กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ย้อนรอยอดีต 4 หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ย้อนรอยอดีต 4 หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)

    ย้อนรอยอดีต 4 หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)





    ระฆังยักษ์แห่งนี้สั่นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 1859



    ทุกท่านคงเคยได้ยินเสียงนาฬิกา บิ๊กเบนที่แสนไพเราะ อมตะมาบ้างแล้ว
    เจ้าที่มาของเสียงจากหอนาฬิกาแห่งนี้ก็คือ เสียงจาก ระฆังยักษ์ของหอนาฬิกา แห่งรัฐสภาอังกฤษ
    ซึ่งเจ้า ระฆังยักษ์แห่งนี้สั่นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 1859 และปีนี้ถือเป็นปีที่ 151




    ย้อนรอยอดีต 4  หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)



    ย้อนรอยอดีต 4  หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)



    ย้อนรอยอดีต 4  หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)




    ระฆังยักษ์แห่งนี้สั่นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 1859 และปีนี้ถือเป็นปีที่ 151


    ระฆังยักษ์แห่งนี้ทางการอังกฤษได้จัดการเฉลิมฉลองด้วยการยิงลำแสง แสดงข้อความว่า “Happy Birthday, Big Ben, 150 years, 1859-2009” ไปที่หอนาฬิกา หลังจากพระอาทิตย์ตกดิน ในวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 2009 มาแล้ว




    ย้อนรอยอดีต 4  หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)


    ย้อนรอยอดีต 4  หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)




    นาฬิกาซึ่งอยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของท้ายพระราชวังเวสต์มินสเตอร์แห่งนี้ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 1859 และกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกจดจำมากที่สุดของสถาปนิก ชาร์ลส์ แบร์รี ที่สร้างขึ้นทดแทนอาคารรัฐสภาหลังเก่า ที่ถูกไฟไหม้ไปในปี 1834


    อย่างไรก็ตาม ระฆังของหอนาฬิกาแห่งนี้กลับมาปัญหาไม่รู้ต่อกี่ครั้ง ระฆังแรกแตกในระหว่างทดลอง 2 ปี ก่อนที่หอนาฬิกาจะสร้างเสร็จ ส่วนระฆังอันใหม่ที่นำมาใช้แทนก็อยู่ได้เพียง 2 เดือนก่อนจะแตกอีกเช่นกัน



    หลังจากนั้นเป็นเวลาถึง 4 ปี ที่บิ๊กเบนเงียบกริบ จนกระทั่งมีการซ่อมแซม และปรับปรุงอีกครั้ง


    นับแต่นั้นมา ระฆังที่หอแห่งนี้ก็ได้รับความเสียหายจากสาเหตุต่างๆ ทั้งสภาพอากาศ ช่าง และนก ทว่า บิ๊กเบนก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ที่โด่งดังที่สุดอย่างหนึ่งของอังกฤษ



    ย้อนรอยอดีต 4  หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)



    เหนื่อยมากนัก ก็นอนอาบแดดพักผ่อน ที่ St. James's Park ใกล้พระราชวัง
    มี บิ๊กเบน โผล่เยี่ยมหน้าอยู่เหนือยอดไม้อย่างแจ่มๆๆ เลยจ้า



    [radio]http://img122.google.co.th/img122/2493/58692131.jpg[/radio]





    ……………………………………………………………………………………..


    ประวัติของ บิ๊กเบน



    หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์

    หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้างหลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รี เป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตร โดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (victorian gothic)


    หลายคนเข้าใจว่าบิกเบนเป็นชื่อหอนาฬิกาประจำรัฐสภาอังกฤษ แต่แท้ที่จริงแล้ว บิกเบนเป็นชื่อเล่นของระฆังใบใหญ่ที่สุด หนักถึง 13,760 กิโลกรัม ซึ่งแขวนไว้บริเวณช่องลมเหนือหน้าปัดนาฬิกา ทั้งนี้มีระฆังรวมทั้งสิ้น 5 ใบ โดย 4 ใบจะถูกตีเป็นทำนอง ส่วนบิกเบนจะถูกตีบอกชั่วโมงตามตัวเลขที่เข็มสั้นชี้บนหน้าปัดนาฬิกา ทว่าคนส่วนใหญ่กลับใช้ชื่อบิกเบนเรียกตัวหอทั้งหมด


    บางทีมักเรียกหอนาฬิกานี้ว่า หอเซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Tower) หรือหอแห่งบิกเบน (Tower of Big Ben) ซึ่งที่จริงแล้วชื่อหอเซนต์สตีเฟนคือชื่อของหอในพระราชวังอีกหอหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นทางเข้าไปอภิปรายในสภา ปัจจุบันภายในหอนาฬิกาไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม เว้นแต่สำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศอังกฤษ จะต้องทำเรื่องขอเข้าชมผ่านสมาชิกรัฐสภาอังกฤษประจำท้องถิ่นของตน ถ้าเป็นเด็กต้องมีอายุเกิน 11 ปี จึงจะเข้าชมหอได้ สำหรับชาวต่างประเทศนั้นยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไป


    หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีความสูงทั้งหมด 96.3 เมตร โดยในช่วง 61 เมตรแรก เป็นอาคารก่อด้วยอิฐ บุด้วยหิน ส่วนที่สูงจากนั้นเป็นยอดแหลมทำด้วยเหล็กหล่อ ตัวหอตั้งอยู่บนฐานกว้าง 15 เมตร ยาว 15 เมตร หนา 3 เมตร อยู่ใต้ดินลึก 7 เมตร ตัวหอทั้งหมดหนักโดยประมาณ 8,667 ตัน หน้าปัดนาฬิกาทั้งสี่ด้านอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร เนื่องจากสภาพดินในขณะที่มีการก่อสร้างหอ ทำให้ตัวหอค่อนข้างเอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 220 มิลลิเมตร



    ระฆัง "บิกเบน"



    ย้อนรอยอดีต 4  หอนาฬิกา บิ๊กเบน (Big Ben)



    ระฆังที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหาระฆัง (The Great Bell) โดยทำการหล่อครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2399 โดยวอร์เนอร์ออฟคริปเปิลเกต (Warner's of Cripplegate) หนัก 14.5 ตัน มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เบนจามิน ฮอลล์(Benjamin Hall) เป็นแม่กองในการหล่อครั้งแรกนี้ จึงใช้ชื่อเล่นของเขาเป็นชื่อเล่นของระฆัง บางที่ก็ว่าระฆังอาจถูกตั้งชื่อหลังจากที่นักมวยรุ่นเฮฟวี่เวตชื่อ เบนจามิน เคานต์(Benjamin Caunt)



    มหาระฆังหรือบิกเบน เป็นระฆังหนึ่งในห้าใบที่แขวนไว้ในหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ เมื่อตีจะให้เสียงโน้ต "ลา" ส่วนระฆังอีกสี่ใบที่เหลือมีเสียงโน้ต ซอลสูง ฟาสูง มี และที ตามลำดับ



    ขณะที่หอนาฬิกายังสร้างไม่เสร็จ มหาระฆังถูกแขวนไว้ในพระราชอุทยานพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ แต่กลับแตกเมื่อถูกตีด้วยค้อนที่หนักเกินไป จึงให้หล่อใหม่ที่บริษัทระฆังไวต์แชพเพล (Whitechapel Bell Foundry) ครั้งนี้ระฆังหนัก 13.76 ตัน สูง 2.2 เมตร และกว้าง 2.6 เมตร มหาระฆังถูกนำขึ้นแขวนในห้องระฆังบริเวณช่องลมของตัวหอ เมื่อปี พ.ศ. 2446 พร้อมด้วยระฆังเล็ก ใช้เวลาทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง จึงสำเร็จ ต่อมาในเดือนกันยายนของปีถัดมา มหาระฆังก็ร้าว แต่ก็แก้ไขโดยการหมุนระฆังมิให้ส่วนที่ร้าวถูกตี และก็ไม่ได้ทำการซ่อมแซมมาจนถึงปัจจุบัน



    ที่หอนาฬิกามีการตีระฆังเล็กทุก ๆ 15 นาที เป็นทำนองระฆังแบบเวสต์มินสเตอร์ และจะตีด้วยทำนองที่ต่างกันเล็กน้อยทุก 15 นาที เมื่อครบหนึ่งชั่วโมง จะมีการตีระฆังเล็ก ตามด้วยเสียงของบิกเบนตามจำนวนเลขที่เข็มสั้นชี้ เมื่อได้ฟังแล้วก็จะเป็นที่จับใจยิ่งนัก จนกระทั่งเสียงนี้เป็นที่นิยม ทั้งนาฬิกาตั้งในบ้านและหอนาฬิกา เสียงของระฆังในหอนาฬิกาถูกนำออกอากาศทุกวัน ผ่านทางสถานีวิทยุบีบีซีช่อง 4 ก่อนข่าวภาคค่ำ (เวลา 18 นาฬิกา) และข่าวเที่ยงคืน ตามเวลาท้องถิ่นประเทศอังกฤษ



    นาฬิกาประจำหอนั้นมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านความเที่ยงตรง โดยกลไกนาฬิกาถูกออกแบบโดยเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน (Edmund Beckett Denison) และถูกสร้างขึ้นโดยเอ็ดเวิร์ด จอห์น เดนต์ (Edward John Dent) กลไกของนาฬิกาถูกสร้างขึ้นก่อนตัวหอเสร็จถึง 4 ปี ทำให้เอ็ดมุนด์ เดนิสัน มีเวลาที่จะทดสอบความแม่นยำ ซึ่งแทนที่เขาจะใช้กลไกแบบลูกตุ้มแกว่งไม่หยุด (deadbeat escapement) ซึ่งสึกหรอง่าย เพราะลูกตุ้มยังแกว่งแม้เฟืองจะล็อกแล้ว แต่เขากลับใช้กลไกแบบอาศัยแรงโน้มถ่วง (gravity escapement)



    ประกอบด้วยลูกตุ้มและตัวขับลูกตุ้ม (escapement) บรรจุในกล่องกันลมอย่างดีและเก็บอยู่ที่ใต้ห้องนาฬิกา จนทำให้นาฬิกามีความแม่นยำอย่างยิ่ง กลไกที่เป็นเฟืองของนาฬิกาทั้งหมดวางอยู่บนโต๊ะรองรับสีเขียวแก่ ที่ขอบโต๊ะจารึกข้อความด้วยลายทองว่า "THIS CLOCK WAS MADE IN THE YEAR OF OUR LORD 1854 BY FREDERICK DENT OF THE STRAND AND THE ROYAL EXCHANGE, CLOCKMAKER TO THE QUEEN, FROM THE DESIGNS OF EDMUND BECKETT DENISON Q.C." แปลเป็นไทยได้ว่า " นาฬิกาเรือนนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2397 (ค.ศ. 1854) โดยเฟรเดอริก เดนต์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย โดยการออกแบบของเอ็ดมุนด์ เบ็กเกตต์ เดนิสัน"



    ลูกตุ้มนาฬิกาสามารถปรับตั้งได้เสมอโดยการใส่เหรียญเพนนีที่ลูกตุ้มของนาฬิกา เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งศูนย์กลางมวลของลูกตุ้ม ทำให้คาบการเคลื่อนที่เปลี่ยน ถ้าใส่เหรียญลงไปนาฬิกาก็เดินช้าลง แต่ถ้าเอาออกก็จะเร็วขึ้น จนเกิดสำนวนอังกฤษว่า putting a penny on แปลเป็นสำนวนไทยว่า โอ้เอ้วิหารราย คือทำตัวโอ้เอ้ หรือทำให้ช้ายืดยาด



    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้บริเวณรายรอบจะถูกถล่มด้วยระเบิดจากนาซีเยอรมัน แต่นาฬิกาก็ยังเดินได้อย่างแม่นยำ ทว่าช่วงวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2505 เกิดหิมะตกหนักมากจนนาฬิกาตีบอกเวลาปีใหม่ช้าไป 10 นาที



    เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2519 นาฬิกาหยุดทำงานครั้งใหญ่อันเนื่องจากกลไกการตีระฆังเสียหายเพราะโลหะเสื่อมสภาพตามกาลเวลา รัฐบาลจึงได้มีการปรับปรุง และแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ในปีถัดมา ซึ่งในช่วงระหว่างนั้น แทนที่สถานีวิทยุบีบีซีจะได้ออกอากาศเสียงระฆัง กลับต้องใช้สัญญาณเวลาแทน



    นาฬิกาหยุดทำงานอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2547 และหยุดอีกครั้งในสามสัปดาห์ให้หลัง หนึ่งปีหลังจากนั้นก็หยุดอีกเป็นเวลา 90 นาที เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โดยคาดว่าสาเหตุเนื่องจากอากาศในกรุงลอนดอนในขณะนั้นร้อนกว่าปกติ คือ 31.8 °C


    อีก 5 เดือนถัดมา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2548 นาฬิกาหยุดทำงานเพื่อซ่อมบำรุง นานถึง 33 ชั่วโมง



    ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เวลา 14:00 น. (เวลามาตรฐานประเทศไทย) ตะขอแขวนระฆังเล็กใบหนึ่งสึกหรอจนต้องซ่อมแซมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และเมื่อเวลา 15:00 น. (มาตรฐานประเทศไทย) ของวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550 หอนาฬิกาหยุดการตีมหาระฆังเพื่อบอกชั่วโมงเป็นการชั่วคราว (ประมาณ 6 สัปดาห์) เนื่องจากกลไกในระฆังสึกหรอตามกาลเวลาเป็นอย่างมาก โดยบางชิ้นส่วนยังไม่ได้เปลี่ยนเลยตั้งแต่ที่สร้างหอ อนึ่ง นาฬิกาในหอยังคงทำงานต่อไปโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนแทนเครื่องกลของเดิม





    ชอบคุณข้อมูลจาก วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี



    [radio]http://www.file2go.com/mrun.php?me=1178s3[/radio]
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 16-08-2010 at 15:26.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •