ว่านมหาลาภ



ชื่อวิทยาศาสตร์ Phaedranassa spp.
วงศ์ AMAPYLLIDACAE
ชื่อสามัญ -
ชื่ออื่นๆ ว่านหงสาวดี




<embed src="http://widget-2c.slide.com/widgets/slideticker.swf" type="application/x-shockwave-flash" quality="high" scale="noscale" salign="l" wmode="transparent" flashvars="cy=lt&il=1&channel=3170534137714384428&site=widget-2c.slide.com" style="width:600px;height:450px" name="flashticker" align="middle"></embed>




ลักษณะ ทั่วไป

ว่านมหาลาภมีลักษณะต้นเหมือนว่านมหาโชค คือลำต้นเป็นหัวใต้ดิน หัวเหมือนหอมหัวใหญ่แต่มีขนาดเล็กกว่า ใบรูปใบพาย แต่ค่อนข้างสั้นและป้อม ปลายใบโค้งมนแหลม โคนใบค่อยๆ สอบเข้าหาก้านใบ พื้นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบจะยาวกว่าใบเล็กน้อย ก้านดอกพุ่งตรงขึ้นมาจากกลางลำต้นสูงประมาณ 30-40 ซม. ออกดอกเป็นกลุ่มแล้วทยอยกันบาน ดอกสีแสดปนเหลือง กลีบดอกค้อนข้างเล็กและยาว ปลายกลีบมน เกสรยาวลงสู่พื้นดิน ส่วนปลายเกสรงอนขึ้นเล็กน้อย ช่อดอกหนึ่งๆ มีดอกประมาณ 3–7 ดอก ขึ้นกับความสมบูรณ์ของต้น



การปลูก

ว่านมหาลาภเจริญงอกงามได้ดีในดินร่วนปนทราย และผสมดินลูกรังสีแดงด้วย ควรให้มีการระบายน้ำที่ดี เพราะหากน้ำขังจะทำให้หัวว่านเน่าได้ หากปลูกในกระถางปากกว้างจะเหมาะมาก เพราะใบจะปกคลุมปากกระถางดูสวยงาม เป็นไม้ที่ไม่ชอบแดดจัดนักจึงควรจัดให้ได้รับแสงปานกลาง รดน้ำแต่ตอนเช้า


การขยายพันธุ์ โดยการแยกต้น



ความเป็นมงคล

ว่านมหาลาภมีคุณประโยชน์ด้านเมตตามหานิยม ปลูกไว้ย่อมเกิดลาภผลทวีคูณหลายประการ มักปลูกเป็นต้นไม้เสี่ยงทาย หากเจริญงอกงาม ออกดอกดกดี ผู้ปลูกมักจะได้ลาภจากการเสี่ยงโชคเสมอ ในทางกลับกันหากว่าต้นอับเฉาไม่ออกดอกเป็นลางบอกเหตุว่าจะอับโชค เสียทรัพย์ เชื่อกันว่าการปลูกว่านมหาลาภควรปลูกในวันศุกร์ข้างขึ้นจะดีที่สุด