กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ

    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ




    เราย้อนอดีตมาที่ดินแดนสุวรณภูมิยุคไดโนเสาร์ แผ่นดินที่พบว่ามีไดโนเสาร์อาศัยอยู่นั้นคือ


    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีพ.ศ.๒๕๑๙ จากการวิจัยในโครงการศึกษาวิจัยฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ได้จัดทำโครงการสำรวจกระดูกไดโนเสาร์




    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ


    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ



    ได้สำรวจพบกระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ชิ้นแรกที่ ภูประตูตีนหมา ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น คณะสำรวจได้ศึกษาแล้วจึงรู้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอต พวกกินพืช เดิน๔ เท้า คอยาว หางยาว มีความยาวประมาณ ๑๕ เมตร และพบว่าข้อมูลการพบนี้เป็นการรายงานการค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งน่าตื่นเต้นและประหลาดใจมากๆ ของคนไทย



    ต่อมาพ.ศ.๒๕๒๔และพ.ศ.๒๕๒๕ เมื่อมีการสำรวจที่บริเวณภูเวียง อีกครั้งหนึ่ง ทำให้พบได้พบว่ากระดูกส่วนต่างๆของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นเป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน นับเป็นการเริ่มต้นการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ขึ้นครั้งแรกโดยการนำของ ดร.วีรวุธ สุธีธร


    ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่พบในประเทศไทยนั้น มีอายุอยู่ระหว่าง ๑๐๐-๒๐๐ ล้านปีมาแล้ว แบ่งเป็นยุคได้ดังนี้



    ๑.ไดโนเสาร์ยุคตรีเทเชียสตอนปลาย

    เมื่อพ.ศ.๒๕๓๕นั้น กรมทรัพยากรธรณีวิทยาได้ทำการสำรวจพบกระดูกสะโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์ พวกโปรซอโรพอต อยู่ในชั้นหินทรายสีแดงหมวดหินน้ำพอง (เขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์) มีอายุอยู่ประมาณ ๒๐๐ ล้านปี ซึ่งนับว่าเป็นการพบกระดูกของไดโนเสาร์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์พวกโปรซอโรพอต เป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ ดังนั้นเมื่อทำการเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ประเภทเดียวกันที่พบในแหล่งอื่นๆทั่วโลกแล้ว ได้พบว่าพวกโปรซอโรพอตที่พบในประเทศไทยนั้นมีขนาดใหญ่ แข็งแรง ประมาณว่ามีความยาวได้ถึง ๘ เมตร ไดโนเสาร์พวกโปรซอโรพอตนี้เป็นไดโนเสาร์กินพืช ฟันนั้นมีรอยหยักห่างๆเหมือนฟันเลื่อย เท่าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลัง เท้านั้นมีเล็บแหลมคม



    ๒.ไดโนเสาร์ยุคจูราสสิค

    และแล้ว คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศส (เมื่อพ.ศ.๒๕๓๙) ได้ทำการสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์เป็นฟันของไดโนเสาร์อยู่ในชั้นหินหมวดภูกระดึง (อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธ์) มีอายุ๑๕๐–๑๙๐ ล้านปี ฟันของไดโนเสาร์ที่พบนี้มีลักษณะเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อยนอกจากนี้ยังพบฟันของไดโนเสาร์พวกซอกโรพอต ฟันของไดโนเสาร์พวกสเตโกซอร์ ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในพื้นที่ประเทศไทย



    ๓.ไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียส

    สำหรับไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียส ซึ่งไดโนเสาร์ยุคนี้ยังไม่พบซากดึกดำบรรพ์ พบแต่รอยเท้าอยู่ในชั้นหินหมวด หินเขาพระวิหาร มีอายุประมาณ ๑๔๐ ล้านปี ซึ่งทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์พวกนี้มีรูปร่าง ขนาด และลักษณะการเดินเป็นอย่างไร รอยเท้าไดโนเสาร์ นี้พบอยู่ ๔ แห่งได้แก่


    ๓.๑ รอยเท้าไดโนเสาร์ พบที่ลานป่าชาด ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น นั้น เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ขนาดเล็กประเภทกินเนื้อ เดินด้วยขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไว บริเวณนี้ยังพบรอยเท้าของไดโนเสาร์พวกคาร์โนวอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าด้วย


    ๓.๒ รอยเท้าไดโนเสาร์ พบที่น้ำใสใหญ่ เขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์ขนาดใหญ่พวกเทอโรพอต ที่ใช้เท้าเดิน ๒ เท้า รอยเท้านั้น วัดขนาดได้กว้าง ๒๖ ซม.ยาว ๓๑ ซม.นอกจากนี้ยังพบรอยเท้าของไดโนเสาร์ขนาดเล็กพวกออร์นิโธพอต และพวกซีลูโรซอร์ วัดรอยเท้าได้กว้าง ๑๔ ซม.ยาว ๑๓.๗ ซม.


    ๓.๓ รอยเท้าไดโนเสาร์ พบที่ภูแผก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธ์ เป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่กินเนื้อพวกคาร์โนซอร์ วัดรอยเท้าได้กว้าง ๔๐ ซม.ยาว ๔๕ ซม.

    ๓.๔ รอยเท้าไดโนเสาร์ พบที่ภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดย่อม



    ๔. ไดโนเสาร์ในชั้นหินหมวดเสาขัว มีอายุอยู่ประมาณ ๑๓๐ ล้านปี พบ สำหรับซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่บริเวณประตูตีหมา ภูเวียง และบริเวณใกล้เคียงหลายชนิด ซากดึกดำบรรพ์ ที่พบได้แก่


    ๔.๑ พบกระดูกของไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับไดโนเสาร์พวกซอโรพอตที่พบในอเมริกาเหนือ เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ ที่มีความยาวถึง ๑๕ เมตร โดยมีส่วนคอยาว ส่วนหางยาว เดิน สี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร การสำรวจต่อมานั้นได้พบกระดูกไดโนเสารืชนิดนี้ที่มีสภาพดี จึงทำให้ได้ข้อมูลชัดเจนว่า เป็นซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์พวกซอโรพอต ที่เป็นสกุลใหม่ในโลก ซึ่งได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มาเป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์นี้ว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินทรเน(PHUWIANGGOSAURUS SIRINDHORNAE)


    ๔.๒ พบฟันของไดโนเสาร์สกุลใหม่ และเป็นชนิดใหม่ จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ดร.วีรวุธ สุธีธร ว่า สยามโมซอรัส สุธีธรนี(SIAMOSAURUS SUTEETHORNI)


    ๔.๓ พบกระดูกขาหลังท่อนหลังและขาหน้าท่อนบนของไดโนเสาร์พวกซีลูโรซอร์(COELUROSAUR) เป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็กมาก ชนิดหนึ่งเดินด้วยสองขาหลังและกินเนื้อเป็นอาหาร จากการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ที่มีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งที่พบไดโนเสาร์สกุลใหม่ในประเทศไทยดังกล่าว แม้จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในปีพ.ศ.๒๕๓๕ แล้วก็ตาม สถานที่พบนี้ยังประกาศเป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกในเอเซียตะวันตกเฉียงใต้


    สรุปแล้วเมื่อพ.ศ.๒๕๓๗ นั้น กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจพบซากไดโนเสาร์อีกแหล่งหนึ่งที่วัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น จนต้องมีโครงการพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ขึ้น เพื่อศึกษาเรื่องราวของไดโนเสาร์ สัตวดึกดำบรรพ์ประเภทนี้ในประเทศไทย และทำให้พบว่ามีไดโนเสาร์พันธ์ใหม่ขึ้นในพื้นที่นี้ การสำรวจพบซากกระดูกของไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากกว่า ๖๐๐ ชิ้นในประเทศไทยนั้น ทำให้รู้ว่า ไดโนเสาร์ สัตว์ดึกดำบรรพ์


    ที่พบในประเทศไทยนี้มีอายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปี ส่วนไดโนเสาร์สกุลใหม่ที่พบในประเทศไทยนั้น มีการตั้งชื่อว่า สยามโมไท-รันนัส อีสานเอนซิส(Siamotyrannus isanensis)เป็นไดโนเสาร์ประเภทซอโรพอต (Sauropods) ที่เป็นสัตว์ชนิดกินพืช มีจำนวน ๖ ตัว นอนตายทับถมกันอยู่ ที่ภูกุ้มข้าว ในบริเวณวัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์



    ส่วนในพื้นที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นได้สำรวจพบซากดึกดำบรรพ์(FOSSIL) หรือกระดูกที่กลายเป็นหินของไดโนเสาร์พันธ์ใหม่ ซึ่งตั้งชื่อว่า


    ภูเวียงโกซอรัส สิริธรเน่ (Phuwiangosaurus sirindhornae) ยาว๑๕-๑๘ เมตร และ ไซแอมซอรัสสุธีธรนิ(Siamsaurus suteetorni) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ประเภท ไทรันโนซอรัสหรือไทเร็กซ์ ชนิดกินเนื้อ และดุร้าย นอกจากนี้ยังสำรวจพบรอยเท้าในหินของไดโนเสาร์


    ประเภทคาร์โนซอร์ ชนิดกินเนื้อ ที่ป่าภูแฝก ตำบลภูแล่นช้าง กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่บนภูหลวง จังหวัดเลย และที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย ซึ่งล้วนเป็นหลักฐานที่แสดงว่าบริเวณดังกล่าวนั้น เคยเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่
    ประเภทไดโนเสาร์และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่งเมื่อหลายล้านปีมาแล้ว



    ข้อมูลเฉพาะ

    ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งเคยอาศัยอบู่บนโลกเมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้วและสุญพันธ์ไปจนหมดสิ้นจากโลกนี้ ปัจจุบันพบเพียงซากดึกดำบรรพ์(FOSSIL)คือ


    ซากกระดูกส่วนต่างๆที่ถูกเก็บรักษาไว้ตามธรรมชาติในชั้นหินที่เป็นเปลือกโลกยุดก่อน ในการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์นั้นทำให้รู้ว่า ไดโนเสาร์นั้นมีขนาด
    และรูปร่างที่แตกต่างกันมากมาย มีไดโนเสาร์ที่มีรูปร่างตั้งแต่ขนาดใหญ่โต มีน้ำหนักกว่า ๑๐๐ ตัน สูงมากกว่า ๑๐๐ ฟุต จนถึงไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็ก บางชนิดมีขนาดเล็กกว่าไก่


    บางพวกเดินสี่ขา บางพวกเดินและวิ่งบนขาหลังสองข้าง บางพวกกินพืชเป็นอาหาร บางพวกกินเนื้อเป็นอาหารไดโนเสาร์พวกแรกที่ปรากฏขึ้นในช่วงปลายของ ยุดไทรแอสสิก(TRIASSICะพณเมื่อประมาณ ๒๒๕ ล้านปีมาแล้ว โลกในยุคนั้น


    มีเปลือกโลกติดต่อกันเป็นแผ่นเดียว จึงทำให้สัตว์เคลื้อยคลานต่างๆโดยเฉพาะไดโนเสาร์นั้นได้วิวัฒนาการต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนานถึง๑๖๐ ล้านปีได้เดินทางกระจัดกระจายแพร่หลายไปทั่วแผ่นดินของโลก
    ครั้นเมื่อถึงช่วงปลายยุคครีเทเชียส (CRETACEOUS) เมื่อประมาณ ๖๕ ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว


    ไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่จึงได้สูญพันธ์ไปจนหมดโลก หลังจากที่ไดโนเสาร์สูญสิ้นพันธ์ไปจากโลกถึง ๖๐ ล้านปีแล้ว

    โลกจึงปรากฏต้นตระกูลของมนุษย์วานรขึ้นเมื่อ ๕ ล้านปี มนุษย์วานรนี้ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องจนเป็นเผ่าพันธ์ของมนุษย์ในปัจจุบัน
    ไดโนเสาร์ที่มีขนาดเล็กนั้นได้มีวิวัฒนาการออกไปเป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์สกุลต่างๆมากมาย


    ซึ่งมีการค้นคว้าและได้พบว่ามีอยู่ในโลกแล้วประมาณ ๓๔๐ ชนิด ซึ่งเชื่อว่ายังมีไดโนเสาร์ที่ปรับสภาพตัวเองเป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่(สัตว์เลื้อยคลาน)อีก โดยกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการสำรวจหาไดโนเสาร์ชนิดใหม่ขึ้นในโลกประมาณ ๑๐๐ คณะและพบมีไดโนเสาร์ชนิดใหม่(สัตว์เลื้อยคลาน)ในปัจจุบันอยู่เสมอ


    นักโบราณชีววิทยา ได้แบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ จากการอาศัยลักษณะที่แตกต่างกันของกระดูกเชิงกราน คือ


    ๑.พวกชอริสเชียน(SAURISCHIANS) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีกระดูกเชิงกราน กล่าวคือ มีกระดูกพิวบิสและอิสเซียมแยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง

    ๒.พวกออรีนิธิสเชียน(OMITHISCIANS) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีกระดูกเชิงกรานเป็นแบบนก กล่าวคือมีกระดูกทั้งพิวบิสและอิสเซียมชี้ออกไปทางด้านหลัง ในระยะแรกนั้นของการศึกษาเรื่องไดโนเสาร์นั้นได้มีการค้นพบและศึกษาซากดึกดำบรรพ์(FOSSIL)มาก่อน เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีทั้งพืช แมลง และสัตว์น้ำ ต่อมาเมื่อมีการพบซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อพ.ศ..๒๓๘๔(ค.ศ.1841)ในการประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าของประเทศอังกฤษ โดยศาตราจารย์ริชารด์ โอเวน นั้นได้มีการตั้งชื่อ ไดโนเสาร์ขึ้นครั้งแรก


    สำหรับสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ที่มีการพบซากดึกดำบรรพ์ หลังจากนั้นซากดึกดำบรรพ์(FOSSIL)ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ได้ค้นพบกันมานานาแล้วนั้นจึงเป็นที่รู้จักกันในนาม ไดโนเสาร์(DINOSAUR)


    คำว่าไดโนเสาร์นี้หมายถึง

    สัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะน่ากลัวมาก(มาจากการมีลักษณะใหญ่โตมาก)
    โดยนำคำมาจากภาษากรีก คือ คำว่าไดโน(DEINOS)แปลว่า น่ากลัวมาก และคำว่า ซอรอส(SAURUS) หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน การสูญพันธ์ของไดโนเสาร์นั้นมีการอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล สภาพภูมิอากาศ และการระเบิดจากนอกโลก(SUPEMOVE)และอื่นมากมาย แต่ที่ได้รับความสนใจ
    และต่างมีเหตุผลที่พอรับฟังได้ คือ



    ๑.ไดโนเสาร์สูญพันธ์เนื่องจากการชนโลกของดาวเคราะห์น้อย(Asteroid impact )

    ที่ทำให้เกิดจากระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นจนฝุ่นละอองฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศของโลก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ม่านมืดบดบังแสงอาทิตย์ จนเป็นผลให้เกิดความมืดมิดและความหนาวเย็นอย่างฉับพลันอยู่เป็นเวลานานนับเดือนจนไดโนเสาร์นั้นไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในโลกได้ ด้วยเหตุที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงดังกล่าว
    หลักฐานที่นำมาอ้างข้อสรุปนี้คือ การพบธาตุ อิริเดียม(IRIDIUM)จำนวนมากว่าปกติ

    ในชั้นดินบางๆ(CLAY) ที่มีอายุอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างยุคครีเทเชียส(CRETACEOUS) และTERTIARY(K-T BOUNDARY)ในบริเวณต่างๆของโลก

    นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่าโลกนั้นเคยเกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยที่แหลมในประเทศเมกซิโก เรียกว่า โครงสร้าง CHICXULUB STRUCTURE


    ๒.ไดโนเสาร์สูญพันธ์เนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณ
    ที่ราบสูงเดคคาน(DECCAN)ของประเทศอินเดีย(DECCAN TRAPS VOLCANISM)

    ซึ่งถือว่าเป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในช่วงอายุของการกำเนิดโลก ด้วยเป็นการระเบิดที่รุนแรง อันเนื่องมาจากMANTLE PLUME และ HOTSPOT ที่อยู่ใต้พื้นโลก

    จนทำให้เกิดลาวาชนิด BASALTIC (BASALTIC LAVA) จำนวนมหาศาลดันเปลือกโลกขึ้นมาแล้วไหลลงมามาคลุมพื้นโลก มีพื้นที่ถูกลาวาคลุมมากกว่า ๑ ล้านตารางไมล์ และมีความหนากว่า ๑ ไมล์ จนเกิดMANTLE DEGASSING ทำให้คาร์บอร์ไดออกไซด์ และไอน้ำ ถูกความร้อนจนระเหยขึ้นสู่ผิวโลกด้วยอัตราที่มากจนผิดปกติ จนก่อให้เกิดชั้น GREENHOUSE GASES ในบรรยากาศกักเก็บความร้อน จากดวงอาทิตยืไว้ที่ผิวของโลก ทำให้ไม่มีการถ่ายเท จนอุณหภูมิสูงขึ้น อันเป็นผลให้วัฎจักรของคาร์บอนไดและออกซิเจน เปลี่ยนแปลงไป จนนำมาสู่การสูญพันธ์ของไดโนเสาร์


    ส่วนสาเหตุที่ไดโนเสาร์สูญพันธ์นั้นมีข้อสันนิษฐานว่า ไดโนเสาร์นั้นอาจจะสูญพันธ์จากสิ่งแวดล้อมบนโลกไม่เอื้ออำนวยการดำรงชีวิตอยู่ โดยเฉพาะ อาหารเป็นพิษ และเกิดภูเขาไฟระเบิดอย่างรุนแรงในทุกพื้นที่ทั่วโลก ดังนั้นไดโนเสาร์นี้จึงสูญพันธ์ไปจากโลก
    เนื่องจากเกิดมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงดังกล่าวบนของพื้นโลก ในยุคเตอร์ติอารี เมื่อประมาณ ๖๕ -๒.๕ ล้านปีมาแล้ว เมื่อพื้นผิวโลกเปลี่ยนแปลง ร่างของไดโนเสาร์จึงถูกทับถมไปกับพื้นดิน ส่วนที่เป็นเนื้อหนังก็เปื่อยหลุดไปตามสภาพ จึงเหลืออยู่แต่ส่วนที่แข็ง คือ กระดูก และฟัน ที่ถูกหินดินโคลนทรายอัดทับถมอยู่นับล้านปีจนเป็นซากดึกดำบรรพ์ ในชั้นดินของโลกที่เป็นโคลนทรายในยุดดึกดำบรรพ์นั้น ได้ทับถมไดโนเสาร์แล้วอัดแน่นจนเป็นหินและผนึกแน่นในชั้นหินธรรมชาติ



    ดังนั้นเมื่อพื้นผิวโลกทมีการเคลื่อนตัวจากปรากฏการณ์ะรรมชาติ
    จึงมีการบกชั้นหินบางส่วนให้สูงขึ้น แล้วเกิดการกัดกร่อนทำลายชั้นหินจากความร้อนของดวงอาทิตย์ จากความเย็นของน้ำแข็ง ฝน และลม จนในที่สุดชั้นที่มีซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกดันขึ้นมาจนวากดึกดำบรรพ์นั้นปรากฏขึ้นบางส่วนให้


    นักสำรวจโลกดึกดำบรรพ์และนักธรณีวิทยาได้ค้นพบ ถ้าการทับถมในครั้งนั้นเกิดอย่างรวดเร็วจนโคลนทรายเข้ากลบร่างของไดโนเสาร์ตายในทันที โครงกระดูกก็จะอยู่เรียงรายสมบูรณ์ในตำแหน่งที่ถูกโคลนทรายกลบ


    แต่ถ้าหากการทับถมนั้นเกิดขึ้นอย่างช้าๆคือค่อยทำให้ไดโนเสาร์ไม่ตายทันที โครงกระดูกก็มีโอกาสที่จะอยู่กระจัดกระจายแล้วปะปนไปกับโคลนหินดินทราย


    ด้วยเหตุที่โคลนทรายนั้นมีแร่ธาตุต่างๆ เช่นแคลไซด์ เหล็กซัลไฟต์และซิลิก้า เมื่อมีการทับถมลงบนร่างของไดโนเสาร์ก็จะซึมเข้าสู่เนื้อ กระดูก แล้วเข้าไปอุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่ จนทำให้กระดุกยนั้นแกร่งขึ้น จนสามารถรับน้ำหนักของหินดินทรายที่ลงมาทับถมต่อมาภายหลังได้ดี เมื่อทับถมนานวันนับล้านๆปีเช่นนี้


    ด้วยเหตุที่อากาศและออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนช่วยในการเติบโตของแบคทีเรียไม่สามารถเข้าไปถึงทรากของไดโนเสาร์ได้ นานวันไดโนเสาร์ก็กลายเป็นสภาพจากกระดูกแข็งเป็นหินโดยธรรมชาติ เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถคงสภาอยู่ในลักษณะเดิมให้ได้ศึกษา เมื่อมีการค้นพบตำแหน่งของซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ ๖๕ ล้านปีนี้ สิ่งที่ไม่เปลี่ยนเป็นหินแข็งของไดโนเสาร์นั้น คือ ฟัน ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุด


    สำหรับโครงกระดูกของไดโนเสาร์นั้น แม้ว่าจะมีแร่ธาตุบางชนิดเข้าไปกัดกร่อนทำลายกระดูกและทิ้งลักษณะของกระดูกไว้เป็นโพรงก็ตาม ได้มีการค้นพบว่า


    โพรงเหล่านี้ได้ทำหน้าที่เป็นเสมือนแม่พิมพ์ ที่ทำให้เก็บร่องรอยอื่นๆของสัตว์ดึกดำบรรพ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี


    กล่าวคือ เมื่อมีแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่ในโพรงนั้นก็ทำให้เกิดรูปหล่อของรอยผิวหนัง ที่ทำให้ได้ข้อมูลเรื่องผิวหนังของไดโนเสาร์ บางแห่งพบว่าซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้ถูกเคยน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันจนกลายเป็น ชั้นสะสมของกระดูกไดโนเสาร์ การสำรวจนั้นได้มีการพบรอยเท้าของไดโนเสาร์อยู่บนพื้นหิน ซากดึกดำบรรพ์นี้เดิมเป็นดินโคลนที่มีร่องรอยของเท้าไดโนเสาร์


    เมื่อมีการทับถามนานวันก็รักษารอยนั้นไว้ตามธรรมชาติของการอัดแน่นของดินหินทราย ซึ่งทำให้เรียนรู้ถึงชนิดของไดโนเสาร์ ลักษณะการเดินของสัตว์ขนาดใหญ่นี้ว่า เดิน ๒ ขา เดิน ๔ ขา ด้วยอาการเชื่องช้าหรือว่องไว อยู่เป็นกลุ่มหรืออยู่ตัวเดียว
    นอกจากนี้บางแห่งยังมีการพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ ในส่วนอื่นๆเช่น


    มูลที่ถ่ายทิ้งเรียก คอบโปรไลท์ ที่ทำให้รู้ถึงขนาดและลักษณะของลำไส้ ไข่ ที่ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่ บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดใด บางแห่งพบโครงกระดูกในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง จึงได้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดมีการดูแลและฝักไข่ด้วยตัวเอง


    ไดโนเสาร์เป็นสัตว์บกที่มีชีวิตอยู่ในโลกดึกดำบรรพ์เมื่อประมาณ ๒๔๕-๖๕ ล้านปีมาแล้วคือ ช่วงยุดตรีเอซิค(TRIASSIC) ถึงยุคครีเทเวียส (CRETACEOUS) ดังนั้น



    ซากดึกดำบรรพ์จึงพบอยู่ในชั้นหินตะกอนที่สะสมตัวบนพื้นดินในช่วง

    ยุคตรีเอซิค(TRIASSIC)ถึงยุคครีเทเซียส (CRETACEOUS) ซึ่งเป็นชั้นหินในยุค MESOZOIC




    ประเทศไทยนั้น เมื่อมีการสำรวจทางธรณีวิทยา พบว่าแผ่นดินในประเทศไทยนั้น

    มีชั้นหินยุค MESOZOICโผล่ขึ้นมาตามบริเวณที่ราบสูงโคราช ที่ราบสูงในภาคอีสาน บางแห่งในภาคเหนือและภาคใต้ ชั้นหินเหล่านี้ประกอบด้วยหินดินดาน หินทรายแป้ง หินทรายและหินกรวดมน ซึ่งส่วนมากเป็นหินสีน้ำตาลแดง ตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและยิบซั่มอยู่ด้วย เนื่องจากชั้นหินเหล่านี้มีสีแดงเกือบทั้งหมด จึงเรียกว่า


    ชั้นหินตะกอนแดง(RED BED) หรือ กลุ่มหินโคราช หินกลุ่มโคราชนี้ มีความหนากว่า ๔๐๐๐ เมตร ดังนั้นจึงทำให้ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ


    จึงมีอยู่ตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากมาย เช่น ภูเวียง ภูพาบ และภูหลวง เป็นต้น ถือเป็นแหล่งที่อยู่ไดโนเสาร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งก่อนที่จะสูญสิ้นพันธ์




    ……………………………………………………………..


    กรมทรัพย์ธรณีเผยพบชิ้นส่วน"โปรซอโรพอด" ไดโนเสาร์กินพืชสมบูรณ์สุด 5 แหล่งใหม่ในจ. เลย




    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ



    วันนี้ (7 ก.ย. 53) ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดงานประชุมวิชาการธรณีวิทยาและแหล่งแร่ไทย-ลาว โดยนายวราวุธ สุธีธร ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ กรมทรัพยากรธรณีเปิดเผยว่า


    หลังจากมีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกท่อนหัวไหล่ไดโนเสาร์ซอโรพอด ขนาด 1.65 ซม. ที่ภูน้อย อ. คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ถือเป็นการค้นพบชิ้นส่วนซอโรพอดชิ้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย


    นอกจากนั้นบริเวณดังกล่าวยังพบซากฟอสซิลอื่นๆ เช่น จระเข้ เต่า ปลาโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่า การที่มีสัตว์หลากชนิดรวมทั้งไดโนเสาร์มานอนตายอยู่ในแอ่งเดียวกัน ในสมัยโบราณพื้นที่นี้อาจเป็นร่องแม่น้ำขนาดใหญ่ เมื่อเกิดน้ำไหลหลากทำให้ชิ้นส่วนดังกล่าวถูกไหลตามน้ำแล้วมากองรวมกันในสถานที่เดียวกัน ซึ่งน่าสนใจที่จะต้องมีการไขปริศนาต่อไป


    หลังจากการค้นพบดังกล่าว นักวิจัยได้ตีวงสำรวจซากดึกดำบรรพ์ครอบคลุมหมวดหินน้ำพองครอบคลุมพื้นที่ อ.ภูกระดึง จ.เลย อ. คำม่วง อ. กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ พื้นที่ จ. ขอนแก่น สกลนคร และ มุกดาหาร


    เพื่อต่อจิกซอว์และแผนที่แอ่งไดโนเสาร์ในพื้นที่ภาคอีสาน จากนั้นจึงมีการค้นพบท่อนชิ้นส่วนกระดูกท่อนขาบนของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ชนิดกินพืช ฟันมีรอยหยักแบบเลื่อย คอยาว เท้าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลัง


    ล่าสุดได้มีการค้นพบ 5 แหล่งใหม่ที่มีซากไดโนเสาร์อยู่ในหมวดหินน้ำพอง ประกอบด้วยภูน้อย ภูผาเทิบ ภูขวาง ภูท่าสองขอน และผากก ซึ่งทั้ง 5 แหล่งอยู่ในครอบคลุมพื้นที่ อ.ภูหลวง และ อ.ภูกระดึง จ.เลย สิ่งที่ค้นพบและถือเป็นเรื่องใหม่ที่น่ายินดีและน่าตื่นเต้นในวงการไดโนเสาร์คือมีการพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์โปรซอโรพอดครบทุกชิ้นส่วนราว 30 กว่าชิ้นในบริเวณนี้


    ก่อนหน้านี้มีรายงานการค้นพบเพียงแค่ส่วนปลายของกระดูกสะโพกส่วนหน้าที่ อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เมื่อปี 2535 ซึ่งถือว่าเก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    แต่การค้นพบครั้งนี้เป็นการค้นพบที่สมบูรณ์มากที่สุดและเกือบครบทุกชิ้นส่วนในแหล่งดังกล่าวกระจัดกระจาย โดยเฉพาะขาท่อนบน กระดูกโครงสันหลัง ที่บริเวณภูขวาง อ ภูหลวง จ.เลย


    เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นไดโนเสาร์เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและอาจเป็นช่วงไทรแอสซิกตอนปลายถึงยุคจูแรสซิกตอนต้น อายุในช่วงราว 209 ล้านปี


    นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ที่บริเวณภูท่าสองขอน ซึ่งมีความต่างจากรอยเท้าไดโนเสาร์ที่เคยค้นพบมาแล้ว เพราะมี 4 นิ้ว โดยนิ้วที่เพิ่มมามีลักษณะเหมือนเดือยไก่


    ขณะนี้ได้มีการเข้าไปขุดซากชิ้นส่วนที่พบและนำมากลับมาวิจัยที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร ภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อศึกษารายละเอียด


    เปรียบเทียบกับไดโนเสาร์จากต่างประเทศในระดับโลกเพื่อดูว่าโปรไซโรพอดที่พบล่าสุดจะอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ประเภทใดหรืออาจจะเป็นไดโนเสาร์ชนิดที่ยังยังไม่เคยค้นพบ ทั้งนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ปีจึงจะทราบ


    "ความน่าสนใจตั้งแต่มีการศึกษาไดโนเสาร์ในประเทศไทยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา


    เคยค้นพบไดโนเสาร์ที่อยู่ในช่วงที่มียุคจูแรสซิกมาแล้ว 16 ชนิด โดย 6 ชนิดคือชนิดใหม่ของโลกและอีก 5 ชนิดอยู่ในกลุ่มสกุลใหม่ของโลก โดยตัวที่เก่าที่สุดคืออิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ ที่ภูกุ้มข้าว จ.ชัยภูมิ


    แต่หลังจากนี้การค้นพบไดโนเสาร์ในกลุ่มโปรซอโรพอด ที่มีอายุเก่ายิ่งขึ้นจะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อการค้นพบและเส้นทางของไดโนเสาร์ที่มีในประเทศไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น



    ................................................................





    ไดโนเสาร์ซอโรพอด ที่มีความยาวประมาณ 15 เมตร




    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ



    ................................................................

    ไดโนเสาร์ยุคจูราสสิค



    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ



    ................................................................


    ไดโนเสาร์ครีเทเชียส



    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ

    ………………………………………………..


    ไดโนเสาร์สยามโมซอรัส สุธีธรนี




    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ





    ซากดึกดำบรรพ์ สยามโมซอรัส สุธีธรนิ


    ซากดึกดำบรรพ์สยามโมซอรัส พบเพียงแค่ฟัน ที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยฟันที่ค้นพบมีลักษณะเป็นแท่งกรวยปลายแหลม มีสันเล็กๆ ยาวตลอดฟัน ซึ่งต่างจากฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอดทั่วไป ที่แบน และมีรอยหยัก สันนิษฐานว่าสยามโมซอรัสเป็นเทอโรพอดที่มีลักษณะปากคล้ายสัตว์เลื้อยคลานพวกกินปลา หรือเพลสซิโอซอร์ และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร ผู้ค้นพบ ว่า สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus suteethorni)


    ………………………………………………………….


    ไดโนเสาร์ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส



    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ




    ซากดึกดำบรรพ์ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส


    ซากดึกดำบรรพ์สยามโมไทรันนัส ถูกค้นพบที่บริเวณหินลาดยาว อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536โดยพบกระดูกสันหลังหลายชิ้นโผล่ออกมาจากชั้นดินทรายสีแดงของหินหมวดเสาขัว ต่อมาพบกระดูกสะโพกด้านซ้าย และกระดูกส่วนหางอีกหลายชิ้นเรียงต่อกัน หลังจากที่คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดแล้วก็พบว่า เป็นไดโนเสาร์ตระกูลใหม่ของไทย จึงได้ตั้งชื่อว่า สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis



    …………………………………………………………



    ไดโนเสาร์ คาร์โนซอร์



    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ





    ไดโนเสาร์คาร์โนซอร์

    ซากดึกดำบรรพ์คาร์โนซอร์ พบเพียงแค่ฟัน ที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยฟันที่ค้นพบมีลักษณะแบน ปลายแหลม โค้งงอเล็กน้อยคล้ายมีดโค้ง ที่ขอบมีรอยหยักเหมือนมีดหั่นเนื้อ ฟันลักษณะนี้เป็นฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกเทอโรพอด ซึ่งคาดว่าเป็นไดโนเสาร์คาร์โนซอร์จากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากที่แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูเวียงนี่เอง ทำให้บริเวณนี้ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ภูเวียง ในปี พ.ศ. 2535 และเป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


    ………………………………………………..



    ไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัส



    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ






    ซากดึกดำบรรพ์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน

    ซากดึกดำบรรพ์ภูเวียงโกซอรัส ถูกค้นพบที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ 3 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนกลางตัว 4 ชิ้น กระดูกซี่โครงหลายชิ้น กระดูกสะบักซ้ายและส่วนปลายสะบักขวา กระดูกต้นขาหน้าซ้าย บางส่วนของกระดูกแขน กระดูกสะโพกทั้งสองข้าง กระดูกต้นขาทั้งสองข้าง และกระดูกหน้าแข้งซ้าย ลักษณะของกระดูกที่พบบอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ มีขนาดใกล้เคียงกับ คัมมาราซอรัส ที่ถูกค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว จึงอัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งเป็นชื่อใหม่ว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosauraus sirindhornae)


    ………………………………………………..



    ภาพถ่ายไดโนเสาร์จากพิพิธภัณฑ์สิรินธร กาฬสินธุ์



    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ


    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ


    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ


    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ


    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ


    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ


    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ


    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ


    ย้อนรอยอดีต ยุคไดโนเสาร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ




    ....................................................................











    ขอบขอบคุณ
    กรมทรัพยากรธรณี
    วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี
    Siamrecorder
    หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
    พิพิธภัณฑ์สิรินธร






    .................................................................
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 14-09-2010 at 11:56.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •