กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

    มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

    มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

    1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

    2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

    3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้

    4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู

    5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

    6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ

    7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน

    8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ

    9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา

    10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

    ประวัติ และความเป็นมาวันครูแห่งชาติ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pui.lab; 17-01-2011 at 03:27.
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    ครูดีนั้นคืออย่างไร
    ในหนังสือธรรมนูญชีวิต บอกไว้ว่าคุณสมบัติที่ดีของครูประกอบด้วย

    1. ปิโย น่ารัก คือความใจดี มีเมตตากรุณา ใส่ใจในประโยชน์ของศิษย์ เข้าอกเข้าใจ สร้างความรู้สึกเป็นกันเอง ชวนใจให้ศิษย์อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม

    2. ครุ น่าเคารพ คือเป็นผู้หนักแน่น ยึดมั่นถือหลักการเป็นสำคัญและมีความประพฤติเหมาะสม ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ มั่นใจ เป็นที่พึ่งได้และปลอดภัย

    3. ภาวนีโย น่ายกย่อง ในฐานะที่เป็นครูที่บุคคลที่ทรงคุณ คือ ความรู้ และทรงภูมิปัญญาอย่างแท้จริง

    4. วัตตา จ รู้จักพูดให้เหตุผล คือมีความรู้จริง มีจิตวิทยาในการพูด รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไร ควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดีได้

    5. วจนักขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม แม้จุกจิกตลอดจนคำล่วงเกิน และคำตักเตือนวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ อดทนฟังได้ไม่เสียอารมณ์

    6. คัมภีรัญจ กถัง กัตตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ คือ กล่าวชี้แจงเรื่องต่าง ๆ ที่ยุ่งยากซับซ้อน ลึกซึ้งให้เข้าใจได้ และสอนศิษย์ให้ได้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป

    7. โน จฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักจูงชี้นำไปในทางที่เสื่อมเสีย หรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร
    คุณสมบัติทั้ง 7 ประการนี้ ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีของครู การเป็นครูนั้นไม่ใช่ใคร ๆ ก็เป็นครูกันได้ เพราะครูที่ดีนั้นต้องมีความเสียสละ และต้องมีความอดทนเป็นอย่างสูง ไม่ใช่ว่ามีแต่ในประกาศนียบัตร แล้วทุกคนก็เป็นครูได้ ครูที่ดีนั้นจะต้องเป็นครูด้วยจิตวิญญาณแห่งความเสียสละ

    หน้าที่ของครูมีอะไรบ้าง
    ได้มีการเปรียบเทียบครูบาอาจารย์เปรียบเสมือนแขนขวา หรือทิศเบื้องขวา เป็นคุณธรรมที่ครูเมื่อได้รับการบำรุงจากศิษย์ดีแล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยหน้าที่ 5 ประการคือ

    1. แนะนำดี หมายถึง สอนและแนะนำศิษย์ ฝึกอบรมให้ศิษย์เป็นคนดี

    2. ให้เรียนดี หมายถึง สอนให้ศิษย์เกิดความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างแจ่มแจ้ง

    3. บอกศิลปะให้สิ้นเชิง ไม่บิดบังอำพราง หมายถึง ไม่หวงวิชา มีความรู้เท่าไหร่ถ่ายทอดให้หมด

    4. ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง หมายถึง ส่งเสริมและยกย่องความดีงามตามความสามารถของศิษย์ให้ปรากฏในทุกที่

    5. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย หมายถึง สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศ คือสอนฝึกให้ศิษย์สามารถใช้วิชาเลี้ยงชีพ และรู้จักดำรงตนในการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
    ดังนั้น หน้าที่ของครู คือ สร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาที่สมบูรณ์ คือการศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่ ให้ความรู้ทางโลก ให้ความรู้ทางธรรม เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลสและให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •