กำลังแสดงผล 1 ถึง 5 จากทั้งหมด 5

หัวข้อ: " ขื่อคาน " กับปัญหาที่ควรรู้

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    " ขื่อคาน " กับปัญหาที่ควรรู้

    สมัยโบราณมีความเชื่อกันว่า " ขื่อคาน " เป็นที่สิงสถิตของผีบ้านผีเรือน คนจึงไม่ควรไปนอน หรือนั่งใต้คาน ในตำ
    ราฮวงจุ้ยเองก็มีพูดถึงเรื่องคานเอาไว้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องไม่ดีหรือเป็นข้อห้ามที่จะต้องระวังกัน บ้านทุกหลังจะต้องมีคาน แต่ปัจจุบันคนมักจะมองไม่เห็นคานเพราะมีผนังฝ้าเพดาน ปิดบังเอาไว้ หลายคนยังกลัวว่าคานยังมีอิทธิพลต่อคนในบ้านหรือไม่ ผมเลยต่อพลิกตำราฮวงจุ้ยมาเปิดดูว่า ตำรา ฮวงจุ้ยพูดถึงเรื่องคานเอาไว้อย่างไร อยากรู้มั้ยครับ ถ้าอยากรู้ผมจะเล่าให้ฟังไล่กันเป็นข้อๆ กันเลย

    1. ห้ามวางเตียงใต้คาน แนวของคานทับส่วนไหนของร่างกายก็จะทำให้อวัยวะ ส่วนนั้นมีปัญหา เช่น ทับส่วนหัวจะก่อโรคทางสมอง ทับส่วนท้องจะเป็นโรคกระเพาะ ทับขาจะทำให้ขาเจ็บเดินไม่สะดวก เป็นต้น นอกจากนี้ถ้าคานอยู่ในแนวที่ผ่าเตียงออกเป็น 2 ซีก ก็จะทำให้เกิดเรื่องแตก
    แยกได้ ถ้าเป็นเตียงนอนของสามี-ภรรยา

    " ขื่อคาน " กับปัญหาที่ควรรู้

    2. ห้ามคานทับเตาไฟ จะส่งให้คนในบ้านเป็นโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ตำราฮ ฮวงจุ้ยอธิบายไว้ว่า เตาไฟ เป็นแหล่งอาหารการกิน เป็นเรื่องปากท้องของคนในบ้าน คานทับเตาย่อมส่งผลถึงเรื่องสุขภาพ หรือโรคภัยที่มาจากการกินอาหารที่ปรุงจากเตา

    " ขื่อคาน " กับปัญหาที่ควรรู้

    3. ห้ามคานทับหน้าประตูทางเข้า จะทำให้โชคลาภไม่ไหลเข้าบ้าน เพราะคานจะ กดทับชี่ที่ดีเอาไว้

    " ขื่อคาน " กับปัญหาที่ควรรู้

    ผลกระทบที่จะเกิดจากคานทับนั้น จะต้องเป็นคานแบบเปลือยที่มองเห็นได้ชัด ไม่ใช่ อยู่ใต้ผ้าเพดาน ส่วนเรื่อง
    ของอาถรรพณ์คานทับ ที่คนสมัยก่อนมักจะอ้างว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิญญาณหรือผีสาง ผมเองตอนแรกก็ไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องนี้สักเท่าไหร่ แต่พอได้คุยกับผู้รู้จึงได้คำตอบว่า เหตุที่คานกลายเป็นจุดอันตรายของบ้าน ก็เพราะ สมัยก่อนการสร้างบ้านสักหลังจะต้องไปโค่นต้นไม้ใหญ่ในป่า การตั้งเสาวางคาน จึงต้องทำอย่างถูกต้องมีการขอขมาต่อเจ้าป่าเจ้าเขา ปัจจุบันคานส่วนใหญ่เป็นคานเหล็กแทบทั้งสิ้น ผลในเรื่องผีสางจึงตัดไป ถ้าจะมีผล อยู่บ้าง ก็น่าจะเป็นจากเหล็กมากกว่าที่ให้ความรู้สึกที่หนักเหมือนถูกกดทับ ทางที่ดีใช้ฝ้าเพดานปิดคาน
    นั่นแหละเป็นวิธีที่ดีที่สุดครับ

    เครดิตที่มา โอมดีดีดอทคอม
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย pui.lab; 13-01-2011 at 03:28.
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    เป็นสาระดีหลายน้องเอ้ย...พี่เลยอยากขออนุญาตแซม(แจม)นำแหน่..คือว่า คันเว้าตามหลักวิศวกรรมศาสตร์หรือสถาปัตยกรรม(ตั้งเอาเอง) เพิ่นว่ามันเสี่ยงต่อความปลอดภัย เพราะว่า เวลาเกิดวาโยภัย(ลมต้อง) นภาภัย(ฟ้าฝน) เกิดไม้ขื่อ ไม้คาน(ไม้อันนี้ ทางอีสานบ่ใซ้เฮ็ดเฮือนดอก ใซ้ตีผัว) เกิดไม้ชื่อ ไม้สะยัว ตกลงมา มันสิเต็งผู้ที่นอนหรือนั่งอยู่ข้างล่าง..โบราณเพินกะเลยห้ามไว้..ซั้นหละเด
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  3. #3
    ขอบคุณจ้าพี่ปุ้ย สำหรับข้อมูลดีๆ เคยแต่ได้ยิน
    แต่บ่เข้าใจเหตุผลว่าผุเฒ่าคือห้ามไว้จ้าแต่ก่อน

    ใหญ่ศรีฯ // ฮั้นแหน่ ใหญ่ศรีฯรู้ละเอียดน้อจ้าเรื่องไม้คาน
    ไม้คาน(ไม้อันนี้ ทางอีสานบ่ใซ้เฮ็ดเฮือนดอก ใซ้ตีผัว) พะนะ เคยลองละติจ้า
    เอิ๊กๆๆฟ้าวหนีดีกว่าย้านบักเขียบในมือเลาสิดึกมาใส่
    เมื่อความจนผลักไส ดิ้นรนเท่าไรยิ่งไกลบ้าน

  4. #4
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9
    ไม้อันนี้ ทางอีสานบ่ใซ้เฮ็ดเฮือนดอก ใซ้ตีผัว

    ขอบคุณที่ร่วมแจมความรู้จ้าอ้ายศรี ปุ้ยก็ได้ความรู้ใหม่ ไม้คานเอาไว้ใช้ตีผัว
    ไม้คานเบาไปจ้าต้องไม้หน้าสามเนาะ น้องแพง อิ อิ อิ
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  5. #5
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ จำปา
    วันที่สมัคร
    Nov 2009
    กระทู้
    1,367
    ขอบคุณค่ะเอื้อยปุ้นสำหรับสาระดีๆมาให้ฮู้

    แหล่วคนขึ้นคานหนิคือจะหนักกว่าคานบ้านยุเนาะค่ะ อิอิ (เว้าเล่นเด้อค่ะ)

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •