หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 11

หัวข้อ: ไดโนเสาร์ สัตว์โลกล้านปี

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164

    ไดโนเสาร์ สัตว์โลกล้านปี

    ไดโนเสาร์...สัตว์ โลกล้านปี
    จากภาพยนต์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค ของสตีเว่น สปิลเบิร์ก ที่นำเข้ามาฉายในประเทศไทย เมื่อกลางปีที่ผ่านมานี้ ทำให้คนไทยเกิดการคลั่งไคล้ไดโนเสาร์หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคได โนเสาร์ฟีเวอร์ เพราะนอกจากจะมีการกล่าวขานถึงทั้งในเด็กและผู้ใหญ่แล้ว ยังมีการสร้าง หุ่นจำลอง จัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ ตลอดจนภาพวาดและของเล่น ล้วนเกี่ยวข้องกับ ไดโนเสาร์แทบทั้งสิ้น ล่าสุดห้างเซ็นทรัล รามอินทราและสวนสยามยังคงจัดแสดงหุ่น ไดโนเสาร์ ให้ผู้ชมเข้าและศึกษาหาความรู้บางท่านอาจจะสงสัยว่า ไดโนเสาร์ คืออะไร ในสมัยดึกดำบรรพ์มีจริงหรือไม่ สูญพันธุ์ ไปหมดแล้วจริงหรือ เราศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ได้อย่างไรและอีกหลากหลาย คำถามที่ต้องการค้นหาคำตอบ

    คำว่าไดโนเสาร์ ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2384 โดยนาย ริชา ร์ด โอเวนนักกายวิภาค วิทยา ชาวอังกฤษ ตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกสัตว์ชนิดหนึ่งที่ขุดพบในรูปของซากดึก ดำบรรพ์ เป็น โครงกระดูกขนาดใหญ่ โดยนายริชาร์ด ใช้คำว่า ไดโนเสาร์เพราะมาจากภาษาอังกฤษว่า dinosaurs เป็นคำผสมจากภาษากรี ก ว่า deinos ซึ่งแปลว่า น่าเกลียดน่ากลัว กับคำว่า sauros แปลว่า กิ้งก่า ดังนั้น ไดโนเสาร์ จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า กิ้งก่าที่น่าเกลียด น่ากลัว ซึ่งอาจจะน่ากลัวในสายตาของนายริชา ร์ด และอาจจะไม่น่ากลัวเลยในสายตาของนักวิทยาศาสตร์บางคนความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์นั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากซากดึกดำบรรพ์ที่เรียกตามศัพท์วิทยาศาสตร์ว่า ฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นฟอสซิลโครงกระดูก รอยเท้า เปลือกไข่ อุจจาระ ตลอดจนกลายสภาพเป็นหินแข็งอยู่ภายใต้ผิวโลก ครั้นเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว ซากฟอสซิลเหล่านี้จึงปรากฏบนพื้นผิวโลกให้เห็นตามที่ต่าง ๆ เป็นหลักฐานศึกษาการวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ได้เป็นอย่างดี

    ความจริงแล้วมนุษย์เคยค้นพบกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์มาเป็นเวลานานแล้ว เพียง แต่ว่าผู้คนยุคต้น ๆ นั้น คิดว่าเป็นซากดึก ดำบรรพ์ของกิ้งก่า มังกรหรือแม้กระทั่งนกกาเหว่า ยักษ์ จนกระทั่ง นายริชาร์ด ได้ให้ความเห็นว่า โครงกระดูกของสัตว์เหล่านั้น เป็นของสัตว์ กลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงใกล้ชิด กับพวกกิ้งก่าแต่ไม่จัดเป็นพวกกิ้งก่า

    ซึ่งถ้าดูจากโครงสร้างของโครงกระดูกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พอจะแยกออกได้เป็น 7 ลักษณะ
    นักโบราณคดีและนักชีววิทยา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้ว่า ถ้าแบ่งช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ในโลก จะแบ่งออก
    ได้เป็น 3 ช่วง คือ
    1. ช่วงไตรแอสสิก (Triaassic) เป็น
    ช่วงแรกของการเกิดไดโนเสาร์ คือ ประมาณ 250- 205 ล้านปีมาแล้ว
    2. ช่วงจูราสสิก (Jurassic) เป็นช่วงที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ประมาณ
    205-135 ล้านปีมา แล้ว ในช่วงนี้มีไดโนเสาร์หลากหลายชนิด ทั้งมีเขาไม่มีเขา มีเกราะ ไม่มีเกราะ คอยาว คอสั้น ตลอดจนวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ปีก
    3. ช่วงครีเตเชียส (Cretaceous)เป็นช่วงที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ ประมาณ 135-66 ล้าน ปีมาแล้วเป็นช่วงสุดท้าย
    ของไดโนเสาร์ซึ่งจะมีวิวัฒนาการสูงสุดและสูญพันธุ์ไปในที่สุด

    ไดโนเสาร์ ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดซึ่งถูกขุดพบที่ประเทศอา ร์เจนตินา โดยนาย พอล เซเรโน นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัย ชิคาโก ขุดพบในปี พ.ศ. 2534 และให้ชื่อสัตว์ที่ขุดพบว่า อีโอแรพเตอร์ชนิดใหม่ล่าสุดที่ขุดพบเมื่อเดือน เมษายน ปี 2536 มีชื่อว่า โมโนไนคัส (Mononycus) ซึ่ง นักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นว่าคล้าย กับซากดึกดำบรรพ์ของนกโบราณชนิดหนึ่งที่ขุดพบ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งประมาณอายุได้ 150 ล้านปี นกโบราณชนิดนี้ คือ อาร์คีออฟเทอริกซ์ (Archaeopteryx)

    ดังนั้น สายวิวัฒนาการของนกกับไดโนเสาร์จะต้องเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน แต่อะไรจะ เป็นต้นตระกูลของอะไรจะต้องหาหลักฐานกันต่อไป แต่ที่แน่นอนที่สุดไดโนเสาร์ไม่ได้ สูญพันธุ์ไปจากโลกจนหมดสิ้น นักโบราณคดีและนักชีววิทยาหลายท่านเชื่อว่ายังมีไดโนเสาร์ สายพันธุ์หนึ่งที่ยังคงสืบเชื้อสายอยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้และมีอยู่เป็นจำนวนมากมายต่างพากันเรียก ไดโนเสาร์กลายพันธุ์ชนิดนี้ว่า นก แต่ต้นตระกูลนกจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นนกชนิด ใดก่อนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป

    แจ็ก ฮอร์เนอร์ ซึ่งเป็นนักโบราณคดีและนักชีววิทยา รวมถึงนัก วิทยาศาสตร์อื่นๆ ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับไดโนเสาร์ไว้อย่างน่าฟัง ถึงเหตุผลที่ทำให้ไดโนเสาร์สามารถอยู่รอดได้ ถึง 150 ล้านปี แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใหญ่โตเหล่านั้น ก็สูญพันธุ์ไปสิ้นเมื่อ 65 ล้าน ปีที่แล้ว มีหลากหลายทฤษฏีที่ชี้แจงการสิ้นสุดของไดโนเสาร์ ทั้งทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ตลอดจนทฤษฎีดาวหางและอุกกาบาต แต่ดูเหมือนทฤษฎีหลังจะเป็นที่ยอมรับของนักวิทยา ศาสตร์และประชาชนทั่วไป แต่การสูญสิ้นของไดโนเสาร์นั้นยังไม่เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์มากนักเพราะต่าง พากันมุ่งประเด็นไปที่การดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ตรงที่ว่า ไดโนเสาร์มีอะไรดีจึงสามารถดำรง เผ่าพันธุ์ได้นานถึง 150 ล้านปี ยังเป็นปริศนาสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องหาข้อมูล จากซากดึกดำ บรรพ์กันต่อไป

    คราวนี้เรามารู้จักกับไดโนเสาร์พันธุ์ต่าง ๆ ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีตามพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ตัวแรกที่จะแนะนำให้รู้จักก็คือ

    ไทแรนโนซอรัส (Tyrannosaurus rex)

    อัลโลซอรัส (Allosaurus)

    อะแพททอซอรัส (Aapatosarus)

    ไทรเซอราทอปส์ (tricratops)

    อิกัวโนดอน (Iguanodon)

    เทอราโนดอน (pteranodon)

    แม้เวลาจะผ่านไปถึง 65 ล้านปี คำว่า ไดโนเสาร์ ก็ยังถูกกล่าวถึงเสมอ ถึงแม้ว่ามันจะ เป็นสัตว์ที่น่าเกลียดน่ากลัว แต่ก็ยังไม่ร้ายเท่ามนุษย์ที่คอย แต่คิดค้นและสร้างสมแต่สิ่งที่นำ ไปสู่การทำลายตัวเองอยู่ตลอดเวลา และเมื่อใดที่โลกเต็มไปด้วยมลพิษที่เกินกว่ามนุษย์จะ ทนได้ ก็อาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด... ดังเช่น... ไดโนเสาร...์ สัตว์โลกล้านปี...ที่ถูกบันทึกไว้ใน ความทรงจำของมนุษย์ตราบจนทุก...วันนี้

    ไดโนเสาร์ สัตว์โลกล้านปี
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 23-05-2010 at 16:27.

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บอยเมืองยศ
    วันที่สมัคร
    Dec 2009
    กระทู้
    200
    บล็อก
    1
    เฮ็ดแนวน้อยโสจังจิมีไดโนเสาร์..555

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164
    ประวัติการ ค้นพบ

    การค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นได้ไม่นาน โดยในปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบโครงกระดูกขนาดใหญ่ใน เขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด มีความยาวประมาณ 15 เมตร นับว่าเป็นรายงานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2525 ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆ เป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน จึงนับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อย่างจริงจัง

    ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่ถูกค้นพบในประเทศไทย สามารถแยกออกเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
    * พ.ศ. 2550 ได้สำรวจพบพบชิ้น ส่วนไดโนเสาร์ในพื้นที่ อ.ภูกระดึง จ.เลย ได้ขุดชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์ส่วนขา สันหลังจำนวนกว่า 10 ชิ้นที่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ คาดว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคไทรแอสสิก อายุประมาณ 210 ล้านปี โดยเจอที่ชั้นกลุ่มหินน้ำพองห่าง จากภูกระดึงประมาณ 6 กม.[1]

    * ในปี พ.ศ. 2535 กรมทรัพยากรธรณีสำรวจพบกระดูกสะโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์โพรซอโรพอด ที่ชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหินน้ำพอง ในเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุประมาณ 200 ล้านปี นับเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนับเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์โพรซอโรพอดเป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสซิลชนิดนี้จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก พบว่าโพรซอโรพอดของไทยมีขนาดใหญ่ แข็งแรง อาจยาวถึง 8 เมตร

    * ในปี พ.ศ. 2539 คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้พบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ฟันไดโนเสาร์ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในชั้นหินของหมวดหินภูกระดึง อายุประมาณ 150-190 ล้านปี เป็นฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอด ไดโนเสาร์ซอโรพอด และไดโนเสาร์สเทโกซอร์ ซึ่งเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์สเทโกซอร์ครั้งแรกในประเทศไทย

    * ซากดึกดำบรรพ์คอมพ์ซอกนาธัส
    คอมพ์ซอกนาธัสเป็น ไดโนเสาร์ที่มีขนาดตัวเล็กที่สุด แต่เดิมพบเฉพาะในบริเวณประเทศเยอรมนี และประเทศฝรั่งเศส สำหรับในประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์คอมพ์ซอกนาธัสที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกค้นพบเป็นกระดูกชิ้นเล็กๆ สองชิ้น มีรูกลวงตรงกลางคล้ายกระดูกนกหรือกระดูกไก่ หลังการตรวจสอบพบว่าเป็นกระดูกขาหลังท่อนล่างชิ้นหนึ่ง และเป็นกระดูกขาหน้าชิ้นบนอีกชิ้นหนึ่ง ของไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกนาธัสที่พบในแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียสเป็นจำนวนมากใน ประเทศไทย ซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้
    พบในชั้นหินของหมวดหินพระวิหาร อายุประมาณ 140 ล้านปี บริเวณที่พบมี 4 แห่ง ได้แก่

    * บริเวณลานหินป่าชาด อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
    พบรอยเท้าไดโนเสาร์ซึ่งทำให้ทราบว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ เดินด้วยขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไว มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังพบรอยเท้าไดโนเสาร์พวกคาร์โนซอร์ที่มีขนาด ใหญ่กว่า

    * บริเวณน้ำใสใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี
    พบรอยเท้าไดโนเสาร์เทอโรพอดขนาดใหญ่ มีรอยเท้ากว้าง 26 ซม. ยาว 31 ซม. รวมทั้งพวกออร์นิโธพอดและซีลูโรซอร์ซึ่งเป็น ไดโนเสาร์ขนาดเล็ก รอยเท้ากว้าง 14 ซม. ยาว 13.7 ซม.

    * บริเวณภูแฝก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
    พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์ รอยเท้ากว้าง 40 ซม. ยาว 45 ซม.

    * บริเวณภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภู
    พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดย่อม แต่ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์หลายชนิดในชั้นหินของหมวดหินเสาขัว บริเวณแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูเวียง ดังนี้ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส ในแสตมป์

    * ซากดึกดำบรรพ์ สยามโมไท รันนัส อิสานเอนซิส
    ซากดึกดำบรรพ์สยามโมไทรันนัส ถูกค้นพบที่บริเวณหินลาดยาว อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 โดยพบกระดูกสันหลังหลายชิ้นโผล่ออกมาจากชั้นดินทรายสีแดงของหินหมวดเสาขัว ต่อมาพบกระดูกสะโพกด้านซ้าย และกระดูกส่วนหางอีกหลายชิ้นเรียงต่อกัน หลังจากที่คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดแล้วก็พบว่า เป็นไดโนเสาร์ตระกูลใหม่ของไทย จึงได้ตั้งชื่อว่า สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis)

    ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน

    * ซากดึกดำบรรพ์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน

    ซากดึกดำบรรพ์ภูเวียงโกซอรัส ถูกค้นพบที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ 3 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนกลางตัว 4 ชิ้น กระดูกซี่โครงหลายชิ้น กระดูกสะบักซ้ายและส่วนปลายสะบักขวา กระดูกต้นขาหน้าซ้าย บางส่วนของกระดูกแขน กระดูกสะโพกทั้งสองข้าง กระดูกต้นขาทั้งสองข้าง และกระดูกหน้าแข้งซ้าย ลักษณะของกระดูกที่พบบอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ มีขนาดใกล้เคียงกับ คัมมาราซอรัส ที่ถูกค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว จึงอัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งเป็นชื่อใหม่ว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosauraus sirindhornae)

    สยามโมซอรัส สุธีธรนิ ในแสตมป์

    * ซากดึกดำบรรพ์ สยามโมซอรัส สุธีธรนิ

    ซากดึกดำบรรพ์สยามโมซอรัส พบเพียงแค่ฟัน ที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยฟันที่ค้นพบมีลักษณะเป็นแท่งกรวยปลายแหลม มีสันเล็กๆ ยาวตลอดฟัน ซึ่งต่างจากฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอดทั่วไป ที่แบน และมีรอยหยัก สันนิษฐานว่าสยามโมซอรัสเป็นเทอโรพอดที่มีลักษณะปากคล้ายสัตว์เลื้อยคลานพวกกินปลา หรือเพลสซิโอซอร์ และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร ผู้ค้นพบ ว่า สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus suteethorni)

    * ซากดึกดำบรรพ์คาร์โนซอร์

    ซากดึกดำบรรพ์คาร์โนซอร์ พบเพียงแค่ฟัน ที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยฟันที่ค้นพบมีลักษณะแบน ปลายแหลม โค้งงอเล็กน้อยคล้ายมีดโค้ง ที่ขอบมีรอยหยักเหมือนมีดหั่นเนื้อ ฟันลักษณะนี้เป็นฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกเทอโรพอด ซึ่งคาดว่าเป็นไดโนเสาร์คาร์โนซอร จากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากที่แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ ภูเวียงนี่เอง ทำให้บริเวณนี้ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่ง ชาติ ภูเวียง ในปี พ.ศ. 2535 และเป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    * ซากดึกดำบรรพ์ซิททาโคซอรัส

    ซิตตาโคซอรัส เป็นไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดหนึ่ง แต่เดิมพบเฉพาะในบริเวณประเทศจีน ประเทศมองโกเลีย และไซบีเรีย สำหรับในประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ซิททาโคซอรัสที่จังหวัดชัยภูมิ ในชั้นหินของหมวดหินโคกกรวด ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่เป็นกะโหลกด้านซ้าย และกรามล่างด้านขวาที่มีฟันครบ และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบ ว่า ซิตตาโคซอ รัส สัตยารักษ์คิ (Psittacosaurus sattayaraki)

    * ซากดึกดำบรรพ์อิกธิโอซอร์

    ดร.จงพันธ์ จงลักษมณี นักโบราณชีววิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ได้พบฟอสซิลของอิกธิโอซอร์ ขนาดตัวยาวเพียง 20 ซม. ในหินปูนยุคไทรแอสสิกตอนปลาย ที่เขาทอง จังหวัดพัทลุง อิกธิโอซอร์ที่พบตัวนี้มีวิวัฒนาการอยู่ในช่วงปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตในทะเล ยังไม่สมบูรณ์ดี แขนทั้งสองข้างยังเปลี่ยนเป็นใบพายไม่สมบูรณ์นัก รูปร่างและโครงสร้างของกะโหลกยังเหลือร่องรอยของการสืบทอดจากสัตว์บกอยู่มาก
    ฟอสซิลของอิกธิโอซอร์ชิ้นนี้นั้บเป็นอิกธิโอซอร์ที่โบราณมาก แตกต่างไปจากพวกที่เคยพบมาแล้ว จึงได้ชื่อใหม่ว่า "ไทยซอรัส จงลักษมณี" (Thaisaurus chonglakmanii) เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 23-05-2010 at 16:29.

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164
    ซากดึกดำบรรพ์และ ไดโนเสาร์ในประเทศไทย
    วันที่ 30 ก.ค. 2551

    ซากดึกดำ บรรพ์ และไดโนเสาร์ ไดโนเสาร์ (DINOSAUR) ก่อนจะมารู้ จักกับไดโนเสาร์ เรามาทำความรู้จักกับคำว่าซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) กันก่อน ซากกระดูก ของไดโนเสาร์ซอโรพอด ซากดึกดำ บรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil) คือซากหรือร่อง รอยของพืชหรือสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติในชั้นหินในเปลือกโลก

    ประโยชน์ของ ฟอสซิล

    ฟอสซิลสามารถบอกให้เราทราบถึงชนิดรูปแบบและ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วงระยะเวลาทาง ธรณีวิทยารวมทั้งบ่งบอกสภาพแวดล้อมของโลกในอดีตกาลอีกด้วยเนื่องจากในแต่ละ ช่วงระยะ เวลาทางธรณีวิทยาจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเฉพาะบางชนิดเท่านั้น
    จาก การคำนวณหาอายุของหินทั้งในโลกและจากดาวต่างๆในระบบสุริยจักรวาลโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จากดวงจันทร์ โดยการศึกษาไอโซโทป(isotope)ของธาตุกัมมันตรังสีต่างๆ(radioactive elements) ที่เป็นส่วนประกอบของหิน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบอายุของโลกโดยประมาณ 4,600,000,000 ปี (4.6 billion years) และแบ่งช่วง ระยะเวลาทางธรณีดังกล่าวออกเป็น บรมยุค(eon) มหายุค(era) ยุค (period) และ สมัย (epoch)

    ไดโนเสาร์เป็น สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินและสูญพันธุ์หมดสิ้นจากโลกนี้ เมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้ว ในปัจจุบันพบเพียงซากกระดูกส่วนต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกว่าฟอสซิลของไดโนเสาร์คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์ ที่ใหญ่โต มโหฬารหรือเป็นสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์เช่นเดียวกับปลาวาฬ บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก แต่โดยความเป็นจริง ไดโนเสาร์มี ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมากมาย ตั้งแต่ขนาดใหญ่มหึมา น้ำหนักกว่า 100 ตัน สูงมากกว่า 100 ฟุต จนถึงพวกที่ขนาดเล็ก ๆ บางชนิดก็มีขนาดเล็กกว่าไก่ บางพวกเดินสี่ขา บางพวกก็เดินและวิ่งบนขาหลัง 2 ข้าง บางพวกกินแต่พืชเป็นอาหาร ในขณะที่อีกพวกหนึ่งกินเนื้อเช่นเดียวกับสัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
    ไดโนเสาร์ พวกแรกปรากฎขึ้นมาในโลกในช่วงตอนปลายของยุคไทรแอสสิกเมื่อกว่า225ล้านปีมา แล้วเป็นเวลาที่ทวีปทั้งหลาย ยังต่อเป็นผืนเดียวกัน สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้มีชีวิตอยู่และมีวิวัฒนาการตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 160 ล้านปี กระจัด กระจายแพร่หลายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินในโลก แล้วจึงได้สูญพันธุ์ไปหมดในปลายยุคครีเทชียสหรือเมื่อ 65 ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว ในขณะที่ต้นตระกูลของมนุษย์เพิ่งจะปรากฎในโลกเมื่อ 5 ล้านปีที่ผ่านมา หลังจาก ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 60 ล้านปี และเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันนั้นเพิ่งเริ่มต้นมาเมื่อไม่เกินหนึ่งแสนปี มานี่เองมนุษย์มักจะคิดว่าไดโนเสาร์นั้นโง่และธรรมชาติสร้างมาไม่เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม จึงทำให้มันต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด ความคิดนี้ไม่ถูก โดยแท้จริงแล้วไดโนเสาร์ได้เจริญแพร่หลายเป็น เวลายาวนานกว่า 30 เท่า ที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในโลก ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานนี้ไดโนเสาร์ได้มีวิวัฒนา การออกไปเป็นวงศ์สกุลต่าง ๆ กันมากมาย เท่าที่ค้นพบและจำแนกแล้วประมาณ 340 ชนิด และคาดว่า ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังรอคอยการค้นพบอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วโลก ทุกวันนี้ ทั่วโลกมีคณะสำรวจ ไดโนเสาร์อยู่ประมาณ 100 คณะทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ประมาณว่ามี การค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้น 1 ชนิดในทุกสัปดาห์ นักโบราณชีววิทยา แบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ โดยอาศัยความแตกต่างของกระดูกเชิงกราน คือ

    1. พวกซอริสเซียน (Saurischians) มีกระดูกเชิง กรานเป็นแบบสัตว์เลื้อยคลาน คือ กระดูก พิวบิส และอิสเชียมแยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง
    2. พวกออรืน ิธิสเชียน (Ornithiscians) มีกระดูก เชิงกรานเป็นแบบนก คือ กระดูกทั้ง 2 (พิวบิสและอิสเชียม) ชี้ไปทางด้านหลัง
    ฟัน ของไดโนเสาร์ซอโรพอด พบจากแหล่งขุดค้นวัดสักกะวัน จ.กาฬสินธุ์
    ฟัน กรามล่างของไดโนเสาร์ปากนกแก้ว ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี

    การค้นพบ ไดโนเสาร์

    นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องฟอสซิลได้ ค้นพบไดโนเสาร์มานานแล้ว แต่มีการตั้งชื่อไดโนเสาร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2384(ค.ศ.1841)ในการประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าในประเทศอังกฤษ โดยศาสตราจารย์ ริชาร์ด โอเวน หลังจากนั้นทำให้ฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ได้ค้นพบกันมานานเป็น ที่รู้จักแพร่หลาย
    คำว่าไดโนเสาร์(dinosaur) มาจากภาษากรีกโดยคำว่า"ไดโน"(deinos) แปลว่าน่ากลัวมาก และ"ซอรอส" หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน

    การสูญพันธุ์ ของไดโนเสาร์

    ปัจจุบันไดโนเสาร์ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว และมีแนวความคิดหรือสมมติฐานเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ มากมายโดยอ้างถึงสาเหตุต่างๆเช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการระเบิดจากนอกโลก(supernova) เป็นต้น แต่มีอยู่ 2 สมมติฐานที่ได้รับความสนใจและเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างเข้มข้นได้แก่

    * การชนโลกของดาว เคราะห์น้อย(Asteroid Impact or K-T Impact)
    การชนทำให้เกิดการระเบิดและ ฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองสู่บรรยากาศโลก เป็นเสมือนม่านบดบังแสงอาทิตย์ เป็นผลให้เกิดความมืดมิดและความหนาวเย็นอย่างฉับพลันอยู่นานเป็นเดือนๆจน ไดโนเสาร์ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว
    แนวความคิดหรือ สมมติฐานนี้อ้างหลักฐานการพบธาตุIridium ปริมาณมากกว่าปกติในชั้น clay บางๆที่มีอายุอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างยุค Cretaceous และ Tertiary(K-T boundary) ใน บริเวณต่างๆของโลก นอกจากนั้นยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่าเกิดจากการชนของดาวเคราะน้อย คือChicxulub Structure ที่แหลม Yucatan ในประเทศเมกซิโก
    * การระเบิด ของภูเขาไฟที่ที่ราบสูง Deccan ในประเทศอินเดีย(Deccan Traps Volcanism)
    การ ระเบิดครั้งนี้เป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในช่วงอายุของโลกและเป็นการ ระเบิดที่เนื่องมาจาก mantle plume หรือ hotspot จากใต้โลก เป็นผลทำให้ลาวาชนิด basaltic (basaltic lava) จำนวนมหาศาลไหลสู่เปลือกโลก ปกคลุมพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางไมล์ และหนากว่า 1 ไมล์ เกิด mantle degassing ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำถูกนำขึ้นสู่ผิวโลกด้วยอัตราที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดชั้น greenhouse gases ในบรรยากาศกักเก็บความร้อน จากดวงอาทิตย์ไว้ที่ผิวของโลกไม่ให้มีการถ่ายเท อุณหภูมิจึงสูงขึ้น รวมทั้งทำให้วัฏจักรของคาร์บอนและออกซิเจน เปลี่ยนแปลงจนนำมาสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ส่วน ปลายของกระดูกอิสเซียมของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด

    ซากดึกดำ บรรพ์ของไดโนเสาร์ในประเทศไทย

    เมื่อไดโนเสาร์ตาย ส่วนอ่อนๆ เช่น เนื้อและหนังจะเน่าเปื่อยหลุดไป เหลือแต่ส่วนแข็ง เช่น กระดูกและฟัน ซึ่งจะถูกโคลนและทรายทับถมเอาไว้ ถ้าการทับถมของโคลนทรายเกิดขึ้นอย่าวรวดเร็วก็จะคงเรียงรายต่อกันในตำแหน่ง ที่มันเคยอยู่เป็นโครงร่าง แต่หากการทับถมเกิดขึ้นอย่าง ช้าๆกระดูกก็จะมีโอกาสถูกทำให้กระจัดกระจายปะปนกัน การทับถมของโคลนทรายทำให้อากาศและออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของ แบคทีเรียไม่สามารถเข้าถึง ซากได้ ขณะเดียวกันน้ำและโคลนที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลไซต์ เหล็กซัลไฟด์และซิลิก้าก็ค่อยๆซึมเข้าไปในเนื้อกระดูก อุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่ ทำให้กระดูกเหล่านั้นแกร่งขึ้น สามารถรับน้ำหนักของหิน ดิน ทรายที่ทับถมต่อมาภายหลังได้ นานๆเข้ากระดูกจะกลายเป็นหิน มีเพียงฟันที่ไม่ค่อยจะถูกแปรสภาพเท่าไรเนื่องจากฟันเป็นส่วนที่แข็งที่สุด บางครั้งแร่ธาตุบางอย่างเข้าไปกัดกร่อนละลายกระดูกและทิ้งลักษณะกระดูกไว้ เป็นโพรง โพรงเหล่านี้จึงกลายเป็นเสมือนแม่พิมพ์และต่อมาเมื่อแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่ เต็มโพรงก็จะเกิดเป็นรูปหล่อ ของชิ้นกระดูก บางครั้งเมื่อไดโนเสาร์ตายใหม่ๆแล้วถูกทับถมด้วยโคลนแล้วเนื้อหนังเปื่อย เน่าเป็นโพรงก็จะเกิดรูปหล่อของรอยผิวหนังทำให้เรารู้ลักษณะของผิวหนัง ในที่บางแห่งซากไดโนเสาร์ ถูกน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันเกิดเป็นชั้นสะสมของกระดูกไดโนเสาร์
    นอก จากฟอสซิลกระดูก ฟันและร่องรอยของผิวหนังแล้ว ไดโนเสาร์ยังทิ้งรอยเท้าไว้บนโคลน ฟอสซิลรอยเท้าเหล่านี้ทำให้ทราบ ถึงชนิด ลักษณะท่าทางของไดโนเสาร์เช่น เดิน 2 ขาหรือ 4 ขา เชื่องช้าหรือว่องไว อยู่เป็นฝูงหรืออยู่เดี่ยวๆ บางครั้งพบมูลของไดโนเสาร์กลายเป็นฟอสซิล เรียกว่า คอบโปรไลท์ ซึ่งทำให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของลำไส้ ไข่ไดโนเสาร์ที่พบเป็นฟอสซิลก็ทำให้ทราบว่าไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่ บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดไหน นอกจากนี้ยังมีการค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดก็ดูแลลูกอ่อนด้วย
    เมื่อยุคไดโนเสาร์ผ่านไป หลายล้านปีชั้นของทรายและโคลนยังคงทับซากไดโนเสาร์ไว้จนกลายเป็นหินและถูก ผนึก ไว้ในชั้นหินด้วยซีเมนต์ธรรมชาติได้แก่ โคลนทราย จนเมื่อพื้นผิวโลกมีการเคลื่อนตัว ชั้นหินบางส่วนถูกยกตัวสูงขึ้นแล้วเกิดการกัดกร่อนทำลายชั้นหินโดยความร้อน จากดวงอาทิตย์ ความเย็นจากน้ำแข็ง ฝน และลม จนกระทั่งถึงชั้นที่มีฟอสซิลอยู่ทำให้บางส่วนของฟอสซิลโผล่ออกมาเป็นร่องรอย ให้นักวิทยาศาสตร์มาขุดค้นต่อไป
    เนื่องจากไดโนเสาร์เป็นสัตว์บก มีชีวิตอยู่ในช่วงยุค Triassic ถึง Cretaceous หรือประมาณ 245-65 ล้านปีมาแล้ว ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์จึงพบอยู่ในชั้นหินตะกอนที่สะสมตัวบนบกใน ช่วงยุค Triassic ถึง Cretaceous หรือหินในช่วงมหายุค Mesozoic จากการสำรวจธรณีวิทยาในประเทศไทย พบว่าหินที่มีอายุดังกล่าวพบโผล่อยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบสูงโคราชและพบเป็น แห่งๆในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย ชั้นหินดังกล่าวประกอบด้วย หินดินดาน หินทรายแป้ง หินทรายและ หินกรวดมนมีสีน้ำตาลแดงเป็นส่วนใหญ่ ตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและยิปซั่มอยู่ด้วย เนื่องจากชั้นหินเหล่านี้มีสีแดงเกือบทั้งหมดจึงเรียกหินชุดนี้ว่า ชั้นหินตะกอนแดง(red bed) ซึ่ง เรารู้จักกันในชื่อ กลุ่มหินโคราช หินกลุ่มนี้มีความหนากว่า 4,000 เมตร ดังนั้นจึงพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆอยู่ใน บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากมายหลาย แห่ง เช่น ภูเวียง ภูพาน และภูหลวงเป็นต้น
    การค้นหาฟอสซิลของไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้น ในทศวรรษที่ผ่านมานี้เองโดยโครงการศึกษาวิจัยฟอสซิลของสัตว์ มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี ก่อนหน้านี้มีรายงานการวิจัยฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังน้อยมาก ในปีพ.ศ.2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบกระดูกขนาดใหญ่ จากภูเวียง จังหวัดขอนแก่นแต่ผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด พวกกินพืช เดิน 4 เท้า คอยาว หางยาว มีความยาวประมาณ 15 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นรายงานการ ค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปีพ.ศ.2524 และ2525ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆของ ไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆเป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน จึง นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการค้นหาฟอสซิลไดโนเสาร์อย่างจริงจัง

    ฟอสซิ ลไดโนเสาร์ในประเทศไทย

    ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่พบใน ประเทศไทยจนถึงปัจจุบันมีอายุอยู่ระหว่าง 100-200 ล้านปีมาแล้ว แบ่งเป็นยุคต่างๆดังนี้

    * ยุค Triassic ตอนปลาย
    ในปีพ.ศ.2535 กรมทรัพยากรธรณีสำรวจพบกระดูกสะโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด ในชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหิน น้ำพอง ในเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุประมาณ 200ล้านปี นับเป็นกระดูกไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการพบฟอสซิลของพวก โปรซอโรพอดเป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสซิลชนิดนี้จากแหล่งต่างๆทั่วโลก พบว่าโปรซอโรพอดของไทยมีขนาดใหญ่ แข็งแรง อาจยาวถึง 8 เมตร โปรซอโรพอด เป็นไดโนเสาร์ที่กินพืช ฟันมีรอยหยักแบบเลื่อยอย่างหยาบ มีคดยาว เท้าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลัง มีเล็บแหลมคม
    * ยุค Jurassic
    ในปีพ.ศ.2539 คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้พบแหล่งฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ในชั้นหินหมวด ภูกระดึง อายุ 150-190 ล้านปี เป็นฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอดซึ่งกินเนื้อมีลักษณะหยักแบบฟันเลื่อย ฟันของซอโรพอดและฟันของสเตโกซอร์ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
    * ยุคCretaceous
    ยังไม่พบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์เลย พบเพียงแต่รอยเท้าไดโนเสาร์ ทำให้ทราบถึงรูปร่างลักษณะ ขนาด ชนิดและลักษณะการเดิน ชั้นหินที่พบได้แก่หมวดหินพระวิหารอายุประมาณ 140 ล้านปี บริเวณที่พบมี 4 แห่ง ได้แก่
    o ลานหินป่าชาด ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
    พบรอยเท้าไดโนเสาร์ซึ่งทำให้ทราบว่าเป็น ไดโนเสาร์กินเนื้อ เดินด้วยขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไว มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังพบรอยเท้าไดโนเสาร์พวกคาร์โนซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
    o น้ำใสใหญ่ เขาใหญ่ จังหวัดปราจีณบุรี
    พบรอยเท้าไดโนเสาร์เทอโรพอดซึ่งเป็น ไดโนเสาร์เดิน 2 เท้า ขนาดใหญ่ มีรอยเท้ากว้าง 26 ซม. ยาว 31 ซม. รวมทั้งพวก ออร์นิโธพอด และซีลูโรซอร์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก รอยเท้ากว้าง 14 ซม. ยาว 13.7 ซม.
    o ภูแฝก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
    พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวก คาร์โนซอร์ รอยเท้ากว้าง 40 ซม. ยาว 45 ซม.
    o ภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภู
    พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดย่อม แต่ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียด
    * ฟอสซิ ลไดโนเสาร์ในชั้นหินหมวดเสาขัว อายุ 130 ล้านปี
    พบฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ บริเวณประตูตีหมา ภูเวียง และบริเวณใกล้เคียงหลายชนิดคือ
    o กระดูกที่มี ลักษณะใกล้เคียงกับซอโรพอดจากอเมริกาเหนือซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 15 เมตร คอยาวหางยาว เดิน 4 เท้า กินพืชเป็นอาหาร ต่อมาพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดนี้ที่มีสภาพดีทำให้ทราบว่าเป็น ฟอสซิลของไดโนเสาร์ซอโรพอดสกุลใหม่ซึ่งได้รับ พระราชทานพระราชานุญาตอันเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยาม บรมราชกุมารีเป็นชื่อไดโนเสาร์นี้คือ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน(Phuwiangosaurus sirindhornae)
    o ฟันของ ไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ชื่อสยามโมซอรัส สุธีธรนี(Siamosaurus suteethorni)
    o กระดูกขา หลังท่อนล่างและขาหน้าท่อนบนของไดโนเสาร์ซีลูโรซอร์(Coelurosaur) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก มากชนิดหนึ่งเดินด้วย 2 ขาหลัง และกินเนื้อเป็นอาหาร
    ดังนั้นบริเวณภูเวียงจึงถูกประกาศให้เป็นอุทยาน แห่งชาติในปีพ.ศ. 2535 และเป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกใน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้[IMG][/IMG]
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 21-05-2010 at 13:13.

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164
    ไดโนเสาร์ที่พบในไทย


    สยามโมซอ รัส สุธีธรณี (Siamosaurus suteethorni, Buffetaut and Ingavat, 1986)
    ยุค : ครีเตเซียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว
    ไดโนเสาร์ชนิดแรกของไทย ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร ผู้มีส่วนร่วมในการสำรวจ ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นเทอโรพอดขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 7 เมตร ลักษณะฟันรูปทรงกรวยมีแนวร่อง และสันเรียงสลับตลอด ฟันคล้ายจระเขจึงน่าจะอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ และกินปลาเป็นอาหาร
    สถานที่พบ : ทวีปเอเซีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนคร ชัยภูมิ อุดรธานี นครราชสีมา และมุกดาหาร

    ภูเวียง โกซอร์สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae, martin, Buffetaut and Suteethorn, 1994)
    ยุค : ครีเตเซียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว
    ไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดแรกของไทย และตั้งชื่อเพื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นเทอโรพอดขนาดกลางมีความยาว 15 - 20 เมตร เดิน 4 เท้า คอและหางยาวกินพืชเป็นอาหาร มักอยู่รวมกันเป็นฝูง และยังพบกระดูกของพวกวัยเยาว์รวมอยู่ด้วย ซึ่งมีขนาดยาว 2 เมตร และสูงเพียงครึ่งเมตร
    สถานที่พบ : ทวีปเอเซีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี และนครราชสีมา

    สยามโมไท รันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis, Buffetaut and Tong, 1996)
    ยุค : ครีเตเซียสต อนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว
    ไดโนเสาร์เทอโรพอดขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 7 เมตร ขาหลังมีขนาดใหญ่ และแข็งแรง พบกระดูกสันหลังสะโพกและหาง ที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ฝังในชั้นหินทราย จากการศึกษาพบว่า อยู่ในวงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุด ทำให้สันนิษฐานได้ว่ากลุ่มของไทรันโนซอร์ เริ่มมีวิวัฒนาการครั้งแรกในเอเซีย แล้วค่อยแพร่กระจายไปทางเอเซียเหนือ และสิ้นสุดที่อเมริกาเหนือก่อนที่สูญพันธุ์ไป
    สถานที่พบ : ทวีปเอเซีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี และนครราชสีมา

    ซิตะโกซอ รัส สัตยารักษ์กี (Psittacesaurus sattayaraki, Buffetaut and Suteethorn, 1992)
    ยุค : ครีเตเซียสต อนต้น ประมาณ 100 ล้านปีมาแล้ว
    ตั้งชื่อ ให้เป็นเกียรติแก่ นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบ ไดโนเสาร์ชนิดนี้ เป็นไดโนเสาร์พวกเซอราทอปเซียน กินพืชขนาดเล็กมีความยาวเพียง 1 เมตร
    ไดโนเสาร์ปากนกแก้วนี้ในอดีตเราพบว่ามีแพร่หลายอยู่เฉพาะในแถบทวีป เอเซีย กลางบริเวณซานตุง มองโกเลีย และไซบีเรียเท่านั้น ซึ่งการพบฟอสซิลครั้งนี้เป็นการยืนยันว่า เมื่อต้นยุคครีเตเซียส แผ่นดินอินโดจีนเป็นส่วนหนึ่งของเอเซียแผ่นดินใหญ่แล้ว
    สถานที่พบ : ทวีปเอเซีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จ.ชัยภูมิ


    กินรีมิมัส (Kinnareemimus)
    ไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ วิ่งปราดเปรียว เป็นเทอโรพอดที่ไม่มีฟันเลย น่าจะกินทั้งพืชและสัตว์ มีขนาดยาวประมาณ 1 - 2 เมตร

    อิสานโนซอ รัส อรรถวิภัชน์ชี (Isanosaurus attavipatchi, Buffetaut et al., 2000)
    ไดโนเสาร์ ซอโรพอดที่มีลักษณะโบราณที่สุดที่เคยพบมา อยู่ในยุคไทรแอสสิกตอนปลาย อายุประมาณ 209 ล้านปี
    สถานที่พบ : ทวีปเอเซีย ภาคอิสานของไทย จ.ชัยภูมิ

    สเตโก เซอร์
    พบกระดูกสันหลังในชั้นหินทรายสีเทา ซึ่งคาดว่าเป็นของสเตโกเซอร์ เนื่องจากไดโนเสาร์ชนิดนี้มีกระดูกสันหลังที่ต่างจากไดโนเสาร์ชนิดอื่นอย่าง เห็นได้ชัด พบที่ จ.กาฬสินธุ์

    ฮิปซิโล โพดอน
    พบกระดูกขาหลังท่อนบน ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะของพวกฮิปซิโลโพดอน

    คอมพ์ซอก นาธัส (Compsognathus logipes, Buffetaut and igavat, 1984)
    ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก พวกซีลูโรซอร์ ขนาดยาวประมาณ 70 เซ็นติเมตร หนักประมาณ 3.5 กิโลกรัม วิ่งด้วย 2 ขาหลัง

    อิกัวโน ดอน
    เป็นไดโนเสาร์ออร์นิโธพอดชนิดใหม่ คือ เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ที่มีสะโพกแบบนก ขาหลังทั้งสองมีขนาดใหญ่ ขาหน้าเล็กมาก สามารถเดินด้วย 2 ขาหลัง และ 4 ขา พบอยู่ในยุคครีเตเซียสตอนต้น อายุประมาณ 100 ล้านปีก่อน พบที่ จ.อุบลราชธานี

    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 23-05-2010 at 16:32.

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 23-05-2010 at 16:35.

  7. #7
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 23-05-2010 at 16:36.

  8. #8
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 23-05-2010 at 16:36.

  9. #9
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 23-05-2010 at 16:37.

  10. #10
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    Menburi
    กระทู้
    164
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย กาฬสินธุ์ถิ่นไดโน; 23-05-2010 at 16:38.

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •