กำลังแสดงผล 1 ถึง 1 จากทั้งหมด 1

หัวข้อ: เทพเจ้าแห่งความมงคล ๒ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์

  1. #1
    Maximum learning
    ศิลปิน นักเขียน
    สัญลักษณ์ของ khonsurin
    วันที่สมัคร
    Apr 2008
    ที่อยู่
    ท่าตูม สุรินทร์
    กระทู้
    8,063
    บล็อก
    197

    เทพเจ้าแห่งความมงคล ๒ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์



    เทพเจ้าแห่งความมงคล พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์





    เทพเจ้ามงคลที่ยิ่งใหญ่อีกพระองค์หนึ่งคือ

    “พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์”

    ที่สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า
    ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์

    เป็นพระโพธิสัตว์ ที่ถือเป็นอัครสาวกของพระอมิตาภะ
    เช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวร(เจ้าแม่กวนอิม)



    สมควรที่เราควรกราบพระองค์ท่านด้วยดอกบัวบานที่สวยงามค่ะ
    เพื่อความเป็นมงคลแห่งชีวิตที่ดีงามของเรา





    地藏菩萨 พระกษิติครรภโพธิสัตว์



    (ภาษาจีน: 大勢至 Da Shì Zhì ไต้ซือจู้,
    ภาษาญี่ปุ่น 勢至 Seishi,
    ภาษาเวียดนาม Vi Đại Thế Trí Bồ Tát ไดเซชิ)





    เทพเจ้าแห่งความมงคล  ๒ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์



    เป็นพระโพธิสัตว์ ที่ถือเป็นอัครสาวกของพระอมิตาภะ
    เช่นเดียวกับพระอวโลกิเตศวร แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า
    ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง
    สะท้อนพลังจิตที่เข้มแข็งของพระพุทธเจ้า
    ใกล้เคียงกับความหมายของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์




    พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ (Mahasthamaprapta) เป็นพระอัครสาวกที่ประทับอยู่ ณ ตำแหน่งเบื้องขวาของพระอมิตาภพุทธะ

    แต่หากมองจากผู้กราบไหว้บูชาจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ชาวจีนจะเรียกพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ว่า ต้าซื่อจื้อผูซ่า (大势至菩萨) ในขณะที่สำเนียงแต้จิ๋วจะอ่านว่า ไต่ซีจู้ผ่อสัก

    และทรงเป็นพระโพธิ์สัตว์ในดินแดนสุขาวดีแห่งพุทธเกษตรของอมิตาภพุทธะ คู่กันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์(กวนอิม)

    แต่มีคนรู้จักน้อยกว่า ถือว่าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ด้านกำลัง ทั้งสามพระองค์จะตั้งประดิษฐานไว้เรียงกันภายในวิหารแห่งสุขาวดี เรียกกันว่าไตรเทพแห่งประจิมทิศ หรือ ซีฟางซานเสิ้ง (西方三圣)



    เทพเจ้าแห่งความมงคล  ๒ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์



    พระนามของ “พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์” (ต้าซื่อจื้อผูซ่า) สามารถแยกความหมายของพระนามได้ดังนี้


    • ต้า (大) หรือ “มหา” แปลว่า ใหญ่ ยิ่งใหญ่
    • ซื่อ (势) หรือ “สถามะ” แปลว่า พลัง อำนาจบารมี
    • จื้อ (至) หรือ “ปราปต์” แปลว่า มาถึง บรรลุแล้ว




    ดังนั้นพระนามคำว่า “พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์” จึงมีความหมายว่า พระโพธิสัตว์ผู้ทรงบรรลุแล้วด้วยพลังบารมีอันยิ่งใหญ่ โดยปกติแล้ว รูปวาดหรือประติมากรรมพระมหาสถาปราปต์โพธิสัตว์ (ต้าซื่อจื้อผูซ่า) จะประดิษฐานเคียงคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์(กวนอิม) เสมอ อีกทั้งพระอวโลกิเตศวร(กวนอิม) เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ ในขณะที่พระสถามปราปต์โพธิสัตว์เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทรา ในพระสูตรสุขาวดีวยูหสูตรกล่าวไว้ว่า พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ ยังเป็นพระโพธิสัตว์ผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งพลังและปัญญาบารมี


    พุทธลักษณะของพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ มักเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนมักเข้าใจกันผิด ทั้งนี้เพราะว่าพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์มักมีการวาดภาพหรือปั้นเป็นประติมากรรมที่มีลักษณะเป็น “เพศหญิง” จึงทำให้มีความคล้ายคลึงกันกับพุทธลักษณะของพระอวโลกิเตศวร(กวนอิม) นอกจากนี้ ยังมีจุดเด่นที่สังเกตเห็นถึงความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์จะทรงถือดอกบัวพร้อมก้านบัวในพระหัตถ์อยู่เสมอ โดยพระหัตถ์ซ้ายจะยกปลายก้านบัวไว้แนบพระอุระ ในขณะที่พระหัตถ์ขวาจะประคองที่ปลายก้านดอกบัว (แต่ในบางครั้งยังอาจเห็นในลักษณะปางประณมหัตถ์ทั้งสองข้างไว้เหนือพระอุระอีกด้วย)




    ส่วนใหญ่จะเห็นรูปปั้นพระองค์ท่าน
    ในรูปลักษณ์ในท่ายืน
    มือซ้ายอยู่ในท่าประทาน
    มือขวาอยู่ในท่าคิด
    บางครั้งมือทั้งสองจะประสานกันในท่าไขว้





    ดังนั้น การประดิษฐานรูปเคารพของพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ หรือ ต้าซื่อจื้อผูซ่านั้น จึงมีความหมายถึง พลังที่ช่วยเสริมสร้างพระอมิตาภะ ให้ก่อเกิดพลังแห่งปัญญา และบรรลุถึงความสุขอย่างสมบูรณ์ในแดนสุขาวดีภายหน้า



    ความเชื่อ


    นิกายสุขาวดี กำหนดให้ท่านเป็นผู้คุ้มครองดวงจิตของผู้ที่จะไปอุบัติในพุทธเกษตร ในอีกแนวหนึ่งเชื่อว่าพระมหาสถามปราปต์พัฒนามาจากพระอินทร์ของศาสนาพราหมณ์ เนื่องจากลักษณะในยุคแรกของท่านถือวัชระเช่นเดียวกับพระอินทร์ ต่อมามีการสร้างพระโพธิสัตว์องค์ใหม่ เรียกว่าพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ แยกออกมาจากพระมหาสถามปราปต์ ความนิยมนับถือพระมหาสถามปราปต์จึงลดลง ความหมายต่างๆของท่านได้หลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆไป


    เทพเจ้าแห่งความมงคล  ๒ พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์



    การกราบไหว้บูชาพระองค์ท่านต้องใช้ดอกบัวหลวง และพับเองให้สวย งาม ชึ่งการไหว้นั้นจะต้องกราบไหว้ด้วยใจที่บริสุทธิ์ มีความศัทรา ไม่ใช่แค่เพียงว่าจะทำไปด้วยความหวังอะไรบางอย่างจากท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น องค์พระอมิตพุทธเจ้าพร้อมทั้งอัครสาวกทั้งสองคือ พระแม่กวนอิม (พระอวโลกิเตศวร) และพระแม่ไต้ซีจี้ผ่อสัก (พระมหาสถามปราบต์)








    ขอบคุณ
    หนังสือ 108 ลัญลักษณ์จีน – ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล
    http://th.wikipedia.org/wiki/พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์




    ..............................................................................



    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย khonsurin; 08-01-2011 at 10:09.
    *********************************


    อิสระ เสรี เสมอภาค




    *********************************

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •