กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา

  1. #1
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ auddy228
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    ที่อยู่
    THAILAND
    กระทู้
    1,176
    บล็อก
    1

    หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา

    หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา



    หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา




    ภาพนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายให้ด้วยฝีพระหัตถ์และทรงตั้งไว้ในห้องพระบรรทม




    ข้อมูล



    พระอิสริยยศ...........ชายาในหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร

    พระราชบิดา........... พระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดช

    พระราชมารดา.........หม่อมศรีคำ

    พระสวามี.............. หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร

    บุตร.................... หม่อมราชวงศ์อนุพร กฤดากร

    ..........................หม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี กฤดากร

    ราชวงศ์.................ราชวงศ์จักรี




    หม่อม เจ้าศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา (นามเดิม เจ้าศรี ณ น่าน)
    พระธิดาในพระเจ้าสุริยะพงศ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน ลำดับที่ 13 กับแม่เจ้าศรีคำ เจ้าศรีพรหมาเกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2431 มีพี่น้องร่วมมารดา 5 คน เป็นชาย 3 (เสียชีวิตหมด) หญิง 2 คือ เจ้าบัวแก้ว และเจ้าศรีพรหมา ซึ่งเป็นลูกคนท้อง เมื่อเจ้าศรีพรหมาอายุได้ 3 ขวบเศษ พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรักษ์) และคุณหญิงอุ๊น ภรรยา ได้ขอเจ้าศรีพรหมา ไปเป็นบุตรบุญธรรม เจ้าศรีพรหมาจึงได้ไปอยู่กับพระยามหิบาลฯ ที่กรุงเทพฯ และเรียนหนังสือ ที่โรงเรียนประจำ ชื่อ สุนันทาลัย 5 เดือน และโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (วัฒนาวิทยาลัย) 8 เดือน ก็ลาออก ต่อมา พ.ศ.2442 พระยามหิบาลฯ และภรรยา ต้องเดินทางไปรับราชการที่ประเทศรัสเซียจึงนำตัวเจ้าศรีพรหมาไปถวายไว้ในพระอุปการะของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี มีหน้าที่ตามเสด็จ ตั้งเครื่องเสวยตามเวรและเวลา ในเวลากลางคืน
    ในตอนกลางวัน เจ้าศรีพรหมา จะงีบหลับเพื่อเข้าเวรตอนกลางคืน และมาสะดุ้งตื่นเอาตอนพลบค่ำ ด้วยหนูมากัดที่หัวแม่เท้า และหนูหลายสิบตัววิ่งอยู่บนเพดาน พร้อมกับส่งเสียง กุก ๆๆ ด้วยการที่หนูร้องเสียงนี้ โบราณถือว่าจะมีเหตุไม่ดีเกิดขึ้น กอปรกับช่วงนั้น มองเห็นดาวหางฮัลเลย์ อยู่ในระดับชั้นสามของพระที่นั่งอัมพรอันเป็นห้องพระบรรทม และพาดหางไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคม







    วันที่ 22 ตุลาคม 2453
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาก และสมเด็จ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เสด็จไปเข้าเฝ้าแล้วไม่ได้เสด็จกลับ บรรยากาศตอนนั้นเงียบเหงา โดยที่ปกติเวลาใกล้เที่ยงนั้นผู้คนจะเดินขวักไขว่ จอแจ
    เจ้าศรีพรหมา จึงจะไปเปลี่ยนเวรกับเจ้าจอมถนอม เดินข้ามคลองจากตำหนักสวนสี่ฤดู ไปยังพระที่นั่งอัมพร มีผู้คนต่าง ๆ ที่อยู่บนพระที่นั่งล้วนดูหม่นหมอง และนั่งเรียงรายกันตามขั้นบันได เมื่อไปถึงชั้นสามนั้น บรรยากาศเงียบกริบ สมเด็จบรรทมกับพื้นอยู่สุดห้องพระบรรทม ส่วน ร.5 ก็บรรทม กรนสม่ำเสมอ ดูอวบอ้วน พระพักตร์อิ่ม ทรงพระภูษาแดงผืนเดียวอยู่บนพระแท่น ส่วนเจ้าศรีพรหมาก็เข้าไปนอนที่ปลายพระบาทสมเด็จฯ มาตกใจตื่น เมื่อได้ยินเสียงร้องเซ็งแซ่ ด้วยเสียงร้องไห้ ผู้คนมากมายหมอบราบซบกับพื้น ส่วนสมเด็จฯ อยู่กับ ร.5 ซึ่งได้สวรรคตแล้ว พร้อมกับหมอไรเตอร์ หมอประจำพระองค์ กำลังถวายยาฉีดสมเด็จฯ ที่หมดสติ
    พนักงานอัญเชิญสมเด็จกลับพระตำหนัก โดยเจ้าศรีพรหมาซึ่งเป็นนางกำนัลก็ต้องขนของ หีบหมากเสวย และบ้วนพระโอษฐ์ (กระโถน) ตามเสด็จกลับตำหนัก สวนสี่ฤดู ซึ่งยังพระองค์ยังไม่คืนพระสติตลอดวันที่ 23 หลังจากนั้นพอฟื้นคืนพระสติขึ้นมา ก็ทรงกันแสงจนหมดพระสติไปอีกหลายครั้งหลายคราว..





    Bump: หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา





    ในรัชกาลที่ 5เจ้าศรีพรหมาใช้ชีวิตและเรียนหนังสืออยู่ในวังร่วมกับเจ้านายในพระบรมราชวงศ์ เป็นเวลา 3 ปี จึงได้ตามครอบครัวพระยามหิบาลฯ ไปอยู่ที่ประเทศรัสเซีย และประเทศอังกฤษ ตามลำดับ ทำให้ได้มีโอกาสฝึกฝนภาษาอังกฤษไปด้วยเมื่อเจ้าศรีพรหมากลับจากต่างประเทศ ก็ได้กลับไปรับราชการเป็นคุณข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้าฯ บางคราวก็ทำหน้าที่เป็นล่ามติดต่อกับชาวต่างประเทศ ในช่วงนั้นเจ้าศรีพรหมากำลังเป็นสาวเต็มตัว มีทั้งความสวย และอุปนิสัยโอบอ้อมอารี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ผิดจากสตรีชาววังทั่วไป
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงพอพระราชหฤทัยถึงกับจะโปรดให้รับราชการเป็น เจ้าจอม แต่เจ้าศรีพรหมาก็ได้กราบทูลเป็นภาษาอังกฤษไปตามตรงว่า ท่านเคารพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ในฐานะพระมหากษัตริย์ มิได้รักใคร่พระองค์ท่านในทางชู้สาว รัชกาลที่ 5 ก็ทรงเมตตาให้เป็นไปตามอัธยาศัย เรื่องความกล้าของเจ้าศรีพรหมาครั้งนี้ และพระมหากรุณาของรัชกาลที่ 5 ที่มีต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอมา (ดังจะเห็นได้จากภาพถ่ายเจ้าศรีพรหมาที่รัชกาลที่ 5 ทรงฉายด้วยพระองค์เองและตั้งไว้ในห้องบรรทม ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ตราบจนเสด็จสวรรคต) เป็นที่อัศจรรย์ของชาววังอย่างยิ่ง พ.ศ.2459









    หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา


    หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร



    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงขอเจ้าศรีพรหมาให้อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เจ้าศรีพรหมาจึงมีฐานะเป็น “หม่อมศรีพรหมา” ตั้งแต่นั้น หลังจากแต่งงานแล้ว หม่อมเจ้าสิทธิพร ซึ่งขณะนั้นอายุ 37 ปี รับราชการในตำแหน่งอธิบดี ในกระทรวงเกษตร และหม่อมศรีพรหมา มีความเห็นพ้องกันว่าการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จะเป็นอนาคตของชาติในภายภาคหน้า และดีกว่าการรับราชการ ดังนั้นเพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้แก่ลูกหลาน ทั้งสองท่านจึงถวายบังคมลาออกจากราชการ แม้จะถูกคัดค้านอย่างมากก็ตาม แล้วพาครอบครัวประกอบด้วยบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 1 คน เดินทางไปอยู่ที่อำเภอบางเบิด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มทำการเกษตรบนที่ดินของหม่อมศรีพรหมาที่ได้รับเป็นมรดกจากท่านเจ้าคุณมหิบาลฯ โดยปลูกผักสวนครัว พืชไร่ เลี้ยงไก่ สุกรพันธุ์เนื้อ และโคนม ซึ่งต่อมาขยายกิจการเป็นฟาร์ม ผลผลิตหลายอย่างของฟาร์มประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีและเป็นครั้งแรกของไทย เช่น ไข่ไก่ มะเขือ ยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย ทำให้ฟาร์มแห่งนี้เป็นสถานีทดลองทางการเกษตรที่มีผลต่อ กสิกรรมในวงกว้าง และหม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ของไทยต่อมาทั้งสองท่านได้ออกหนังสือ “กสิกร” มีนักวิชาการ /ผู้รู้ เสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการเกษตรมากมาย นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์เกี่ยวกับการทำอาหาร และการถนอมอาหาร โดยหม่อมศรีพรหมา เช่น การคั้นน้ำผลไม้ การหมักดอง การทำแฮม และเบคอน เป็นต้น ซึ่งหม่อมศรีพรหมานับเป็นคนไทยคนแรกที่ทำหมูแฮมและเบคอนได้ในประเทศไทยในสมัยที่ยังไม่มีตู้เย็น บทความหนึ่งที่น่าสนใจของหม่อมศรีพรหมา คือ “ชีวิตและหน้าที่ของสตรีที่ฟาร์มสมัยใหม่”









    หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา




    พ.ศ.2475 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 โปรดฯ ให้หม่อมเจ้าสิทธิพรกลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจกสิกรรม กระทรวงเกษตร หม่อมศรีพรหมาจึงต้องติดตามมาอยู่ที่กรุงเทพฯ ด้วย ในช่วงนี้กรมตรวจกสิกรรมสามารถส่งข้าวเข้าประกวดได้รางวัลชนะเลิศเป็นที่ 1 ของโลก หม่อมเจ้าสิทธิพรต้องออกจากราชการ หลังจาก รับตำแหน่งได้ไม่กี่เดือน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน
    ชีวิตของหม่อมศรีพรหมาต้องผกผันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดกบฏบวรเดช หม่อมเจ้าสิทธิพรได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมก่อการด้วย ท่านจึงปรึกษาหม่อมศรีพรหมาก่อนตัดสินใจ ซึ่งหม่อม ศรีพรหมากล่าวว่า ท่านพร้อมที่จะสนับสนุนการกระทำใดๆ ก็ตามที่จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง แม้ว่าจะเสี่ยงสักเพียงใด หม่อมเจ้าสิทธิพรจึงเข้าร่วมด้วย แต่การก่อการดังกล่าวไม่สำเร็จ ทำให้หม่อมเจ้าสิทธิพรต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ภายหลังได้รับพระราชทานนิรโทษกรรม จึงจำคุกเพียง 11 ปี ระหว่างนี้หม่อมศรีพรหมาต้องรับภาระหนักทั้งเลี้ยงดูบุตรธิดา ดูแลกิจการที่บางเบิด และ ตามไปส่งอาหารและยาให้หม่อมเจ้าสิทธิพรตามสถานที่ต่างๆ ที่ถูกคุมขังไว้ แต่ท่านก็มิได้ท้อแท้ หรือแสดงความอ่อนแอ แต่อย่างใด
    หลังจากหม่อมเจ้าสิทธิพรพ้นโทษแล้ว ก็ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ถึง 2 สมัย หม่อมศรีพรหมาจึงได้กลับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง ส่วนฟาร์มที่บางเบิดนั้น ต่อมาได้ขายให้ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ แล้วไปซื้อที่ใหม่อยู่ที่สวนเล็กๆ ที่หัวหิน กระทั่งหม่อมเจ้าสิทธิพรสิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 22 มิถุนายน 2514 เพื่อเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของหม่อมเจ้าสิทธิพร หม่อมศรีพรหมาจึงได้ผลักดันให้เกิด “มูลนิธิสิทธิพร กฤดากร” เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร
    บั้นปลายชีวิตของหม่อมศรีพรหมาอบอุ่นแวดล้อมด้วยลูกหลาน มีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง แม้จะเจ็บป่วยบ้าง กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2521 รวมอายุได้ 90 ปีเศษ อัฐิของท่านได้นำมาบรรจุไว้ที่วัดชนะสงครามร่วมกับพระอัฐิของหม่อมเจ้าสิทธิพร
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย auddy228; 04-07-2010 at 23:39.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •