มาฆบูชา
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
ไม่ทำสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ทำความดีให้ถึงพร้อม
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ
ทำใจให้แจ่มใส นี้หละคือ พุทธศาสนา

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
ขันติคือความอดกลั้น เป็นตบะธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต
ผู้กำจัด ทำร้ายสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย

อนูปวาโท อนูปฆาโต
การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย
ปาติโมกฺเข จ สํวโร
การสำรวมในปาติโมกข์
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด
อธิจิตฺเต จ อาโยโค
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง


วันที่ 3 มีนาคม (วันเสาร์นี้) ตรงกับวัน"มาฆบูชา" ซึ่งเป็นสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ความสำคัญคือพระพุทธเจ้าได้ทรงถือโอกาสวันนี้ที่มีการประชุมครั้งใหญ่ (จาตุรงคสันนิบาต) ประกาศ "โอวาทปาติโมกข์" (ตามด้านบน) ซึ่งเป็นหลักสำคัญของพุทธศานา

เมื่อนึกถึงพุทธศาสนา หลายคนอาจนึกถึง กฏข้อปฏิบัติ อะไรหลาย ๆ อย่าง ที่ฟังดูแล้ว มันปฏิบัติยาก แต่หลักๆ แล้วก็มีเท่านี้หละ โดยจะแบ่งสองส่วน คือ ส่วนแรกสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป ไม่ทำบาป, สรรหาทำความดี, จิตใจแจ่มใส ซึ่งก็ทำตามสมควรที่ตนควรทำ และส่วนหลังนั้น จะเป็นวิธีปฏิบัติของพระสงค์ (บรรพชิต สมณะ) ซึ่งมี "นิพพาน" เป็นเป้าหมาย

นี้คือหลักพระพุทธศาสนาจะเห็นว่าความสำคัญอยู่ที่การ "ปฏิบัติ" (โปรดฟังอีกครั้ง) นี้คือหลักคำคัญพุทธศาสนา จะเห็นว่าความคำคัญสุงสุด คือ "การปฏิบัติของเรา"

จะเห็นว่า"หลักความสำคัญ"พุทธศาสนานั้น จริงๆแล้ว ไม่ได้เรื่องมากและปฏิบัติไม่อยากเลย ทำไปเถอะตามที่ใจคิด ดีไม่ดีอยุ่ที่เจตนา ทำแล้วจิตใจแจ่มใสแสดงว่าทำถูกแล้ว