จุดเปลี่ยนนิติวิทยาศาสตร์ จากคดีของ 'ผู้พันตึ๋ง'





คดี "ผู้พันตึ๋ง" ตกเป็นจำเลยคดีฆ่าผู้ว่าฯ ปรีณะ หลักฐานคราบเลือดและการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ นำมาสู่คำพิพากษาประหารชีวิต และการตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจด้านการตรวจพิสูจน์หลัก ฐานของตำรวจ ซีงเป็นจุดเปลี่ยนของคดีนี้อย่างมากค่ะ



จุดเปลี่ยนนิติวิทยาศาสตร์ จากคดีของ 'ผู้พันตึ๋ง'


จุดเปลี่ยนนิติวิทยาศาสตร์ จากคดีของ 'ผู้พันตึ๋ง'

พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ



คดีฆาตกรรม "ปรีณะ ลีพัฒนะพันธ์" อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นอกจากจะเป็นการปิดฉากหนึ่งในตำนานแกนนำนักศึกษากลุ่มกระทิงแดงนาม "พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ" หรือเรียกขานในแวดวงยุทธจักรว่า "ผู้พันตึ๋ง"


ยังเป็นการก่อกำเนิดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจการตรวจพิสูจน์หลักฐานที่อยู่ในมือตำรวจมาอย่างยาวนาน


คดีฆาตกรรมอันครึกโครมเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2544 ขณะที่ผู้ว่าฯ ปรีณะ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ มาประชุมรับนโยบายจากรัฐบาล โดยเข้าพักที่ห้องเลขที่ 4006 โรงแรมรอยัล แปซิฟิก ถนนพระราม 9 และนัดพบกับ "อังคนางค์ สุนทรวิภาค" เพื่อนสาวคนสนิทเหมือนอย่างที่เคยทำทุกครั้งเมื่อเข้า กทม.


ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน จะมีแตกต่างกันก็ตรงที่ผู้ว่าฯ ปรีณะไม่มีโอกาสได้กลับไปใช้ชีวิตเฉกเช่นปุถุชนได้อีก เมื่อพนักงานโรงแรมมาพบในสภาพไร้ลมหายใจในเวลาต่อมา



โดยที่ ผู้ว่าฯ ปรีณะ ได้เสียชีวิตในลักษณะคว่ำหน้าอยู่ตรงประตูทางเข้าห้องพัก ลำคอมีรอยถูกเชือดหลายแห่ง ท้ายทอยมีบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด .22 มีผ้าเช็ดตัวคลุมที่หัวและคอ 2 ผืน เมื่อช่วงเช้าวันที่ 5 มีนาคม 2544 โดยที่คู่ขาหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยค่ะ



พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์ ในฐานะแม่ทัพนครบาลขณะนั้นมอบหมายให้ พล.ต.ต.จักรทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา ผู้ช่วย ผบช.น.นักสืบมือดีเข้าควบคุมการสืบสวนสอบสวนหาพยานหลักฐาน ร่วมกับ พล.ต.ต.อังกูร อาทรไผท ผบก.น.4 ในฐานะควบคุมดูแล สน.วังทองหลาง ท้องที่เกิดเหตุ



ผ่านไปเพียง 2 วันเท่านั้น หลังถูกกดดันจากตำรวจอย่างหนัก "อังคนางค์" ก็ปรากฏตัวกับพนักงานสอบสวน สน.วังทองหลาง พร้อมให้การรับสารภาพว่าเป็นคนลงมือสังหารอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรด้วย มือของเธอเอง


ตามคำให้การที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนเวลานั้น "อังคนางค์" บอกว่า เธอมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับผู้ว่าฯ ปรีณะ หลังจากได้ทำกิจกรรมบางอย่างแล้วก็เอ่ยปากขอยุติความสัมพันธ์ ทว่าผู้ว่าฯ ปรีณะไม่ยินยอม เธอจึงใช้มีดปอกผลไม้ที่ซื้อมาแทงและใช้ปืนขนาด .22 ที่พกติดตัวยิงจนผู้ว่าฯ เสียชีวิต จากนั้นได้หยิบเงินสด 5,000 บาท และแหวนเพชรของผู้ตายไป ซึ่งต่อมานำไปขายที่ร้านจิวเวลลีแห่งหนึ่งบนห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่าน บางกะปิ


อะอะ...ความจริงตำรวจ น่าจะปิดคดีนี้ลงได้นับตั้งแต่ "อังคนางค์" ให้การรับสารภาพ


แต่ว่ามีบางอย่างได้เกิดขึ้นมา ....อะไรหรือคะ ก็คือมีการตรวจพบว่า ห้วงเวลาเกิดเหตุนั้นมีบุรุษอีกผู้หนึ่งใช้นามแฝงว่า "กาย" เข้าไปพักในโรงแรมเดียวกันกับผู้ว่าฯ ปรีณะ

และหาก"กาย" คนที่ว่าเป็นคนสามัญธรรมดาก็คงจะไม่ถูกจับจ้องมองด้วยสายตาแห่ง ความกังขา และปริศนาสงสัยทั้งหลายทั้งปวงก็เกิดขึ้นตามมาในวินาทีที่รู้ว่าเขาคือ "ผู้พันตึ๋ง" ผู้กว้างขวางในแวดวงนักเลงของเมืองไทย



กาย หรือผู้พันตึ่ง หรือ พ.ต.เฉลิมชัย เปิดห้องพักเลขที่ 4015 และ 4017 พักอยู่กับเพื่อนหญิงคนสนิทและ ส.อ.มานิตย์ ศรีสะอาด กับ ส.อ.สุวัฒน์ คำเหง้า สองลูกน้องคนสนิท แทนที่จะปิดสำนวนการสอบสวนตำรวจจึงเริ่มรื้อฟื้นคดีขึ้นมาทำใหม่ทั้งหมด…. เพราะสังคมเริ่มมองไปที่ผู้พันตึ๋ง กันมากขึ้น



มีกระแสข่าวลือกึ่งกระซิบ ผู้พันตึ๋งได้เหยียบตาปลานายตำรวจใหญ่เข้าอย่างจังเบอร์ ในฐานะที่เขาได้รับมอบหมายให้ไปหาข่าวยาเสพติดด้านชายแดนไทย-พม่า แล้วบังเอิญไปเจอเข้ากับหลักฐานชิ้นหนึ่งคือรูปถ่ายภรรยาบิ๊กตำรวจกับเมีย ของราชายาเสพติดนาม "เหว่ย เซียะ กัง" ถึงแม้จะไม่สามารถปรักปรำลงไปชัดว่าคนคนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้า ยาเสพติด แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธถึงสายสัมพันธ์ที่ว่าได้


แล้ว รายงานชิ้นนี้ก็ถูกส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขณะนั้นจึงทำให้ใครต่อหลายคนอดคิดไปไม่ได้ว่า ทั้งสองเรื่องนี้เกี่ยวโยงกันหรือไม่ ?


อย่างไรก็ตาม ต่อมามีการเปลี่ยนพนักงานสอบสวนจากตำรวจนครบาลมาเป็นกองปราบปราม และหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ได้เข้ามามีบทบาทนำมาสู่การปิดฉากนายทหารคนดังในที่สุด


การเข้ามาทำคดีของกองปราบปรามต่อจากนครบาล ได้พบหลักฐานเป็นคราบเลือดที่ท่อน้ำในห้องพักของผู้พันตึ๋ง เป็นการพบ 3 วันหลังเกิดเหตุ และผลการตรวจดีเอ็นเอ ก็ตรงกับผู้ว่าฯ ปรีณะ หลักฐานชิ้นนี้มีเหตุผลเพียงพอให้ตำรวจเข้าค้นบ้านพักและค่ายมวยของผู้พันตึ๋ง ย่านเหม่งจ๋าย


พบแผนผังและข้อความบางส่วนถูกขยำทิ้ง จากนั้นได้ยึดรองเท้าผ้าใบของ ส.อ.สุวัฒน์ หลังพบคราบเลือดติดอยู่ รวมทั้งคราบเลือดที่ปรากฏอยู่บนแป้นเบรกรถยนต์อีซูซุ ทรูปเปอร์ ทะเบียน 3965 เชียงใหม่ ของผู้พันตึ๋งก็ถูกนำไปตรวจสอบด้วยเช่นเดียวกัน


ขณะเดียวกันนั้น "อังคนางค์" ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง ก็กลับคำให้การใหม่ว่า วันเกิดเหตุผู้พันตึ๋งพร้อมด้วย ส.อ.สุวัฒน์ และ ส.อ.มานิตย์ บุกเข้ามาในห้องขู่ให้นั่งก้มหน้าก่อนจับคว่ำหน้าลงกับพื้น หลังจากนั้นผู้พันตึ๋งและลูกน้องก็ลงมือเชือดคอผู้ว่าฯ ปรีณะ แล้วใช้ปืนของเธอยิงที่ศีรษะซ้ำอีกครั้ง


ด้วยพยานหลักฐานเหล่านี้ ตำรวจกองปราบปรามจึงจับกุมผู้พันตึ๋งและลูกน้องทั้งสองดำเนินคดีในข้อหา ฆาตกรรมผู้ว่าฯ ปรีณะ โดยระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลผู้พันตึ๋งได้เบิกความว่า ถูกกลั่นแกล้งจากนายตำรวจใหญ่รายหนึ่ง พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พนักงานสอบสวนอ้างถึง โดยเฉพาะที่มาของคราบเลือดที่พบบริเวณท่อน้ำในห้องพัก อาจเป็นไปได้ว่าพนักงานโรงแรมเข้ามาล้างมือ หรือถูกกลั่นแกล้งจากตำรวจนำคราบเลือดมาป้ายไว้ที่อ่างล้างหน้า


แต่ว่าพยานหลักฐานของกองปราบนั้นมีน้ำหนักเกินกว่าศาลชั้นต้นจะเชื่อ คำเบิกความของจำเลย จึงพิพากษาให้ประหารชีวิตผู้พันตึ๋ง จำคุกอังคนางค์ 3 ปี 8 เดือน และให้ยกฟ้อง ส.อ.สุวัฒน์ และ ส.อ.มานิตย์


ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น แต่พิพากษาแก้ให้ประหารชีวิตสองลูกน้องของผู้พันตึ๋งด้วย


และศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์


ถือเป็นการปิดฉากตำนานชีวิตบนเส้นทางสายนักบู๋


และคดีนี้ ทำให้เกิดสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ขึ้นมาถ่วงดุลอำนาจในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ที่อยู่ในมือของตำรวจเบ็ดเสร็จมาอย่างยาวนานนับแต่อดีต


พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ บอกว่า ในชั้นอุทรณ์ พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ ได้ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรม โดยมีข้อร้องเรียน 2 ข้อเกี่ยวกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น เรื่องแรกคือที่มาของคราบเลือดที่ตำรวจพบที่ก๊อกน้ำในห้องพัก โดยตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีคนอื่นนำไปใส่ไว้และเรื่องการตรวจสอบดีเอ็นเอที่ทำ โดยตำรวจอาจไม่ได้มาตรฐาน


แต่ ..."หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือมากที่สุด เมื่อผลออกมาอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับที่มาของหลักฐานด้วย หากมีที่มาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง มีการจัดฉากขึ้นก็เกิดความไม่เป็นธรรม หลายคดีเกิดปัญหาลักษณะนี้สายเกินกว่าจะแก้ไข จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส สถาบันนิติวิทยาศาสตร์จึงต้องทำงานในลักษณะใกล้เคียงกับสำนักงานนิติวิทยา ศาสตร์ตำรวจ"