กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: ย้อนรอยอดีต 9 เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1792 - 1911

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ย้อนรอยอดีต 9 เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1792 - 1911

    ย้อนรอยอดีต 9 เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1792 - 1911




    พ.ศ.๑๗๙๒

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เสวยราชย์ที่กรุงสุโขทัย



    พ.ศ.๑๘๐๔

    พญาเม็งราย โอรสพญาลาวเม็งและนางเทพคำขยาย ทรงครองเมืองเงินยางเชียงราย



    พ.ศ.๑๘๒๒

    พระยาบาลเมือง ครองราชย์



    พ.ศ.๑๘๒๒ - ๑๘๔๑

    พ่อขุนรามคำแหงฯ ครองราชย์ที่สุโขทัย



    พ.ศ.๑๘๒๖

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประดิษฐ์อักษรไทย (ลายสือไทย)



    พ.ศ.๑๘๓๕

    พญายีบา กษัตริย์เมืองหริภุญไชย สืบจากพระนางจามเทวี พ่ายแพ้เสียเมืองแก่พญาเม็งราย



    ๑๒ เมษายน ๑๘๓๙


    เป็นวันตั้งเมืองเชียงใหม่ ตามปรากฏในศิลาจารึกวัดเชียงมั่น ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖




    พ.ศ.๑๘๔๑

    พระยาเลอไทย ครองราชย์



    ๓๐ เมษายน ๑๘๕๗

    วันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง วันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ สวรรคต พ.ศ. ๑๙๑๒



    ๕ กันยายน ๑๘๖๓

    ที่กลางเวียงเชียงใหม่ เกิดฟ้าผ่าต้องพ่อขุนเม็งราย สวรรคต รวมพระชนมายุ ๘๑ พรรษา



    พ.ศ.๑๘๙๐

    พระยางั่วนำถุม ครองราชย์



    พ.ศ.๑๘๙๐ - ๑๙๑๑

    พระยาลิไทยหรือพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ครองราชย์




    ...............................................................................





    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์


    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์



    ย้อนรอยอดีต 9 เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1792 - 1911



    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่ "กลางท่าว") ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย

    ครองราชสมบัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 1782 (คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ ศ. ประเสริฐ ณ นครและ พ.อ.พิเศษ เอื้อน มณเฑียรทอง) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานการสวรรคตหรือสิ้นสุดการครองราชสมบัติปีใด

    มีผู้สันนิษฐานที่มาของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ว่าบ้านเดิมของพระองค์อาจอยู่ที่ "บ้านโคน" ในจังหวัดกำแพงเพชร


    พระราชกรณียกิจ

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลาวหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม รวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง

    โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาวหาว

    พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์

    การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิ พลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถุมอยู่


    ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า


    "หนีญญ่ายพ่ายจแจ" ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่ารามคำแหง


    ในยุคประวัติศาสตร์ชาตินิยม มีคติหนึ่งที่เชื่อกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำชนชาติไทย ต่อสู้กับอิทธิพลขอมในสุวรรณภูมิ ทรงได้ชัยชนะและประกาศอิสรภาพตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้น

    และทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย แต่ภายหลัง คติดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่จริง เพราะพระองค์ไม่ได้เป็นปฐมกษัตริย์ อีกทั้งยังมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว



    พระราชวงศ์

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่

    พระราชโอรสองค์โต (ไม่ปรากฏนาม) เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
    พ่อขุนบานเมือง

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พระนามขณะที่ยังทรงพระเยาว์ไม่ปรากฏ)

    พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)

    พระธิดา (ไม่ปรากฏนาม)



    แม้ไม่ทราบแน่นอนว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ในปีใด แต่ภายหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนบานเมือง ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ได้สืบราชสมบัติแทน


    …………………………………………………………………………….


    พญาเม็งราย


    พญาเม็งราย ซึ่งเป็นโอรสของพญาลาวเมง และพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง แห่งเมืองเงิน เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในอดีต



    ย้อนรอยอดีต 9 เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1792 - 1911



    พญาเม็งราย ซึ่งเป็นโอรสของพญาลาวเมง และพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง แห่งเมืองเงินยาง
    และทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๕ แห่งราชวงศ์ลาว ได้ใช้เวลาเกือบตลอดรัชกาลในการรวบรวมหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายเข้าด้วยกัน โดยใช้ชื่อว่าอาณาจักรล้านนา

    อาณาจักรล้านนา ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ โดยพญาเม็งราย ได้รวบรวมเมืองสำคัญ
    ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน ลำพูน ลำปาง พะเยา โดยมีศูนย์กลางได้แก่ เมืองเชียงใหม่

    ความรุ่งเรืองของล้านนาได้เริ่มจากสมัยพญากือนา ( พ.ศ. ๑๘๙๘ - ๑๙๒๘ ) จนถึงสมัยพญาแก้ว ( พ.ศ. ๒๐๓๘ - ๒๐๖๘ ) และมีความรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพระเจ้าติโลกราช

    ( พ.ศ . ๑๙๘๔ - ๒๐๓๐ ) ซึ่งเรียกว่าเป็นยุคทองของล้านนาเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในรัชสมัยนี้

    ล้านนาได้เมืองแพร่ เมืองน่านไว้ในอำนาจ ทำให้แผ่อิทธิพลไปถึงเมืองต่างๆ ที่มีความรุ่งเรือง
    ในสมัยนั้น อาทิ เชียงตุง สีป้อ เมืองนาย เมืองยอง สิบสองปันนา หลวงพระบาง ฯลฯ

    ความเสื่อมของอาณาจักรล้านนาเกิดขึ้นในรัชสมัยของ พญาเกศเชษฐราช
    ( พ.ศ .๒๐๖๘ - ๒๐๘๑ ) จนกระทั่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในปี พ.ศ. ๒๑๐๑




    ...............................................................................



    พระยาบาลเมือง



    ย้อนรอยอดีต 9 เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1792 - 1911




    ...............................................................................

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช



    ย้อนรอยอดีต 9 เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1792 - 1911



    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็น พระองค์ที่ 3 ใน แห่งร เสวยราชย์ประมาณ1822 ถึงประมาณ 1841 พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี



    พระประสูติกาล
    พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหง ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา และเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็เสวยราชย์แทนต่อมา
    ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัย พ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ สำนักพระสุตทันตฤๅษี ที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน โดยพ่อขุนเม็งรายประสูติเมื่อ พ.ศ. 1782 พ่อขุนรามฯ น่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้



    พระนาม
    เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุสิบเก้าพรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่บนน้ำแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระราชบิดาจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ"


    ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่า พระนามเดิมของพระองค์คือ "ราม" เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า "พ่อขุนรามราช" อนึ่ง สมัยนั้นนิยมนำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน ซึ่งตามศิลาจารึกหลักที่ 11 พระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า "พระยาพระราม" และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา ในเหตุการณ์การแย่งชิงราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1962 ตามพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ปรากฏเจ้าเมืองพระนามว่า "พระยาบาลเมือง" และ "พระยาราม"




    การเสวยราชย์
    นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. 1820 เพราะเป็นปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย
    ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จึงได้หาหลักฐานมาประกอบพบว่า กษัตริย์ไทยอาหมถือประเพณีทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อยเจ็ดรัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะอยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกา



    การสวรรคต
    จากจดหมายเหตุจีน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1841 และพระยาเลอไทยซึ่งเป็นพระราชโอรสได้เสวยราชย์แทนในปีนั้น



    พระราชกรณียกิจ
    รัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งในด้านเศรษฐิกิจและการเมือง ประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทางเกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล



    การบริหารรัฐกิจ
    เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากกรุงสุโขทัยได้ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยได้ใช้ระบบปิตุราชาธิปไตยหรือ "พ่อปกครองลูก" ดังข้อความ
    ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า
    เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู...



    ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือบิดามารดา และถือว่าความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าเป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว



    ปรากฏข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้พระราชอำนาจในการยุติธรรมและนิติบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้ 1) ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง 2) ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร และ 3) หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้



    นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชยังทรงใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้างพระแท่นมนังคศิลาบาตรขึ้น เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสรด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน



    พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพ่อขุนรามคำแหง มีดังนี้ 1. ด้านการเมืองการปกครอง พระราชกรณียกิจทางด้านการเมืองการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประกอบด้วย 1.1 ทรงทำสงครามขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางมากที่สุดในสมัยสุโขทัย 1.2 โปรดให้สร้างพระแท่นศิลาขึ้น เรียกว่า “พระแท่นมนังคศิลาบาตร” ตั้งไว้กลางดงตาลสำหรับไว้ให้พระภิกษุสงฆ์ขึ้นแสดงธรรมสวนะและทรงใช้เป็นที่ประทับสำหรับอบรมสั่งสอนบรรดาขุนนางและพสกนิกรในวันธรรมดา 1.3 ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด พระองค์โปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ที่พระดูพระราชวัง เพื่อให้ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม ไปสั่นกระดิ่งกราบทูลความเดือดร้อนของตนให้พระองค์ทราบ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง 2. ด้านเศรษฐกิจ พระราชกรณียกิจทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของพ่ขุนรามคำแหงมหาราช ประกอบด้วย 2.1 โปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า “เขื่อนพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยาม ที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ 2.2 ทรงส่งเสริมการค้าขายภายในราชอาณาจักรเป็นอย่างดีด้วยการไม่เก็บภาษีผ่านด่านหรือ “จกอบ” (จังกอบ) จากบรรดาพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงสุโขทัย ทำให้การค้าขายขายออกไปอย่างกว้างขวาง 3. ด้านวัฒนธรรม พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทางด้านวัฒนธรรม มีดังนี้ 3.1 ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทนตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เมื่อ พ.ศ. 1826 เรียกว่า “ลายสือไทย” และได้มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในยุคปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้ 3.2 ทรงรับเอาพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัท ธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่เมืองสุโขทัย ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย และเผยแผ่ไปยังหัวเมืองต่างๆในราชอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้ 3.3 โปรดให้จารึกเรื่องราวบางส่วนที่เกิดในสมัยของพระองค์ โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ทำให้คนไทยยุคหลังได้ทราบ และนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ศิลาจารึกดังกล่าวเป็นข้อมูลหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัย 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พระราชกรณียกิจทางด้านความสำคัญระหว่าง ประเทศของพ่อขุนรามคำแหง ได้แก่ การใช้ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะทางด้านพระพุทธศาสนาแทนการทำสงคราม ทำให้สุโขทัยมีแต่ความสงบร่มเย็น ไม่เกิดสงครามกับแคว้นต่างๆ ในสมัยของพระองค์ และได้หัวเมืองประเทศราชเพิ่มขึ้นอีกด้วย



    อาณาเขต
    พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ

    ทิศตะวันออก ทรงปราบได้เมืองสรหลวงสองแคว (พิษณุโลก), ลุมบาจาย, สะค้า (สองเมืองหลังนี้อาจอยู่แถวลุ่มแม่น้ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้), ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงเวียงจันทน์และเวียงคำในประเทศลาว


    ทิศใต้ ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร), พระบาง (นครสวรรค์), แพรก (ชัยนาท), สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, และนครศรีธรรมราช โดยมีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดน


    ทิศตะวันตก ทรงปราบได้เมืองฉอด, เมืองหงสาวดี และมีสมุทรเป็นเขตแดน


    ทิศเหนือ ทรงปราบได้เมืองแพร่, เมืองม่าน, เมืองพลัว (อำเภอปัว น่าน), ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดน




    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    ทรงทำพระราชไมตรีกับพ่อขุนเม็งรายมหาราชแห่งล้านนา และพ่อขุนงำเมืองแห่งพะเยา โดยทรงยินยอมให้พ่อขุนเม็งรายมหาราชขยายอาณาเขตล้านนาทางแม่น้ำกก แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับสุโขทัย กับทั้งยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพ่อขุนเม็งรายมหาราชหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 1839 ด้วย


    ทางประเทศมอญ มีพ่อค้าไทยใหญ่ชื่อ "มะกะโท" เข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ ต่อมาได้ฆ่าเจ้าเมืองและขึ้นเป็นแทนเมื่อ พ.ศ. 1824 แล้วจึงขออภัยโทษต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขอพระราชทานนาม และขอยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้พระราชทานนามว่า "พระเจ้าฟ้ารั่ว"


    ทางทิศใต้ ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช ให้มาเผยแพ่พุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย

    ส่วนด้านเมืองละโว้นั้นทรงปล่อยให้เป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1834 ถึง พ.ศ. 1840 ทั้งนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็คงจะได้ทรงผูกไมตรีกับเมืองละโว้ไว้ นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเองก็ทรงส่งราชทูตไปจีนสามครั้งเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี



    ประดิษฐกรรม
    พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 ตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวหนังสือของชาติอื่นซึ่งขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้ กล่าวคือ พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เพิ่มขึ้นให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของคำในภาษาไทยได้ทุกคำ กับทั้งได้นำสระและพยัญชนะมาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ทำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น



    วรรณกรรม
    วรรณกรรมสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสูญหายไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1835) ซึ่งแม้จะมีข้อความเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีสัมผัสคล้องจองทำให้ไพเราะซาบซึ้งตรึงใจ เช่นในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย...เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พิน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด
    นับเป็นวรรณคดีเริ่มแรกของกรุงสุโขทัยซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบันโดยมิได้มีผู้คัดลอกให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม



    อย่างไรก็ดี ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา มีข้อสงสัยทางวิชาการว่าศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้ทำขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และมีผู้เสนอว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพบศิลานั้นเมื่อเสด็จจาริกธุดงค์ เป็นผู้ทรงทำศิลานั้นขึ้นเพื่อเหตุผลทางการเมืองในการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ชาติตะวันตกเห็นว่ามีและรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน เป็นการป้องปัดภัยการล่าอาณานิคมในสมัยนั้น ทั้งนี้ข้อสงสัยนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่



    ...............................................................................




    เหตุการณ์ในสมัยราชวงค์พระร่วง อาณาจักรสุโขทัย ล่มสลาย
    ศักราชย์อาจคลาดเคลื่อนได้นะคะ


    พระมหาธรรมราชาที่ 4 หรือ บรมปาล หรือ พระยาบาลเมือง หรือ พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชา

    พระมหาธรรมราชาที่ 4 หรือ บรมปาล หรือ พระยาบาลเมือง หรือ พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชา เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์พระร่วงที่ครองกรุงสุโขทัย เป็นช่วงตกต่ำของสุโขทัย ทรงเป็นพระโอรสพระมหาธรรมราชาที่ 3 ประทับที่เมืองพิษณุโลก



    เมื่อครั้งพระมหาธรรมราชาที่ 3 หรือพระยาไสลือไทย สวรรคตนั้น ได้มีเหตุการณ์ชิงราชสมบัติครองอาณาจักรสุโขทัยระหว่าง พระยาบาล กับพระยาราม โอรสของพระองค์ จนสมเด็จพระอินทราชา กษัตริย์อยุธยาได้ถือโอกาสยกกองทัพขึ้นมาชิงอำนาจ และจัดการให้อาณาจักรสุโขทัย ที่ยอมอ่อนน้อมอยู่ในอำนาจนั้นยอมให้จัดการบ้านเมือง โดยแบ่งเอาเมืองในอาณาจักรสุโขทัย ให้พระยาทั้งหลายคาอง คือ พระยาบาล นั้นแต่งตั้งให้เป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 มีพระนามว่า ?พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาล มหาธรรมราชาธิราช? ครองอยู่เมืองพิษณุโลก พระยารามครองเมืองสุโขทัย พระยาเชลียง ครองเมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย และแสนสอยดาว ครองเมืองกำแพงเพชร


    การแบ่งเมืองให้พระยาครองเช่นนี้ เป็นกุศโลบายที่อาณาจักรอยุธยาต้องการที่จะลดทอน อำนาจของอาณาจักรสุโขทัย ที่มีอยู่เดิมลงเป็นเมืองธรรมดา แม้ว่าจะยังคงให้มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองเมืองพิษณุโลกอยู่ก็ไม่ได้ ยกให้เป็นราชธานีสำรองเช่นเดิม แล้วเมืองทั้ง 4 นี้ก็ให้ขึ้นตรงกับอาณาจักรอยุธยาด้วย


    ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงแผ่นดิน โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)


    ขึ้นครองเป็นกษัตริย์อยุธยา ใน พ.ศ.1967 ฐานะอาณาจักรของเมืองสุโขทัย ก็ยังไม่สามารถที่จะฟื้นสถานภาพเป็นอาณาจักรอย่างเดิมได้อีก จวบจนพระมหาธรรมราชาที่ 4 สิ้นพระชนม์ลงเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.1981 ความเป็นอาณาจักรสุโขทัยจึงสิ้นสุดราชวงศ์กษัตริย์ครองอาณาจักรนี้ต่อไป


    แม้ในเมืองพิษณุโลก และเมืองสุโขทัย จะยังมีเชื้อสายกษัตริย์สุโขทัยอยู่ก็มีฐานะเป็น เพียงเจ้าครองเมือง


    ดังนั้น พระยายุทธิษเฐียร โอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 4 จึงได้เป็นผู้ครองเมืองพิษณุโลกต่อมา แม้ว่าพระยายุทธิษเฐียรนั้น จะเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระราเมศวรคือมีพระมารดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยเช่นเดียวกัน ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (เจ้าสามพระยา) นั้น ได้โปรดให้พระราเมศวร พระราชโอรสขึ้นมาครองเมืองพิษณุโลก


    ต่อมาเมื่อพระราเมศวรขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ


    เมื่อ พ.ศ.1991 นั้น พระยายุทธิษเฐียร ซึ่งตั้งความหวังแต่เดิมไว้ว่ากษัตริย์อยุธยาพระองค์นี้ จะคืนความเป็นอาณาจักรสุโขทัยกลับคืน โดยไม่แบ่งเมืองออกเป็น 4 เมือง ดังกล่าว ในฐานะที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย และเป็นพระราชชนนีของพระราเมศวร)

    ครั้นเมื่อ พระยายุทธิษเฐียร ไม่ได้รับการสนับสนุนตามที่คาดหวังไว้ จึงทำให้เกิดน้อยใจและผิดหวัง

    จึงพาไพร่พลไปสวามิภักดิ์กับพรเจ้าติโลกราช กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ของอาณาจักรล้านนา จนเป็นเหตุให้เกิดสงครามยืดเยื้อกันระหว่างอาณาจักรล้านนากับอาณาจักรอยุธยา ใน พ.ศ.1995

    ส่วนเมืองพิษณุโลกนั้น ภายหลังพระราชชนนีของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ขึ้นครองเมืองพิษณุโลก ต่อมา จนพระนางสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.2006 หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงโปรดที่จะเสด็จขึ้นมาประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลานาน

    ด้วยเหตุนี้ บุคคลผู้เป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย จึงต่างพากันมาอาศัยหรือพำนักในเมืองพิษณุโลก มากขึ้น

    ครั้นเมื่อมีการรวมอาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรเดียวกันแล้ว บุคคลจากราชวงศ์สุโขทัยในเมืองพิษณุโลก จึงพากันได้ลงไปรับราชการและติดต่อไปมาหาสู่กับกรุงศรีอยุธยา ราชธานีของอาณาจักรสยามที่ตั้งใหม่ทางตอนใต้มากขึ้น โดยเฉพาะพระธิดาหรือหญิงสาวจากเชื้อพระวงศ์นี้ ได้อภิเษกเป็นพระมเหสีของกษัตริย์อยุธยาและมีพระโอรสเป็นเชื้อสายกษัตริย์อยุธยา

    ครั้นเมื่อพระโอรส ผู้มีพระมารดาเป็นบุคคลราชวงศ์กษัตริย์สุโขทัยนั้น ได้รับการสถาปนา เป็นกษัตริย์ครองราชย์ในอาณาจักรอยุธยา ได้แก่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราเมศวร) สมเด็จพระราชาธิราช

    สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (ขุนพิเรนทรเทพ) พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ผู้สืบเชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย เป็นต้น

    สรุปแล้ว เชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยนั้น ได้กลับมีอำนาจเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรสยามตอนใต้ และมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อยู่ช่วงสมัยหนึ่ง

    หมายเหตุ ศักราชการครองราชย์ของกษัตริย์เมืองสุโขทัยนั้น มีความแตกต่างกัน จึงสรุปชัดเจนไม่ได้



    ...............................................................................










    ขอบคุณ


    วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    http://www.watpanonvivek.com

    http://www1.tv5.co.th


    http://siamspirit.freevar.com

    https://blog.so-net.ne.jp





    …………………………………………………………………………………..
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 26-08-2010 at 17:00.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ศิลปิน นักแสดง สัญลักษณ์ของ kitty
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    ที่อยู่
    ลำลูกกา คลอง 2
    กระทู้
    1,135
    ขอบคุณจ้า
    เรียนมากะคืออาจารย์ไปหมดแล้ว อิอิ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •