กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: สรุปเนื้อหาวิชาภูมิศาสตร์ม.ต้น

  1. #1
    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมหา สัญลักษณ์ของ nuzing
    วันที่สมัคร
    May 2007
    ที่อยู่
    ตกฟากอยู่อุบล เป็นคนชราบางแคแล้ว
    กระทู้
    2,260
    บล็อก
    5

    บ้านมหาโพสต์ สรุปเนื้อหาวิชาภูมิศาสตร์ม.ต้น

    สรุปเนื้อหาวิชาภูมิศาสตร์ ม. ต้น (ชุดที่1)

    เนื่องจากพวกเราได้ทำการเรียนการสอนมาจนจะจบปีการศึกษาแล้ว ยายเลยนำความรู้ดีๆมาฝากเด็กๆเพื่อเพิ่มอาหารสมองหรือเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอบได้บ้าง...เอ๊าเริ่มเลยจ้า
    1. สภาพทางภูมิศาสตร์ หมายถึง สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น ที่ตั้ง ขนาด อาณาเขต รูปร่างของประเทศ สภาพทางภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ

    2. ที่ตั้งสัมพันธ์ คือ ที่ตั้งของสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่อื่น เช่น ตั้งใกล้ที่ไหน ไกลจากทะเลเท่าไหร่

    3.พิกัดทางภูมิศาสตร์ คือ คือ ตำแหน่งต่างๆบนพื้นผิวโลกซึ่งเกิดจากการตัดกันระหว่างเส้นสมมติละติจูดกับลองติจูด ซึ่งเส้นสมมุติทั้ง 2 เส้นนี้จะตั้งฉากซึ่งกันและกันเป็นโครงข่ายทั่วโลก เพื่อบอกตำแหน่งที่แน่นอนทางวิชาการแผนที่

    4.ละติจูด (Latitude) คือ เส้น สมมติที่ลากรอบโลกในแนวตะวันตก-ตะวันออก ให้ขนานกับเส้นศูนย์สูตร มีทั้งหมด 180 เส้น แต่ละเส้นทำมุมที่จุดศูนย์กลางภายในโลกห่างกันเส้นละ 1 (เส้นละติจูดทำให้ทราบลักษณะอากาศในเขตนั้น)

    5.ลองจิจูด (Longitue) หรือ เส้นเมอริเดียน คือ เส้นสมมติที่ลากรอบโลกในแนวเหนือ-ใต้ ผ่านแกนของโลกและตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร มี 360 เส้น แต่ละเส้นทำมุมที่จุดศูนย์กลางภายในโลกห่างกันเส้นละ 1 องศา (กำหนดให้เส้นลองจิจูดที่ผ่านเมืองกรีนีช ประเทศอังกฤษ เป็นเส้นเมอริเดียนหลัก / เส้นลองจิจูดเป็นเส้นแบ่งวันและเวลา โดย เส้นที่แบ่งวันสากลคือ เส้นที่ 180 องศา)

    6.สัญลักษณ์ ในแผนที่ หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้แทนข้อมูลสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนแผนที่ เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่สามารถอ่านความหมายและทำความเข้าใจสาระที่ปรากฏใน แผนที่ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

    7. มาตรา ส่วนส่วนแผนที่ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างระยะทางในแผนที่ กับ ระยะทางในภูมิประเทศจริง ทำให้ผู้ใช้แผนที่ได้รับทราบว่าข้อมูลที่ปรากฏในแผนที่นั้นย่อส่วนมาจากสภาพ ภูมิประเทศจริงในอัตราส่วนเท่าใด เช่น มาตราส่วน 1:100,000 แปลว่า ระยะทางในแผนที่ 1 ซม. เท่ากับ ระยะทางในภูมิประเทศจริง 100,000 ซม. (หรือ กม.)

    8. ภูมิศาสตร์หมายถึง การศึกษาสิ่งแวดล้อมของโลกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น

    9. การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ต้องมีองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) ลักษณะภูมิประเทศ 2) ลักษณะภูมิอากาศ 3) ทรัพยากรธรรมชาติ

    10. การดำเนินวิถีชีวิตของมนุษย์ในดินแดนต่าง ๆ ของโลกต้องมีความสัมพันธ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ คือ สิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อความเป็นอยู่ในดินแดนนั้นๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

    11. สภาพ ทั่วไปบนพื้นผิวโลกที่มีความสูง ต่ำ ไม่เท่ากันทำให้เกิดเป็นภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบต่ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล แม่น้ำ ทะเลสาบ ฯบฯ รวมเรียกว่า ลักษณะภูมิประเทศ

    12.ปัจจัยที่ทำให้บนพื้นผิวโลกมีลักษณะที่แตกต่างกัน สูง ๆ ต่ำๆ ไม่เท่ากันคือ 1) พลังงานภายในโลก ทำให้เปลือกโลกถูกบีบตัวสูงขึ้นหรือทรุดลง 2) เกิดจากแม่น้ำ ลำคลอง ธารน้ำแข็ง คลื่น ลม กระแสน้ำ อุณหภูมิที่เกิดการเปลี่ยนแปลง 3) การกระทำของมนุษย์ เช่น การสร้างเขื่อน

    13. การที่ลักษณะภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ของโลกแตกต่างกันเพราะเกิดจากปัจจัยที่สำคัญ คือ 1) ละติจูดของพื้นที่ 2) ระยะห่างจากทะเล 3) ทิศทางของลมประจำ 4) กระแสน้ำ 5) ความสูงต่ำของพื้นที่

    14.ทรัพยากรธรรมชาติหมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้

    15.ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมี .3..ชนิด คือ (1) ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ทอง เพชร (2) ทรัพยากรที่ไม่มีวันสูญสิ้น เช่น ดิน น้ำ ลม แสงแดด (3) ทรัพยากรที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ทดแทนได้ เช่น ต้นไม้ ป่าไม้

    16.แผนที่ หมายถึง 1) สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น 2) เขียนย่อส่วนผิวโลก ลงบนผิวเรียบโดยใช้สัญลักษณ์กำหนด เพื่อแสดงสิ่งต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์กำหนด

    17.แผนที่รัฐกิจ หรือ แผนที่การเมือง หมายถึง แผนที่ที่แสดงการแบ่งเขตเมือง เขตการปกครอง เช่น จังหวัด ประเทศ แสดงเป็นเส้นขั้นเขตแดน

    18.แผนที่กายภาพ หรือ แผนที่ภูมิประเทศ หมายถึง แผนที่ที่แสดงลักษณะทางกายภาพ, ลักษณะภูมิประเทศ เช่น ความสูง-ต่ำของผิวโลก โดยมีสัญลักษณ์แสดงความหมายของลักษณะภูมิประเทศ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ทะเล เทือกเขา

    19. แผนที่ที่แสดงประเภท ปริมาณ และการกระจายของสิ่งต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในดินแดนต่าง ๆ ของโลกคือ แผนที่เศรษฐกิจ (แผนที่เศรษฐกิจ คือ แผนที่ที่แสดงแหล่งทรัพยากร เส้นทางคมนาคม เส้นทางการค้า)

    20.การที่แผนที่มีการกำหนดค่าพิกัดภูมิศาสตร์เพื่อ ช่วยในการกำหนด หรือ ค้นหาตำแหน่งที่ตั้ง (พิกัด ภูมิศาสตร์ จะบอกตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ บนผิวโลก ตำแหน่งเกิดจากการตัดกันของเส้นรุ้ง(ละติจูด/เส้นขนาน) และเส้นแวง (ลองติจูด/เมริเดียน)

    21.ค่าพิกัดภูมิศาสตร์เกิดจาก การ ตัดกันของเส้นละติจูด และ เส้นลองติจูด ทำให้รู้ที่ตั้ง วันเวลา รวมถึงเขตอากาศของสถานที่นั้น มีประโยชน์ในการหาตำแหน่งของสิ่งต่างๆบนโลก แต่ไม่สามารถบอกลักษณะภูมิประเทศบริเวณนั้นได้

    22. องค์ประกอบของแผนที่มีดังนี้คือ ทิศทาง พิกัดภูมิศาสตร์ มาตราส่วน สัญลักษณ์ เส้นโครงแผนที่ ชื่อแผนที่ ขอบระวาง

    23. ทางภูมิศาสตร์เส้นละติจูด หมายถึง คือ เส้นสมมติที่ลากรอบโลกในแนวตะวันตก-ตะวันออก ให้ขนานกับเส้นศูนย์สูตร

    24. ทางภูมิศาสตร์เส้นลองจิจูด หมายถึง คือ คือ เส้นสมมติที่ลากรอบโลกในแนวเหนือ-ใต้ และตัดกับเส้นศูนย์สูตรเป็นมุมฉาก

    25. คุณสมบัติของแผนที่ที่ดีจะต้องประกอบด้วย เนื้อที่ถูกต้อง ระยะทางถูกต้อง ทิศทางถูกต้อง รูปร่างถูกต้อง

    26.เครื่องมือและข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่นำมาใช้ในการศึกษาภูมิศาสตร์ได้แก่ ลูกโลก แผนที่ ภาพถ่ายจากดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต

    27. ภาพถ่ายทางอากาศมีประโยชน์คือ ใช้ทางยุทธศาสตร์ของทหาร ทำข้อมูลแผนที่ วางผังเมือง วางแผนการใช้ทรัพยากร อุตุนิยมวิทยา

    28. เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่บันทึกข้อมูลในระยะทางไกลๆ โดยมีสถานีรับภาคพื้นดินทำหน้าที่แปรภาพและข้อมูลเครื่องมือนั้นคือ ภาพถ่ายจากดาวเทียม

    29. “การรีโมทเซนซิง” คือ การบันทึกข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัตถุด้วยอุปกรณ์โดยปราศจากการสัมผัสวัตถุนั้น

    30. ดาวเทียมคือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ให้โคจรรอบโลกเพื่อเก็บข้อมูลและถ่ายภาพมายังพื้นดิน

    31.ลักษณะที่สำคัญของภาพที่ได้จากดาวเทียมคือ ได้ข้อมูลรวดเร็วทันสมัย เป็นข้อมูลตัวเลข ประหยัดงบประมาณ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่

    32. ดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐอเมริกาที่ส่งขึ้นไปโคจรเพื่อสำรวจทรัพยากรคือ ดาวเทียมแลนแซต

    33. ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์คือ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ บุคลากร คอมพิวเตอร์

    34.เขตร้อนอยู่บริเวณละติจูด ที่ 23 ½ องศาเหนือ ถึง 23 ½ องศาใต้

    35. เขตอบอุ่นอยู่บริเวณละติจูด ที่ 23 ½ องศาใต้ ถึง 23 ½ องศาเหนือ และ 23 ½ ใต้ ถึง 66 ½ ใต้

    36. เขตหนาวเย็นอยู่บริเวณละติจูด ที่ 66 ½ องศาเหนือ ถึง ขั้วโลกเหนือ และ 66 ½ องศาใต้ ถึงขั้วโลกใต้


    ขอขอบคุณข้อมูล : http://benbaren.exteen.com/20080724/entry-3
    "ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง"

  2. #2
    แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สัญลักษณ์ของ คนนครผำ
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    กระทู้
    87
    ขอบคุณครับคุณครู๐๐๐๐๐ เยี่ยมขอรับ......

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •