กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: กองกำลังทหารไทยในเกาหลี ตอนที่ 2

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    กองกำลังทหารไทยในเกาหลี ตอนที่ 2

    กองกำลังทหารไทยในเกาหลี ตอนที่ 2






    คำว่าสงคราม ไม่ทำให้อะไรดีเลย มีแต่ความเสียหายมากมาย ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ การเมือง การต่างประเทศ ที่ร้ายที่สุดคือสภาพจิตใจของมนุษย์


    กองกำลังของสหประชาชาติ ได้มีบทบาทที่สำคัญในสงครามระหว่างประเทศเกือบทุกครั้ง และสงครามเกาหลี ก็เป็นอีกบทบาทหนึ่งของสหประชาชาติ


    ไทยในฐานะมีส่วนร่วมในการรบครั้งประวัติศาสตร์นี้ด้วย
    สงครามของคนชาติพันธุ์เดียวกัน สงครามเกาหลี





    เนื้อหาจากตอนที่ 1


    จากการร่วมรบกับสหประชาชาติของกองกำลังจากกองทัพไทย

    ได้มาถึงการ ถอนตัวจากกรุงเปียงยาง



    กองกำลังทหารไทยในเกาหลี ตอนที่ 2



    กองทัพที่ ๘ สหรัฐฯ ได้กำหนดแผนให้ถอนตัวลงมาทางใต้ทั้งหมด เพราะสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป การเข้าตีเพื่อเผด็จศึกของฝ่ายสหประชาชาติ ได้รับการต้านทานอย่างหนักหน่วงด้วยกำลังทหารสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีกำลังถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน

    หน่วยทหารไทยได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังรักษาการณ์ตามจุดต่าง ๆ เมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๔๙๓ และถอนตัวออกจากกรุงเปียงยาง ในระหว่างการเคลื่อนย้ายหน่วยทหารไทยไม่ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติการสื่อสาร กับหน่วยใด ๆ ของสหรัฐฯ โดยรับฟังคำสั่งของกองทัพที่ ๘ โดยตรง

    จนมาถึงเมืองซาริวอนในเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วเคลื่อนทึ่ต่อไปถึงเมืองเคซองที่เส้นขนาน ๓๘


    หน่วยทหารไทยได้รับมอบภารกิจให้ จัดกำลังไปรักษาสะพาน และสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำอิมจินที่หมู่บ้านมาจองนิ แทนทหารเกาหลีที่ถอนตัวไปปฏิบัติภารกิจอื่น และวางกำลังป้องกันเมืองเคซอง ร่วมกับกองพลน้อยตุรกี และหน่วยทหารสหรัฐฯ และต่อมาเมื่อได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังกลับไปเป็นกองหนุนทั่วไปของกองทัพที่ ๘ สหรัฐฯ ที่เมืองซูวอน เมื่อ ๑๓ ธันวาคม 2493 นั้น





    หลังจากนั้น



    กองบังคับการผสมที่ ๒๑ และกองพันทหารไทยได้รับคำสั่งให้เตรียมการเคลื่อนย้าย และเปลี่ยนการบังคับบัญชาไปขึ้นตรงต่อกองทัพน้อยที่ ๑ สหรัฐฯ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่เมืองยองดองโป



    กองกำลังทหารไทยในเกาหลี ตอนที่ 2




    เมื่อ ๑ มกราคม ๒๔๙๔ ได้รับมอบหมายให้เคลื่อนที่จากเมืองซูวอน และเมืองโอซานไปขึ้นสมทบกับกองพลน้อยที่ ๒๙ อังกฤษ ซึ่งตั้งที่บังคับการอยู่เหนือกรุงโซล ประมาณ ๑๖ ไมล์ ผู้บังชาการพลน้อยที่ ๒๙ อังกฤษ มีแผนที่จะใช้กองพันทหารไทยขึ้นเสริมแนวของปีกขวา ติดกับกองพลสหรัฐฯ ซึ่งระหว่างนั้นกำลังถูกกดดันอย่างรุนแรงจากข้าศึก ฝ่ายสหประชาชาติได้ถอยร่นลงมาตามลำดับ


    กองพันทหารไทยได้รับมอบภารกิจให้วางกำลังตั้งรับใน แนวหนุนของกองพลน้อยที่ ๒๙ อังกฤษ เตรียมช่วยการถอนตัวของกองพลน้อยที่ ๒๙ ตามเส้นทางกรุงโซล กับเมืองเคซอง ๑๑ ไมล์ ซึ่งทางฝ่ายข้าศึกพยายามเข้าตีทางด้านนี้อย่างรุนแรง


    ทหารเริ่มเข้าประจำแนวตามยอดเขา เมื่อ ๓ มกราคม ๒๔๙๓ ข้าศึกประมาณ ๑ กรม เข้าตีอย่างหนัก สามารถเจาะแนวตั้งรับของกองพลน้อยที่ ๒๙ เข้ามาได้หลายตอน ทหารไทยได้รับคำสั่งให้ถอนตัวจากแนวรบ และเข้าที่รวมพลของกองพัน กรมผสมพักอยู่ที่เมืองซูวอน ๒ คืน ก็ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนย้ายกำลังลงไปทางใต้อีก ๒๐ ไมล์ เพื่อวางแนวระวังป้องกันให้กับส่วนใหญ่ร่วมกับทหารอังกฤษ ที่เมืองเบียงแต็ก ได้รับมอบภารกิจให้รักษาพื้นที่กว้าง ๘ ไมล์


    การเคลื่อนที่เข้าหาเมืองชุนชอน และการเข้าตีเมืองวาซอน



    กองกำลังทหารไทยในเกาหลี ตอนที่ 2



    กองพันทหารไทยปฏิบัติภารกิจรักษาเส้นทางลำเลียงระหว่างเมืองซังจู กับเมืองมังยองเรื่อยมา


    จนถึง ๖ มีนาคม ๒๔๙๔ จึงมอบภารกิจนี้ให้แก่กองพันเกาหลี กองพันทหารไทยได้รับคำสั่งให้ไปขึ้นกับกรมทหารม้าที่ ๕ สหรัฐฯ ตามเดิม เพื่อรับภารกิจในแนวรบต่อไป ที่ตั้งของทหารไทยอยู่ห่างจากแนวหน้า ๑๒ ไมล์ เหนือเมืองโยจู ๒๐ ไมล์ ภูมิประเทศกันดาร


    จากนั้นเมื่อ ๒๖ มีนาคม ๒๔๙๔ กองพันทหารไทย ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนที่ไปประจำแนว ห่างจากแนวรบ ประมาณ ๖ ไมล์ ห่างจากเส้นขนาน ที่ ๓๘ ประมาณ ๑๒ ไมล์ ใต้เมืองชุนชอน


    กองร้อยที่ ๑ ได้เคลื่อนที่เข้าประจำแนวรบเมื่อ ๒๘ มีนาคม ๒๔๙๔ ได้ออกทำการลาดตระเวน และปะทะกับข้าศึก วันต่อมา ได้ออกลาดตระเวนรบปะทะกับข้าศึกได้รับบาดเจ็บ ๕ นาย การปฏิบัติการครั้งนี้มีผู้ได้รับเหรียญบรอนซ์สตาร์ ประดับอักษรวี จำนวน ๓ นาย


    กองพลทหารม้าที่ ๑ สหรัฐฯ ได้รับคำสั่งให้รุกเข้ายึดที่หมายบริเวณเมืองวาชอน เหนือเส้นขนานที่ ๓๘ ประมาณ ๔ ไมล์ เมื่อ ๓ เมษายน ๒๔๙๔ กรมทหารม้าที่ ๘ เป็นกองรบด้านซ้าย กองพันทหารไทยเป็นกองรบปีกซ้าย สามารถยึดที่หมายได้ตามลำดับ ได้ปะทะกับข้าศึก


    และมีทหารได้รับบาดเจ็บหลายนาย การรุกเคลื่อนที่ตั้งแต่ ๓ - ๗ เมษายน ๒๔๙๔ สามารถรุกคืบหน้าไปได้ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร


    ทหารสหประชาชาติ อันประกอบด้วยทหารสหรัฐฯ อังกฤษ เกาหลี กรีก และไทย ก็ได้รุกข้ามเส้นขนานที่ ๓๘ ขึ้นไป และเมื่อยึดที่หมายได้แล้ว กองพันทหารไทยจึงถอนตัวกลับมาเป็นกองหนุนของกองพันที่ ๘ โดยเดินทางมาเข้าที่ตั้งที่เมืองกุมกองนิ อยู่ทางใต้กรุงโซล ๒๒ ไมล์



    การปรับปรุงกำลังทหารของไทย


    ได้มีการพิจารณาของสภาป้องกันราชอาณาจักร เมื่อ ๑๗ เมษายน ๒๔๙๔ เรื่องการปรับปรุงกำลังไปร่วมรบสหประชาชาติในสงครามเกาหลี มีสาระที่สำคัญคือ



    ๑ ยุบและถอนกองบัญชาการทหารไทย คงจัดให้มีแต่นายทหารติดต่อประจำ บก.สหประชาชาติ
    ๒ กำลังภาคพื้นดินคงให้จัดเป็นกองพันทหารราบ ๑ กองพัน มีชื่อว่า กรมผสมที่ ๒๑ กองพันทหารราบที่ ๑ (อิสระ)
    ๓ หมู่เรือซึ่งมีเรือรบหลวงประแส เรือรบหลวงบางปะกง และเรือรบหลวงสีชัง คงให้มีเท่าเดิม
    ๔ กองทัพอากาศ จัดเครื่องบินลำเลียง ๑ หมู่ ๓ เครื่อง มีเจ้าหน้าที่ ๑๗ คน และเจ้าหน้าที่เสนารักษ์ประจำเครื่องบินขนส่งสหประชาชาติ ๓ ชุด
    ๕ สภากาชาดคงจัด ๑ หน่วย มีกำลัง ๒๐ คน
    ๖ ให้มีการผลัดเปลี่ยนหน่วยทหารตามอัตราการจัดใหม่ หลังจากปฏิบัติการในสนามไม่น้อยกว่า ๖ เดือน


    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สภาป้องกันราชอาณาจักรเสนอ


    กองบังคับการผสมที่ ๒๑ จึงมอบการบังคับบัญชากองพันทหารไทยให้ขึ้นกับกรมทหารม้าที่ ๘ สหรัฐฯ และเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ ๓ กรกฎาคม ๒๔๙๔



    จบตอนที่ 2

    ……………………………….......................................




    ขอบคุณ
    http://www1.tv5.co.th/
    www.bangkokbookclub.com/



    [radio]http://www.file2go.com/mrun.php?me=1111s2[/radio]


    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ หนุ่มกึ่ม
    วันที่สมัคร
    Mar 2009
    กระทู้
    36
    ขอบคุณคับ ติดตามอ่า่นยุ่คับ สนใจๆๆๆ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •