กำลังแสดงผล 1 ถึง 4 จากทั้งหมด 4

หัวข้อ: ตำนานทุ่งกุลา ตอนจบ

  1. #1
    ดีเจ นักจัดรายการ สัญลักษณ์ของ นู๋น้อย
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    ที่อยู่
    เมืองชลบุรี(เช่านอน) สีเกด(หม่องเกิด
    กระทู้
    1,261
    บล็อก
    31

    บ้านมหาโพสต์ ตำนานทุ่งกุลา ตอนจบ

    หลังจากได้ นำเสนอตอนที่1+2 ไปแล้ว บาดนี้มาติดตามตอนจบค่ะ :l-


    จะ กล่าวถึงท้าวฮาดคำโปงและท้าวอุทรเมื่อได้นางแสนสีและนางคำแพงเป็นเมียแล้ว นั้น ท้าวทั้งสองได้เกิดขัดใจกันและได้ชิงดีชิงเด่นกัน เพราะเกิดรักนางแสนสีร่วมกัน เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงเกิดการรบพุ่งกันขึ้น ท้าวฮาดคำโปงเป็นฝ่ายปราชัยโดยถูกท้าวอุทรฟันคอขาดและสิ้นชีพไปอย่างอนาถจึง กลายเป็นผีหัวแสง หรือ ผีทุ่งศรีภูมิ เฝ้าทุ่งกุลาร้องไห้ ใครไปคนเดียวในเวลาค่ำคืนจะเห็นแสงไฟออกจากหัวพุ่งขึ้นเหมือนแสงตะเกียงเจ้า พายุออกสกัดลัดต้อนผู้คน จนไม่มีใครกล้าออกบ้านในเวลาค่ำคืนคนเดียวเมื่อเจ้าเมืองจำปานาคบุรีทราบราย ละเอียดดังกล่าว จึงทำให้เกิดความสงสารและให้อภัยโทษ และจัดเสนาข้าราชการไปติดตามเอานางทั้งสอง พร้อมท้าวอุทรกลับเข้ามายังเมืองจำปานาคบุรี พร้อมทั้งประทานไพร่พลให้ท้าอุทรไปสร้าง ดงท้าวสาร ขึ้นเป็นเมืองเท้าสาร ปัจจุบันคือที่ตั้ง อำเภอสุวรรณภูมิ พร้อมทั้งยกนางแสนสีให้เป็นมเหสีท้าวด้วย เมื่อ ทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล ไดกลายสภาพมาเป็นท้องทุ่งอันกว้างใหญ่ ทำให้มองเห็นดินจดขอบฟ้ามาแล้วเป็นเวลานานเท่าไร ไม่มีใครสามารถจะบอกได้ แต่คนเฒ่าคนแก่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ได้มีการไปมาค้าขายติดต่อกับพ่อค้าต่างบ้านต่างเมือง ทั้งที่ใกล้เคียงและห่างไกลกัน มีพ่อค้าหาบสินค้าเที่ยวขายไปตามหมู่บ้านแถบทุ่งกว้าวนี้เป็นประจำโดยเฉพาะ ในฤดูแล้งบรรดาพ่อค้าที่มาค้าขายในเขตทุ่งกุลาร้องไห้นี้ ได้มีพ่อค้าพม่าเผ่าหนึ่งมีชื่อว่า เผ่ากุลา ได้นำสินค้ามาเร่ขาย และมากันเป็นหมู่ หมู่ละ 20 30 คน สินค้าที่นำมาขายได้แก่ สีย้อมผ้า เข็ม เสื้อผ้า ยาสมุนไพร เครื่องถม ซึ่งสารด้วยไม้ไผ่ทารักลงสี ลวดลายสวยงามเป็นกล่องคล้ายกระติบข้าวเหนียว ชาวบ้านนิยมซื้อไว้ใส่บุหรี่แลหมากพลู เวลาเดินทางไปไหนมาไหนพวกพ่อค้าจะนำสินค้าใส่ถึงใบใหญ่ ที่เรียกว่า ถึงกระเทียว มาขายจะหาบเร่ร่อนรอนแรมไปเรื่อย ๆ เป็นแรมเดือนแรมปี ขายหมดที่ใดจะซื้อสินค้าหาบขายไปเรื่อย ๆ

    ครั้ง หนึ่ง ได้มีกุลาพวกหนึ่งเที่ยวเร่ขายสินค้าจาก อุบลราชธานี ศรีสะเกษ เรื่อยมาจนถึงสุรินทร์พอมาถึงอำเภอท่าตูม พวกกุลาได้ซื้อครั่งเป็นจำนวนมาก เพื่อนำไปขายต่อพอหาบครั่งข้ามแม่น้ำมูล มาได้สักหน่อยหนึ่งก็ถึงท้องทุ่งอันกว้าวใหญ่ หมายใจว่าจะเดินตัดทุ่งไปสู่ เมืองป่าหลาน ( อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ) มหาสารคาม ขอนแก่น อุดรธานี ขึ้นเหนือไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็ยเส้นทางที่พ่อค้าพวกนี้ยังไม่เคยเดินผ่านทุ่งแห่งนี้มาก่อนทำให้ไม่ ทราบระยะทางที่แท้จริง เพราะมองเห็นเมืองป่าหลาน อยู่หลัด ๆ หาทราบไม่ว่า ใกล้ตาแต่ไกลตีน ( สำนวน ภาษาอีสาน แปลว่า มองเห็นเป็นใกล้แต่ต้องเดินไกล ) ขณะเดินทางข้ามทุ่ง รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ามากและในช่วงนั้นเป็นฤดูแล้งด้วย น้ำจะดื่มก็ไม่มี ต้นไม้จะอาศัยร่มเงาแม้แต่เพียงต้นเดียวก็ไม่มี ทั้งแดดก็ร้อนจัด ต่างพากันอิดโรยไปตาม ๆ กันครั่งที่หาบมาจะทิ้งก็เสียดาย จึงพากันโอดครวญและคิดว่าคงจะเอาชีวิตมาตายในทุ่งแห่งนี้เป็นแน่แท้ จึงพากันร้องไห้ไปตาม ๆ กัน

    ดังตำนานคำกลอนภาษาอีสานกล่าวว่า

    "ตกกลางท่งแล้วล้าเดินฝ่าเทิงหัว
    เห็นแต่ท่งเป็นทิวมือกุมควันกุ้ม
    เหลียวไปไสฟ้าหุ้งงุมลงคือสักสุ่ม
    มือกลางเวนจุ้มกุ้มคงไม้กะบ่มี
    คักละนอบาดนี่หลงท่งคนเดียว
    ถิ่มฮอดถงกะเทียวย่ามของสินค้า
    เหลียวทางหลังทางหน้ากุลายั้งบ่อยู่
    ลมออกหูจ้าวจ้าวไคค้าวย่าวไหล
    จนปัญญาแล้วไห้เทิงจ่มระงมหา
    คึดฮอดภรรยาลูกเมียอยู่ทางบ้าน
    ลมอัสสวาสกั้นเนื้อสะเม็นเย็นหนาว
    อ้าปากหาวโหยแฮงแข้งลาขาล้า
    เพื่อไปนำกองหญ้าเวลาค่ายค่ำ
    ยากนำปากและท้องเวรข่อยจ่องเถิง
    ป่าหญ้าแฝกอึ้งตึงกุลาฮ่ำโมโห
    ตายย้อนความโลโภล่องเดินเทียวค้า
    ใจคะนึงไปหาโศกาไห้ฮ่ำ
    คึดผู้เดียวอ้ำล้ำทางบ้านบ่เห็น
    ในหนังสือกล่าวไว้บอกว่ากุลา
    หรือแม่นไปทางได้แต่นานมาไว้
    ท่งกุลาฮ้องไห้ที่หลังท้ายหมู่
    อยู่โดนมาแต่พ้นพันร้อยกว่าปี"


    พวก กุลาต่างพากันร้องไห้ แล้วได้พากันพักพอหายเหนื่อยจึงเดินทางต่อไป แต่ครั่งที่หาบมามันหนักมาก พวกกุลาจึงพากันเทครั่งน้อยทิ้งหมด ( ครั่งน้อย คือ ครั่งที่แยกตัวครั่งออกแล้วราคาไม่คอยดี ) ต่อมากลายเป็นหมู่บ้านชื่อ บ้านดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

    เมื่อ พวกกุลาเดินต่อไปอีก รู้สึกอิดโรยมาก ครั้นไปถึงกลางทุ่งจึงตัดสินใจเทครั่งใหญ่ทั้ง หมดทิ้ง ( ครั่งใหญ่ คือ ครั่งที่ยังไม่แยกตัวครั่งออกจากครั่งเพราะเวลาย่อมไหมจะมีสีแดงสดและได้ ราคาดี ) คงเหลือไว้แต่อาหาร เท่านั้น บริเวณที่พวกกุลาเทครั่งทั้งหมดนี้ ต่อมาได้กลายเป็นหมู่บ้านชื่อ บ้านดงครั่งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

    เมื่อ พวกกุลาเดินทางมาพ้นทุ่งแล้ว เข้าสู่หมู่บ้านมีคนมามุงดูเพื่อจะซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก แต่พวกกุลาไม่มีสินค้าที่จะขายให้แก่ชาวบ้าน พวกกุลาพากันเสียใจและเสียดายสินค้าที่ตนได้เททิ้งที่กลางทุ่ง พวกกุลาจึงพากันร้องไห้อีกเป็นครั้งที่สอง ทำให้เกิดเป็นชื่อเรียกท้องทุ่งอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ มาตราบเท่าทุกวันนี้

    ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบที่มีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มีเนื้อที่ประมาณ 2,107,691 ไร่ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และ ยโสธร ส่วนพื้นที่ที่ต่อเนื่องกันมากที่สุด กว้างยาวที่สุดนั้น เริ่มตั้งแต่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคามเรื่อยขึ้นไปทางตะวันออก ส่วนกว้างที่สุดอยู่ในท้องที่อำเภอปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ โพนทราย มีเนื้อที่ประมาณ 847,000 ไร่ ส่วนทุ่งที่มีชื่อลือนามว่า ทุ่งกุลาร้องไห้นั้น อยู่เขตอำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด และอยู่ในเขตอำเภอท่าตูม อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ถ้าเรายืนอยู่ในใจกลางทุ่งแถบนี้แล้วเหลียวมองไป รอบ ๆ ตัวเราจะเห็นแต่ทุ่งหญ้าจดขอบฟ้าสุดสายตา เมื่อประมาณ 60-70ปี มาแล้วไม่มีต้นไม้ขึ้นอยู่เลยมีแต่ป่าหญ้าแท้ๆสูงแค่ศรีษะคนมาบัดนี้เห็นมี ต้นไม้ขึ้นบ้างเป็นแห่งๆตามเนินสูงทั่วๆไป แต่ก็มีบางตามากสภาพของทุ่งไม่ราบเรียบเสมอกันมีเนินมีแอ่งสูงๆต่ำๆมีลำห้วย เล็กใหญ่ไหลผ่านหลายสายเช่นลำเสียวเล็กลำเสียวใหญ่ลำเตาลำพลับพลาเป็นทาง ระบายน้ำออกจากทุ่งในฤดูฝนลงสู่แม่น้ำมูลสองฝังลำห้วยเหล่านี้เป็นดินทามฤดู ฝนน้ำหลากทุ่งฤดูแล้งน้ำแห้งขอด ประชาชนได้อาศัยจับปลาตามลำน้ำเหล่านี้เป็นอาหาร ในฤดูแล้งที่น้ำลดลง เมื่อราว พ . ศ . 2460 ถอยหลังขึ้นไปมีสัตว์ป่า อาศัยอยู่หลายชนิด เช่น กว้าง ละมั่ง อีเก้ง อยู่กันเป็นฝูงๆมีนกตัวใหญ่ๆ มาอาศัยอยู่ก็มาก เช่น นกหงส์ นกกระเรียน นกกระทุง นกเป็ดน้ำ อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ๆ แต่เวลานี้สัตว์ป่าเหล่านั้นได้หายสาบสูญไปสิ้นแล้ว


    จบแล้วตำนานอั่นยาวไกล ของการเดินทางข้ามท่งกุลาอั่นแสนกว้างสุดลูกหูลูกตา สุมื้อนี้ ท่งกุลา บ่ได้แห้งแล้งแล้วจ้า แต่กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ อั่นเลื่องชื่อส่งออกสร้างรายได้เข้าประเทศปีละหลายๆพันล้านบาท ตามมาด้วยความอุดมสมบูรณ์อื่นๆ อีกซึ่งทั้งหลายทั้งมวล รับรับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่9 ที่ทรงพระราชทานโครงการอีสารเขียวขึ้นมาเพื่อพัฒนาท่งกุลาให้มีความอุดสมบูรณ์ เป็นบุญของชาวอีสานอย่างเฮาเป้นอย่างมาก ตำนานทุ่งกุลา ตอนจบตำนานทุ่งกุลา ตอนจบ

    ตำนานทุ่งกุลา ตอนจบ

    ขอบคุณข้อมูลจาก ทีมHistory48 ตำนานทุ่งกุลา ตอนจบตำนานทุ่งกุลา ตอนจบ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย นู๋น้อย; 02-10-2010 at 10:25.

  2. #2
    ครีเอทีพ โปรดิวเซอร์ สัญลักษณ์ของ บ่าวข้าวจี่
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    กระทู้
    1,008
    บล็อก
    7
    ขอบคุณสำหรับเรื่องราวความเป็นมา...เสียดายหำน้อย.กับ หลอด.น่าจะอยู่แถวนั้น..ฮ่าๆๆ

  3. #3
    เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สัญลักษณ์ของ เซียงเหมี่ยงเมืองสุรินทร์
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    ที่อยู่
    สุรินทร์, ร้อยเอ็ด, และ สปป.ลาว
    กระทู้
    829
    ขอบคุณเจ้าของกระทู้มาก ๆ ครับผม ให้ลูกท่งกุลาได้ฮู้ความเป็นมา ว่าเป็นแบบนี้เองเนาะครับ..

  4. #4
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ข้าวต้มมัด
    วันที่สมัคร
    Aug 2010
    กระทู้
    986
    เยี่ยมยอดจ้าน้องนู๋น้อย ละเอียดยิบ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •