กำลังแสดงผล 1 ถึง 3 จากทั้งหมด 3

หัวข้อ: ย้อนรอยอดีต เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1893 – 1998

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ย้อนรอยอดีต เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1893 – 1998

    ย้อนรอยอดีต เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1893 – 1998





    ๔ มีนาคม ๑๘๙๓


    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เชื้อสายพระเจ้าไชยศิริ สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นปฐมกษัตริย์



    ย้อนรอยอดีต เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1893 – 1998

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 1893 - 1912




    พ.ศ.๑๘๙๕

    เมืองกัมพูชาเอาใจออกห่างจากอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระราเมศวร ยกทัพไปตีเมืองกัมพูชา



    พ.ศ.๑๙๒๐

    สมเด็จพระนครินทราธิราช (พระนครอิน) ทรงเสด็จไปประเทศจีน เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี



    พ.ศ.๑๙๒๑

    อาณาจักรอยุธยา ผนวกอาณาจักรสุโขทัยไว้ในอำนาจ



    พ.ศ.๑๙๓๓

    สมเด็จพระราเมศวร ทรงทำสงครามขยายพระราชอาณาเขตไปยังล้านนาและกัมพูชา ทรงยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ได้ แล้วกวาดต้อนชาวเมืองมาไว้ที่เมืองพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช และจันทบุรี แล้วยกกองทัพไปตีเมืองกัมพูชาได้



    พ.ศ.๑๙๔๐

    สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ ทรงแต่งตั้งราชทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับประเทศจีน หลังจากนั้นมีการส่งของแลกเปลี่ยนกัน



    พ.ศ.๑๙๔๒

    พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ที่พ่ายแพ้ต่อกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ถึง



    พ.ศ.๑๙๔๓ - ๑๙๖๒

    พระมหาธรรมราชาที่ ๓ หรือพระยาไสยลือไทย ครองราชย์



    พ.ศ.๑๙๕๑ - ๑๙๕๕

    แม่ทัพจีน ได้นำขบวนกองทัพเรือพร้อมทหารกว่า ๒๐,๐๐๐ คน เข้ามาอวดธงถึงกรุงศรีอยุธยา และเข้าเฝ้าสมเด็จพระนครินทราธิราช ด้วย



    พ.ศ.๑๙๖๒ - ๑๙๘๑

    พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) ครองราชย์



    พ.ศ.๑๙๗๔

    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยกทัพหลวงไปล้อมพระนครหลวง (นครธม) หรือเมืองยโสธรปุระ อยู่เจ็ดเดือน จึงยึดได้



    พ.ศ.๑๙๘๕

    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สำเร็จ



    พ.ศ.๑๙๘๘

    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง ได้เมืองชายแดนเชียงใหม่ แต่ทรงประชวรก่อน จึงยกทัพกลับ



    พ.ศ.๑๙๙๘

    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางตำแหน่งศักดินา การกำหนดศักดินา เพื่อเป็นการตอบแทนแรงงานที่รับใช้ราชการ




    ………………………………………………………..



    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 1893 - 1912




    ย้อนรอยอดีต เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1893 – 1998
    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 1893 - 1912





    ย้อนรอยอดีต เล่าเรื่องประเทศไทย พ.ศ. 1893 – 1998

    พระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 มีขนาดเท่าครึ่งของคนธรรมดา


    (ประดิษฐานอยู่ระหว่างบึงพระรามกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระบรมรูปของพระเจ้าอู่ทองมีขนาดเท่าครึ่งของคนธรรมดา หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์และรมด้วยน้ำยาสีเขียว ในพระอิริยาบถประทับยืน พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระเกล้าเกศา ฉลองพระองค์แบบพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2513)





    แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)



    พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์

    จุลศักราช ๖๘๖ ชวดศก (พ.ศ. ๑๘๖๗) แรกสถาปนาพระพุทธเจ้า เจ้าพแนงเชิง

    ศักราช ๗๑๒ ขาลศก (พ.ศ. ๑๘๙๓) วัน (๖ ฯ ๕) ค่ำ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา

    ศักราช ๗๓๑ ระกาศก (พ.ศ. ๑๙๑๒) แรกสร้างวัดพระราม ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน จึงพระราชกุมารท่านสมเด็จพระ (ราเม) ศวรเจ้าเสวยราชสมบัติ






    ประวัติสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑



    มีในจดหมายเหตุของโหรว่า สมเด็จพระรามาธิบดีสมภพเมื่อ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีขาล จุลศักราช ๖๗๖ พ.ศ. ๑๘๕๗


    ในพระราชพงศาวดารย่อ ของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตฯ ว่า พระเจ้าอู่ทองได้ครองราชสมบัติเมืองเทพนคร (ซึ่งข้าพเจ้ายุติว่าเมืองอู่ทอง) เมื่อปีวอก จุลศักราช ๗๐๖ พ.ศ. ๑๘๘๗ เมื่อพระชันษาได้ ๓๐


    เรื่องสร้างกรุงศรีอยุธยา มีในจดหมายเหตุของโหรว่า พระเจ้าอู่ทองสร้าง ๒ ครั้ง ครั้งหนึ่งเมื่อปีขาล จุลศักราช ๗๑๒ เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างกรุงศรีอยุธยา พระชันษาได้ ๓๖ พรรษา สมเด็จพระรามาธิบดีเสวยราชสมบัติอยู่กรุงศรีอยุธยา ๑๙ ปี สวรรคตเมื่อปีระกา จุลศักราช ๗๑๓ พ.ศ. ๑๙๑๒ พระชันษาได้ ๕๕ ปี





    ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยา


    กรุงศรีอยุธยาที่สมเด็จพระรามาธิบดีสร้าง ขนานนามโดยพิสดารว่า กรุงเทพมหานคร (บวร) ทวาราวดีศรีอยุธยา ชื่อ ทวาราวดี ที่อธิบายว่าเพราะมีลำแม่น้ำล้อมรอบนั้นถูกต้อง กรุงศรีอยุธยาที่พระเจ้าอู่ทองสร้างมีลำแม่น้ำล้อมรอบจริง ด้านเหนือซึ่งเรียกว่าคลองเมืองเดี๋ยวนี้ เวลานั้นสายน้ำลำแม่น้ำลพบุรียังไหลลงมาทางนั้นเป็นลำน้ำใหญ่ ด้านตะวันออกมีลำแม่น้ำสัก แต่เวลานั้นสายน้ำยังลงมาทางบ้านม้า ด้านใต้ ด้านตะวันตก ลำแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาทางหัวแหลม ออกบางกระจะวัดพระเจ้าพนัญเชิงอย่างทุกวันนี้ ที่เรียกนามว่า ศรีอยุธยานั้น เอาชื่อเมืองอโยธยาเดิมมาใช้มิใช่คิดขึ้นใหม่



    ตัวเมืองที่สมเด็จพระรามาธิบดีสร้าง เข้าใจว่ากำแพงเมืองยังใช้เพียงหลักไม่ระเนียดปักบนเชิงเทินดิน เพราะได้ความในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐว่า พึ่งมาก่อกำแพงด้วยอิฐเมืองแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แนวกำแพงเมืองสร้างครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีนั้น ด้านเหนือ ด้านตะวันตก ด้านใต้ ตั้งลงมาถึงริมลำน้ำทั้ง ๓ ด้าน แต่ด้านตะวันออกลำน้ำสักยังอยู่ห่างมาก แนวกำแพงเมืองอยู่หลังวัดจันทรเกษมเข้าไป ลำน้ำแต่หัวรอลงมาจนวัดพระเจ้าพนัญเชิง ในเวลานั้นขุดเป็นแต่คูเมืองเรียกว่า ขื่อหน้า พึ่งมาขุดขยายเป็นลำน้ำใหญ่เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระธรรมราชาธิราช พระราชวังที่สร้างครั้งสมเด็จพระรามาธิบดี สร้างริมหนองโสนคือ บึงพระราม ห่างแม่น้ำ อยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญเดี๋ยวนี้ ปราสาทราชมณเฑียรสร้างด้วยไม้ทั้งนั้น พระราชมณเฑียรย้ายลงมาตั้งริมน้ำ เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปราสาทก็เห็นจะพึ่งมาก่อเป็นตึกเมื่อย้ายพระราชมณเฑียรคราวนั้น



    ด้านการต่างประเทศ

    ทางไมตรีกับกรุงสุโขทัย


    ได้แสดงมาในคำอธิบายตอนก่อนแล้วว่า เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างกรุงศรีอยุธยานั้น เป็นเวลาพระเจ้าฤไทยไชยเชษฐ ผู้เป็นราชโอรสของพระเจ้าขุนรามคำแหงครองราชย์สมบัติอยู่ ณ กรุงสุโขทัย และต่อมาพระมหาธรรมราชาลิไทยได้ครองราชย์สมบัติครองกรุงสุโขทัย ร่วมสมัยในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีอีกพระองค์หนึ่ง แต่ความไม่ปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีสร้างกรุงศรีอยุธยา แล้วต้องรบพุ่งหรือทำอย่างไรกับนครสุโขทัย ศิลาจารึกและเรื่องราวอันใดที่ได้พบทางสุโขทัย แม้ในจารึกครั้งพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งทำขึ้นเมืองสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้ว ก็ไม่กล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา



    ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงสุโขทัย ตอนนี้พบในหนังสือจามเทวีวงศ์ ซึ่งแปลออกเป็นพงศาวดารหริภุญไชยแห่งหนึ่งว่า “พระเจ้าอรรถลิไทยบพิตรได้เสวยราชสมบัติในกรุงสุโขทัย พระองค์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ได้ปฏิบัติพระพุทธสิหิงค์เป็นนิจกาล เพลินไปในราชกุศลฝ่ายเดียว มิได้คิดราชกิจการณรงค์สงคราม กิตติศัพท์ก็ปรากฏไปในนานาประเทศ ครั้งนั้นพระเจ้ารามาธิบดีเสวยราชสมบัติในกรุงอโยธยามหานคร ทราบเหตุดังนั้นแล้ว ก็ยกจัตุรงคโยธามาล้อมเมืองทวิสาขนคร (หมายความว่าเมืองแพรก คือเมืองสรรคบุรีเดี๋ยวนี้) อันเป็นเมืองกิ่งน้อยแห่งเมืองสุโขทัยนั้นได้แล้ว ยังสมเด็จพระราชโอรสทรงพระนามว่า เดชะกุมาร (หนังสืออื่นๆ เรียกวัติเตชะอำมาตย์ เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ หมายความว่า พระบรมราชาพงั่ว) ให้เสวยราชสมบัติในทวิสาขนครแล้ว พระองค์ก็เสด็จกลับมายังกรุงศรีอโยธยา ฝ่ายสมเด็จพระอรรถลิไทยจึงวิงวอนไปด้วยทางพระราชไมตรี ขอไถ่เมืองทวิสาขนครแก่พระเจ้ารามาธิบดี พระรามาธิบดีให้ตั้งสัตย์สาบานแล้ว ก็คืนให้เมืองทวิสาขนครแก่พระเจ้าอรรถลิไทย” ดังนี้



    พบอีกแห่งหนึ่งในหนังสือชินกาลมาลินีว่า “พญาลิไทยราชได้เสวยราชสมบัติเมืองสุโขทัยราชธานีแทนสมเด็จพระบิดา ก็สักการบูชารักษาซึ่งพระสิหฬปฏิมากรพระพุทธรูป อันมาแต่ลังกาให้คงไว้ในเมืองสุโขทัย มีพระนามปรากฏชื่อว่าพญาธรรมราช เหตุพระองค์ได้เล่าเรียนซึ่งพระไตรปิฎก อันเป็นพระพุทธวจนะของสมเด็จพระมหากรุณาเจ้า ในกาลนั้นดังได้ยินมา – ชยนาทปุรมฺหิ ทุพภิกฺ ขภยฺ ชาตํ อันว่าภัยคือทุภิกข ข้าวแพงก็บังเกิดในเมืองชัยนาทบุรี (ที่จริงเมืองชัยนาทเก่ากับเมืองสรรค์ ใกล้ชิดเกือบนับว่าเป็นเมืองเดียวกันได้) อโยชฺฌราชา อันว่าพระมหากษัตริย์ในกรุงอโยชฌนคร รามาธิบดี ทรงพระนามชื่อว่า สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี กมฺโพชฺชโต อาคนฺตฺวา เสด็จมาแต่กรุงกัมพูชามหานคร พระองค์มาถือเอาซึ่งเมืองชัยนาทบุรีนั้นได้ ธญฺญวกฺกยเลเสน ด้วยเล่ห์กลกระทำเป็นพวกพ่อค้ามาขายข้าว ครั้นได้เองแล้ว พระองค์จึงตั้งไว้ซึ่งอำมาตย์ผู้หนึ่งชื่อวัติเตชะอำมาตย์ อันว่าราชการอยู่เมืองสุวรรณภูมิ เอามาไว้ให้เป็นใหญ่ในเมืองชัยนาทบุรี ส่วนพระองค์ก็เสด็จไปสู่กรุงอโยชฌนครในลำดับนั้น อันว่าพญาธรรมราชาจึงส่งเครื่องบรรณาการเป็นอันมาก ไปถวายแก่สมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี แล้วจึงให้ขอเอาเมืองชัยนาทบุรี พระเจ้ารามาธิบดีก็พระราชทานให้แก่พญาธรรมราช ฝ่ายว่าวัติเตชะอำมาตย์นั้นก็กลับคืนมาอยู่ในเมืองสุวรรณภูมิดังเก่า” ดังนี้ นี่เป็นคำของชาวเชียงใหม่



    ยังมีเรื่องประกอบในหนังสืออื่นอีก ๒ แห่ง คือในหนังสือพระราชพงศาวดารทั้งฉบับพิมพ์ ๒ เล่ม และฉบับนี้ (ซึ่งเป็นหนังสือแต่งภายหลังแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีมากว่า ๓๐๐ ปี) เมื่อกล่าวถึงชื่อเมืองประเทศราชที่ขึ้นกรุงศรีอยุธยา ครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดี มีชื่อเมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิจิตร เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์ ว่าเป็นเมืองประเทศราชขึ้นกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๗ เมือง



    อีกแห่งหนึ่งในกฎหมายลักษณะลักพา มรพระราชกฤษฎีกาของสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีที่ ๑ ตั้งเมื่อปีมะแม จุลศักราช ๗๑๗ พ.ศ. ๑๘๙๙ (ควรจะเป็น ๑๘๙๘) ภายหลังสร้างพระนครศรีอยุธยาได้ ๕ ปี มีเนื้อความว่า นายสามขลากราบบังคมทูลด้วยเรื่องข้าหนีเจ้าไพร่หนีนายว่า “มีผู้เอาไปถึงเฉลี่ยงสุโขทัย ทุ่งย้าง บางยม สองแก้ว(สองแคว) สระหลวง ชาวดงราว กำแพงเพชร เมื่อท่านอันอันหนึ่งอันเดียวกันดังนี้ และมีผู้เอาทาวเอาไพร่ท่านมาขาย และเจ้าทาสเจ้าไพร่แห่งพระนครศรีอยุธยาพบและมากล่าวพิพาทว่า ให้ผู้ไถ่ไล่เอาเบี้ยแก่ผู้ขายนั้นคืน ข้าพระพุทธเจ้าขอเรียนพระราชปฏิบัติ” จึงมีรับสั่งว่า “ขายกันแต่ในพระนครศรีอยุธยาดังนี้ และสูบังคับให้ผู้ไถ่ไล่เอาเบี้ยแก่ผู้ขายสิยังยาก อย่าว่าแต่ข้าหนีเจ้าไพร่หนีนาย และเขาลักเอาไปขายถึงเฉลี่ยงสุโขทัย ทุ่งย้าง บางยม สองแก้ว สระหลวง ชาวดงราว กำแพงเพชร ใต้หล้าฟ้าเขียว ขาดจากมือเจ้าทาสเจ้าไพร่ไปไกล จะมาพิพาทฉันเมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรี เมืองสุพรรณบุรี สะพง คลองพลับ แพรก ศรีราชาธิราช พระนครพรหมนั้น บมิชอบเลย” กฎหมายบทนี้ตั้งภายหลังพระมหาธรรมราชาลิไทยได้ราชสมบัติปี ๑



    มีข้ออันควรที่ผู้ศึกษาโบราณคดีจะสังเกตอย่างหนึ่ง ด้วยชื่อเมืองพิษณุโลกในจารึกครั้งพระเจ้าขุนรามคำแหงเรียกว่าเมือง “สระหลวงสองแคว” มาในกฎหมายครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดี ก็ยังเรียกว่าเมืองสระหลวงสองแคว ที่เรียกว่าเมืองพิษณุโลกน่าจะเป็นชื่อใหม่ เรียกกันในแผ่นดินหลังๆ มาดอกกระมัง



    เนื้อความที่ได้ในหนังสือต่างๆ ดังแสดงมานี้ เมื่อรวบรวมเข้าพิจารณาควรเชื่อได้เป็นแน่ข้อหนึ่งว่า กรุงศรีอยุธยากับกรุงสุโขทัยได้มีความตกลงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยประการอันใดอันหนึ่ง และเชื่อได้เป็นแน่อีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อปลายรัชกาลพระเจ้าไทยไชยเชษฐ ในกรุงสุโขทัยมีเหตุหยุกหยิกกันภายในไม่เรียบร้อย และเมื่อพระมหาธรรมราชลิไทยได้ราชสมบัติแล้ว ไปรื่นรมย์เสียในทางข้างบำรุงพระพุทธศาสนา กำลังทแกล้วทหารเสื่อมทรามลง ข้อเหล่านี้เชื่อได้ว่าจริง ด้วยความที่กล่าวในศิลาจารึกครั้งพระมหาธรรมราชาลิไทยเป็นพยานอยู่



    น่าเอาความในหนังสือจามเทวีวงศ์ และหนังสือชินกาลมาลินีประกอบเป็นข้อยุติว่า เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างกรุงศรีอยุธยา และประกาศอิสระแล้ว ตั้งมั่นเฉยอยู่สัก ๔ ปี จนถึงปีมะเมีย จุลศักราช ๗๑๖ พ.ศ. ๑๘๙๗ เมื่อพระเจ้าฤไทยไชยเชษฐประชวรหนัก พระมหาธรรมราชาลิไทยยกกองทัพมาเอาราชสมบัติ เกิดรบพุ่งฆ่าฟันกันขึ้นในเมืองสุโขทัย เป็นที สมเด็จพระรามาธิบดีจึงยกกองทัพขึ้นไปยึดเอาเมืองสรรค์ พอพระมหาธรรมราชาลิไทยได้ราชสมบัติ ให้มาขอเป็นไมตรีทำนองยอมถวายบรรณาการอันใดแก่สมเด็จพระรามาธิบดี เช่น ถวายราชธิดา เป็นต้น จึงว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และพระนครทั้งสองจึงเป็นไมตรีกันแต่นั้นมา จนตลอดรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าเรื่องจริงจะเป็นเช่นนี้



    เขตแดนกรุงศรีอยุธยา


    ในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ มีพระยาประเทศราชขึ้นกรุงศรีอยุธยา ๑๖ เมือง พิเคราะห์เห็นว่าเมืองเหล่านั้นไม่ได้ขึ้นกรุงศรีอยุธยาอย่างเดียว เมืองพิษณุโลก (คือเมืองสระหลวงสองแคว) เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก (คือเมืองศรีสัชนาลัย) เมืองพิจิตร เมืองกำแพงเพชร เมืองนครสวรรค์ ๗ เมืองนี้ยังอยู่ในอาณาเขตของพระมหาธรรมราชาลิไทย จะเป็นเหตุด้วยพระมหาธรรมราชายอมถวายบรรณาการขอเป็นไมตรีดังกล่าวมาแล้ว ผู้แต่งหนังสือพระราชพงศาวดารภายหลังจึงถือว่า เมื่อเหล่านี้ขึ้นกรุงศรีอยุธยา เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิ่ง ๒ เมืองนี้ แต่เดิมเคยขึ้นกรุงสุโขทัยจริง แต่เวลานั้นอยู่ในอาณาเขตของพระยาอู่ เมืองหงสาวดีเป็นอิสระมาแต่ครั้งสุโขทัย เมืองจันทบุรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองมะละกา เมืองชวา (ได้ความตามหนังสือเรื่องเมืองไทยของมองสิเออร์ลาลูแบร์ เข้าใจว่าเมืองยะโฮนั้นเอง) ๕ เมืองนี้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า ครั้งนั้นขึ้นกรุงศรีอยุธยาอาณาเขตของสมเด็จพระรามาธิบดี ข้างเหนือน่าจะอยู่เพียงเมืองชัยนาท ข้อนี้มีพยานที่ให้พระราเมศวรไปครองเมืองลพบุรี ครั้งนั้นคงจะเป็นเมืองหน้าด่านอยู่ต่อแดนขอมและแดนนครสุโขทัย




    เรื่องรบขอม


    สมเด็จพระรามาธิบดีสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้วได้ ๒ ปี ก็เกิดสงครามกับเมืองขอม เมื่อปีมะโรง จุลศักราช ๗๑๔ พ.ศ. ๑๘๙๕



    เมืองขอมหรือที่เรียกภายหลังว่ากรุงกัมพูชา ในเวลาเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีสร้างกรุงศรีอยุธยานั้น เห็นจะหมดพวกที่เป็นเชื้อวงศ์ชาวอินเดียนานมาแล้ว ได้ความตามหนังสือพงศาวดารเขมรว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมนิพัทธบท ทรงราชย์มาแต่ปีจอ จุลศักราช ๗๐๘ พ.ศ. ๑๘๘๙ ทิวงคตลงในปีที่สร้างกรุงศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระบรมลำพงศ์ราชาบุตรจึงได้รับราชสมบัติ และเป็นผู้ที่ทำศึกกับกรุงศรีอยุธยา ในหนังสือพระราชพงศาวดารอ้างเหตุสงครามคราวนี้ว่า เพราะขอมแปรพักตร์


    น่าจะเข้าใจว่า เมื่อก่อนสมเด็จพระรามาธิบดีจะประกาศเป็นอิสรภาพนั้น คงจะได้ทำไมตรีมีความเข้าพระทัยกับสมเด็จพระบรมนิพัทธบท ซึ่งครองประเทศขอมอยู่ในเวลานั้น เห็นว่าไม่เป็นศัตรู จึงได้ประกาศตั้งอิสรภาพ ครั้นสมเด็จพระบรมลำพงศ์ราชาได้รับราชสมบัติจะไม่รักษาไมตรีที่มีมาแต่ก่อน บางทีจะคิดร้ายต่อสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระรามาธิบดีจึงชิงส่งกองทัพลงไปตีพระนครหลวง ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกำลังแข็งแรงเท่าใดนัก ชั้นแรกให้สมเด็จพระราเมศวรราชโอรส ซึ่งเป็นผู้รักษาพระราชอาณาเขตทางตะวันออก เป็นแม่ทัพลงไปตีเมืองขอม สมเด็จพระราเมศวรยังไม่ชำนาญการสงครามไปเพลี่ยงพล้ำลง ต้องเชิญสมเด็จพระบรมราชาออกไปเป็นแม่ทัพใหญ่ อันนี้น่าจะเป็นต้นเหตุที่ปรากฏแก่คนทั้งหลายว่า สมเด็จพระราเมศวรไม่เข้มแข็งในการรบพุ่งเหมือนสมเด็จพระบรมราชา ถึงมีผลต่อไปในรัชกาลข้างหน้า ตามหนังสือพงศาวดารเขมรว่า กองทัพไทยลงไปล้อมอยู่ปี ๑ จึงได้พระนครหลวง สมเด็จพระบรมลำพงศ์ราชาทิวงคตเมื่อเสียเมือง ไทยได้ตั้งราชโอรสของสมเด็จพระบรมลำพงศ์ราชา ชื่อปาสัตให้ครองกรุงกำพูชา (เข้าใจว่าให้เป็นเจ้าประเทศราชขึ้นกรุงศรีอยุธยา) แล้วกวาดต้อนครอบครัวเข้ามาเป็นอันมาก



    ทางไมตรีกับต่างประเทศ

    ทางไมตรีกับต่างประเทศอื่น ในสมัยเมื่อสร้างกรุงศรีอยุธยานั้น ฝรั่งและญี่ปุ่นยังไม่มีมาค้าขาย แต่การไปมาค้าขายกับเมืองจีน เมืองแขก เมืองจาม เมืองชวา มลายู ตลอดจนอินเดีย เปอร์เซีย และลังกา ไปมาถึงกันนานมาแล้ว พวกเหล่านั้นที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้วก็คงจะมีประเพณีที่ชอบให้ชาวต่างประเทศไปมาค้าขาย ดูเป็นความนิยมมีมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย จนตราบเท่าทุกวันนี้ แต่ส่วนจีนนั้นได้ความตามหนังสือจีนเรื่องยี่จั๊บสี่ซื้อ ว่าด้วยนานาประเทศครั้งพระเจ้าแผ่นดินจีนวงศ์เหม็ง ว่าเมื่อครั้งพระเจ้าแผ่นดินหงบู๊ อันเป็นต้นราชวงศ์เหม็งในปลายรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดี พระเจ้ากรุงจีนเมื่อทราบว่ากรุงศรีอยุธยาตั้งเป็นอิสรภาพ ก็แต่งให้หลุยจงจุ่นเป็นราชทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีถึงกรุงศรีอยุธยา และพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาได้แต่งให้ราชทูตออกไปเมืองจีน พร้อมกับราชทูตจีนคราวนั้นด้วย



    (คัดจาก พระอธิบายท้ายพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา
    พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)





    **************************************






    ขอบคุณ

    http://www1.tv5.co.th
    กัมม์ แห่ง http://www.bloggang.com
    www.puansanid.com/forums




    ***********************************
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 07-09-2010 at 14:33.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ wundee2513
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    ที่อยู่
    ตามภารกิจ
    กระทู้
    1,108
    บล็อก
    11
    ... ขอปรบมือให้คนขยัน ที่ได้นำสาระดีๆ มาฝากครับ
    ...หากเราได้ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติอย่างถ่องแท้แล้วน่าภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เกิดมาเป็น คนไทย ...
    เสรีภาพ เสมอภาค ยุติธรรม

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้
    วันที่สมัคร
    May 2009
    กระทู้
    28
    :*-ขอบคุณสำหรับ สาระดีๆ ที่นำมาฝากตลอด ดีครับสิได้กระตุ้นเตือนให้คนไทย ฮู้ว่า กว่าสิเป็นชาติไท ได้ จนถึงทุกมื้อนี้ บรรพบุรุษเสีอดเนื้อไป ท่อได๋

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •