กำเนิดโลก 3 เนื้อโลก(แมนเทิล) และ เปลือกโลก



ชั้นเนื้อโลกหรือชั้นแมนเทิล (Earth's Mantle)



กำเนิดโลก 3 เนื้อโลก(แมนเทิล) และ เปลือกโลก



กำเนิดโลก 3 เนื้อโลก(แมนเทิล) และ เปลือกโลก



เป็นชั้นที่สองของเรียกกันว่า เนื้อโลก หรือชั้นแมนเทิล (Mantle) มีสภาพส่วนใหญ่เป็นหินหลอมเหลว เนื่องจากได้รับความร้อนจากแก่นโลกที่มีอุณหภูมิสูงมาก หินหลอมเหลวที่อยู่ในชั้นนี้ มีชื่อที่คุ้นหูว่า แมกมา (Magma) แต่เมื่อแมกมาปะทุขึ้นมาบนเปลือกโลกจากปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด จะเรียกว่า ลาวา (Lava) นั่นเอง



องค์ประกอบทางเคมีของชั้นแมนเทิล (Earth's Mantle)


ชั้นแมนเทิลมีส่วนประกอบหลักเป็นหินที่มีปริมาณแร่โอลิวีนสูง ( olivine-rich rock )


อุณหภูมิของชั้นแมนเทิลมีความแตกต่างกันตามความลึก ซึ่งบริเวณที่ติดกับเปลือกโลกจะมีอุณหภูมิต่ำและเพิ่มขึ้นตามความลึก


อุณหภูมิสูงสุดพบบริเวณที่ติดกับแกนโลกที่ให้ความร้อน (heat-producing core) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิตามความลึกอย่างคงที่เรียกว่า " geotherrmal gradient"


ซึ่ง geothermal gradient มีค่าขึ้นอยู่กับชนิดหินแต่ละชนิดและหินแต่ละ



โดยที่ชั้นแมนเทิลที่แบ่งเป็นสองส่วนคือ


ส่วนบน (upper mantle)
ส่วนล่าง (lower mantle)


หินในชั้นแมนเทิลส่วนบนมีอุณหภูมิต่ำและค่อนข้างเปราะ ในขณะที่หินในชั้นแมนเทิลส่วนล่างมีอุณหภูมิสูงและค่อนข้างอ่อน (แต่ไม่หลอม) หินในชั้นแมนเทิลส่วนบนมีความเปราะมากพอที่จะแตกเมื่อมีแรงมากระทำและก่อให้เกิดแผ่นดินไหวได้


อย่างไรก็ตามหินในชั้นแมนเทิลมีความอ่อนและสามารถไหลได้เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะที่มีแรงมากระทำ แมนเทิลชั้นบนและล่างแบ่งโดยบริเวณที่มีลักษณะความเปราะที่น้อยที่สุด


..............................................................



ชั้นเปลือกโลก




กำเนิดโลก 3 เนื้อโลก(แมนเทิล) และ เปลือกโลก



กำเนิดโลก 3 เนื้อโลก(แมนเทิล) และ เปลือกโลก




เป็นชั้นที่สามของโลกเป็นชั้นที่อยู่นอกสุด เรียกว่า ชั้นเปลือกโลก (Crust) บางส่วนของเปลือกโลกเกิดจากการเย็นตัวของลาวาแล้วกลายสภาพเป็นหินแข็ง


เปลือกโลกมีลักษณะเป็นแผ่นขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่เหนือหินหลอมเหลวหรือแมกมา ด้วยเหตุนี้เองจึงส่งผลให้แผ่นเปลือกโลกที่เกิดขึ้นมาได้ประมาณ 3,500 ล้านปีมาแล้วมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมนุษย์เราสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวนี้ได้จากการเกิดภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหว




ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าในอดีต ทวีปต่าง ๆ เคยเป็นแผ่นดินขนาดใหญ่แผ่นเดียวที่เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) แต่ต่อมาทวีปใหญ่พิเศษนี้ได้แยกออกจากกันเป็นเวลากว่าล้านปีมาแล้ว จนมีลักษณะเป็นทวีปต่าง ๆ ดังเช่นปัจจุบันที่เราเห็นกันอยู่นี้ โดยรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกมีโอกาสที่จะเกิดภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหวได้มากที่สุด นอกจากนี้แล้ว การกัดเซาะของน้ำ กระแสลม และธารน้ำแข็งยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากลักษณะการคดเคี้ยวของแม่น้ำสายต่าง ๆ จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป ที่น่าตื่นเต้นยิ่งไปกว่านั่นคือ นักวิทยาศาสตร์พบว่าทวีป



ถ้าวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในส่วนของเปลือกโลก

สามารถแบ่งเป็น



1 องค์ประกอบทางเคมีในส่วนที่เป็นเปลือกทวีป (หินแกรนิต)

2 องค์ประกอบทางเคมีในส่วนที่เป็นเปลือกสมุทร (หินบะซอลต์)



1 องค์ประกอบทางเคมีในส่วนที่เป็นเปลือกทวีป (หินแกรนิต)



ประกอบด้วย หินซิลิเกตทั่วไป (Normal Silicate Rocks) โดยส่วนเปลือกทวีปมีองค์ประกอบซิลิเกตที่มากด้วยซิลิกอน (Si) กับอลูมิเนียม (Al) ซึ่งเป็นองค์ประกอบแบบหินแกรนิต จึงเรียกเปลือกทวีปนี้ว่า “ไซอัล” (SIAL) หรือ “เปลือกโลกส่วนที่มีองค์ประกอบแบบหินแกรนิต”



2 องค์ประกอบทางเคมีในส่วนที่เป็นเปลือกสมุทร (หินบะซอลต์)


มีองค์ประกอบ


ซิลิเกตของพวกเหล็กแมกนีเซียม (Mg)

อลูมิเนียม

ซิลิกอน


จึงเรียกเปลือกสมุทรว่า “ไซมา” (SIMA) ชั้นเปลือกสมุทรนี้แผ่ตัวต่อเนื่องไปจนถึงชั้นรองรับเปลือกทวีป ซึ่งเดิมทีมักเชื่อกันว่ามีองค์ประกอบอย่างหินบะซอลต์ จึงเรียกว่า “เปลือกโลกมีองค์ประกอบอย่างหินบะซอลต์” (Basaltic Crust) มีความถ่วงจำเพาะ 3.0


แต่ปัจจุบันส่วนที่รองรับเปลือกทวีปนี้เชื่อว่าน่าจะมีองค์ประกอบคล้ายหินเพริโดไทต์ (Peridotitic Composition) ซึ่งมี ความถ่วงจำเพาะ 3.3



ถ้าวิเคราะห์ตามโครงสร้างภายในของโลก

สามารถจำแนกตาม คุณสมบัติทางวัสดุได้กว้างๆ 2 ส่วนคือ



1. ชั้นธรณีภาค (Lithosphere) คือส่วนที่มีคุณสมบัติเป็นของแข็งมีความแกร่ง (rigid solid) นับรวมเอาส่วนเปลือกโลกถึงบางส่วนของชั้นเนื้อโลกส่วนบน ในระดับจากผิวโลกถึงลึกไม่เกิน 100 กิโลเมตร


2. ชั้นฐานธรณีภาค (Asthenosphere) นับจากระดับประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อจากชั้น ธรณีภาคลงไป มีสมบัติพลาสติกมากขึ้น พร้อมที่จะไหลได้


องค์ประกอบหลักของโลก ทั้งสองส่วนนี้ มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการเคลื่อนที่ของมวลเปลือกโลก ขนาดใหญ่





ขอบคุณ

crack.seismo.unr.edu
sciencedaily
thaigoodview
pkkv.org





.........................................................................