รำ บายศรี

เป็นการรำที่ใช้ ในพิธีบายศรีสู่ขวัญ เมื่อมีแขกมาเยือน ส่วนใหญ่จะประกอบเพื่อเป็นสิริมงคงในพิธีจะมีพานบายศรีและพราหมณ์ผู้ทำ พิธี เนื้อร้องก็จะอธิบายถึงความสวยงาม ของบายศรี และเป็นการเรียกขวัญ พอรำเสร็จก็จะมีการผูกข้อมือแขกด้วยฝ้ายขาว ซึ่งผ่านพิธีกรรมแล้วถือว่าฝ้ายที่ใช้ผูกนั้นจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข

รำโคตร บูรณ์

ศรีโคตรบูรณ์ เป็นอาณาจักรหนึ่งของชาวอีสาน ในสมัยโบราณซึ่งมีศูนย์กลางในจังหวัดสกลนครและนครพนม เป็นการร่ายรำที่นิ่มนวลมาก ซึ่งจัดว่าเป็นการรำโบราณคดีของภาคอีสานและท่ารำแต่ละท่าจะมีลีลาเฉพาะตัว ไม่ซ้ำแบบใคร

เซิ้งทำ นา

เป็นการแสดงถึง ขั้นตอนการทำนา โดยเริ่มตั้งแต่การไถนา หว่านกล้า ถอนต้นกล้า ปักดำเกี่ยวข้าว การนวดข้าว และจนกระทั่งสุดท้ายการเก็บข้างใส่ยุ้งฉาง ผู้แสดงประกอบไปด้วยชายหญิง

รำภูไทย เรณู

เป็นศิลปะการ แสดงพื้นบ้านของชาวภูไท ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวเรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือน ก็จะมีการบายศรีสู่ขวัญ และมีการรื่นเริงแสดงดนตรีตลอด จนมีการละเล่นระบำรำฟ้อนอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะหนุ่มสาวออกมาฟ้อนรำเกี้ยวพาราสีกัน และจังหวะดนตรีจะมีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ ส่วนท่ารำของหญิงจะอ่อนช้อยสวยงาม ส่วนท่ารำของผู้ชาย จะแสดงออกถึงความแข็งแกร่งสนุกสนาน

รำดึง ครกดึงสาก

รำดึงครกดึงสาก จัดว่าเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ที่กระทำเพื่อขอฝน โดยมีครก มีสากที่ใช้สำหรับตำข้าว เป็นอุปกรณ์สำคัญ โดยมีขั้นตอน คือ

นำครกและสาก ผูกด้วยเชือกอย่างละเส้น แบ่งผู้ดึงให้เท่ากัน จับปลายเชือกคนละด้าน ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าฝนจะตกให้ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะ ถ้าฝนไม่ตก ก็ขอให้อีกฝ่ายหนึ่งชนะ ส่วนท่ารำนั้น ก็ปรับปรุงตามแบบท่ารำแม่ท่าของชาวอีสาน ให้ผสมผสานกับท่าที่เป็นไปตามธรรมชาติทำนองเพลงมีการปรับเพื่อให้เกิดความ กลมกลืนและเหมาะสมในรูปแบบของศิลปะ

เซิ้งกะ โป๋

เป็นการละเล่น ของชาวอีสานใต้แถบ จังหวัดศรีษะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ เป็นต้น คำว่า กะโป๋ หมายถึง กะลามะพร้าว ที่เอาส่วนของเปลือกออกหมดแล้ว นำมาถือคนละ 2 ชิ้น แล้วก็ร่ายรำประกอบการเต้นเข้าจังหวะและนำกะลาของตนไปกระทบกับคู่เต้นขงตน เองและของคนอื่น สลับกันไป รำกะโป๋นี้เป็นแสดงออกถึงการรำที่เน้นสายตา คอ ไหล่ สะโพก และเท้าของผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสนใจของฝ่ายตรงกันข้าม

เซิ้ง ครกมอง

ครกมองเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตำข้าวของชาวอีสาน ที่มีความเจริญน้อยหรือที่เรียกว่าชนบท ลักษณะของครกมอง มีขนาดใหญ่ ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีไม้ยาว ๆ สำหรับตำข้าว หรือเรียกว่าสาก ท่ารำจะประดิษฐ์ท่ารำในลีลาอ่อนช้อยและงดงามและมีการพูดผญา เกี้ยวพาราสีกันระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนาน

รำเข็ญ ฝ้าย

เป็นการรำที่นำ มาประยุกต์ท่ารำ ซึ่งแสดงถึงการประกอบอาชีพในการทอผ้าของชาวบ้าน โดยท่ารำจะออกมาในลักษณะวิธีการทอผ้า โดยเริ่มตั้งแต่การออกไปเก็บฝ้าย ตากฝ้าย ดีดฝ้าย และทอผ้า

รำไท ภูเขา

เป็นการรำของชาว ภูไทกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ตามภูเขา ในแถบเทือกเขาภูพาน การรำจะแสดงให้เห็นถึงการที่ชาวภูไท ได้เดินขึ้นภูเขาเพื่อไปหาของป่า เช่น หน่อไม้ ผักหวาน ใบย่านาง เก็บเห็ด ตัดหวาย ที่มีอยู่ตามภูเขาเพื่อนำมาประกอบอาหาร

รำดัง หวาย

เป็นการรำบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือการเพื่อขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ตนเคารพนับถือ ครั้งก่อนเรียกว่า รำถวาย และในปัจจุบันเรียกว่า รำตังหวาย ท่ารำก็จะมีท่าที่เป็นแม่แบบที่มีความสวยงามตามแบบชาวอีสาน

เซิ้ง เซียงข้อง

เป็นการสะท้อน ให้เห็นในเรื่องของพิธีกรรม ศาสนา ความเชื่อของชาวอีสาน ในการแสดงจะมีการบูชาเชิญเทวดาให้สิงอยู่ในข้อง เพื่อขับไล่ผี เมื่อเทวดามาสิงแล้ว ข้องนั้นจะสั่นหรือกระตุกเซียงข้องจะนำคนไปยังสถานที่มีผีอยู่ และจะจับหรือไล่ผีให้ออกไปจากหมู่บ้าน จากนั้นชาวบ้านก็จะอยู่เย็นเป็นสุข

เซิ้งแหย่ไข่มดแดง

ไข่มดแดง เป็นอาหารประจำท้องถิ่นของชาวอีสาน ที่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทาน เช่น ก้อยไข่มดแดง ยำไข่มดแดง เป็นต้น การแหย่ไข่มดแดงนั้นค่อนข้างลำบากเนื่องจากรับมดแดงนั้นอยู่สูง ดังนั้นจึงต้องใช้ไม้ยาว ๆ ผูกติดกับตะกร้า แล้วนำไปแหย่ ดังนั้นการแสดงชุดนี้จึงเป็นการแสดงที่ต้องการ ถ่ายทอดลีลาการแหย่ไข่มดแดงประกอบเพลงพื้นบ้าน ในทำนองจังหวะเซิ้ง ได้อย่างสนุกสนาน

รำภูไท 3 เผ่า
ชาวผู้ไท เป็นกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ไทย แต่เดิมนั้นชาวผู้ไทตั้งบ้านเรือนอยู่แถบสิบสองจุไทย แล้วชาวผู้ไทชอบตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ กับภูเขาเพื่อการทำมาหากินจะเป็นไปโดยเรียบง่าย การแสดงชุดนี้จะแสดงถึงชาวผู้ไทที่อยู่ในภาคอีสาน ซึ่งจะแสดงถึงเอกลักษณ์และประเพณีในแต่ละเผ่า คือ
เผ่าที่ 1 เผ่าสกลนคร ใช้ลายภูไท

เผ่าที่ 2 เผ่ากาฬสินธุ์ ใช้ลายภูไทเลาตูบ

เผ่าที่ 3 เผ่านครพนม ใช้ลายภูไทเรณู (ลมพัด พร้าว)

รำมวยโบราณ

มวยเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวเป็นการต่อสู้ด้วยพละกำลัง โดยการใช้มือ เท้า ศอก หัว ซึ่งมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้ว ในสมัยก่อนนิยมฝึกหัดในหมู่บ้านนักมวยโบราณเป็นที่นิยมชมชอบของทุกชนชั้น

คนที่รำมวยโบราณ จะมีการสักลายเต็มตัว ในสมัยก่อนจะสักด้วยว่าน น้ำยาศักดิ์สิทธิ์ สักเป็นรูปสัตย์ต่าง ๆ ที่เลื่อมใส มีกำลังอำนาจ นอกจากนั้นยังมีการสักเป็นลวดลายและลงอักษรโบราณที่เป็นคาถาอาคม

การสักลายนี้ มีจุดมุ่งหมายเหมือนกับมีเครื่องรางของขลังติดตัวไปด้วย ทำให้อยู่คงกะพันแคล้วคลาดและเป็นมหาเสน่ห์ สมัยก่อนการสักลงยันต์ทำกันเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องสักลงไปบนผิวหนัง ฝังลงไปในเนื้อ โดยใช้เหล็กแหลมเหมือนปากกา สักด้วยหมึกดำ หมึกแดง ผสมกับว่าน แต่ในปัจจุบันนี้ ไม่มีผู้นิยมสักลาย นักแสดงมวยโบราณ จึงได้พัฒนาการการสักลายมาเป็นการเขียนลายแทน ดนตรีเป็นทำลองจังหวะภูไท

ฟ้อนแถบลานหรือเซิ้งหลวง

เป็นการละเล่น ของชาวตำบลบ้านติ้ว อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ฟ้อนแถบลาน เดิมเรียกว่า รำแขนลาน เป็นการฟ้อนในเทศกาลเข้าพรรษาและงานทำบุญบั้งไฟ มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงเจ้าพ่อผาแดง ถ้าเจ้าพ่อมีความพึงพอใจ จะทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาล สีสันของชุดการแสดงนี้อยู่ที่เสื้อผ้าที่เย็บด้วยแถบใบลานที่มีสีสันลวดลาย สวยงาม

เซิ้ง บั้งไฟ

ประเพณีชาวอีสาน มีความสำคัญต่อชีวิตของชาวอีสาน ซึ่งมีฮีต 12 คลอง 14 เป็นหลักในการดำเนินชีวิต บุญบั้งไฟหรือบุญเดือนหกเป็นประเพณีที่มีส่วนสร้างเสริมกำลังใจแก่ชาวบ้าน และเป็นการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพทำนา จุดประสงค์ใหญ่ คือ เพื่อการขอฝนจากพระยาแถน

รำแพรวา กาฬสินธุ์

แพรวากาฬสินธุ์ หมายถึงผ้าแพรวซึ่งทอด้วยชาวบ้านโพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งแต่เดิมมีเพียงสีแดงเท่านั้น ต่อมาเสด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงนำเข้าในโครงการศิลปาชีพ และทรงดำรัสให้มีการพัฒนาสีสันให้หลากหลาย สวยงามมากขึ้น

ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ ได้นำมาประดิษฐ์เป็นชุดการแสดง ในปี 2534 เนื่องใน วโรกาสครบ 60 รอบ ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยผู้แสดงจะห่มผ้าแพรวาสีต่าง ๆ ท่ารำก็จะดัดแปลงมาจากวิธีการทอผ้า

เซิ้ง โปง

เซิ้งโปง เป็นการแสดงที่ผู้แสดงใช้โปงเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง โดยผู้แสดงจะถือโปงคนละ 1 ตัว และจะเขย่าโปงเป็นลายโปงลาย จากนั้นเป็นการแสดงท่ารำต่าง ๆ ซึ่งมีโปงเป็นองค์ประกอบในการให้จังหวะในการแสดง

เซิ้ง สุ่ม

สุ่ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำด้วยไม้ไผ่ใช้ในการจับปลาของชาวอีสาน ซึงมีมาตั้งสมัยโบราณแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เจริญมากขึ้น อุปกรณ์ชิ้นนี้จึงไม่เป็นที่นิยมของชาวบ้านมากนัก จึงได้มีการคิดท่ารำประกอบอุปกรณ์ชิ้นนี้ขึ้นเพื่อที่จะได้อนุรักษ์ศิลปะ พื้นบ้านไว้สืบต่อไป

รำมโนราห์เล่นน้ำ

มโนราห์เล่นน้ำ คือ ตอนหนึ่งของนิทานเล่ามา ซึ่งเป็นเรื่องของทุกภาครู้กันดี แต่ตามชื่อเรื่องของชาวอีสานที่เล่ากันนี้ มีชื่อว่า ท้าวสีทน นางมโนราห์ ซึ่งนำเอาตอนหนึ่งในเรื่องมาแสดง คือ ตอนนางมโนราห์อาบน้ำ พร้อมกับพี่ทั้งหกและนางได้ไปติดบ่วงนายพรานเข้า พวกที่ทั้งหกตกใจกลัวแต่ช่วยอะไรนางไม่ได้ จึงได้บินกลับคืนเขาไกรลาส ซึ่งเหลือแต่นางมโนราห์ คนเดียวที่ติดบ่วงของนายพราน

ทำนองดนตรีในชุดนี้ใช้ลายลำเพลิน ซึ่งเป็นทำนองที่มีจังหวะสนุกสนาน เร้าใจ และรวดเร็ว

เรือมปันโจ

เป็นพิธีกรรมที่ ชาวเขมรเรียกว่า “ปันโจบอนล็อด” คือพิธีประทับทรงของเทพยดาเพื่อมารักษาโรคภัยไข้เจ็บ ขณะที่ประทับทรวง จะมีการร่ายรำด้วยลีลาที่งดงามและเป็นความเชื่อว่า ท่าร่าย รำนั้น คือท่ากายภาพบำบัด เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บนั้นเอง

รำ โปงลาง

รำโปงลางเป็นรำที่ใช้ประกอบการแสดงดนตรีพื้นเมืองที่เรียกว่า “โปงลาง” เพลงที่ใช้บรรเลงเรียกว่า “ลาย” ลายต่าง ๆ นำมาจากการเลียนเสียงธรรมชาติ เกิดขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ลายต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการรำได้แก่ ลายลมพัดพร้าว ลายโปงลาง ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไทรบินข้ามทุ่ง ลายภูไทยเลาะตูม

รำคอน สวรรค์

รำคอนสวรรค์ คำว่า “คอน สวรรค์” เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในประเทศลาวในสมัยที่ประเทศไทย และลาวยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รำนี้จึงได้แพร่เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเป็นการร่ายรำที่มีลีลาอ่อนช้อยงดงามมาก

รำศรี ผไทสมันต์

เป็นการรำที่ ประดิษฐ์ท่ารำจากอาชีพเลี้ยงไหม ทอผ้าของอีสานโดยจะเริ่มตั้งแต่ปลูกต้องหม่อน-เก็บใบไหมไปเลี้ยงตัวไหม การสาวไหม การเข็นไหม แล้วนำไหมนั้นทอผ้าเป็นผืนผ้าทำนองเพลงที่ใช้เป็นทำนองกันตรึม ซึ่งลีล่าการร่ายรำเป็นที่สนุกสนาน คณะอาจารย์โรงเรียน สิรินธร โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์

ฟ้อนภูไทเป็นการ ฟ้อนประกอบการรำแบบภูไท ซึ่งปรับปรุงมาจากการเซิ้งบั้งไฟและการฟ้อน ท่าดอนตาล ผู้แสดงเป็นหญิงทั้งหมด โดยนายมณฑา ดุลณี ร่วมกับกลุ่มแม่บ้านโพน เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำให้เป็นระเบียบ 4 ท่า ส่วนท่าอื่น ๆ คณะครูหมวดนาฏศิลป์พื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ เป็นผู้ประดิษฐ์โดยได้ยึดเอาการฟ้อนของชาวภูไทคำม่วง เขาวงและกุฉินารายณ์ ทำการแสดงครั้งแรกที่ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เมื่อปี พ.ศ. 2537
ลักษณะการแต่งกาย

เสื้อแขนยาวสี ดำ คอตั้งคอเสื้อใช้ผ้าขิด ขลิบริมสาบเสื้อด้วยผ้าสีขาว ริมคอเสื้อด้านบนใช้ลูกปัดเล็ก ๆ ร้อยประดับโดยรอบกระดุมใช้เหรียญเงินเก่า ๆ เจาะรูแล้วเอากระดาษสีต่าง ๆ ร้อยทับเหรียญอีกทีหนึ่ง เย็บเป็นแถวลงมาเกือบถึงชายเสื้อ ผ้าถุงใช้ผ้าซิ่นไหมทอเป็นลวดลายต่าง ๆ สวยงาม หรือใช้ไหมมัดหมี่ริมผ้าซิ่นทดลวดลายเป็นเชิงลวดลายนั้นเป็นเอกลักษณ์ของภู ไทบ้านโพนโดยเฉพาะ สไบใช้ผ้าแพรวาพาดเฉียงห่มทับไหล่ซ้ายปล่อยชายทิ้งไว้ด้านหลังหรือห่มเฉียง จากไหล่ซ้าย มาติดเข็มกลัดที่เอวขวาหรือผู้ทิ้งชายยาว ผมเกล้าสูงและมีผ้าฝ้ายทำเป็นชายอุบะห้อยทิ้งชายลงด้านใดด้านหนึ่งแล้วแต่ ความงาม

ไทภูเขา

หมายถึงชาวไทภูเขากลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามแถบภูเขา ในเขตอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ การร่ายรำจะแสดงให้เห็นถึงการที่ชาวภูไท ขึ้นไปเก็บหน่อไม้ เก็บผักหวาน เก็บใบย่านาง บนภูเขา เพื่อนำมาประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงจะมีจังหวะตื่นเต้นเร้าใจ
ลักษณะ การแต่งกาย

หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีแดง นุ่งผ้าถุง ลายมัดหมี่สีดำ ผ้าแพรวาพาดบ่า ศรีษะใช้ผ้าแพวาโพกหัว ใช้สีผ้าคาดเอว

ชาย สวมชุดหม้อฮ่อมใช้ผ้าขาวม้าโพกหัวและคาดเอว สะพายย่าม


:l-:welcome3:l-

วิชา ดนตรีอีสาน สาขาดนตรีไทย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น