น้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ)

เนื่องจากในการดำเนินชีวิตบนวิถีแห่งเศรษฐกิจพอเพียงนั้น การลดรายจ่ายของครอบครัวเป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะรายจ่ายสำหรับซื้อน้ำยาหรือสารทำความสะอาดที่ทุกครัวเรือนต้องใช้เป็นประจำทุกวันทั้งสบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผักหรือทำความสะอาดต่างๆ นั้นเป็นรูรั่วทางการเงินที่สำคัญทางหนึ่ง ซึ่งทำให้แต่ละบ้านต้องจ่ายเงินไปเป็นจำนวนไม่
น้อย การทำน้ำยาเอนกประสงค์ด้วยวิธีการที่ง่ายดายเพื่อใช้เองและอุดรูรั่วทางการเงินของครอบครัว ด้วยผลผลิตเหลือกินเหลือใช้และหาได้ง่ายในท้องถิ่น จึงถือเป็นทางเลือกแห่งวิถีการพึ่งตนเองอันชาญฉลาดของครอบครัวยุคใหม่


น้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ Liquid)

น้ำหมักชีวภาพ (Enzyme Ionic Plasma) เรียก
สารสกัดชีวภาพ น้ำหมักหรือจุลินทรีย์ คือของเหลวสีน้ำตาล
ที่มีทั้งจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะ
ปลูก เป็นส่วนประกอบหนึ่งของน้ำยาเอนกประสงค์สูตร
ชีวภาพ สามารถทำใช้ได้เองทุกครัวเรือน โดยนำผลไม้หรือ
พืชผัก และเศษอาหาร มาหมักกับน้ำตาลทรายแดง น้ำตาล
อ้อย หรือกากน้ำตาล หมัก 15 วัน - 3 เดือน (ยิ่งนานยิ่งดี) ก็จะได้น้ำหมักที่มีจุลินทรีย์

ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ใช้ซักผ้า
ล้างห้องน้ำ ล้างรถ เช็ดกระจก ดับกลิ่น ใช้ใส่แผลฟกช้ำ ใช้
เป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้รักษาสภาพดิน ใช้แทนสบู่ก็ได้เพราะมี
กรดอ่อนๆ ใช้แทนยาสระผม หรือใช้แทนผงซักผ้าก็ได้ และ
ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดมลพิษต่อโลกเพราะสามารถ
ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
น้ำยาอเนกประสงค์ สูตรชีวภาพ

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้


น้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ Liquid)

1. ถังพลาสติกสีเข้มมีฝาปิดมิดชิด ขนาดความจุ 32 แกลลอน 1 ใบ
2. เครื่องชั่งน้ำหนัก
3. ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ
4. ช้อน ไม้พาย สำหรับคน 1 คัน
5. ผ้าขาวบางสำหรับกรอง 1 ผืน
6. ช้อนตวง 1 ชุด
ส่วนผสม
1. เปลือกสับปะรดหรือผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะกรูด มะนาว มะเฟือง เป็นต้น ปริมาณ
30 กก. (สรรพคุณเป็นกรด ขจัดคราบมัน)
2. หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพหรือ EM 1.5 กก.(สรรพคุณช่วยย่อยสลายสับปะรด)
3. น้ำตาลทรายแดง 1 กก. (เป็นอาหารของ จุลินทรีย์ )
4. น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (น้ำประปาพักไว้ 1 คืน ก่อนนำมาใช้)


น้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ Liquid)

วิธีทำ
1. ล้างกระป๋องและตะกร้าพลาสติก ทิ้งไว้ให้แห้ง นำตะกร้าใส่ใน กระป๋องพลาสติก
2. ชั่งเปลือกสับปะรด 30 กก. จากนั้นนำมาล้างน้ำให้สะอาดหรือแช่ ในน้ำหมักชีวภาพหรือ EM ผสมน้ำสะอาด ในอัตรา 1:100 เพื่อล้าง สารเคมีที่ติดมากับเปลือก โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1/2 ชั่วโมง
3. สับเป็นชิ้นเล็ก โดยวางถุงพลาสติกบนจานรองก่อน แล้วนำไปเท ใส่ในตะกร้า
4. น้ำตาลทรายแดงผสมกับน้ำหมักชีวภาพหรือ EM คนน้ำตาลทราย แดงจนละลายหมด
5. นำวัสดุข้อ 3 กับ 4 เทลงในตะกร้าสับปะรด คนให้เข้ากัน เติมน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ใส่ให้ท่วมเนื้อวัสดุ ปิดฝาทิ้งไว้ 15 วัน เมื่อหมักไว้ 2-3 วัน คนให้เข้ากันอีกครั้ง

น้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ Liquid)

ถังที่หมักควรเก็บในที่มีแสงน้อย ภายในห้องหรือในที่ร่มที่อุณหภูมิปกติ เพราะเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพชอบความมืด และต้องอยู่ในที่ไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัด การหมักจะเกิดฝ้าขาวเหนือผิวน้ำแสดงว่าการหมักได้ผล เมื่อกวนลงไปฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิม นำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้กรองด้วยผ้าขาวบางโดยไม่ต้องบีบคั้นกาก จากนั้นนำน้ำสกัดชีวภาพใส่ถังปิดไว้ให้แน่น และปล่อยให้ตกตะกอนอีก 2 – 3 วัน (ใส่กากสับปะรดที่หมักแล้วในตะกร้าปล่อยใหน้ำหยดเอง หากคั้นกากน้ำสกัดที่ได้สีจะขุ่นไม่น่าใช้ ส่วนกากที่เหลือสามารถนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ได้ )

วิธีใช้
ใช้ล้างจาน พื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน โดยไม่ต้องผสมน้ำ ใช้เหมือนน้ำยาตามท้องตลาด การล้างจานจำนวนมากควรแช่จานในน้ำยาล้างจานผสมน้ำ (สัดส่วนน้ำยาล้างจาน 1
ส่วน : น้ำ 5 ส่วน) แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนล้าง เพื่อ
ให้สะอาดทั่วถึง แล้วล้างน้ำสะอาดจนกว่าแน่ใจว่าสะอาดควรตากจานให้แห้งก่อนนำไปใช้ เพื่อป้องกันการตกค้างของจุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน น้ำยาเอนกประสงค์สามารถนำไปใช้ล้างจาน ล้างพื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน ได้อย่างสะอาด ขจัดคราบมันในครัวได้เป็นอย่างดี โดยจากสองพลังบวก คือกรดเปรี้ยวจากน้ำผลไม้ซึ่งช่วยทำให้ไขมันแตกตัวและเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งจะย่อยคราบไขมันทำให้ไม่มีกลิ่นตกค้างเหม็นบูด อีกทั้งยังถนอมมือไม่ทำให้มือแห้งแตกหรือลอกเหมือนน้ำยาเคมีตามท้องตลาด ที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ


น้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ Liquid)

หมายเหตุ
น้ำยาเอนกประสงค์สูตรนี้ระยะแรกๆ สีจะขุ่นต่อมาจะตกตะกอน กลิ่นจะฉุนคล้ายไวน์มากขึ้นเรื่อยๆและสีจะใสน่าใช้ยิ่งขึ้น น้ำยาเอนกประสงค์สามารถใช้เป็นน้ำยาล้างมือได้อย่างปลอดภัยทำให้มือนุ่ม โดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ลิตร ต่อ น้ำสะอาด 2 ลิตร สับปะรด
20 กก. ผสมกับน้ำต้มจากต้นไมยราพ โดยต้มจนเดือดแล้วปล่อยให้เย็น นำมาผสมให้เข้ากัน เป็นน้ำยาล้างมือที่จะทำให้มือนุ่ม วัสดุที่ใช้แทนเปลือกสับปะรด ได้แก่ มะขามเปียกมะกรูด มะเฟือง กากกระเจี๊ยบที่ต้มน้ำแล้ว เปลือกมะนาวเปลือกส้ม เปลือกเสาวรส เปลือกส้มโอ หรือเปลือกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวๆ เพราะมีสภาพเป็นกรดเหมือนกับสับปะรด ฤดูกาลไหน วัสดุใดมีราคาถูกก็ใช้วัสดุนั้น ตามหลักควรใช้เปลือก หลังจากหมักทำน้ำยาก็เอากากที่หมักแล้วไปทำปุ๋ย ไม่มีการทิ้งเปล่า การทำน้ำยาอเนกประสงค์ จำนวนมากน้อยให้ใช้ตามสัดส่วนดังกล่าวข้างต้น


สรุปเปรียบเทียบ
จากผลการใช้น้ำยาเอนกประสงค์สามารถเห็นความ แตกต่าง จากน้ำยาเคมีตามท้องตลาดคือ - กรณีที่ไม่ได้ตากผ้าในทันทีหลังซัก โดยทิ้ง ไว้หลายชั่วโมง ผ้าที่ซักด้วยน้ำยาเอนกประสงค์จะไม่เหม็นบูด เนื่องจากน้ำชีวภาพมีจุลินทรีย์ชนิดที่ดี สามารถควบคุม และกำจัดจุลินทรีย์ที่ไม่ดี ซึ่งจะทำให้เสื้อผ้าหรือสิ่งของเน่าเหม็น น้ำยาเอนกประสงค์ จึงช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการหมักหมม อันเกิดจากแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ตัวร้าย

น้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ Liquid)

- เสื้อผ้าหรือสิ่งของ ที่ซักล้างด้วยน้ำยาทำเองนี้จะเหม็นช้า แม้แต่เสื้อที่ใส่เล่นกีฬาหรือทำงานกลางแดดที่โดนเหงื่อออกมาทั้งวัน ก็จะมีกลิ่นเหม็นน้อยกว่าเสื้อผ้าหรือสิ่งของที่ซักล้างจากสารเคมี
- เมื่อใช้ล้างจานมือจะไม่ลอกเป็นขุยเหมือนใช้น้ำยาล้างจานตามท้องตลาด เนื่องจากเราไม่ได้ใช้สารขจัดคราบหากในบางจุดของภาชนะยังมีความมันอยู่ ให้เทน้ำยาชีวภาพลงไป แล้วล้างเฉพาะที่ ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง จะพบว่าขจัดความมันได้ดีมาก


ดูต่อ ภาค 2 ครับ