กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: มหัศจรรย์แห่งรัก ตอน "คู่ชีวิต"

  1. #1
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ สาวเมืองกะสิน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    584

    มหัศจรรย์แห่งรัก ตอน "คู่ชีวิต"

    คุณเพื่อนที่รักส่ง มหัศจรรย์แห่งรัก ตอน "คู่ชึวิต" มาให้อ่านต่อค่ะ ที่แรกคิดว่าส่งมาให้อ่านหมดแล้ว แต่พอกลับมาจากเมืองกาญจน์ มาเช็คเมล์ ปรากฏว่าคุณเพื่อนส่งมาให้อีกตอน กำชับว่า "พิมพ์เองกับมือนะเธอ สามีฉันถามพิมพ์ไปเฮ็ดหยัง ฉันบอกว่ามักหลายกะเลยพิมพ์ไว้อ่านนี่หล่ะ เก็บไว้ในคอมฯ อยากอ่านตอนได๋กะเปิดมาอ่าน กรุณาอ่านให้จบเด้อเธอ" โอ๊ย มีเพื่อนแสนดีขนาดนี่ บ่อ่านจบ (หลายรอบ)กะจักสิว่าจังได๋หล่ะน้อจ้า
    มีเพื่อน เอ่าธรรมะดีๆมาให้อ่าน กะถือว่าโชคดีแล้วน้อจ้า เรื่องดีๆแบบนี่บ่แบ่งปัน บ่ได้แล้วจ้า มาๆๆมาอ่านต่อจ้า มีหลายหน้า จะทยอยเอามาลงให้อ่านจ้า

    ขอบคุณทุกๆคนติดตามนะคะ


    คู่ชีวิต
    Marriage
    เมื่อเราเลือกคู่รักที่มั่นใจแล้วว่า เขาหรือเธอผู้นั้นมีธรรม ๔ ประการ เสมอหรือใกล้เคียงกับเรา ก็ถึงเวลาที่เราจะเข้าสู่พิธีมงคลสมรส คำว่า “มงคลสมรส” นี้ เป็นคำที่น่าศึกษา น่าวิเคราะห์เป็นอย่างยิ่ง ว่าเหตุใดจึงต้องใช้คำว่า “[SIZE="5"]มงคลสมรส”[/SIZE]
    โดยความหมาย หรือนัยสำคัญของคำ นี้ ซ่อนไว้คือ

    ถ้าเราจะสมรสให้เป็นมงคลแก่ชีวิต เราจะต้องเอาธรรมนำหน้า แล้วสามีภริยาตามหลัง
    ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร
    เมื่อแต่งงานกันแล้ว เราทั้งคู่จะต้องมีธรรมอีก ๔ ประการ นำหน้าในการครองเรือนครองรักและครองชีวิต สิ่งนั้นคือ ฆราวาสธรรม ๔ (ธรรมสำหรับการครองเรือน ๔ ประการ) อันได้แก่

    ๑. รักเพียงหนึ่ง (สัจจะ) คือรักเดียวใจเดียว
    ๒. พึงเรียนรู้ (ทมะ) คือความพร้อมที่จะเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน
    ๓. สู้อดทน (ขันติ) คือ ความอดทนต่อกันและกัน
    ๔. ฝึกฝนการให้ (จาคะ) คือความเสียสละ


    ๑.รักเพียงหนึ่ง (สัจจะ) หมายความว่า บุคคลทั้งสองจะต้องมีความสัตย์ จริงใจ รักเดียวใจเดียวต่อคู่สมรสของตน เบื้องต้นอย่างไร เบื้องปลายอย่างนั้น ไม่มี ภริยาน้อย ไม่มีกิ๊ก ไม่มีกั๊ก ไม่มีควิก กล่าวอย่างง่ายก็ คือ ไม่มีการละเมิดจริยธรรมทางเพศต่อคู่สมรสของตนเอง

    ๒.พึงเรียนรู้ (ทมะ) หมายความว่า พร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งก็คือการรู้จักยืดหยุ่นนั่นเอง เมื่อเรามาอยู่ด้วยกัน ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างมีความต้องการ จะเสมอกันแค่เพียงเรื่องเดียว ก็คือ เรื่องของความรักเท่านั้นเอง ที่ดึงดูดเรามา ฉะนั้น เมื่อเรามีภูมิหลังที่แตกต่างกัน มีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน มีระบบความคิดความเชื่อที่แตกต่างกัน ถ้าเราไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เมื่ออยู่ร่วมกันไปสักระยะหนึ่ง ในที่สุดแล้วก็จะต้องเลิกร้างห่างหายกันไป
    ชีวิตคู่ถ้าจะให้ยั่งยืน ทั้งสองสามี ภริยา ต้องบอกตนเองเสมอว่า เรามาแต่งงานกันก็เหมือนกับเรามาลงทะเบียนเรียนวิชาสร้างครอบครัวด้วยกัน ให้คิดว่าเราทั้งสอง เป็นเสมือนนักเรียนน้อยๆ ของมหาวิทยาลัยชีวิต ที่เราต้องการลงทะเบียนเรียนซึ่งกันและกัน
    ให้อีกฝ่ายหนึ่งมองอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นครูของตนเอง อย่าไปมองว่าอีกฝ่ายเป็นคู่เวรคู่กรรมของตนเอง แต่จะต้องมองว่า เวลาที่สามีร้อนมา ภริยาต้องเรียนรู้ที่จะเย็นกลับไป อย่างนี้เป็นต้น
    ต้องเรียนรู้ที่จะมองถึงจุดอ่อนของกันและกัน แล้วจึงปรับเข้าหากันได้ เหมือนกับอิฐ หิน ดิน ทราย ปูน ที่มาจากคนละทิศละทาง แต่พอมาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ก็สามารถหลอมรวมกันกลายเป็นซีเมนต์ ที่พร้อมจะสร้างบ้าน สร้างโดม สร้างปราสาท สร้างวิหาร ใหญ่โตมโหฬารสัก เพียงไหนก็ได้ ถ้าอิฐ หิน ดิน ทราย ปูน ไม่เรียนรู้ซีงกันและกัน ก็ไม่สามารถจะสร้างบ้าน สร้างวิหาร สร้างปราสาทราชวังใดๆ ได้

    ใช้เวลาน้อยๆ ในการคิดว่าใครถูกแต่ใช้เวลาให้มาก ในการคิดว่าอะไรคือสิ่งที่ถูก

    ดังนั้น คนที่แต่งงานด้วยกัน ให้ถือหลักว่า เรามาเรียนรู้ซี่งกันและกัน จะผิดเราก็เรียน จะถูกเราก็เรียนรู้ จะตกต่ำย่ำแย่ จะร้อนแรง จะเย็นชา จะจืดชืด เราก็พร้อมที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เมื่อเราตั้งเป้าหมายว่าเราจะเป็นนักเรียนน้อย ของกันและกัน ก็จะทำให้เราเคารพซึ่งกันและกัน โดยวิธีนี้จะทำให้เรารู้จักมองข้ามข้อบกพร่องของแต่ละฝ่าย และจะทำให้อีกฝ่ายเป็นส่วนเติมเต็มที่ลงตัวของกันและกันได้ตลอดไป

    ๓. สู้อดทน (ขันติ) หมายความถึงความมีน้ำอดน้ำทน เนื่องจากเราแต่ละคนมาจากต่างพ่อต่างแม่ ต่างครอบครัว ต่างภูมิหลังทางสังคม ต่างวัฒนธรรม ในบางครั้งอาจต่างชาติ ต่างภาษา และต่างศาสนาด้วย เมื่อเรามาอยู่ด้วยกันแล้ว เราจึงต้องอดทนต่อความแตกต่างหลากหลายนี้ให้ได้ ถ้าเราอดทนไม่ได้ นั่นก็หมายถึง เราไม่สามารถประคับประคองเรือรักของเราให้สำเร็จลุล่วงไปอย่างตลอดรอดฝั่ง ความอดทนนี้จึงเป็นหลักธรรมที่สำคัญมาก นอกจากเราต้องทนต่อความแตกต่างหลากหลายนี้แล้ว ผู้ที่ครองเรือนยังต้องอดทนต่อความลำบากตรากตรำในการสร้างตัว เพราะการที่เราแยกมาสร้างครอบครัวใหม่ เราไม่ได้สร้างแค่บ้าน เพียง ๑ หลัง แต่เราต้องสร้างหลักฐานให้กับสถาบันครอบครัวของเราให้มั่นคงด้วย นั่นคือ เราจะต้องทำมาหากิน รู้จักอดออม รู้จักอดทนต่อกิเลสต่างๆ ที่จะมายั่วยุให้ชีวิตคู่ของเรานั้นต้องแตกหักอับปางลงไป และสำคัญที่สุดก็คือ ต้องอดทนต่อการยุแยงตะแคงรั่วของมือที่สาม เพราะชีวิตคู่เป็นจำนวนมากที่ล่มสลายไป เป็นเพราะว่ามีมือที่สามเข้ามาแทรกแซง
    คู่สมรสจะต้องอดทนที่จะไม่หวั่นไหวต่อคำยุแยงตะแคงรั่วของมือที่สาม เพราะมือที่สามเป็นผู้ที่ไม่ปรารถนาให้ชีวิตคู่ของเรานั้นประสบความสำเร็จและยืนยงตลอดกาล


    ๔. ฝึกฝนการให้ (จาคะ) หมายความถึง ความมีใจเสียสละความสุขส่วนตน ในข้อนี้หากสังเกตให้ดีจะพบว่า พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญเป็นอันมาก เพราะปรากฏอยู่ทั้งในหลักของการเลือกคนรัก (สมชีวิธรรม ๔) และหลักการครองเรือน (ฆราวาสธรรม ๔) ซึ่งหลักธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ คือหลักสำคัญในการเลือกคนรักเพื่อการครองเรือนให้ประสบความสำเร็จอย่างมั่นคงและยั่งยืน

    จาคะ คือ ความเสียสละ ในที่นี้ก็คือ ความเสียสละกิเลสของตนนั่นเอง กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ เมื่อเรามาอยู่ร่วมกัน มาครองเรือนร่วมกันแล้ว เราจะต้องปล่อยวางกิเลสของตนเอง “ทิ้งความเป็นเธอ ทิ้งความเป็นฉัน แล้วหลอมเราเป็นเรา” ถ้าเป็นสามีภริยากันแล้ว ฝ่ายสามีถืออำนาจบาตรใหญ่ ยึดความเป็นใหญ่ในการตัดสินใจของภริยาให้มาขึ้นกับตนเองทั้งหมด ภริยาก็จะอยู่ในสถาบันครอบครัวเสมือนเป็นทาสในเรือนเบี้ย ยิ่งอยู่ด้วยกันก็ยิ่งเหมือนถูกกักขังจองจำ เหมือนมีโซ่ตรวนพันธนาการอยู่ตลอดเวลา ถ้าปล่อยให้ภาวะเช่นนี้คงอยู่ต่อไป ในที่สุดคนทั้งคู่ก็จะต้องเลิกร้างห่างกัน

    ฉะนั้น ต่างฝ่ายต่างก็ต้องเสียสละกิเลสของตนเองอย่าคิดว่าฉันเป็นผู้เผด็จการภายในบ้าน เป็นผู้บัญชาการที่บ้านเพียงผู้เดียว แต่ให้คิดเสมอว่า เธอก็ดี ฉันก็ดี มีสิทธิและเสรีภาพพอๆ กันในบ้านหลังนี้ ในครอบครัวนี้ เมื่อเราระลึกอย่างนี้เสมอ ก็จะทำให้มีบรรยากาศของประชาธิปไตยในการครองเรือนเกิดขึ้น และนั่นจะทำให้ชีวิตของคนทั้งคู่ก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน
    ถ้าเน้นตนเองมากเกินไป
    ก็จะเป็นการใช้อำนาจควบคุมครอบงำผู้อื่นด้วยกำลัง
    การเสียสละกิเลส หรืออัตตาของตัวเองทิ้งนี้ หากจะให้มั่นคงก็ต้องลงลึกถึงการ
    “เคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” ของแต่ละฝ่าย เพราะเมื่อต่างฝ่ายต่างเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกันแล้ว การเสียสละที่แท้จริงก็เกิดขึ้น การให้เกียรติที่แท้จริงก็จะงอกงาม การยองรับในตัวตนของกันและกันก็จะไม่เป็นเพียงการ “รอมชอม” ชั่วครั้งชั่วคราว แต่จะเป็นการ


    “ยอมรับจุดต่าง แสวงจุดร่วม “
    ที่มีความมั่นคงตลอดไป

    ขอให้คู่ชีวิตทุกคู่มีความสุข และเดินทางไปถึง ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชรทุกคู่จ้ามหัศจรรย์แห่งรัก ตอน "คู่ชีวิต"
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวเมืองกะสิน; 18-07-2010 at 22:28.

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ ครูไทยไกลบ้าน
    วันที่สมัคร
    Jan 2010
    กระทู้
    103
    ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
    ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ
    ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
    ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา
    ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
    ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา
    ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
    ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง
    ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
    ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา
    สมฺภตํ อนุรกฺขติ
    ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้
    สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
    ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี
    สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
    บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ

  3. #3
    International chef สัญลักษณ์ของ สะใภ้อิสาน
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    กระทู้
    1,565
    บล็อก
    4
    lสมัยนี้เพชรกับทองมันแพง ไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร ก็เลยไม่มี ที่มีเหลืออยู่
    ก็แค่ ไม้เท้ากับไม้ตะบอง คุคุคุคุ
    แค่พูดเล่นขำขำจ้า.....
    เป็นบทครองเรือนที่ดีมากคะ ถ้าได้อ่านตั่งแต่แรกก็คงจะได้ถือสักยอด คุคุคุคุ

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •