หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 12

หัวข้อ: ประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์ บ้านบ่าวจอบบ้อน

  1. #1
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจอบบ้อน
    วันที่สมัคร
    Oct 2009
    กระทู้
    324

    ดวงดาว The Star ประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์ บ้านบ่าวจอบบ้อน

    บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น
    เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของ
    นักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร ์สมัยทราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไป
    ในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง
    รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร
    ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 อยู่ทั่วไปหลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ
    แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้น
    ของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ.2476
    ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์
    ไม่ปรากฎในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่
    เมืองนางรองเมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี
    กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์
    จึงโปรดให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงคำแหน่ง เจ้าพระยาจักรี
    เป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิตและสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)
    คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์ เมืองโขง และเมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ เจ้าอิน อุปฮาด
    เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง ตะลุบ สุรินทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์
    รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง)ให้เป็นเจ้าเมือง
    ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต้นราชการ
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็นบุรีรัมย์ด้วยปรากฎว่า ได้มีการแต่งตั้ง
    พระสำแดงฤทธิรงค์เป็นพระนครภักดีศรีนครา ผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2411
    เมืองบุรีรัมย์และเมืองนางรองผลัดกันมีความสำคัญเรื่อยมา พ.ศ. 2433 เมืองบุรีรัมย์โอนขึ้นไปขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ
    มีหนองคายเป็นศูนย์กลาง และเมืองบุรีรัมย์มีเมืองในสังกัด 1 แห่ง คือเมืองนางรอง ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441
    เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า"บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง
    รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ มณฑลลาวเฉียงเป็น มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ
    มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเขมร เป็นมณฑลตะวันออกและในคราวนี้
    เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์
    แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์"
    และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมพ.ศ. 2444 เป็นต้นมา
    พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ
    คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ คือ นางรอง พุทไธสง ประโคนชัย และรัตนบุรี
    ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา
    จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น "จังหวัดบุรีรัมย์" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

  2. #2
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
    ขวัญใจบ้านมหา 2012
    สัญลักษณ์ของ สาวมุก
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    ที่อยู่
    มุกดาหาร
    กระทู้
    662
    คนบุรีรัมย์น่ะ น่ารักแล้วกะสวยกะหล่อสุคนเนาะจ้าที่สาวมุกรู้จักมาน่ะ(แต่ยกเว้นอยู่คนเดียว)

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจอบบ้อน
    วันที่สมัคร
    Oct 2009
    กระทู้
    324


    ตราประจำจังหวัดบุรีรัมย์

    เป็นรูปปราสาทเขาพนมรุ้งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในเป็นท้องพระโรง มีเทวสถาน
    และรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่บนยอดเขาแห่งนี้ด้วยภาพเทวดาร่ายรำ
    หมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราบยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข
    ท่่าร่ายรำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับการออกเสียงพยางค์สุดท้ายของเชื่อจังหวัด

  4. #4
    สมาชิกที่ยังไม่ยืนยันอีเมล์
    วันที่สมัคร
    May 2009
    กระทู้
    105
    คนบุรีรัมย์ แวมาถามข่าวคนบ้านเดียวกันฝนตกบ่ทางพุ้น

  5. #5
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจอบบ้อน
    วันที่สมัคร
    Oct 2009
    กระทู้
    324
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ สุพรรณณี
    คนบุรีรัมย์ แวมาถามข่าวคนบ้านเดียวกันฝนตกบ่ทางพุ้น
    จั๊กตกบ่ดอกครับ ตอนนี้บ่าวจอบบ้อนกะอยู่กรุงเทพครับ

    พอดีบ่าวจอบบ้อนบ่มีเบอร์โทรของฝนครับ เลยบ่ได่โทรไปถามว่าตกฮึบ่

    อิอิอิ

  6. #6
    ศิลปิน นักแต่งเพลง สัญลักษณ์ของ ธีระปลัด
    วันที่สมัคร
    Oct 2009
    กระทู้
    529
    บล็อก
    8
    คนบุรีรัมย์คือกัน อยู่เมืองพุทไธสงเด้อครับ ไปกราบพระเจ้าใหญ่นำกันไผสิบวชเหล้ากะไปได้ครับ แต่ต้องถือให้ได้คั่นบวชแล้วเฮ็ดบ่ได้กลับมากินโดยบ่ไปสึกก่อน ตายโหงเด้อครับ

  7. #7
    อยากไปเที่ยวปราสาทหินพนมรุ้งอยู่เด้อจ้า อิอิ

  8. #8
    ศิลปิน,ช่างภาพอิสระ สัญลักษณ์ของ เพ็นนี
    วันที่สมัคร
    May 2009
    ที่อยู่
    Bangkok
    กระทู้
    1,308
    บล็อก
    2
    บ้านเพ็นนียุประโคยชัย ฮุ้แต่ว่าเมืองประโคนชัยมีประวัติมายาวนานเป็นเส้นทางผ่านของหลายเมืองในอดีต
    หลายปีมาแล้ว ประโคนชัยได้จัดงานสมโภช 100 ปีเมืองประโคนชัย เพ็นนีบ่ได้ไปร่วมดอก 55+

    ย้อนว่าปกติ..เพ็นนีสิยุกรุงเทพฯ(ย้ายมาเรียนตอน ม.4 จนเฒ่าใหญ่สุมื่อนี่)
    เพ็นนีกลับบุรีรัมย์ล่าสุด วันที่ 5 มีนาคม 53 บ่ได้นอนบ้านจักคืนเพราะไปธุระยุบ้านด่านเบิดมื่อ
    กลับมาฮอดประโคนชัยกะเข้ากรุงเทพเลย ที่กลับไปบ้านแล้วได้นอนบ้านกะสงกรานต์ ปี 52 พุ้นหล่ะ
    2-3 ปีเพ็นนีกลับบุรีรัมย์เทือ กลับไปแล้วกะบ่ได้ออกไปใส หมู่พวกยุบ้านกะบ่มี
    หมู่ที่เรียนนำกันตอนประถมจักพากันไปยุใสเบิด หมู่ตอนเรียน ม.ต้น เพ็นนีกะฮู้จักบ้านบ่กี่คน ไปยามกะบ่เคยพ้อ

  9. #9
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ สาวลำปลายมาศ
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    ที่อยู่
    เมืองพระนอน
    กระทู้
    11
    คนบรีรัมย์ คือกันเด้อจ้าจั้กจะสวยคือเขาว่าบ่ดอกจ้า เอิ้กๆๆๆๆๆๆ
    อยู่อำเภอลำปลายมาศจ้า แต่ตอนนี้ ย้ายบ้านมาอยู่สิงห์บุรีจ้า
    คึดฮอดบ้านคือกันจ้า เดี๋ยวว่างๆจะแวะไปเล่นบุรีรัมย์อยู่จ้า

  10. #10
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวจอบบ้อน
    วันที่สมัคร
    Oct 2009
    กระทู้
    324
    "บุรีรัมย์ตำน้ำกิน"
    "บุรีรัมย์ตำน้ำกิน" เป็นคำพังเพยในอดีตที่แสดงถึงภาวะการขาดแคลนน้ำในบริเวณพื้นที่อันเป็นเขตการปกครองของจังหวัดบุรีรัมย์ในอดีต และแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของชาวบุรีรัมย์สมัยก่อนที่นำความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
    กรรมวิธีที่ได้ชื่อว่าเป็นการตำน้ำกิน คือ การขุดหลุมดินขนาดย่อมขึ้นก่อน แล้วตักเอาโคลนตมในบ่อ สระ หรือบึง มาใส่หลุมที่ขุดไว้ แล้วย่ำด้วยเท้าจนเป็นเลน
    หรือนำมาใส่ครุไม้ไผ่ยาชัน แล้วตำด้วยไม้ให้โคนเลนมีความหนาแน่นสูงขึ้น ปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน น้ำจากโคลนเลนจะปรากฎเป็นน้ำใสอยู่ข้างบนตักไปใช้บริโภคได้ แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้
    "บุรีรัมย์ตำน้ำกิน" เป็นคำพังเพยที่อยู่ในความทรงจำและความภาคภูมิใจในอดีตของชาวบุรีรัมย์ ในฐานะที่เป็นคำพังเพยที่แสดงถึงความยากลำบากและทรหดอดทนของบรรพบุรุษผู้บุกเบิกแผ่นดิน ให้ประโยชน์ตกทอดแก่ลูกหลาน เหลน ในปัจจุบัน และในฐานะที่สามารถนำความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก้ปัญหาการขาดแคลน้ำได้อย่างเฉลียวฉลาด
    ปัจจุบันภาวะเรื่องน้ำของจังหวัดบุรีรัมย์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก กรมชลประทานได้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆ เพิ่มขึ้น และสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทก็ได้ปิดกั้นทำนบ เหมืองฝาย และขุดลอก ห้วย หนอง คลอง บึง สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก สร้างสระน้ำมาตรฐานขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นสร้างถังเก็บน้ำฝน สระน้ำ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล หอถังจ่ายน้ำโดยสร้างเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ความหมายและภาพพจน์ของคำพังเพยดังกล่าวได้หมดไปแล้วในปัจจุบัน

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •