กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: เห็นของดีมีประโยชน์เลยนำมาฝากพี่น้อง

  1. #1
    ศิลปิน นักแต่งเพลง สัญลักษณ์ของ ธีระปลัด
    วันที่สมัคร
    Oct 2009
    กระทู้
    529
    บล็อก
    8

    ฟังเพลงออนไลน์ เห็นของดีมีประโยชน์เลยนำมาฝากพี่น้อง

    วิธีง่ายๆปรับใช้กับการแต่งเพลง


    เริ่มต้นที่...

    1. ศึกษาโน้ตเพลง ไม่จำเป็นต้อง Perfect Pitch ขอแค่ให้รู้ว่าระดับเสียงใหนสูงต่ำกว่ากันเป็นพอ

    2. รู้จักเสียงสูง-ต่ำ สิ่งที่ยากที่สุดในการแต่งเพลงภาษาไทย คือ...วรรณยุกต์
    ผมไม่รู้ว่าเพื่อนๆ มีความรู้ความเข้าใจกับวรรณยุกต์มากน้อยแค่ใหน เพราะผมเห็นบางคนพึ่งรู้ว่าอักษรต่ำใส่ไม้ตรีไม่ได้ก็มี หรือที่เห็นบ่อยๆ จนรำคาญตาคือ "นะค่ะ" ผมไม่รู้ว่าพี่จะกดเสียง "ค่ะ" ให้ต่ำกว่า "นะ" ทำไม อะไรค้ำคอเหรอครับ? หรือตั้งใจจะสื่อถึง "นะคะ" (เสียงสูงทั้งคู่) แต่ดันไปใส่ไม่เอกตรงคอควาย...ก็พูดกันบ่อยเลยนะครับแต่ก็ยังมีมาให้เห็นกันอย่างไม่เลิก ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน

    ผมจะอธิบายก่อนว่า เสียงแต่ละเสียงจัดอยู่กลุ่มใหนบ้าง

    1. กลุ่มเสียงกลาง ธรรมดา เช่น มา ไป เธอ เรา เดิน ยืน กิน ฯลฯ กลุ่มนี้เรียกว่า "กลุ่มเสียงสามัญ" เพราะเป็นกลุ่มที่ไม่ใส่ไม้อะไรเลย สามารถลงแทนได้ทุกระดับเสียง

    2. กลุ่มเสียงต่ำ เช่น ข่า หนัก เกิด เปิด ปิด จ่า จ่อ ขี่ หมู่ ฯลฯ กลุ่มนี้เรียกว่า "เสียงเอก" เพราะส่วนใหญ่จะเป็นไม้เอก แต่บางส่วนเป็นเสียงปิดที่ไม่ค่อยเหมาะกับการแต่งเพลงเท่าไร การใช้เสียงในหมวดนี้ต้องระวังให้มาก

    3. กลุ่มเสียงสูง เช่น ชั้น นี้ นั้น ท้องฟ้า ล้า ป๊า ม้า ก๊ง ฯลฯ กลุ่มนี้เรียก "เสียงตรี" แม้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้โท (เพราะอักษรต่ำเมื่อใส่ไม้โทจะผันเสียงเป็นเสียงตรี) แต่ถ้าให้แนะนำก็ควรจะใช้คำที่เป็นเสียงตรีแต่มีไม้โทมาแต่งเพลง เพราะเป็นคำไทยแท้ ฟังแล้วไม่ขัดเขินรูหู (ยกเว้นเพลงคุณจะแนว อันนี้ก็ไม่ว่ากัน) ส่วนคำที่ใส่ไม้ตรีเช่น จ๊าก ก๊ก เจี๊ยบ ป๊า เจ๊งบ๊ง ส่วนใหญ่เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ (โดยเฉพาะจีน) และเป็นคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ จะไม่ค่อยเหมาะกับเพลงโดยทั่วไปนัก

    4. กลุ่มเสียงสไลด์ขึ้นสูง เช่น ฉัน ผัน ฝัน สูง ขอ หรือ ก๋ง ไก๋ ป๋า โต๋เต๋ ฯลฯ กลุ่มนี้เรียก "เสียงจัตวา" แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่ไม่มีวรรณยุกต์อะไร (เพราะอักษรสูงจะออกเสียงแบบนี้โดยไม่ต้องใส่ไม้อะไร) ซึ่งถ้าให้แนะนำก็อยากให้ใช้คำที่ไม่มีไม้มากกว่าคำที่มีไม้จัตวา เพราะเป็นคำไทย (ส่วนคำที่มีไม้จัตวามักจะเป็นคำที่มาจากต่างประเทศหรือเลียนเสียงธรรมชาติ) คำกลุ่มนี้เป็นคำที่ใช้บ่อยๆ พอๆ กับกลุ่มสามัญ เพราะเป็นคำที่แทนในตำแหน่งเสียงสูง (3.) ได้ดี

    5. กลุ่มอักษรสไลด์ลงต่ำ เช่น ข้า บ้า โง่ ชี่ ม่อง ได้ ก้าว พี่ ฯลฯ กลุ่มนี้เรียก "เสียงโท" เป็นกลุ่มที่ใช้ยากที่สุดในสารบบเพลงไทย เพราะด้วยเสียงที่ประหลาดของมัน ทำให้ไม่ค่อยจะมีที่ลง ถึงลงไปแล้วก็ไม่สามารถเล่นโน้ตแทนเสียงของมันได้ (จริงๆ ก็ได้ แต่ไม่ใช่เสียงโท 100% เป็นแค่เสียงโน้ตแทนกึ่มๆ เท่านั้นเอง) แต่บางคำสามารถใช้แทนในส่วนของคำสามัญได้เช่น "หากว่ารักนี้" จะออกเสียงเป็น "หาก วา ร๊าก นี๊~~" (เพลงของหมีพูห์ หวังว่าคงจะนึกกันออกนะครับ)

    เมื่อแยกกลุ่มของเสียงได้แล้ว ก็อยู่ที่วิจารณญาณของคุณว่าจะใช้เสียงใหนใส่ลงในโน้ต แนะนำว่ากลุ่มโน้ตที่ไล่เสียงขึ้นก็ควรจะไล่จากต่ำไปกลาง หรือกลางไปสูง หรือต่ำไปสูง หรือใช้โน้ตที่สไลด์ได้ให้เป็นประโยชน์ จะเพราะว่าการที่พยายามสร้างเพลงให้มีความหมาย แต่ลืมคำนึงถึงเสียงที่จะออกมา มันจะฟังดูแปร่งๆ แปลกๆ

    ตัวอย่างเช่น โน้ต "มี้เรโด่"

    โน้ตนี้สามารถใส่คำที่เหมาะสมได้สารพัด ตั้งแต่ ฉันรักเธอ (ชั้น-รัก-เถ่อ) เพราะมีเธอ (เพราะ-มี-เถ่อ) ฉันไม่จ่าย (ชั้น-ไม-จ่าย) ชู้เกย์ส่อ (ชู้-เก-ส่อ) ทืบมันเลย (ทื๊บ-มัน-เหล่ย) ฯลฯ เพื่อนๆ ลองคิดดูเล่นๆ ได้นะครับว่าจะเอาอะไรใส่ลงไป

    แต่ถ้าโน้ตเดียวกันอย่าง "มี้เรโด่" เราจะใส่คำว่า "จากวันนั้น" ไป มันจะกลายเป็น "จ๊าก-วัน-หนั่น" ซึ่งฟังแล้วดูขัดๆ ดูเหมือนไม่ใช่ภาษาไทย จากข้อนี้ก็น่าจะรู้ว่า ไม่ใช่ทุกคำที่จะใส่ลงในตัวโน้ตได้ อย่าง "จากวันนั้น" จะเหมาะมากถ้ายอู่ในโน้ตที่เป็น "โด่เรมี้"

    แต่ถ้าสลับเป็น "โด่มี้เร" จะเป็นจากวันนั้น หรือฉันรักเธอ ก็ใส่ลงไปไม่ได้ มันจะกลายเป็น "จาก-วั้น-นัน" หรือ "ฉั่น-รัก-เธอ" แต่ถ้าเป็นคำว่า จากนี้ไป จะลงได้พอดีเลยครับ

    สรุปความที่อธิบายไปยาวเหยียดจากข้างบนคือ เสียงกลางสามารถใส่ได้ทุกระดับเสียง เสียงสูงจะใส่เมื่อมีระดับเสียงที่สูงกว่าถัดออกไป เสียงต่ำจะใส่เมื่อมีระดับเสียงที่ต่ำกว่าถัดออกไป เสียงสไลด์สูงแทนเสียงสูงได้ 100% และเสียงสไลด์ต่ำแทนทุกเสียงได้บางคำ

    3. รู้จักเสียงสั้น-ยาว ปิด-เปิด ข้อนี้จะรวบรัดเข้าเป็นข้อเดียวกัน เพราะเป็นการออกเสียงที่เกี่ยวเนื่องกัน

    อันว่าเพลงนั้นย่อมมีจังหวะโน้ตที่สั้น-ยาวแตกต่างกันออกไป เพราะถ้าหากมีเพลงนึงที่ใช้โน้ตที่ระดับยาวเท่ากันมาแต่งเพลงคงฟังแล้วขัดๆ หูมึนๆ ยังไงไม่รู้ ในภาษาไทยก็เหมือนกัน ภาษาไทยจะเสียเปรียบภาษาญี่ปุ่นตรงที่ภาษาไทยมีเสียงสั้น-ยาว ปิด-เปิด ในขณะที่ภาษาญี่ปุ่น ทุกเสียงเท่ากันหมด และไม่มีเสียงปิด (เสียงญี่ปุ่นที่ยาวกว่าก็เพราะใส่ตัวที่มีสระเดียวกับตัวหน้าลงไปเช่น โท มาจาก โทะ+โอะ) ฉะนั้นแล้วเพลงไทยจึงมีข้อจำกัดในการแต่งเยอะกว่าเพลงญี่ปุ่นมากๆ (รวมถึงเพลงเกาหลี จีน และเพลงทางฝั่งตะวันตก) ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกใช้คำให้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้สรรหาคำใหม่ๆ มาลองใช้ได้โดยที่ฟังแล้วไม่ขัดหู

    การใช้เสียงสั้นยาวนั้น สามารถกะเอาได้ด้วยจังหวะเพลง ทำนองที่มีจังหวะสั้นติดๆ กัน สามารถใช้คำที่มีเสียงสั้นแทรกไว้ในระหว่างกลางท่วงทำนองได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้คำที่มีเสียงสั้นอยู่ท้ายทำนอง ซึ่งมักจะเป็นโน้ตที่ส่งยาว

    ในข้อนี้ เราจะแบ่งคำออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้ (เรียงตามความยาวในการออกเสียง)

    1. กลุ่มสั้นสุดๆ เช่น จะ ณ หรือ หระ ของ อิสระ กลุ่มนี้ใช้ได้ฟรี สามารถขึ้นต้นได้ แต่ลงท้ายไม่ค่อยสวย

    2. กลุ่มเสียงสั้นปิด เช่น หยุด ปิด ชิด รัก กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องใช้กับโน้ตที่ออกเสียงชัดเจน แต่ไม่แนะนำให้ลงท้าย (ยกเว้นรัก เพราะหลายๆ คนก็ออกเสียงเป็น ร๊า~~~~ก)

    3. กลุ่มเสียงสั้นขึ้นจมูก เช่น ยัง คง ฝัง ลง ฉัน มัน ทำ ล้ม กลุ่มนี้ใช้ได้เป็นบางคำในหลายๆ จุด แต่เนื่องจากเป็นเสียงสั้นจึงไม่สามารถลงที่โน้ตยาวได้

    4. กลุ่มเสียงยาวปิด เช่น อยาก พราก โจ๊ก ฟาด สาป ฯลฯ กลุ่มนี้ใช้พวกเสียงเน้นๆ ต้นๆ ได้ เช่น "อยากขอ~ ให้รักเรานั้น~ บลาๆๆ"

    5. กลุ่มเสียงยาวขึ้นจมูก เช่น ทาง การ เดิน ผลาญ งาม โครมคราม ฯลฯ กลุ่มนี้สามารถใช้ได้โดยทั่วไป ตามความเหมาะสม

    6. กลุ่มเสียงสระผสม เช่น ไท เรา เขา เมา ไป ไร หรือ ใย ของ ห่วงใย กลุ่มนี้จะใช้ได้เหมือนเพลงญี่ปุ่น จะแยกเป็นคำๆ เช่น ยา+อิ หรือจะออกเสียงรวบเป็น ใย ก็ได้ (แต่อย่ายาวเกินไป ไม่งั้นจะกลายเป็น ยาย)

    7. กลุ่มเสียงยาวทั่วไป เช่น มา ฟ้า สู่ มี หนี หรือ มือถือ ฮา ฯลฯ กลุ่มนี้ใช้กับพวกโน้ตติดๆ ไม่ค่อยจะดี แต่โดยมากสามารถใช้ได้อย่างอิสระ แต่เป็นคำที่ค่อนข้างมีน้อยในภาษาไทย

    แต่จะเห็นว่าบางเพลงก็ไม่ใช่ตรงตามที่วางไว้แต่ก็ออกมาเพราะเช่นกัน ทั้งนี้อยู่ที่การจัดสรรทำนองกับคำ แต่วิธีนี้ให้ไว้ในกรณีที่ไม่ได้เป็นผู้แต่งทำนองเอง โดยเฉพาะทำนองแบบญี่ปุ่นซึ่งเื้อื้อกับการออกเสียงแบบญี่ปุ่นที่ไม่ค่อยจะต้องพะวงเรื่องอะไรแบบนี้เลย ไม่มีวรรณยุกต์ ไม่มีการออกเสียงแบบปิดเปิด (ในเชิงภาษาเพลง ถ้าเป็นภาษาพูดก็จะอีกกรณีนึง)

    ส่วนผู้ใดอยากฝึกแต่งเพลง หรือฝึกใช้่คำให้คล่องๆ ผมมีวิธี คือ...

    แต่งร้อยกรองครับ

    อันว่าร้อยกรองนั้นมีฉันทลักษณ์อยู่ 4 ประเภทใหญ่ๆ คือโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

    ถ้าแรกเริ่ม ผมแนะนำให้แต่งกลอนครับ เพราะสัมผัสกลอนนั้นง่าย จังหวะมีเป็นล็อกๆ สามารถแต่งเพื่อขัดเกลาฝีมือ ให้สามารถนำคำที่สละสลวยมาใช้ได้

    ถ้าฝีมือเข้าขั้นแล้ว ให้ลองแต่งกาพย์ครับ เพราะกาพย์จะเริ่มมีฉันทลักษณ์ที่ต่างกันออกไป คำในแต่ละท่อนจะเริ่มไม่เท่ากัน เป็นการฝึกการหาคำมาลงในจังหวะที่เปลี่ยนไปได้

    ขั้นต่อไปแนะนำโคลงครับ โคลงนั้นโดยจังหวะนั้นเนิบนาบ แต่งแล้วไม่ค่อยมันส์เหมือนกาพย์หรือฉันท์ แต่โคลงหลายๆ โคลง (เช่นโคลงสี่สุภาพ หรือโคลงสองสุภาพ) จะมีการบังคับวรรณยุกต์ เอก โท ทำให้เราสามารถฝึกการนำคำที่มีวรรณยุกต์ที่ตรงกับคำที่บังคับไว้มาใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว (เพราะเพลงนั้นไม่มีบังคับวรรณยุกต์โดยฉันทลักษณ์ แต่บังคับวรรณยุกต์ด้วยเสียงสูงต่ำของตัวโน้ต ดังนั้นคุณควรใช้เซนส์เอาว่าคำใหนควรใช้วรรณยุกต์อะไร)

    ถ้าคิดว่าคล่องแล้วทั้งกลอน กาพย์ และโคลง ก็ลองแต่งฉันท์ดูสิครับ ฉันท์นี่ผมลองแต่งดูแล้ว ยากเวอร์ๆ เพราะมันบังคับเสียงสั้น-ยาว และคำที่มีเสียงสั้นมากๆ ตามข้อ 1 (ในทางฉันทลักษณ์เรียกว่า ลหุ) ในภาษาไทยมันก็ไม่ค่อยมีซะด้วย และจะเพลงญี่ปุ่นก็ดี หรือเพลงแร็ปก็ดี คำที่เสียงสั้นนั้นจำเป็นมากๆ ที่ต้องใช้มันด้วยน่ะสิครับ (ตรงนี้ภาษาอังกฤษจะได้เปรียบ เพราะมีคำที่เสียงสั้นมากประกอบเยอะ เช่น a the star twilight twin sparking skin etc.)

    ส่วนฉันทลักษณ์นั้นหาไม่ยาก สามารถเสิร์ชได้ใน google หรือใครที่ติดตามบล็อกของ terasphere ก็น่าจะซึมซับได้ไม่ยาก (เดี๋ยวคงรอเจ้าตัวอัพดีกว่า เผื่ออยากจะเผยแพร่วิธีแต่งร้อยกรอง)

    อัพไปยาวเหยียด มีแต่ text ล้วนๆ เพราะขี้เกียจหาภาพประกอบกับขี้เกียจทำเสียงประกอบ เอาเป็นว่าถ้างงก็เดี๋ยวค่อยแก้ตัวเอนทรีหน้าละกันเนอะ

    ที่อัพไปก็เป็นเพียงแนวทางเท่านั้นนะครับ บางอย่างก็สามารถใช้แตกหน่อหรือนอกลู่นอกทางจากที่ผมอัพไว้ก็สามารถทำได้เช่นกัน ขอให้สนุกกับการ


    ขอบคุณ http://prince-ame.exteen.com/20090521/entry
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ธีระปลัด; 22-09-2010 at 16:18.

  2. #2
    ฝ่ายเทคนิค และถ่ายทอดสด สัญลักษณ์ของ อาวอ้วนเมืองยศ
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    ที่อยู่
    เมืองบั้งไฟ
    กระทู้
    1,513
    ฮ่วยคือยากแท้ แต่ภาษาไทยคักๆ กะยังตกแล้วอาจารย์ คือสิแต่งบ่ได้นำเพิ่นดอก
    ถ่าฟังเอาดีกั่วครับ อิอิ ขอบคุณหลายๆครับ สำหรับคามรู้ที่มาแบ่งปัน

  3. #3
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ บ่าวธนา
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    กระทู้
    323
    ขอบคุณครับท่านอาจารย์ คันบ่ศึกษากะบ่แมนสิแต่งง่ายๆเนาะเพลงกะด่าย ผมสิลองเอาไปฝึกหัดเบิงเด้อครับ ท่านอาจารย์ (แหะๆ คนแรกเลย)

    Bump: อาวอ้วน เจ้าคือแลนตัดหน้าข่อยเซี่ยว วินาทีคักแนแท้ งึดคักอีหลี กดส่งบ่ทันไปนิดเดียว 5555

  4. #4
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1
    จอบอยู่เด้อครับอาจารย์ยามได๋อาจารย์พักผมก่ะสิลักจำเอา
    ขอบคุณขอบคุณ...อาวอ้วนกับบ่าวธนาผมหาหม่องขอบคุณบ่พ้อเลย
    มาถึงทีหลัง:1-:1-:1-

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •