เมืองไทยในอดีต เดือน มกราคม




เมืองไทยในอดีต เป็นประวัติศาสตร์ไทย คือตราที่ประทับบนประเทศไทย
อาจจะย้อนหวนกลับคืนมาก็ได้ หรือไม่ย้อนหวนมากก็ได้
แต่ทุกอย่างคือกงล้อ ที่หมุนวนรอบตัวเรา


ซึ่งจะซึมซับแผ่ไปในทุกอณูเส้นเลือดของปวงชนชาวไทย
ความเป็นชาติไทย คือความเป็นไทของชาติ ของวิญญาณ
ของเลือดเนื้อบรรพบุรุษที่ผ่านมาอย่างหาญกล้า


เรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อดูความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยง และวิวัฒนาการของเรื่องแต่ละเรื่อง จากอดีต สู่ ปัจจุบัน และ ดูความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลถึงอนาคต




1 มกราคม2423



วันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงพระนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ พระองค์ได้รับสมัญญานามว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า"




1 มกราคม2435

หมอยอร์ช บี. แมคฟาร์แลน (อำมาตย์เอก พระอาจวิทยาคม) เริ่มกิจการโรงเรียนแพทย์ศิริราช ท่านยังมีเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย สมิทพรีเมี่ยร์ อันเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรก และมีพจนานุกรม (ดิคชั่นนารี) อีก 2 เล่มคือ ฉบับภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และยังเขียนตำราแพทย์ให้นักเรียนใช้อีกด้วย



1 มกราคม2454

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานธงประจำกอง (ธงชัยเฉลิมพล)แก่กรมทหารรักษาวัง พื้นธงสีแดงมีรูปช้างเผือกทรงเครื่อง ยืนบนแท่น มุมธงมีอักษรย่อ"วปร"



1 มกราคม2469

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสะพานพระรามที่6 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรก อยู่ตอนเหนือขึ้นไปใกล้จังหวัดนนทบุรี เขตตำบลบางกรวย



1 มกราคม2484

เป็นวันเริ่มใช้วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม เพื่อให้เหมือนกับนานาอารยประเทศ จากเดิมใช้วันที่ 1 เมษายน ในปี พ.ศ. 2483 จึงมีแค่ 9 เดือน คือนับตั้งแต่1 เมษายน 2483 สิ้นปี 31 ธันวาคม 2483



1 มกราคม2488

ไทยได้ยินยอมลงนามในความตกลงสมบูรณ์แบบ เพื่อเลิกสถานะสงครามระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรและอินเดีย รวมทั้งบันทึกแลกเปลี่ยนระหว่างไทยกับ ออสเตรเลีย เพื่อเลิกสถานะสงคราม ความตกลงสมบูรณ์แบบมี 24 ข้อ เน้นเรื่องการถอนกำลังทหารออกจากสหรัฐไทยเดิม และสี่รัฐมาลัย การคืนดินแดนให้อังกฤษ และไทยต้องส่งข้าวจำนวน1.5 ล้านตันให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่า



2 มกราคม2482

โรงเรียนสอนคนตาบอดแห่งแรกในประเทศไทย กำเนิดขึ้นโดย มิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์(Genevieve Colfield) สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ต่อมาใน พ.ศ. 2532 ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด



3 มกราคม2521

ตั้ง ค่ายพระยอดเมืองขวาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันทหารราบที่ 3 จังหวัดทหารบกอุดร(ส่วนแยก 2 นครพนม) อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม



4 มกราคม2309

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะทรงเป็นพระยาวชิรปราการ ทรงสู้รบกับทหารม้าของพม่าที่บ้านพรานนก(อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม



5 มกราคม2316

พม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย พระยาพิชัยยกทัพต่อสู้ โดยถือดาบ 2 เล่ม เข้าจ้วงพันพม่าอย่างไม่ลดละ จนดาบหักทั้ง 2 เล่ม และทัพพม่าแตกกระเจิงไป เกียรติคุณพระยาพิชัยจึงเลื่องลือ และได้รับนามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"



6 มกราคม2532

กองทัพอากาศ ได้จัดสร้างพระมหาธาตุเจดีย์องค์หนึ่ง ขนาดกว้าง 50 เมตรสูง 60 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูปบูชาจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า พระมหาธาตุนภเมทนีดล และได้น้อมเกล้า ฯ ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษาใน พ.ศ. 2530



7 มกราคม2408

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเกล้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตที่วังหน้า พระชนมายุได้58 พรรษา หลังจากทรงประชวรมา 5 ปี



7 มกราคม2456

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาโรงเรียนเพาะช่างขึ้นโรงเรียนแห่งนี้ได้พัฒนามาจากกองช่างแกะไม้ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อตอนปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะและพัฒนามาเป็น โรงเรียนเพาะช่าง ตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง สนองพระกรุณาธิคุณ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์



7 มกราคม2484

เกิดกรณีพิพาทด้วยกำลังระหว่างไทยกับ ฝรั่งเศส รัฐบาลไทยได้ตั้ง จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ใช้กำลังทหารปรับปรุงเขตแดนไทยและอินโดจีนฝรั่งเศส ผลปรากฎว่าไทยชนะ ได้ดินแดน 4 จังหวัด คือเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ และนครจำปาศักดิ์ กลับคืนมาเป็นของไทย โดยมีญี่ปุ่นอาสาเข้ามาไกล่เกลี่ย



8 มกราคม2484

เครื่องบินไทยไปทิ้งระเบิดที่ พระตะบองและเสียมราฐ เป็นครั้งแรก



8 มกราคม2484

ญี่ปุ่นบุกรุกไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยยกพลขึ้นบกทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลาและปัตตานี โดยมีอีกส่วนหนึ่งขึ้นบกที่ทางจังหวัดสมุทรปราการ



9 มกราคม2433

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดอู่หลวง เนื่องจากในเวลาดังกล่าวนั้นมีจำนวนเรือหลวงเพิ่มมากขึ้น อู่หลวงนี้สร้างขึ้นที่โรงหล่อซึ่งหมายถึงที่ว่าการกรมทหารเรือ อู่หลวงดังกล่าวเป็นแบบอู่ไม้ ต่อมาได้ขยายเป็นอู่คอนกรีตเมื่อปี พ.ศ.2447 ค่าก่อสร้าง 500,000 บาท



9 มกราคม2472

วันก่อฤกษ์ สร้างสะพานพุทธยอดฟ้า กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นเจ้าหน้าที่ก่อสร้างโดยมีนาย อี ฟอร์โน เป็นสถาปนิก สร้างตามแบบของบริษัท ดอร์แมนลอง ประเทศอังกฤษ ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท



10 มกราคม2491

วันประสูติพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ผู้ทรงใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ย่อจากอักษรท้ายพระนาม "รัชนีแจ่มจรัส" ท่านเป็นกวีที่ช่วยให้วรรณคดีในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรุ่งโรจน์



12 มกราคม2385

มีการพิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยหมอ บรัดเลย์



12 มกราคม2476

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชนีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จประพาสยุโรป และประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์



13 มกราคม2379

หมอบรัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการผ่าตัดผู้ที่ถูกกระสุนปืนใหญ่ ระเปิดเข้าใส่ในงานฉลองวัดประยูรวงศาวาส ของเจ้าพระยาพระคลัง นับเป็นการเริ่มการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย



13 มกราคม2452

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดสถานีวิทยุโทรเลข ของทางราชการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย (ขณะนี้เป็นอาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติแล้ว ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงเรียนเตรียมทหาร กรมยุทธศึกษาทหาร)



13 มกราคม2456

ร.6 เสด็จไปทรงกระทำพิธีเปิด สถานีวิทยุโทรเลขของทางราชการแห่งแรกในไทย



14 มกราคม2429

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมงกุฏราชกุมาร นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช



15 มกราคม2471

กรมไปรษณีย์โทรเลขได้เปิดการสื่อสาร ทางวิทยุโทรเลขโดยตรงกับยุโรปโดยติดต่อกับกรุงเบอร์ลินเป็นครั้งแรก



16 มกราคม2336

ไทยเสียเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี ให้แก่พม่า



16 มกราคม2488


รัฐบาลซึ่งมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชบัญญัติครูขึ้นเป็นฉบับแรกด้วยความมุ่งหมาย 3 ประการ คือ


1 เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงพระคุณครูอาจารย์
2 เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู
3 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน ทางราชการได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันครู ขึ้นเป็นครั้งแรก


17มกราคม 2466

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตรา กม. ว่าด้วย ประกาศจัดการตรวจรักษาของโบราณ นับเป็น กม. ฉบับแรกในเรื่องนี้



17 มกราคม2488

การรบทางเรือที่เกาะช้าง และในวันนี้ของทุก ๆ ปี กองทัพเรือถือว่าเป็นวันสดุดีและบำเพ็ญกุศลแก่ผู้เสียชีวิตในการรบแห่งราชนาวี



18 มกราคม2410

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งราชทูตไปประจำ ณ กรุงปารีส



20 มกราคม2411

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อยอดพระปฐมเจดีย์ณ จังหวัดนครปฐม ถือกันว่าพระปฐมเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ใหญ่และสูงที่สุดในประเทศไทยเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ภายใน


22 มกราคม2400

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงประกาศแต่งตั้งพระยามนตรีสุริยวงศ์ เป็นราชฑูตไปลอนดอน เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นอุปทูต จมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีฑูต ประกาศนี้ได้มอบสำหรับ พวกฑูตานุทูต ณ ท้องสนาม ในพระบรมมหาราชวัง


22 มกราคม 2511

กองทัพบกได้ตั้งกองพลทหารอาสาสมัครผลัดที่ 1 ขึ้น มีพลตรี ทวี ดำรงหัด เป็นผู้บัญชาการกองพล กำลังส่วนนี้ได้เดินทางไปผลัดเปลี่ยน กรมทหารอาสาสมัครที่ไปทำการรบ ในสาธารณรัฐเวียตนามเมื่อเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม2511


23 มกราคม 2431

พลตรีพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้เดินทางออกจากหลวงพระบางกลับกรุงเทพ ฯ หลังจากที่ได้จัดระเบียบการปกครองดินแดนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว



23 มกราคม2495

ไทยได้จัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนขึ้นเป็นครั้งแรก



24 มกราคม2384

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้กรมขุนอิศเรศรังสรรค์(ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นแม่ทัพเรือยกทัพไปตีเมืองบันทายมาศของญวน



24 มกราคม2400

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชสาส์น ถึงสมเด็จพระนางวิกตอเรียมหาราชินีแห่งสหราชอาณาจักร อันได้แก่บริเตนใหญ่ ไอร์แลนด์และประเทศในอาณานิคม มีใจความว่าพระเจ้ากรุงบริตาเนียได้ส่งทูตานุทูตอังกฤษเข้ามาเจรจาทาง พระราชไมตรีกับกรุงสยามสองครั้งแล้ว ฝ่ายกรุงสยามควรจะให้ทูตานุทูตสยามออกไปคำนับให้ถึงพระเจ้ากรุง พระเจ้ากรุงบริตาเนีย



25 มกราคม2135

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะจาก สมเด็จพระมหารอุปราชพร้อมกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ชัยชนะจากมางจาชโร ณ พื้นที่ระหว่าง ตำบลตระพังตรุ จังหวัดกาญจนบุรี กับ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาทางราชการได้กำหนดให้วันดังกล่วาเป็นวันกองทัพไทย ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา


25 มกราคม2227

คณะฑูตไทยคณะที่ 2 ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังประเทศฝรั่งเศส (คณะแรกสูญหายในระหว่างเดินทาง)



25 มกราคม2485

รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ (บริเตนใหญ่)และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ



25 มกราคม2502

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะแก่พระมหา อุปราชา



28 มกราคม2456

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปทรงประกอบพิธีบวงสรวงสมโภชเจดีย์ยุทธหัตถีที่อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรก โดยเหลือซากแต่เพียงฐานสี่เหลี่ยมกว้าด้านละ19.50 เมตร สูงจากพื้นดินถึงส่วนชำรุด 6.50 เมตร



28 มกราคม2484

กรณีพิพาทอินโดยจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ยุติลงโดยญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ย มีการลงนามในข้อตกลงพักรบ



29 มกราคม2382

หมอบัดเลย์ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน ได้ทำการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ เป็นครั้งแรกในเมืองไทย



29 มกราคม2445

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ จบการศึกษา จากประเทศอังกฤษ เสด็จกลับคืนสู่พระนคร







ขอบคุณ

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอมรดกไทย






.......................................................................