กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: เหรียญหลวงปู่ศุข ด้านหลังรูปกรมหลวงชุมพรรุ่นหนึ่ง ร.ศ.129

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ inam2527
    วันที่สมัคร
    Jul 2007
    กระทู้
    17

    รอบยิ้มพิมใจ เหรียญหลวงปู่ศุข ด้านหลังรูปกรมหลวงชุมพรรุ่นหนึ่ง ร.ศ.129

    เหรียญหลวงปู่ศุข ด้านหลังรูปกรมหลวงชุมพรรุ่นหนึ่ง ร.ศ.129

    ประวัติ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    นามเดิม :- ศุข นามสกุล เกษเวช (ต่อมาลูกหลานได้ใช้ เกษเวชสุริยา ก็มี)

    เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๐ ที่บ้านมะขามเฒ่า ( เรียกกันในสมัยนั้น ปัจจุบันเรียก
    บ้านปากคลอง ) ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

    โยมบิดา - มารดา :- ชื่อ นายน่วม และนางทองดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลมะขามเฒ่า

    มีบุตรและธิดา ด้วยกัน ๙ คน
    ๑. หลวงปู่ศุข
    ๒. นางอ่ำ
    ๓. นายรุ่ง
    ๔. นางไข่
    ๕. นายสิน
    ๖ .นายมี
    ๗. นางขำ
    ๘. นายพลอย
    ๙ .หลวงพ่อปลื้ม

    ปัจจุบันยังมีลูกหลานของท่านอยู่ที่บ้านใต้วัดมะขามเ ฒ่าอีกหลายคน หรือแม้แต่ร้านค้าขายภายในบริเวณวัดเองก็ยังมี


    หลวงปู่นั้น ท่านมีลุงคนหนึ่งชื่อ แฟง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร ( ในสมัยนั้น ) มีอาชีพ ทำสวน
    ไม่มีบุตรหรือธิดา จึงได้มาขอหลานจากโยมบิดามารดาหลวงปู่ศุขไปเลี้ยง โยมท่านก็อนุญาตให้เลือกเอา ลุงแฟงก็
    เลือกเอาคนโต หรือ เรียกว่าคนหัวปี คือ หลวงปูศุข เข้าใจว่าขณะนั้นอายุประมาณ ๑๐ ขวบ เมื่อหลวงปู่ศุขไปอยู่กับ
    ลุงแฟง เจริญเติบโตที่ตำบลบางเขน

    เมื่อหลวงปู่ฯ อยู่ในวัยฉกรรจ์ ท่านได้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ทำมาหากินค้าขายเล็กๆ น้อยๆ โดยยึดลำคลองบางเขน
    ซึ่งมีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้จังหวัด นนทบุรีลงมา ปัจจุบันอยู่ข้างทางเข้าวัดทางหลวง เป็นที่ทำมาหากิน

    คลองบางเขนนี้ทอดขึ้นไปเชื่อมกับคลองรังสิต เมื่อก่อนนี้เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางน้ำที่สำค ัญและ
    กว้างขวางเป็นอย่างมาก เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น การสัญจรทางน้ำก็หมดความสำคัญลง ปัจจุบันคงจะตื้นเขิน
    ไปแล้วก็ได้ เพราะขาดการทะนุบำรุงเท่าที่ควร

    หลวงปู่ฯ ท่านทำมาหากินอยู่ในคลองบางเขนอยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๑๘ ปี ได้ภรรยาชื่อ นางสมบูรณ์ และเกิดบุตร
    ชายคนหนึ่งชื่อ สอน เกศเวชสุริยา

    หลวงปู่ฯ ท่านครองเพศฆราวาสอยู่ไม่นาน พออายุท่านครบ ๒๒ ปี ท่านได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขนหรือ
    ปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ส่วนวัดโพธิ์ทองบน อยู่ตอนเหนือของปากคลอง
    บางเขน ตอนบนบริเวณจังหวัดปทุมธานี


    อุปสมบท :-

    การอุปสมบทของหลวงปู่ศุขนั้น ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ที่วัดโพธิ์บางเขน ( ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัด
    โพธิ์ทองล่าง ) โดยมี พระครูเชย จนฺทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็น พระอุปัชฌาย์ พระถายมเป็นพระคู่สวด การอุป
    สมบทนี้มีลุงแฟงเป็นผู้อุปการะทั้งสิ้น ส่วนโยมบิดามารดาไม่ได้มาร่วมพิธีด้วย เพราะการเดินทางสมัยนั้นลำบากมาก
    จากชัยนาทถึงกรุงเทพฯ ก็กินเวลาอย่างน้อย ๒ ถึง ๓ วัน จึงจะถึง

    พระอุปัชฌาย์ของท่านชื่อ หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ
    ที่ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติแล ะพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงพ่อเชยท่านยังเป็นอาจารย์ทาง
    ฝ่ายวิปัสสนาธุระมีค วามรู้และความชำนาญรู้แจ้งแทงตลอด อีกทั้งทางด้านวิทยาคมก็แก่กล้าเป็นยิ่งนัก หลวงปู่ฯ
    ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากอุปัชฌาย์ของท่านมาพ ร้อมกับอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่า
    วัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

    เมื่อได้อุปสมบทแล้วอยู่กับพระอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์
    หาที่สงบฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ จากสำนักที่มีชื่อเสี่ยงโด่งดังในสมัยนั้นจนชำนาญดีแ ล้ว
    จึงกราบลาอาจารย์กลับบ้านเกิดของท่าน โดยมาพักอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งข้างหมู่บ้านของท่าน ชื่อวัดอู่ทอง
    ปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดปากคลอง ชาวบ้านแถวนั้นมีความศรัทธาเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้ท่าน จำพรรษาอยู่ที่นั้น
    เพื่อที่ว่าจะได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้อยู่ ณ ที่นั้นมาจนท่านมรณภาพ ในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น
    ได้เริ่มพัฒนาในท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองด้วยจากวัด ร้างที่ไม่มีอะไรเลย จนถึง พุทธาวาส ธรรมาวาส และสังฆาวาส
    เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบจนถึงทุกวันนี้ ยังมีพระอุโบสถและมณฑป ปรากฏให้เห็นอยู่ ส่วนการอบรมสั่งสอนนั้นท่าน
    ได้แนะแนวการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เห็นคุณและโทษของผลการปฏิบัติตนในทางที่ดีหรือไม่ ดีอย่างไร
    จนประชาชนแถวนั้นมีความประพฤติดีมีศีลธรรมเป็นส่วนมา ก


    หลวงปู่ฯ ท่านเพลินอยู่ในธรรมเสียหลายปี จนกระทั่งมารดาท่านที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์
    จังหวัดชัยนาท ได้ชราภาพลงตามอายุขัย และความเจ็บไข้มาเยือนอยู่บ่อยครั้ง ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยใน
    บิดามารดาของท่านจึงได้เดิน ทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม และได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆ ที่วัดอู่ทองปากคลองมะ
    ขามเฒ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โบราณที่อยู่ลึกเข้าไปในคลองมะขาม เฒ่า หรือบริเวณต้นแม่น้ำท่าจีนในปัจจุบัน
    แต่ทว่าสภาพของวัดอู่ทองขณะนั้นได้เกิดการชำรุดทรุดโ ทรมลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณปฏิสังขรณ์
    ให้กลับคืนมาสู่สภาพที่ด ีได้ต่อไป ท่านจึงได้ขยับขยายออกมาที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และได้สร้างกุฏิ
    ขึ้นครั้งแรกหนึ่งหลังพอเป็นที่อยู่อ าศัยไปพลางก่อน

    สืบต่อมามารดาของหลวงปู่ๆ ได้ถึงแก่กรรมและได้จัดการฌาปนกิจศพ และในงานนี้เอง หลวงปู่ฯ ท่านได้
    สร้างวัตถุมงคลในรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรั ศมีออกแจกเป็นของที่ระลึกเป็นครั้งแรก เมื่อผู้ที่ได้รับแจกพระเครื่อง
    จากท่านไปได้ปรากฏอภิ นิหารทางอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกันเขี้ยวงา คือสุนัขกันไม่เข้า
    ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่บังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะบ้านนอกอย่างในชนบทสมัยก่อนนั้นไม่ค่อยจะมีรั้ว รอบขอบ
    ชิดเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้อาศัยสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นยามเฝ้าบ้าน ฉะนั้นการที่จะแวะเวียนไปบ้านหนึ่งบ้านใด
    นั้นจะต้องร ะวังเรื่องสุนัขลอบกัดให้ดี มิฉะนั้นท่านจะถูกสุนัขกัดเอาง่ายๆ พระของหลวงปู่ฯ จึงมีชื่อเรื่องสุนัข
    กัดไม่เข้า เป็นปฐมเหตุก่อน จึงบังเกิดความนิยมไปขอท่านมาแขวนคอบุตรหลานเพื่อกัน เขี้ยวงาและภยันตราย
    ต่างๆ สมัยก่อนพระวัดปากคลอง เนื้อตะกั่ว จะมีแขวนอยู่ในคอเด็กในท้องถิ่นเกือบจะทุกคน แล้วถ้าจะไปขอ
    พรหลวงปู่ศุข ท่านมักจะถามว่า “เอ็งมีลูกกี่คน?” ท่านจะให้ครบทุกคน

    กิตติศัพท์ในความขลังประสิทธิในพระพิมพ์สี่เหลี่ยมขอ งท่านจึงค่อยๆ เผยแพร่จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง
    ในเวลาไม่ช้าไม่นาน คุณวิเศษของท่านจึงค่อยๆ โด่งดังขจรขจายไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดปากคลองมะ
    ขามเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นเส้นทางคมน าคมสายหลัก การขนส่งสินค้า ตลอดจาการทำ
    มาค้าขาย จะขึ้นล่องจะต้องอาศัยสายน้ำเจ้าพระยาเพียงแห่งเดี่ย วเท่านั้น เพราะในสมัยนั้นถนนหนทางทาง
    บกยังทุรกันดาร พอตกเพลาพลบค่ำพ่อค้าแม่ขายเรือเล็กเรือใหญ่จะมาอาศั ยนอนค้างแรมที่แพหน้าวัดของ
    ท่าน เพื่ออาศัยบารมีของท่านช่วยป้องกันขโมยขโจรที่จะมาปร ะทุษร้ายต่อเลือดเนื้อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าจะ
    เปรียบไปแล้วหน้าวัดของท่านจึงเป็นเสมือนหนึ่งเ ป็นชุมทางที่สำคัญนี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยเสริมส่งให้
    เกียรติคุณของท่านแผ่ขยายไปทั่วทุ กภาคของประเทศ ชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่รู้จักกันดี “หลวงปู่ศุข
    วัดปากคลองมะขามเฒ่า”

    ท่านมรณภาพเมื่อ เดือน ๑ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ ไม่ปรากฏวันที่ที่แน่นอน คำนวณอายุได้ ๗๖ ปี วันสวดพระ
    พุทธมนต์ทำศพอยู่ ๗ วัน ๗ คืน จึงประชุมเพลิง
    อนึ่ง การที่เราคนรุ่นหลังจักเขียนเรื่องราวและวัตรปฏิบัติ ของหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านมรณภาพล่วงไปแล้วกว่าครึ่ง
    ศตวรรษให้ได้ใกล้เ คียงกับความจริงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ อาศัยหลักฐานทางเอกสารที่หลงเหลืออยู่บ้าง
    จากการไต่ถามบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านซึ่งส่วนมากจั กล้มหายตายจากกันไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น
    การที่ท่านได้รับรู้จากการเขียนของ “ท่านมหา” ซึ่งเคยอุปัฏฐากหลวงปู่ ดังกล่าวแล้วนั้นคงจักทำให้ท่านมองเห็น
    สภาพของหลวงปู่ศุข ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด


    .........ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ไปให้ทุกรูปทุกนามทั้ง 20 ชั้นพรหมโลก 6 ชั้น
    เทวะโลก มนุษย์โลก มารโลก ยมโลก อบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
    และในหมื่นโลกธาตุกับอีกแสนจักรวาลพิภพ ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ อรูปวิญญาณ
    และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า
    .........ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
    อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงโมทนาในส่วนกุศลนี้
    พึงได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดนี้ด้วยเทอญ .........

    พร้อมกันนี้ ขออนุโมทนา บุญกุศลกับทุกท่านด้วยครับ
    _/l\_ สาธุ สาธุ สาธุ _/l\_

    เจริญในธรรมครับ

    Bump: ผมเอารูปเหรียญปู่สุขลงไม่ได้อะครับทำไง.ใครทราบบอกที.อยากให้ดูรูปหลวงปู่ครับ..ผมมี 1เหรียญ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย inam2527; 24-08-2010 at 12:05.

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •