กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: ฟิสิกส์กับพุทธปรัชญา (2)

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    ฟิสิกส์กับพุทธปรัชญา (2)

    ฟิสิกส์กับพุทธปรัชญา (2)



    ตอนที่ 2 แนวความคิดของ Fritjof Capra ในหนังสือ The Turning Point (1985)



    ฟิสิกส์กับพุทธปรัชญา (2)


    ฟิสิกส์กับพุทธปรัชญา (2)



    หนังสือเล่มสำคัญต่อมาคือ The Turning Point (1985) หรือจุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ(2)

    Fritjof Capra แสดงทัศนะและข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดข้ามสาขาวิชา (Transdisciplinary) โดยอาศัยปรัชญา โลกทัศน์ตะวันออกและฟิสิกส์ยุคใหม่ มาชี้ให้เห็นว่า วิกฤตการณ์ทั้งหลายในโลกปัจจุบัน มิได้เป็นปัญหาเฉพาะด้าน หรืออยู่ที่สาระทางความคิดของเรื่องนั้น ๆ


    เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สุขภาพ จิตวิทยา สิ่งแวดล้อมฯลฯ หากปรากฏการณ์ทั้งหลายเป็นตัวสะท้อนวิกฤตการณ์ด้านวัฒนธรรม กล่าวคือเป็นปัญหาระดับกระบวนทัศน์ คือทัศนะที่มนุษย์มีต่อ"ความจริง" (Reality) ของธรรมชาติแล้วไปกำหนดระบบคิด วิธีคิด การจัดการที่มนุษย์มีต่อสรรพสิ่งทั้งหลาย และดำรงชีวิตไปตามกระบวนทัศน์ดังกล่าว จนกระทั่งนำมาสู่ทางตันของการพัฒนา ที่เป็นวิกฤตการณ์ของมนุษยชาติและโลกทั้งหมด อันแก้ไขได้ยากหากไม่มีการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ในการมองความจริงแบบใหม่ ซึ่งค้นพบโดยฟิสิกส์แบบใหม่และปรัชญาตะวันออก


    โดยสรุปคือ Fritjof Capra เห็นว่ารากเหง้าของปัญหามาจากการที่ศาสตร์ และความรู้ทั้งหลายที่มนุษย์ใช้ในการพัฒนาชีวิต สังคม ในด้านจิตวิทยา สุขภาพ เศรษฐกิจ การจัดระเบียบสังคม ฯลฯ ตั้งอยู่บนทัศนะ ความเชื่อหรือกระบวนทัศน์ ที่ยังคงตั้งอยู่บนฟิสิกส์แบบเดิมที่มีข้อบกพร่องและได้ถูกหักล้างไปแล้วด้วยฟิสิกส์ใหม่ในช่วง 3 ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20


    แนวคิดของ Fritjof Capra ในงานเขียนทั้ง 2 เล่ม มาจากการย้อนไปศึกษาปรัชญา โลกทัศน์ตั้งแต่สมัยกรีก



    ซึ่งปรากฏว่า วิชาฟิสิกส์หรือศัพท์เดิมว่า Physis ซึ่งก็คือธรรมชาตินั่นเอง


    จะเห็นว่า


    Physis คือ วิชาซึ่งว่าด้วยการค้นหาธรรมชาติแท้จริงของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง (Physics แปลว่า ธรรมชาติ)

    มิได้แยกออกเป็นวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หากเป็นศาสตร์ของการศึกษากฎเกณฑ์ องค์ประกอบของธรรมชาติทั้งในเชิงรูปธรรม-กายภาพ (ดิน น้ำ ลม ไฟ ฯลฯ)

    และในเชิงนามธรรม ไม่มีการแยกสิ่งมีชีวิต-ไม่มีชีวิต จิตวิญญาณและวัตถุ ถือว่าสรรพสิ่งเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน ไม่มีแม้คำเรียก"วัตถุ"เพราะถือว่าทุกสิ่งเป็นการปรากฏแสดงของ "Physis" หรือธรรมชาติซึ่งเต็มไปด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหวตลอดเวลา จากการขับเคี่ยวกันของสิ่งซึ่งตรงกันข้ามกัน หากแต่คู่แห่งการขับเคี่ยวกันนั้น แท้จริงเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นเอกภาพ(องค์รวม) ปรัชญาธรรมชาตินี้ตรงกับปรัชญาโบราณของอินเดียและจีน(โดยเฉพาะลัทธิเต๋า )


    อย่างไรก็ตาม พื้นฐานความเชื่อนี้ มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่อง และออกมาเป็น หลากหลายสำนักทางความเชื่อต่าง ๆ


    เช่น



    - เชื่อว่ากฎธรรมชาติเป็นตัวบุคคล (เทพเจ้า พระเจ้า ฯลฯ) และกลายเป็นลัทธิทวิภาวะ (Dualism) การแบ่งแยกขั้ว ที่เป็นกระบวนทัศน์ของตะวันตกในเวลาต่อมา ในการแยกวัตถุ-จิต ปัจจัยภายใน-ภายนอก ฯลฯ ให้แยกกันเป็นคนละสิ่ง มิใช่เอกภาพของสิ่งเดียวกัน(องค์รวม) อีก


    เกิดเป็นอิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์อย่างสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในด้านวิทยาศาสตร์ การเมือง (การปฏิวัติฝรั่งเศส) เศรษฐกิจ(การปฏิวัติอุตสาหกรรม) โดยเฉพาะการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 ซึ่งพัฒนาการมาเป็นกระบวนทัศน์กระแสหลักของโลกปัจจุบัน


    โดยแกนหลักหรือรากฐานมาจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในด้านฟิสิกส์ของนักวิทยาศาสตร์ผู้มีอิทธิพลสำคัญ 2 คน คือกาลิเลโอ และไอแซค นิวตัน


    โดย กาลิเลโอ เชื่อว่า มนุษย์สามารถเข้าถึง"ความจริง"และหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ จักรวาลทั้งหมดได้ด้วยการทดลองและสังเกตโดยประจักษ์(Empirical) โดยอาศัยคณิตศาสตร์คำนวณได้อย่างแม่นยำไม่ผิดพลาด

    เซอร์ไอแซค นิวตัน เป็นผู้มีอิทธิพลอย่างสูงสุดต่อกระบวนทัศน์กระแสหลักคือ เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้วางรากฐานวิชาฟิสิกส์ด้วยทฤษฎีกลศาสตร์ ที่วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับวัตถุและการเคลื่อนที่ของสรรพสิ่ง และสามารถที่จะคำนวณการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งหลายได้อย่างแม่นยำ (การเคลื่อนที่ของดวงดาว น้ำขึ้นน้ำลง) และเห็นจักรวาล โลก ธรรมชาติเป็นวัตถุที่รวมกันอยู่ภายใต้กฎทางกลศาสตร์ด้วย ความรู้และโลกทัศน์ของกาลิเลโอและนิวตันได้เป็นรากฐานของการศึกษาวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ไม่ว่าดาราศาสตร์ ชีววิทยา แพทย์ศาสตร์ ฯลฯ นอกจากนี้วิทยาศาสตร์ในช่วงดังกล่าว ยังมีอิทธิพลต่อปรัชญาสมัยใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย เรเน เดคาร์ต(Rene Dascartes)


    แต่

    สำหรับเรเน เดคาร์ต(Rene Dascartes)


    เรเน เดคาร์ต(Rene Dascartes) นักคณิตศาสตร์ซึ่งถือกันว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญายุคใหม่ ผู้พัฒนาปรัชญาขึ้นใหม่ทั้งระบบโดยละทิ้งปรัชญาสมัยเดิมทั้งหมด โดยเขาเห็นว่า"ความจริง" คือสิ่งที่รับรู้ได้อย่างแจ่มชัดและแน่นอนเท่านั้น ดังนั้น ความแม่นยำคงที่ของคณิตศาสตร์จึงช่วยให้มนุษย์เข้าถึงความจริงของโลก จักรวาล และสรรพสิ่งทั้งปวงได้ ในทัศนะของเขา จักรวาล โลก ธรรมชาติ มนุษย์เป็นเสมือนวัตถุที่สามารถแยกเป็นชิ้นส่วนได้



    เดคาร์ต

    เดคาร์ต เป็นผู้สร้างวิธีวิทยา (Methodology)ในการหาความรู้ ความจริงอย่างใหม่ ด้วยการจำแนกแยกแยะความคิดและปัญหาที่ต้องการศึกษาออกเป็นชิ้นส่วน แล้วจัดเรียงใหม่ตามวิธีการทางตรรกะ และกล่าวด้วยว่า "วิทยาศาสตร์ทั้งหลายคือความแน่นอน เป็นความรู้ที่มีหลักฐาน เราปฏิเสธความรู้ทุกชนิดที่เป็น"ความเป็นไปได้" และจะตัดสินว่าสิ่งที่รู้อย่างแจ่มแจ้งแล้วเท่านั้นที่เชื่อถือได้ และความรู้นั้นจะต้องไม่มีข้อสงสัยใด ๆ อีก"( พระประชา ปสันนธมโมและคณะ , เพิ่งอ้าง, น. 56)


    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กระบวนทัศน์ที่เกิดขึ้นจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์และโลกทัศน์ของกาลิเลโอ นิวตัน เดคาร์ต ได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อในเรื่องของจักรวาล โลก ธรรมชาติ วิธีวิทยาในการหาความรู้ ความจริง และระบบคิดของมนุษย์ไปจากเดิมอย่างมากมาย


    Fritjof Capra เห็นว่าเป็นการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์ เกิดการมองสรรพสิ่งต่างๆ ด้วยทัศนะแบบกลไก-ลดส่วน-แยกส่วน ซึ่งสรุปได้ดังนี้(พระประชา ปสันนธัมโม และคณะ. เพิ่งอ้าง , บทที่ 2)



    (1) ธรรมชาติดำเนินไปหรือเคลื่อนไหวไปอย่างต่อเนื่องเหมือนเครื่องจักร ที่ถูกควบคุมด้วยกฎอันคงที่ และทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในโลกของวัตถุ สามารถจะอธิบายได้ในรูปของ


    - การจัดลำดับอย่างเป็นระเบียบ สรรพสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่ามนุษย์ วัตถุ ธรรมชาติ ฯลฯ

    - สามารถที่จะวัดและคำนวณค่าออกมาเป็นตัวเลขหรือผลทางคณิตศาสตร์ได้ และวิธีการดังกล่าวมีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ เพราะคณิตศาสตร์ไม่มีความลำเอียงหรืออคติ แนวคิดนี้สนใจการศึกษาเฉพาะสิ่งที่สามารถวัดและหาปริมาณได้

    - คุณสมบัติอื่น เช่น สี เสียง รส หรือกลิ่น เป็นเพียงปรากฏการณ์ของความนึกคิดแบบอัตวิสัย (subjective) ซึ่งจะถูกแยกออกไปจากอาณาเขตของวิทยาศาสตร์

    - ความเป็นเหตุเป็นผลทั้งหลาย จึงถูกกำหนดไว้แล้วอย่างตายตัว สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงมีสาเหตุอันแน่นอน และนำไปสู่ผลที่เที่ยงตรงแน่นอน


    เราจึงสามารถคำนวณและคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ออกมาได้อย่างเที่ยงตรงแน่นอน หากเราสามารถรู้ชัดถึงรายละเอียดของสภาวะของส่วนนั้น ๆ ในเวลานั้นได้


    (2) วัตถุเป็นพื้นฐานของสรรพปรากฏการณ์ โลกทางวัตถุถูกมองว่าเป็นเครื่องจักรขนาด ใหญ่ที่ประกอบขึ้นจากวัตถุเป็นชิ้น ๆ จำนวนมากมายที่สามารถแยกจากกันได้ เชื่อกันว่ากลไกของเอกภพก็เป็นเหมือนเครื่องจักรที่มนุษย์สร้างขึ้น คือประกอบด้วยหน่วยย่อยพื้นฐานต่าง ๆ ดังนั้นปรากฏการณ์อันสลับซับซ้อนต่าง ๆ สามารถทำความเข้าใจได้โดยการลดส่วนแยกซอยลงมาศึกษาหน่วยย่อยพื้นฐานของมัน และมองหากลไกการทำงานของหน่วยย่อยเหล่านี้ และส่วนย่อยสามารถจะกำหนดความเป็นไปของส่วนทั้งหมดได้


    (3) โลกเป็นเครื่องจักรกลเครื่องหนึ่ง ไม่ได้มีชีวิต ดังนั้นธรรมชาติหรือระบบนิเวศ และข้อจำกัดของธรรมชาติที่เคยกำหนดและจำกัดมนุษย์ไว้ และความลึกลับต่าง ๆ ของธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องเอาชนะและพิชิตให้ได้ เพื่อนำธรรมชาติมารับใช้มนุษย์


    (4) มนุษย์มีร่างกายและจิตใจที่แยกจากกันเป็นคนละส่วน สามารถแยกศึกษาและจัด การได้แบบเครื่องกล เรื่องของร่างกาย ไม่มีจิตมาปนอยู่ และความคิดเกี่ยวกับจิตใจ ก็ไม่มีเรื่องของร่างกายมาเกี่ยวข้อง


    ในงานเขียนของเขา Fritjof Capra ได้ยกตัวอย่างศาสตร์ที่มีกระบวนทัศน์แบบกลไก แยกส่วน ลดส่วน เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นว่า กระบวนทัศน์ดังกล่าวได้ก่อผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งที่สัมพันธ์กับมนุษย์อย่างไรบ้าง เช่น



    - ในด้านการแพทย์ กระบวนทัศน์แบบกลไก แยกส่วน ลดส่วน มีอิทธิพลให้เกิดทัศนะ ความเชื่อ ที่เห็นว่าร่างกายมนุษย์ทำงานแบบกลไก

    - ร่างกายมนุษย์(สัตว์) สามารถแยกย่อยออกมาศึกษาเป็นส่วน ๆได้ ความเจ็บป่วยถูกลดทอนให้เกิดจากเชื้อโรค หรือความผิดปกติของอวัยวะหนึ่ง ๆ การแสวงหาความรู้และการรักษาจึงมุ่งไปที่การกำจัด ควบคุม เชื้อโรค และเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น มะเร็ง หรือมุ่งไปที่การศึกษาเจาะลึกความรู้เกี่ยวกับอวัยวะนั้นๆ (หัวใจ ตับ ไต กระดูก ฯลฯ) เพื่อสร้างวิธีการรักษา

    แม้จะมีการศึกษากายวิภาค เพื่อศึกษาระบบการทำงานของร่างกายทั้งหมด แต่ก็อยู่บนความเชื่อแบบกลไกที่ว่า ร่างกายเกิดจากการรวมกันของอวัยวะต่าง ๆ ประกอบกันเข้า จึงสามารถแยกส่วนออกมาศึกษาเจาะลึก ซอยแยกให้ลึกลงไปเป็นลำดับได้จนถึงเซล

    - เนื้อเยื่อ DNA ฯลฯ เสมือนหนึ่งเครื่องยนต์กลไก การแพทย์สมัยใหม่ มิได้มองร่างกายในทัศนะองค์รวม หรือหน่วยหนึ่งเดียวกัน ที่แยกซอยออกไม่ได้ เพราะมีระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยทั้งหมด







    จากบทความต้นฉบับของ

    1 หนังสือเรื่องการพัฒนาความคิดของ Fritjof Capra
    อรศรี งามวิทยาพงศ์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    2 fritjofcapra.net
    3 chaiwatthirapantu.com




    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 07-12-2011 at 03:57.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •