สำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนมักจะมีอาการปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก รวมทั้งมีอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ร่วมด้วย และการเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้กระดูกหักได้ง่าย ๆ

สำหรับการขาดฮอร์โมนเพศในสตรีวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน โดยเฉพาะ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่เคยช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับกระดูก อาจทำให้สตรีวัยทองมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง สำหรับผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนมักจะมีอาการปวดตามกระดูกส่วนกลางที่รับ น้ำหนัก อาทิ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง รวมทั้งมีอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ ร่วมด้วย และการเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้กระดูกหักได้ง่าย ๆ

การดื่มนม รับประทานอาหารทีมีแคลเซียมและโปรตีน ถือเป็นการสะสมแคลเซียมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงเกิดภาวะกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่วัยทองได้ นอกจากนี้ยังควรให้ผิวผนังได้ถูกแสงแดดเพื่อรับวิตามินดี ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียม และรักษาระดับแคลเซียมในกระแสเลือด เสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ และควบคุมการทรงตัว

สำหรับการรับแสดงแดด ก็มีช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยควรเป็นแสงแดดในช่วงเวลา 8.30 - 09.00 น. และอีกช่วงคือ 16.00 - 16.30 น. ที่ สำคัญในการรับให้ผิวหนังถูกแสงแดดตามช่วงเวลาที่แนะนำนั้นไม่ควรทาครีมกัน แดดที่มีค่าเอสพีเอฟเกิน 35 เนื่องจากสารเคมีในครีมกันแดดจะเป็นตัวต้านไม่ให้ผิวหนังได้รับรังสียูวีที่ เป็นประโยชน์กับการสังเคราะห์ให้ได้วิตามินดี

ทั้งนี้ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย.
c06:c06:c06:c06:c06: