กำลังแสดงผล 1 ถึง 6 จากทั้งหมด 6

หัวข้อ: เวลาคุมขังผู้ต้องหาโดยเจ้าพนักงานตำรวจ

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เวลาคุมขังผู้ต้องหาโดยเจ้าพนักงานตำรวจ

    เวลาคุมขังผู้ต้องหาโดยเจ้าพนักงานตำรวจ



    รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย” ดังนั้น รัฐจึงมีกฎหมายมารองรับการจำกัดเสรีภาพทางร่างกายอย่างมีขอบเขตเพื่อให้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ โดยไม่ลืมจะคุ้มครองและให้ความยุติธรรมแก่ผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิดังกล่าวด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกท่านน่าจะรับทราบระยะเวลาที่ตำรวจสามารถคุมขังท่านได้ตามระดับของความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อใช้ปกป้องและโต้แย้งได้หากเจ้าหน้าที่มิได้ทำตามหลักกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้เมื่อเกิดมีการกระทำผิดขึ้น กฎหมายได้กำหนดขอบเขตในการควบคุมผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดไว้เท่ากับความจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี โดยมีการแบ่งเวลาในการควบคุมตัวตามอัตราโทษคดีที่ระบุเป็นข้อกล่าวหาไว้ดังนี้


    สำหรับความผิดลหุโทษ ซึ่งหมายถึงคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินอัตราข้างต้น เจ้าพนักงานจะควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ และที่จะรู้ตัวว่าเป็นใคร และที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหนเท่านั้น ตัวอย่างเช่น คดีเสพย์สุราจนเมาครองสติไม่ได้ และประพฤติตัววุ่นวาย ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านทั่วไปขณะอยู่ในถนนสาธารณะหรือสาธารณสถานใดๆ อันมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท เมื่อตำรวจจับท่านมา ก็สามารถคุมตัวท่านสอบคำให้การจนกว่าท่านจะมีสติพอบอกชื่อและที่อยู่ปัจจุบัน แล้วอาจทำการเปรียบเทียบปรับโทษแก่ท่านตามแต่ดุลพินิจของตำรวจ เป็นต้น


    สำหรับคดีอาญาอื่นๆนอกจากคดีลหุโทษ จักมีระยะเวลาในการควบคุมตัวที่ยาวนานกว่า อันเนื่องจากเป็นการให้เวลาพอสมควรแก่ตำรวจในการสอบคำให้การจากผู้ถูกจับโดยตรง มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่า 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน นับแต่เวลาที่มาถึงสถานีตำรวจ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวน หรือเหตุจำเป็นอย่างอื่น อาจขยายเวลาได้เท่าเหตุจำเป็น แต่รวมกันแล้วต้องมิให้เกิน 3 วัน โดยสรุปคือ ท่านจะถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจได้สูงสุดไม่เกิน 3 วัน หากต้องการคุมตัวนานกว่านี้ ก็ต้องยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาล ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาที่เจ้าพนักงานสอบสวนหรืออัยการต้องชี้แจงเหตุจำเป็นหรืออาจมีการสืบพยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้ ศาลจักเป็นผู้พิจารณาโดยพิเคราะห์จากคำร้องและหลักฐานของเจ้าพนักงาน ประกอบกับต้องคำนึงถึงการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาด้วยเช่นกัน


    เมื่อศาลเห็นชอบในการคุมขังผู้ถูกกล่าวหาต่อไป กฎหมายได้กำหนดขอบเขตของเวลาไว้อีกเช่นกัน หากพ้นกำหนดเวลาไปแล้ว บุคคลนั้นจักได้รับการปล่อยเป็นอิสระ โดยใช้อัตราโทษคดีที่ถูกกล่าวหาเป็นเกณฑ์กำหนดระยะเวลาคุมขัง ดังนี้


    ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียว มีกำหนดไม่เกิน 7 วัน


    ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่ถึง 10 ปี หรือปรับเกินกว่า 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆกันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 48 วัน


    ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆกันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 84 วัน


    อัตราเวลาข้างต้นเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ แต่เพื่อคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา กฎหมายได้กำหนดด้วยว่า เมื่อศาลสั่งขังครบ 48 วันแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรืออัยการต้องการคุมขังต่อไปโดยอ้างเหตุจำเป็นใดๆ ศาลจะสั่งขังต่อไปได้ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรืออัยการได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานหลักฐานมาให้ศาลไต่สวนจนเป็นที่พอใจแก่ศาล อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาแต่งตั้งทนายความเพื่อแถลงข้อคัดค้านและซักถามพยานก็ได้


    สิ่งสุดท้ายอันพึงระลึกไว้เกี่ยวกับสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา คือ รัฐธรรมนูญกำหนดสิทธิอันชอบธรรมไว้ว่า “ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้” ดังนั้น หากมีการถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น ท่านสามารถใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญข้อนี้ได้เพื่อความเป็นธรรมและความรอบคอบในการตอบคำถามแก่พนักงานสอบสวน อีกทั้งเป็นการป้องกันการทำร้ายเพื่อบีบคั้นผู้ถูกกล่าวหาตามคำเล่าลือของชาวบ้านที่มีมานานในอดีตด้วย ขอเพียงทุกฝ่ายปฏิบัติตามหลักกฎหมาย ย่อมได้รับความยุติธรรมกันถ้วนหน้า




    ขอบคุณ ลีลา law จาก magnadream.spaces.live.com
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ทำงานที่อำเภอพรเจริญ จ.หนองคาย
    กระทู้
    107
    ขอสรุปการควบคุมผู้ต้องหา แบบฉบับคนบ้านเฮานะครับ
    ถ้าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้น กระทำผิดแล้วโทษ นั้นกฎหมายกำหนดให้จำคุก ไม่เกิน ๓ ปี
    หาก ท่านรับสารภาพว่าได้ทำผิดจริง ตำรวจจะนำท่านไปส่งอัยการ เพื่อฟ้องภายใน ๔๘ ชั่วโมง
    นับแต่เวลาที่ท่านถูกส่งมาถึงร้อยเวรหรือพนักงานสอบสวน แล้วถ้าปฏิเสธ ละ ตำรวจอาจจะให้
    ท่านประกันตัวไป เพื่อรอให้ร้อยเวรทำสำนวนให้เสร็จ ซึ่งร้อยเวรก้อจะรอผลประวัติของท่านนั้นแหละ
    หากท่ายเคย ก้อจะบวกโทษท่านเข้าไปอีก(รายละเอียดมีมาก) ในช่วงนี้ร้อยเวรมีเวลาผัดฟ้อง(กรณีท่านประกันตัว)๕ ฝาก ๆ ละ ๖ วัน ยกเว้นผัดฟ้องฝากสุดท้ายก่อนครบกำหนด ๓ วัน เป็นข้อตกลง
    ระหว่างอัยการ กับ ตำรวจ แล้วท่านไม่ประกันตัว ร้อยเวรส่งท่านเข้าคุก ขอคำนวณดูประมาณ ๓๐ วัน
    ที่ข้าเรียกว่าผัดฟ้องฝากขัง(เป็น กฎหมาย วิ แขวง ) แล้วความผิดที่ท่านมีโทษไม่เกิน ๑๐ ปี ละ ร้อยเวรหรือ ตำรวจ หรือพนักงานอัยการ ฝากขังท่านได้ครั้งละไม่เกิน ๑๒ วันแล้วแต่ศาลจะให้ครั้งละเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะให้ตามขอ คือ ๑๒ วัน รวมแล้วไม่เกิน ๔๘ วัน แล้วหากความผิดที่ทำเกิน ๑๐ ปีขึ้นไป ละ
    เจ้าหน้าที่( ตำรวจ,ร้อยเวร,พนักงานอัยการ) จะฝากขังท่าน ครั้งละไม่เกิน ๑๒ วัน รวมแล้วไม่เกิน ๘๔ วัน ก้อเกือบ ๓ เดือน ส่วนศาลจะติดสินเร็วหรือช้า อยู่ที่กระบวนการพิจารณา และในศาลนั้นมีคดีมากหรือน้อย ด้วย แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าที่เราทำผิดนั้นมีโทษเท่าไหร่ ง่ายๆๆ ก้อถามร้อยเวรหรือพนักงานสอบสวน ที่ทำสำนวนนั่นแหละ หรือซื้อประมวลกฎหมายอาญา ฉบับล่าสุด คือ หากปีนี้ ๒๕๕๓ ท่านก้อซื้อปีที่เขาพิมพ์ขายว่า ฉบับล่าสุด ๒๕๕๓
    ตอบแบบสั้น
    โทษ จำคุกไม่เกิน ๓ ปี นับแต่ท่านมาถึง ณ ห้องร้อยเวร ไปถึงอัยการฟ้อง(อัยการยื่นฟ้องต่อศาล) ไม่เกิน ๔๘ ชั่วโมง (ยกเว้นบางพื้นที่ที่อยู่ห่างใกล กฎหมายศาลแขวงไปไม่ถึง)
    โทษ ไม่เกิน ๑๐ ปี ฝากขังได้ ๔๘ วัน(ครั้งละไม่เกิน ๑๒ วัน)
    โทษ เกิน ๑๐ ปีขึ้นไป ฝากขังได้ ๘๔ วัน
    ส่วนท่านจะอยู่โรงพักได้นานแค่ไหน นั้น หากท่านเป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์ เขาจะส่ง
    ท่านไปสถานพินิจ ภายใน ๒๔ ชั่วโมง หรือคดียาเสพติดฟื้นฟู ไม่ส่งสถานพินิจฯ แต่ส่งสถานบำบัดฯ
    ควบคุมประพฤติฯลฯ หากท่านอายุเกิน ๑๘ ปี ก้อจะอยู่ โรงพัก ๔๘ ชั่วโมง
    กฎหมายที่เกี่ยวข้องก้อจะมี
    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๗
    พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา ๗
    และอื่นๆๆๆ

  3. #3
    Moderators สัญลักษณ์ของ บ่าวตั้ม
    วันที่สมัคร
    Jan 2009
    ที่อยู่
    ไปทั่วทีป
    กระทู้
    411
    บล็อก
    2

    เล่นเกมส์ Flash Game Online

    ครับขอบคุณครับที่ให้ความรู้
    บ่บอกบ่รู้จริงๆเด้ครับ

  4. #4
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    79
    เพิ่มเติม ครับ
    เมื่อท่านถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจ ซึ่งควบคุมได้สูงสุดไม่เกิน 3 วัน แล้ว ท่านจะถูกส่งตัวไปคุมขังต่อยังเรือนจำ
    1.กระทำความผิดพื้นกรุงเทพ(ฝั่งพระนคร ยกเว้นฝั่งธนบุรี และ มีนบุรี)
    1.1คดียาเสพติดคุมขังที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง 02-5895246 (ควบคุมผู้ชายคดียาเสพติด ล้วนๆ)
    1.2คดีทั่วไป (ทุกประเภทคดี ยกเว้นคดียาเสพติด) คุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 02-5917060
    1.3ถ้าเป็นผู้หญิง คุมขังที่ทัณฑสถานหญิงกลาง (รวมทุกประเภทคดี ยาเสพติด+ทั่วไป) 02-5895242-3
    2.กระทำความผิดพื้นที่กรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี
    2.1 ผู้ชายทุกประเภทคดี คุมขังที่เรือนจำพิเศษธนบุรี 02-4163471
    2.2 ผู้หญิงทุกประเภทคดี คุมขังที่ทัณฑสถานหญิงธนบุรี 02-4530319
    3.กระทำความผิดพื้นที่กรุงเทพฯ มีนบุรี ลาดกระบัง
    3.1 ชาย+หญิง คุมขังที่เรือนจำพิเศษมีนบุรี ทุกประเภทคดี 02-5407315-6
    4. กระทำความผิดพื้นที่ต่างจังหวัด คุมขังที่เรือนจำจังหวัด หรือ เรือนอำเภอ หรือเรือนจำพิเศษ ตามท้องที่ศาล

    **เมื่อท่านถูกคุมขัง ในเรือนจำคำนำหน้านามของท่านจะถูกเปลี่ยนเป็น ข.ช.(ผู้ต้องขังชาย) /
    ข.ญ. (ผู้ต้องขังหญิง) ทันที
    *** โปรดติดตามตอนต่อไป เมื่อไหร่ท่าน จะได้รับคำนำหน้านามว่า น.ช. ***

  5. #5
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ หนุ่มเมืองกาญจน์
    วันที่สมัคร
    Dec 2007
    กระทู้
    565
    ที่ท่านผู้รู้เพิ่นเว่ามานั้น เป็นไปตาม ป. วิ.อาญา ครับ
    แต่ถ้าท่านถูกราษฎรจับได้ ตาม ป.วิ.ภรรยาแล้ว
    1. เมื่อท่านถูกภรรยาจับได้ ท่านอย่ารับสารภาพโดยเด็ดขาด เพราะคำรับสารภาพของท่านจะไม่เป็นผลดีแก่ท่านแม้แต่นิดเดียว ไม่มีผลต่อการลดโทษใดๆทั้งสิ้น แต่จะส่งผลให้ถูกนำมากล่าวอ้างในระยะยาว
    2.ท่านจะถูกจับตามองตลอด 24 ชั่วโมง แม้ไม่ใช่ถูกจำคุก แต่ก็เหมือนถูกจำคุก ต่อให้ท่านกระทำดีในระหว่างควบคุม ก็ไม่มีการลดโทษ
    3.ท่านจะถูกค้น โดยไม่มีหมายค้น และทรัพย์ที่ถูกค้นเจอจะถูกริบโดยไม่มีการไตร่สวน
    4.ท่านอาจจะต้องถูกยกเป็นตัวอย่างเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์แก่เพื่อนของภรรยา โดยที่ท่านได้แต่ฟังตาปริบ และตามข้อ 1.
    5 คดีนี้ไม่มีอายุความ
    /
    /
    / โอ้ย เว่ามามันหล่ะคือเจ้าของ

  6. #6
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์
    วันที่สมัคร
    Jun 2009
    ที่อยู่
    ทำงานที่อำเภอพรเจริญ จ.หนองคาย
    กระทู้
    107
    แม้นนั่นแล้ว หนุ่มเมืองกาญจน์ เจ่าเฮ็ดให้เมียจับได่ นำวิชาเอาตัวรอดสมัยเป็นนักเรียนพลมาใช่แน่แม้

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •