กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: มารู้จักกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    มารู้จักกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

    มารู้จักกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

    รายชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในส่วนกลาง 5 แห่ง
    และส่วนภูมิภาค จำนวน 35 แห่ง
    รวมเป็น 40 แห่ง


    ส่วนกลาง


    1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
    2.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
    3.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี
    4.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี
    5.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น

    ส่วนภูมิภาค


    6.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
    7.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี
    8.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
    9.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
    10.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
    11.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
    12.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
    13.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
    14.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    15.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    16.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท
    17.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
    18.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
    19.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จังหวัดจันทบุรี
    20.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
    21.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย
    22.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
    23.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
    24.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
    25.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย
    26.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
    27.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน
    28.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
    29.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
    30.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
    31.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด
    32.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
    33.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ l6ibomiN
    34.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ จังหวัดนครราชสีมา
    35.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา
    36.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล
    37.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช
    38.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    39.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
    40.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต


    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 22-05-2010 at 10:02.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า (พื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ 1



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า (พื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมามีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนามหลวงตอนเหนือ อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวง ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และ อาคารมหาสุรสิงหนาท



    ประวัติ




    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



    การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่พระที่นั่งราชฤดีซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ต่อมา เมื่อพระองค์ทรงสร้างพระอภิเนาว์นิเวศน์ขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง จึงโปรดฯ ให้ย้ายโบราณวัตถุและของแปลก ๆ มาไว้ยังพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ในหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ ซึ่งนับเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ หรือ “รอยัล มิวเซียม” (Royal Museum) มิได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม
    ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครขึ้นที่หอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ในปัจจุบัน) เรียกว่า "มิวเซียม" หรือ "พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย" โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 ซึ่งนับเป็นวันกำเนิดของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย พิพิธภัณฑสถานตั้งอยู่ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นเวลา 13 ปี จนกระทั่ง กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จทิวงคต พร้อมกันนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นเหตุให้พระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า ว่างลง พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายพิพิธภัฑสถานมาจัดแสดงโดยใช้พื้นที่ของพระราชวังบวรฯ บางส่วน ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดฯ ให้มีการปรับปรุงพื้นที่เขตวังหน้าและให้ตัดพื้นที่บางส่วนไปใช้ในราชการทหารด้วย



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



    ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายฝ่ายกรมพระราชวังบวรฯ เหลือน้อยพระองค์ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรฯ เข้าไปประทับในพระบรมมหาราชวัง และพระราชทานพระมหามณเฑียร ณ ขณะนั้นให้เป็นโรงทหาร จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดฯ ให้ย้ายโรงทหารไปอยู่ที่วังจันทรเกษม (บริเวณกระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบัน) ส่วนพระราชมณเฑียรของพระราชวังบวรฯ ทั้งหมดจัดเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครและหอสมุดพระวชิรญาณเพื่อจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2469 ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อ พ.ศ. 2477


    ในปี พ.ศ. 2510 ได้สร้างอาคารเพิ่มขึ้นอีก 2 หลัง คือ "อาคารมหาสุรสิงหนาท" ปัจจุบัน จัดแสดงความเป็นมา ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และในยุคประวัติศาสตร์ตั้งแต่อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี ตลอดจนอิทธิพลอารยธรรมอินเดียสมัยก่อนพุทธศักราช 1800 และ "อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์" ปัจจุบัน จัดแสดงศิลปวัตถุจากอาณาจักรล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ตลอดจนจัดแสดงงานประณีตศิลป์ของกรุงรัตนโกสินทร์



    ของจัดแสดง


    แนวทางการจัดแสดง ปัจจุบัน พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร แบ่งการจัดแสดง ออกเป็น 3 หัวเรื่องใหญ่ ๆ คือ



    1.ประวัติศาสตร์ชาติไทย จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

    2.ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย จัดแสดงตามยุคสมัย คือ

    2.1สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงในอาคารส่วนหลัง ของ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน
    2.2สมัยประวัติศาสตร์ จัดแสดงในอาคารใหม่ 2 หลัง ที่สร้างขนาบสองข้างของหมู่วิมานเมื่อ พ.ศ. 2510 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สมัยก่อนพุทธศักราช 1800 ได้แก่ สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย และ สมัยลพบุรีจัดแสดงในอาคารมหาสุรสิงหนาท และส่วนที่ 2 คือ สมัยหลังพุทธศักราช 1800 เป็นต้นมา จนถึง สมัยรัตนโกสินทร์จัดแสดงในอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์

    3 ประณีตศิลป์ และ ชาติพันธุ์วิทยา จัดแสดงในหมู่พระวิมาน คือ พระที่นั่งวสันตพิมาน พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ และ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา ศิลปโบราณวัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องมุก เครื่องดนตรี เครื่องไม้จำหลัก ผ้าโบราณ เครื่องถ้วย เครื่องสูง ราชยานคานหาม อาวุธโบราณ เครื่องใช้ในพิธีพระพุทธศาสนา และ อัฐบริขารของสงฆ์ และ เครื่องการละเล่นต่าง ๆ เช่น หัวโขน หุ่นกระบอก หุ่นเล็ก และหนังใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมี ราชรถที่ใช้ในกระบวนแห่พระบรมศพ คือพระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตรราชรถ ราชรถน้อย และ เครื่องประกอบการพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ใช้ใน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ จัดแสดงใน อาคารโรงราชรถ

    นอกจากศิลปะโบราณวัตถุแล้ว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังมีโบราณสถานคือ พระที่นั่ง และ พระตำหนักบางองค์ ที่เป็นตัวอย่างของ งานสถาปัตยกรรมไทยที่งดงาม เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ภายในพระที่นั่งประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และมีจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามยิ่ง พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระตำหนักแดง ที่ประทับ ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 รวมไปถึง พระที่นั่งขนาดย่อม และศาลาทรงไทยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ศาลาสรง ศาลาสำราญมุขมาตย์ พระที่นั่งมังคลาภิเษก และ พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศนัย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังคงมีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทย ที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน



    พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน


    เดิมเคยเป็นห้องสำหรับสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จออกขุนนางและบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ ปัจจุบันจัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทย
    - สมัยสุโขทัย จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการก่อตั้งอาณาจักร สถาปัตยกรรม การชลประทานการผลิตเครื่องสังคโลก ศิลาจารึกหลักที่ 1 สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19)
    - สมัยกรุงศรีอยุธยา จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมือง การปกครองและเหตุการณ์ณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ตู้จัดแสดงเหตุการณ์สงครามเสียพระสุริโยทัย พ.ศ. 2091
    - สมัยรัตนโกสินทร์ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี เครื่องราชบรรณาการ เทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ และการเข้าร่วมสงครามโลก กองทัพทหารไทยอาสาเข้าไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 พ.ศ. 2461


    พระที่นั่งพุทไธสวรรย์


    องค์พระพุทธสิหิงค์ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
    พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 สำหรับประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติและภาพเทพชุมนุม
    พระพุทธสิหิงค์ ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้มาจากลังกาแล้วนำขึ้นไปถวายพระเจ้ากรุงสุโขทัย จากนั้นได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานหลายเมือง เช่น กรุงศรีอยุธยา กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่
    พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะสุโขทัย สำริดกะไหล่ทอง สูง 166 ซม.
    ภาพเขียนพุทธประวัติ ตอนเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์



    พระตำหนักแดง


    เดิมนั้นตั้งอยู่บริเวณด้านหลังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดฯให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งเป็นพระพี่นางพระองค์เล็ก และก็ได้สร้างพระตำหนักเขียวขึ้นเพื่อถวายเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี ซึ่งเป็นพระพี่นางพระองค์ใหญ่
    เมื่อสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. ๒๓๓๒ แล้ว พระธิดา คือ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ได้ทรงครอบครองตำหนักแดงต่อมา จนกระทั่งทรงย้ายไปประทับกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยผู้ทรงเป็นพระภัศดา (ในขณะที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี
    และเมื่อสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้ทรงย้ายที่ประทับจากพระราชวังเดิม กรุงธนบุรีมาประทับในพระบรมมหาราชวังพร้อมกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๒ (เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด) สมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ฯ ทรงมีพระราชโอรสสามพระองค์ สิ้นพระชนม์หนึ่งพระองค์ เหลือ ๒ พระองค์คือ


    ๑. สมเด็จเจ้าฟ้าชายมงกุฏ (ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔)
    ๒. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี (ได้รับพระราชทานพระบวรราชาภิเษกเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว )
    ครั้นถึงรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๒ ได้เสด็จออกไปประทับอยู่พระราชวังเดิมกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเหตุที่ว่าในระยะเวลาช่วงนั้น ภายในพระบรมมหาราชวังมีการเปลี่ยนแปลงให้รื้อตำหนักเครื่องไม้ในพระราชวังหลวงสร้างเป็นตำหนักตึก รัชกาลที่ ๓ จึงได้พระราชทานตำหนักแดงของเดิมให้ไปปลูกถวาย ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี

    เมื่อสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี สวรรคตในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายที่ประทับจากพระราชวังเดิม กรุงธนบุรีมาอยู่ภายในพระราชวังบวรสถานมงคล จึงโปรดเกล้าฯให้รื้อตำหนักแดงจากพระราชวังเดิมให้มาสร้างใหม่ที่ท้ายพระบวรราชวัง (บริเวณที่ตั้งของอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน) เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระตำหนักแดงไม่ได้รับการดูแลจึงชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จนกระทั่งถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ปี พ.ศ. 2470 สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จประพาสพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้ทอดพระเนตรเห็นพระตำหนักแดงชำรุดทรุดโทรม จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2471 โดยสมเด็จพระพันวัสสาฯ ได้เสด็จมาบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระตำหนักแดงด้วยพระองค์เอง

    ต่อมาในปี 2506 ได้มีการปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ย้ายพระตำหนักแดง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่พระวิมานมาปลูกที่หลังพระที่นั่งศิวโมกขพิมานดังที่เห็นในปัจจุบัน

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




    จาก
    วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
    http://www.sadoodta.com/
    http://farm3.static.flickr.com/
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ภูเบตร์
    วันที่สมัคร
    Feb 2009
    กระทู้
    197
    ตอนมาเรียน กรุงเทพฯใหม่ๆ ไปนับ เทือ บ่ ได้ ครับ

  4. #4
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอเจ้าฟ้า)


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
    (หอเจ้าฟ้า)




    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป อยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า เป็นศูนย์รวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะทั้งแบบประเพณีไทยโบราณ และแบบสากลร่วมสมัยของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทยทั้งในอดีต และปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีภาพเขียนสีน้ำมันฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ติดตั้งแสดงอยู่ด้วย


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอเจ้าฟ้า)



    ประเภทการจัดแสดง

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดแสดงศิลปวัตถุประเภททัศนศิลป
    เพื่อให้เห็นถึงวิวัฒนาการของการสร้างสรรค์งานศิลปะตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน รวม 113 รายการ แบ่งเป็น

    1. ศิลปะแบบไทยประเพณี จำนวน 54 รายการ
    2. ศิลปะร่วมสมัย จำนวน 59 รายการ


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอเจ้าฟ้า)


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอเจ้าฟ้า)



    อาคารนิทรรศการถาวร


    ชั้นล่าง คือ สถานที่จัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ตั้งแต่สมัยศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ผลงานศิลปะส่วนใหญ่เป็นสมบัติของหอศิลปแห่งชาติโดยการจัดซื้อ บริจาค และที่ศิลปินและหน่วยงานต่างๆ ให้ยืม แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

    1. ห้องผลงานภาพฝีพระหัตถ์ จัดแสดงภาพฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เป็นภาพประกอบเรื่องในวรรณคดี "ศกุนตลา" เขียนด้วยสีน้ำ ซึ่งทรงวาดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463 และภาพฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ซึ่งทรงพระราชทานยืมให้จัดแสดงในคราวปฐมฤกษ์เปิดหอศิลปแห่งชาติ อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2520


    2. ห้องผลงานศิลปินอาวุโส จัดแสดงผลงานศิลปะสมัยใหม่ของศิลปินไทยตั้งแต่ยุคบุกเบิก ศิลปินอาวุโสหลายท่านได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินยอดเยี่ยม เช่น ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี นายเขียน ยิ้มศิริ นายเฟื้อ หริพิทักษ์ นางมีเซียม ยิบอินซอย นายสวัสดิ์ ตันติสุข นายประสงค์ ปัทมนุช นายประหยัด พงษ์ดำ นายชะลูด นิ่มเสมอ นายดำรง วงศ์อุปราช นายบรรจบ พลาวงศ์ นายมานิตย์ ภู่อารีย์ เป็นต้น


    3. ห้องผลงานศิลปินร่วมสมัย จัดแสดงผลงานศิลปะสมัยใหม่ของศิลปินไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ศิลปกรรมยอดเยี่ยมและผลงานเด่นๆ ของแต่ละท่าน เช่น นายสุเชาว์ ศิษย์คเณศ นายจักรพันธ์ โปษยกฤต นายประเทือง เอมเจริญ นายนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน นายชวลิต เสริมปรุงสุข นายเกียรติศักดิ์ ชานนนารถ นายกมล สุวุฒโฑ นายกมล ทัศนาญชลี นายอิทธิพล ตั้งโฉลก นายเฉลิมชัย โฆสิตพิพัฒน์ นายปรีชา เถาทอง นายสมศักดิ์ เชาว์ธาดาพงษ์ นายปัญญา วิจินธนสาร เป็นต้น


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอเจ้าฟ้า)



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอเจ้าฟ้า)



    ชั้นบน

    จัด แสดงงานศิลปะแบบไทยประเพณี ศิลปะแบบไทยประเพณีนั้นหมายถึง งานศิลปะที่สร้างขึ้นจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในโบสถ์ วิหาร ตู้พระธรรม ลายรดน้ำ บานประตูไม้แกะสลัก และพระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งมีรูปแบบการสร้างลวดลายเรื่องราว และเทคนิคกรรมวิธีการสร้างงานที่ประณีต เป็นเอกลักษณ์พิเศษของไทยโดยเฉพาะ โดยยึดถือเป็นคตินิยมและธรรมเนียมสืบทอดต่อกันมา ศิลปะแบบไทยประเพณีนั้นมี 2 ประเภท คือ จิตรกรรมและประติมากรรม


    ส่วนใหญ่งานศิลปะที่จัดแสดงในปัจจุบันเป็นงานประเภทจิตรกรรม เช่น ภาพคัดลอกอดีตพระพุทธเจ้าจากจิตรกรรมฝาผนังจากวัดเจดีย์เจ็ดแถว จังหวัดสุโขทัยและพระนครศรีอยุธยา ภาพพระบฎรูปพระพุทธเจ้าจากวัดอุโมงค์ จังหวัดตาก ลายรดน้ำที่ตู้พระธรรม ภาพเล่าเรื่องตอนต่างๆ ในวรรณคดีอิเหนา รามเกียรติ์และพงศาวดาร โดยช่างฝีมือที่มีชื่อเสียงในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และขรัวอินโข่ง เป็นต้น


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอเจ้าฟ้า)


    อาคารนิทรรศการหมุนเวียน


    จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนตลอดทั้งปี ผู้เข้าชมมีโอกาสชื่นชมผลงานศิลปะ ทั้งที่เป็นผลงานของศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่า


    ลานโล่งแสดงประติมากรรมกลางแจ้ง นิทรรศการชั่วคราว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (หอเจ้าฟ้า)




    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  5. #5
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก




    ที่อยู่
    ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120



    กิจกรรมที่ดำเนินการ



    -คลังกลางและศูนย์ข้อมูล โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
    - พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาติพันธุ์วิทยา
    - หอศิลปะเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9
    - ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 เป็นพิพิธภัณฑ์ทางด้าน ชาติพันธุ์วิทยา ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี


    บนเนื้อที่ 305 ไร่ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สำคัญยิ่งของพสกนิกรชาวไทย กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง จึงได้อัญเชิญนามพระราชพิธีมาเป็นชื่อหน่วยงานนี้ว่า "พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก"โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ด้านชาติพันธุ์วิทยา นั้นกำเนิดมาจากนโยบายของกรมศิลปากรที่ตระหนักถึงแนวทางการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ที่มุ่งเน้นทางด้านการกระจายความเจริญจากเมืองไปสู่ชานเมือง


    นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเฉพาะสาขาในส่วนกลาง ลำดับที่ 3 นอกจากนี้ทางกรมศิลปากรได้จัดให้พิพิธภัณฑสถานเฉพาะด้านสาขาอื่นๆ ผนวกกับการสร้างอาคารของหน่วยงานอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม ที่โยกย้ายออกจากกรุงเทพฯ มารวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเตรียมจัดให้เป็นพื้นที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แหล่งเรียนรู้สหสาขาวิชาที่ครอบคลุมความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับคนไทยทั้งศิลปวัฒนธรรมชาติพันธุ์วิทยา และธรรมชาติวิทยา


    เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์การเรียนรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียน เป็นบทนำการเดินทางท่องเที่ยวและศึกษาในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศภายในพื้นที่โครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษกจึงมีพิพิธภัณฑ์และหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ อยู่ร่วมกันหลายหน่วยงาน อาทิ หอจดหมายแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 หออัครศิลปิน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยา



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

    เศียรอสูร




    *****************************


    หอจดหมายแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9




    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก



    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 กรมศิลปากรได้ทำการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขึ้น เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นสิ่งอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 720.4 ล้านบาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่บนพื้นที่ 75 ไร่ อาคารก่อสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ สมัยรัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคาร 4 ส่วน มีทางเชื่อมและลานเอนกประสงค์รวมพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย อาคารส่วนที่ 1 อาคารเก็บเอกสารจดหมายเหตุ เป็นอาคาร 9 ชั้น มีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร อาคารส่วนที่ 2 อาคารให้บริการค้นคว้า มีพื้นที่ 4,500 ตารางเมตร อาคารส่วนที่ 3-4 อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริมีพื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ลานเอนกประสงค์ เป็นส่วนจัดกิจกรรม มีพื้นที่ 3,500 ตารางเมตร อาคารทั้ง 4 อาคารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติแห่งนี้ ทางกรมศิลปากรต้องการให้เป็นหอสมุดจดหมายเหตุแห่งชาติที่สมบูรณ์ที่สุด ในการเก็บรวบรวมเอกสารสำคัญของชาติเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ค้นคว้า วิจัยให้แก่หน่วยงานราชการ เอกชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป อำนวยประโยชน์ในการรวบรวมจัดเก็บจัดแสดง ให้บริการสืบค้นและอนุรักษ์เอกสารที่เกี่ยวเนื่องในพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ อาทิ พระราชหัตถเลขา พระบรมราโชวาท พระราชดำรัส พระราชนิพนธ์ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์ พระบรมฉายาลักษณ์ แถบบันทึกพระสุรเสียง ฯลฯ ตลอดจนเอกสารการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติต่างๆ หอจดหมายเหตุแห่งชาติแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ให้ความรู้ และให้เยาวชนรุ่นหลังได้ซาบซึ้งถึงพระปรีชาสามารถในการปกครองแผ่นดิน รวมไปถึงความจงรักภักดีของพสกนิกรชาวไทยที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

    ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เชื่อว่าถ่ายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2448



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

    คลองแห่งหนึ่งในบางกอก ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก



    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก


    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

    พบที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ



    *******************************




    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติจังหวัดปทุมธานี




    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก


    อาคารของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติจังหวัดปทุมธานี
    หนึ่งในกลุ่มพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกาญจนาภิเษก[/CENTER]



    ประวัติความเป็นมา

    เนื่องด้วยกระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมศิลปากร ได้จัดตั้งสถาบันศิลปวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อเป็นศูนย์รวมของพิพิธภัณฑสถานด้านต่าง ๆ เป็นแหล่งความรู้และกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับประชาชนทั่วไป จึงได้มอบที่ดินราชพัสดุเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑสถาน ที่บริเวณคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และกรมทรัพยากรธรณีในฐานะที่เป็นส่วนราชการ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการบริหาร และจัดการทรัพยากรธรณี จึงได้จัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งจากจำนวน 12 โครงการ ตามแผนการจัดตั้งสถาบันศิลปวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาส ที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เพื่อให้เป็นสถานที่อนุรักษ์แหล่งข้อมูลอ้างอิง และตัวอย่างที่สำคัญทางธรณีวิทยา นอกจากนี้ก็เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะเยาวชน ได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และเป็นแหล่งกิจกรรมด้านธรณีวิทยา อันมีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์



    สถานที่ตั้ง

    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทางธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่ คลอง 6 ถ. รังสิต-องครักษ์ อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี เป็นอาคารหนึ่งในกลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในสถาบันฯ มีลักษณะเป็นอาคาร 5 ชั้น ที่มีพื้นที่ประมาณ 14,000 ตารางเมตร บนพื้นที่ 5 ไร่

    *****************************







    จาก

    http://www.dmr.go.th/

    http://www.teawmuangthai.com/

    http://topicstock.pantip.com/

    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •