กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: เมื่อลูกหนี้บอก...“ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย”

  1. #1
    ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สัญลักษณ์ของ sert1964
    วันที่สมัคร
    Nov 2007
    กระทู้
    314

    เมื่อลูกหนี้บอก...“ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย”

    เมื่อลูกหนี้บอก...“ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” โดย อ.ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช
    น.บ., น.บ.ท., น.ม. (กฎหมายมหาชน)
    เมื่อสภาวะเศรษฐกิจโลกมีปัญหาเรื่องระบบบริหารการเงินแถมราคาน้ำมันในตลาดโลกปัจจุบันก็มีทีท่าจะเพิ่มสูงขึ้นๆ มีเหรอครับที่ไทยเราจะไม่ได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะประเทศไทยในยุคปัจจุบันก็ผูกไปกับตลาดโลกเขาด้วย คุณผู้อ่านลองสังเกตเวลาที่บริษัทฯน้ำมันประกาศจะขึ้นราคาน้ำมันสิครับ เป็นอันว่าคืนก่อนหน้าวันที่เขาจะเพิ่มราคาน้ำมันนั้น ผู้คนก็จะขับรถออกมาเติมน้ำมันให้เต็มถังจนทำให้รถติดไปทั้งบ้านทั้งเมือง

    แน่นอนครับว่าเมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ราคาข้าวของหรือของใช้ต่างๆ นาๆ ก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวจากต้นทุนการผลิต และการขนส่งสินค้านั่นแหละครับ เลยทำให้จากเดิมที่คุณผู้อ่านเคยใช้เงินไม่กี่บาทซื้อข้าวของ ก็กลายเป็นต้องใช้เงินหลักร้อยหลักพันซื้อสิ่งของที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน โอ้แล้วฉันจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายคืนเจ้าหนี้เขาดีหล่ะหนอ? หรือจะเบี้ยว ไม่ยอมจ่ายเฉยๆ นี่แหละ

    เศรษฐกิจแย่...ระวังคนเหนียวหนี้ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อแล้วครับคุณผู้อ่าน หลังจากเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2552 ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยเขาออกมาแถลงว่า ในช่วง 3 เดือนแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2552 นี้มีสินเชื่อผิดนัดเกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น 1. 49 หมื่นล้านบาทครับ นี่เป็นหนี้ในระบบนะครับ ส่วนหนี้นอกระบบยังไม่มีการคาดการณ์ว่าเจ้าหนี้จะเจอภาวะผิดนัดกันกี่มากน้อย

    ในช่วงเดียวกันกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงนั้น ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ส.ค.บ.) เขาก็ออกมาแถลงในทิศทางเดียวกันครับว่า ปรากฏการผิดนัดชำระหนี้พุ่งเป็นเงาตามเศรษฐกิจซบเซา แถมลูกหนี้รถยนต์และบัตรเครดิตก็ร้องเรียนเข้าไปที่ ส.ค.บ. ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2552 นี้ เพิ่มพรวดเป็น 680 เรื่อง (ขณะสถิติเมื่อ ตุลาคม-ธันวาคม 2551มีแค่ 447 เรื่อง) ว่าถูกแบงก์และไฟแนนซ์เรียกค่าปรับเต็มไปหมดเพราะค้างจ่ายหนี้...ทั้งลูกหนี้ เจ้าหนี้ก็ล้วนแต่อยากจะปกป้องสิทธิของตนทั้งนั้นครับ

    เป็นหนี้…ก็ต้องใช้คืน การทำสัญญาตกลงในการกู้ยืมเงินหากมีหลักฐานชัดเจนและถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิให้ลูกหนี้ชำระเงินคืนตามที่กู้ยืมมาพร้อมดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดครับ แต่เมื่อลูกหนี้เดินหน้าวิ่งหนี ไม่ยอมใช้คืน โดยอาจจะอ้างว่าเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างนี้ไม่ได้เลยนะครับ เอาเงินเขามาแล้วก็ต้องใช้คืนเขา ตามที่ กม.แพ่งและพาณิชย์มาตรา 194 ระบุไว้ว่า “ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้”…

    ไม่ใช้คืนก็ต้อง…บังคับชำระหนี้ พูดก็แล้ว ขอร้องก็แล้วลูกหนี้ก็ยังเฉย คุณก็ต้องอาศัยอำนาจของศาลตาม กม.แพ่งและพาณิชย์มาตรา 213ที่ว่า “ถ้าลูกหนี้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตน เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้” เอาละครับเมื่อเรื่องถึงศาลสถิตยุติธรรม ศาลก็จะพิจารณาตัดสินตามหลักฐานการเป็นหนี้เป็นสินระหว่างกัน ซึ่งหากมีหลักฐานชัดเจน ศาลก็จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ครับผม

    หลักฐานการกู้ยืมเงิน...คือสิ่งสำคัญ เงินทองไม่เข้าใครออกใครครับ โดยเฉพาะเงินจำนวนมากๆ ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดไว้ว่าหากเป็นเงินที่กู้ยืมมากกว่า 2,000 บาท ต้องมีการทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจะใช้ฟ้องร้องดำเนินคดีกันได้ (การกู้ยืมเงินที่ต่ำกว่า 2,000 บาทนั้นสามารถนำไปฟ้องร้องดำเนินคดีได้ หากมีพยานบุคคล)ส่วนหลักฐานการกู้ยืมเงินที่มากกว่า 2,000 บาทซึ่งสามารถใช้ดำเนินการได้ตามกฎหมายที่เราเห็นได้โดยทั่วไปคือสัญญากู้ยืมเงินที่มีวางขายโดยทั่วไป หรือการทำหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีข้อความระบุไว้ว่าใครกู้ยืมเงินใคร ให้กู้วันไหน จำนวนเงินมากน้อยเท่าไร ดอกเบี้ยคิดกันอย่างไร กำหนดใช้คืนเงินต้นเมื่อใด และมีการลงนามหรือเซ็นชื่อกำกับ

    จำไว้เลยนะครับว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องมีลายมือชื่อผู้กู้เป็นสำคัญนะครับ บางครั้งไม่จำเป็นต้องมีชื่อผู้กู้ แต่แค่ให้มีการลงนามลายมือชื่อไว้ตอนท้ายว่าเป็นผู้กู้ เช่น “ข้าพเจ้าได้กู้ยืมเงินจาก นางยอดเพชร ทรัพย์ไพศาล เมื่อวันที่…จำนวน…อัตราดอกเบี้ย…ลงชื่อนายยาจก ไร้ทรัพย์….” เท่านี้ก็เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินแล้วครับ

    ลูกหนี้...ที่ไม่ได้ทำสัญญา
    ยากอยู่เหมือนกันนะครับหากคุณเป็นเจ้าหนี้ใจดี ใจกว้างประเภทเชื่อใจลูกหนี้ เพราะอาจจะเห็นว่าเป็นญาติพี่น้องกันหรือเป็นคนที่เคารพนับถือกันอยู่เลยให้เขากู้ยืมเงินที่มากกว่า 2,000 บาทแล้วไม่ทำสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร สิ่งที่คุณพอทำได้คือใจเย็นๆ พยายามพูดดีกับเขาไปเรื่อยๆ เมื่อสบโอกาสก็ขอให้เขาลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินเพื่อจะได้ใช้เป็นหลักฐานการฟ้องร้องดำเนินคดีให้ชำระหนี้ต่อไป

    เคยมีคนมาปรึกษาผมว่าหลักฐานการโอนเงินให้ลูกหนี้จะใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องในคดีกู้ยืมได้ไหม? อยากจะบอกดังๆ ให้ฟังชัดๆ นะครับ (อย่าหาว่าผมไม่สุภาพนะครับ แค่อยากจะย้ำให้คุณผู้อ่านเข้าใจ) ว่า “หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการฟ้องร้องดำเนินคดีกู้ยืมได้นะคร้าบบ” แต่สิ่งที่พอจะใช้เป็นหลักฐานได้ก็คือการเขียนจดหมายตอบโต้ในเรื่องการกู้ยืมเงินเช่น “ พี่ขอยืนยันว่าเรื่องที่เป็นหนี้สินกันกับน้องรวมแล้ว 15,000.- บาทนั้น พี่ไม่เบี้ยวหรือหนีหนี้แน่นอนค่ะ อาจจะผ่อนส่งช้าไปนิดหนึ่ง (แค่ไม่กี่ปี) แต่ก็จะพยายามใช้หยาดเหงื่อแรงงานทำงานหาเงิน เพื่อนำไปใช้คืนคุณน้องเจ้าหนี้ของพี่ได้แน่นอนค่ะ พี่ขอสัญญาด้วยศักดิ์ศรีของสตรีไทย…” จดหมายที่มีรายละเอียดว่าใครเป็นหนี้ใครแบบนี้ก็ใช้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ดำเนินการตามกฎหมายได้เช่นกันครับ

    โอกาสชำระหนี้... 10 ปี กฎหมายไม่ได้เข้าข้างฝ่ายเจ้าหนี้เพียงฝ่ายเดียวนะครับ เพราะใช่ว่าจะบีบบังคับให้ลูกหนี้ใช้คืนหนี้ ณ ขณะนั้นเลย แต่ศาลจะให้โอกาสลูกหนี้ชำระหนี้ภายใน 10 ปี ซึ่งก็แล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกันละครับว่าจะมีวิธีการใช้คืนหนี้กันอย่างไรในเวลา 10 ปีหลังจากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

    ส่วนคุณเจ้าหนี้ผู้ใจดีบางคนก็ต้องระวังความใจอ่อนที่จะไม่ดำเนินคดีกับลูกหนี้เพราะเห็นว่าเขาลำบากอยู่ โดยคุณอาจจะคิดว่าวันหนึ่งเมื่อลูกหนี้พอลืมตาอ้าปากได้คงมาใช้คืน ใจดีได้แค่ภายใน 10 ปีนะครับ เพราะในปีที่ 11 แม้ว่าคนที่เคยเป็นลูกหนี้ของคุณร่ำรวยขึ้นมา คุณก็ไม่มีสิทธิทวงหนี้คืนแล้วนะครับ เพราะคดีคุณอาจขาดอายุความไปแล้วก็ได้

    บังคับคดี…ยึดทรัพย์ลูกหนี้ เมื่อศาลตัดสินคดีถึงที่สุดแล้วว่าให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่คุณลูกหนี้จอมเหนียวหนี้ก็ยังไม่ใช้หนี้คืนอีก เจ้าหนี้อย่าเพิ่งเหนื่อยนะครับ คุณต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการบังคับคดีไม่ว่าจะเป็นการยึด อายัดทรัพย์หรืออายัดเงินเดือนก็แล้วแต่สถานการณ์ของลูกหนี้ครับว่าเขามีหลักทรัพย์ ทรัพย์สินหรือเงินเดือนมากเพียงพอที่จะให้คุณอายัดหรือไม่ (เจ้าหนี้ไม่สามารถอายัดเงินเดือนลูกหนี้ที่ต่ำกว่า 10,000 บาท หรือหากลูกหนี้เป็นข้าราชการ พนักงานของรัฐ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับคดีให้ศาลสั่งอายัดเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัดของข้าราชการลูกหนี้ หรือเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ได้รับอันเนื่องจากความตายของบุคคลอื่น)
    หากเจ้าหนี้ยึดทรัพย์ลูกหนี้ ซึ่งหมายถึงการเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ไปขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชดใช้หนี้ให้เพียงพอกับมูลค่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งโดยปกติเจ้าหนี้ก็มักจะขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์ไว้เผื่อหรือเกินมูลหนี้ตามคำพิพากษา เพราะมูลค่าของทรัพย์สินในอนาคตอาจมีมูลค่าลดน้อยลง และถ้าหากมูลค่าทรัพย์ที่เจ้าหนี้ยึดไว้เกินกว่ามูลหนี้ที่เกิดขึ้น เจ้าหนี้ก็ต้องคืนเงินหรือมูลค่าในส่วนที่เกินให้ลูกหนี้โดยอัตโนมัติเช่นกันครับ

    ขายทอดตลาด…ทรัพย์สินของลูกหนี้ ถ้าจะให้ดีคุณเจ้าหนี้ต้องพยายามขายทอดตลาดทรัพย์สินที่คุณยึดจากลูกหนี้ให้หมดก่อนระยะเวลา 10 ปีเพื่อความมั่นใจว่าคุณจะได้รับหนี้คืนตามมูลค่าที่เขาเป็นหนี้คุณ เพราะหากคุณยึดอายัดในปีที่ 9 แต่ขายทรัพย์สินนั้นๆ ในปีที่ 11 ซึ่งปรากฏว่าไม่เพียงพอกับมูลค่าหนี้ ถึงเวลานั้นคุณก็ไม่สามารถร้องขอให้ศาลสั่งยึดทรัพย์เพิ่มเติมได้อีกนะครับ เพราะเกินเวลา 10 ปีแห่งคดีความแล้ว

    กู้ยืม... ที่ใช้สิ่งของประกัน
    บางครั้งการกู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้อาจไม่แน่ใจว่าจะได้เงินคืนหรือเปล่าหนอ ? ลูกหนี้จะเบี้ยวหนี้ไหมหนอ? เป็นเช่นนี้ลูกหนี้ที่ร้อนเงินก็เลยต้องใช้สิ่งของมีค่าเช่น ทองคำ แหวนเพชร รถยนต์ นาฬิกา บ้าน ที่ดิน คอนโดมีเนียมให้ไว้เป็นประกันว่า “เชื่อใจผมเถอะครับพี่ ถ้าผมไม่ใช้หนี้คืน พี่ก็มายึดข้าวของเงินทองทรัพย์สินที่ผมให้ไว้เป็นประกันได้เลยนะครับ”
    ต่อมาพอครบกำหนดใช้เงินคืน คุณลูกหนี้กลับไม่ใช้เงินคืน คุณเจ้าหนี้ก็เลยจัดแจงจะไปยึดทรัพย์สินที่เขาให้ไว้เป็นประกัน เจ้าหนี้บางคนก็คิดว่าตนเองได้ลาภลอยแล้ว เพราะที่ดินมูลค่ากว่า 5 ล้านบาทกำลังจะตกเป็นสมบัติของคุณ ด้วยเหตุมูลหนี้แค่ 2 ล้านบาทเท่านั้นเอง…อย่าเพิ่งดีใจไปครับคุณเจ้าหนี้ กฎหมายระบุไว้ว่าถ้าผู้ให้กู้จะยอมรับเอาสิ่งของทรัพย์สินเงินทองใดๆ เพื่อชำระแทนเงินกู้ ต้องมีการตีราคาตามท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์นั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ ซึ่งเป็นการไม่เอาเปรียบผู้กู้และหากไม่มีการตีราคาตามท้องตลาด ก็ถือว่าข้อตกลงที่ระบุให้ใช้ทรัพย์สินเงินทองเป็นประกันฉบับนั้นเป็นโมฆะ…กฎหมายให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่ายครับ

    ขอบคุณท่าน อ.ประมาณฯเจ้าของกระทู้ครับ

  2. #2
    ครีเอทีพ โปรดิวเซอร์ สัญลักษณ์ของ บ่าวข้าวจี่
    วันที่สมัคร
    Dec 2008
    กระทู้
    1,008
    บล็อก
    7
    กฎหมายและความรู้ดีๆ...ขอบคุณครับอ้าย...ขอตัวไปใช้หนี้ก่อนครับอ้าย 555

  3. #3
    ศิลปิน นักแสดง สัญลักษณ์ของ แมงงอดน้ำ
    วันที่สมัคร
    Mar 2010
    ที่อยู่
    จอมเทียน เมืองพัทยา
    กระทู้
    291
    ตายๆๆ หลักฐานการกู้ยืมกะบ่มียืมมาแปดปีแล้วจนคะเจ้ารวยมีบ้านมีรถคะเจ้ากะยังบ่คืนให่
    ทวงกะบ่ก้าทวงแนวเห็นกันยุคือสิตายป๋ากันไปซื่อๆนิละ ฮักกันอย่ายืมเงินกันเด้อพิน้อง คือพุเฒ่าคะเจ้าว่า เงินจะของจ้างคนมาซังจะของ แม่นอิหลี

  4. #4
    ฝ่ายเทคนิค และถ่ายทอดสด สัญลักษณ์ของ อาวอ้วนเมืองยศ
    วันที่สมัคร
    Apr 2010
    ที่อยู่
    เมืองบั้งไฟ
    กระทู้
    1,513
    ขอบคุณอ้ายเสริฐครับ สำหรับบทความดีๆ มีประโยชน์ต่อลูกหนี้ อย่างยิ่ง อิอิ บ่มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้นำเขา


    แน่เฒ่างอดข่อยว่าสิยืมเจ้ายุแมะ เลยบ่ได้ยืมสั่มตั่วนิเหอๆ ขอกะได้ซั่น อั่นขอค่ารถแน่ ค่ารถไปเลาะข่อยเบิด ค่ารถเมือระยองก่าบ่มี อิิอิ

  5. #5
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    เป็นหนี้เช่นกันจ้าอ้ายเสริฐ ว่างจะเขียนประสบการณ์การเป็นหนี้ให้อ่านคะ แฮ่ะๆ
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •