทีว่ากรวดที่ข้าหยิบเมื่อครู่นี้สีอะไร" เธอกล่าวพลางล้วงมือลงไปในถุงผ้า หยิบกรวดก้อนที่เหลือออกมา ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นสีดำ
"ดังนั้นก้อนที่ข้าทำหล่นย่อมเป็นสีขาว" ชาวนาพ้นจากสภาพลูกหนี้ และลูกสาวไม่ต้องแต่งงานกับเศรษฐีขี้โกง

คนเราส่วนใหญ่ถูกสอนมาให้มองปัญหาแบบขาวกับดำ แต่ไม่ใช่ทุกปัญหาสามารถแก้ได้อย่างขาวกับดำเสมอไป ในทางตรงกันข้ามหากเราลองมองต่างมุมจะพบว่าหนทางแก้ปัญหามีมากกว่าหนึงทางเสมอ การยืดหยุ่นพลิกแพลงไปตามสถานการณ์เป็นวิธีการหนึ่ง บางครั้งการแก้ปัญหา เราอาจต้องสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหาขึ้นมาใหม่
ในยุคของ มิคาอิล กอร์บาชอฟ เขากล่าวว่า "เป็นเรื่องที่เขลาที่คิดว่าปัญหาที่รุมเร้ามนุษย์ในวันนี้ สามารถแก้ใขได้ด้วยเคื่องมือที่เคยใช้ได้ผลในอดีต"