ต้นเล็บมือนาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ต้นเล็บมือนาง.....ดอกสมัง


ชื่อพื้นบ้านอีสาน สมัง
ชื่อทั่วไป เล็บ มือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Quisqualis indica L.
วงศ์ Combretaceae
ประเภท ไม้ รอเลื้อย

ลักษณะวิสัย
ไม้ รอเลื้อย เป็นใบเดี่ยว รูปใบหอก ปลายใบแหลม ผิวเรียบ ขอบเป็นคลื่น (undulate) ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก กลีบดอก มี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกสีชมพูแดง ผลรูปกระสวยสั้น มีสัน 5 สัน ผิวเรียบสีเขียว



ต้นเล็บมือนาง.....ดอกสมัง


การ ปลูกเลี้ยง

เล็บมือนางเป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์พอควร แสงแดดปานกลาง น้ำปานกลาง ปลูกได้ทุกฤดูกาล การขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือเหง้า ที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น



ต้นเล็บมือนาง.....ดอกสมัง

ประโยชน์

เป็น ไม้ประดับ ประเภทดัดเป็นซุ้ม ให้กลิ่นหอมเย็น โดยเฉพาะในตอนค่ำ สรรพคุณทางสมุนไพร ใช้ใบพอกแผลแก้ฝีหนอง ใช้เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ



ต้นเล็บมือนาง.....ดอกสมัง