มะขามป้อม


ต้นมะขามป้อม...นะครับ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ : Emblic Myrabolan, Malacca Tree, Indian Gooseberry, Amala Plant, Amalak Tree
ชื่ออื่น : กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่,
สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)
ประเภทไม้ : ไม้ยืนต้น


ต้นมะขามป้อม...นะครับ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ขนาดโตวัดรอบต้นไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอบเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด รูปทรง (เรือนยอด) แผ่กว้างรูปร่มหรือพุ่มโปร่งกรม

ใบ เป็นใบเดี่ยว แต่มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ ขนาด 0.25-0.5x 0.8-12 เซนติเมตร สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน

ดอก ขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3.-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ไม่มีกลิ่นดอก สีขาวหรือขาวนวล กลิ่น มีกลิ่นหอมคล้ายผิวมะนาวออกดอก ช่วงเดือนมกราคม - เมษายน

ผล ทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอบหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด ผลแก่ ช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
แหล่งที่พบ : ขึ้นประปรายเป็นหมู่ๆ ตามป่าราบ ป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดงทั่วๆ ไป


ต้นมะขามป้อม...นะครับ
ประโยชน์และความสำคัญ :

ราก ต้มน้ำกินเป็นยาลดไข้ เป็นยาเย็น ฟอกเลือด และทำให้อาเจียนถ้ากลั่นรากจะได้สารที่มีคุณสมบัติเป็นยาฝาด สมานที่ดีกว่าสีเสียด ตำพอกแก้พิษสัตว์กัดต่อย ต้น/เปลือก เป็นยาฝาดสมาน

ใบ น้ำต้มใบใช้อาบลดไข้ ดอก มีกลิ่นหอมคล้ายผิวมะนาว ใช้เข้าเครื่องยาเป็นยากเย็นและยาระบาย


ต้นมะขามป้อม...นะครับ

ผล ใช้ได้ทั้งแผลสดและผลแห้ง มีฤทธิ์กัดน้ำลายเป็นยาเย็น ยาฝาดสมานลดไข้ ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ฟอกเลือด น้ำคั้นผลสดมีวิตามินซีสูงกว่าน้ำส้มคั้นประมาณ 20 เท่า ในปริมาณเท่ากัน ใช้แก้โรคลักปิดลักเปิด เนื้อผลแห้ง ที่เรียกว่า Emblic myrabolan ใช้เป็นยาฝาดสมาน เพราะมี tannin แก้โรคริดสีดวงทวาร แก้บิด ท้องเสีย ใช้ควบกับธาตุเหล็กแก้โรคดีซ่าน และช่วยย่อย ถ้าหมักผลจะได้แอลกอฮอล์ กินแก้อาหารไม่ย่อย แก้ไอ และแก้โรคดีซ่าน ยางจากผล รสเปรี้ยวฝาดขม หยอดตาแก้ตาอักเสบ รับประทานช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ
ด้านการทำสีย้อม ชาวเหนือนิยมใช้เปลือกมะขามป้อมย้อม ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ แม้กระทั่งย่อมสีผม ใช้สีน้ำตาล

ส่วนที่รับประทาน :

ผล ทั้งหมด ยกเว้นเมล็ด มีรสเปรี้ยวอมฝาด นิยมรับประทานกับน้ำพริก หรือนำไปดอง


ข้อมูลจาก
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/animal/pupan/index.php?q=node/83
ภาพจาก
http://www.chiangraifocus.com/webboard/Apic/Q13917-1243990787.jpg

http://www.sksrt.ac.th/webschool/ratchaneekron/web-treebhuda/treebhuda/makhampom.JPG
http://images.thaiza.com/26/26_20070802103422..jpg

http://www.payai.com/payai/upload/Image/tung/2009/20090926/tamarind02.jpg