กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 10

หัวข้อ: ทำอย่างไรถึงรู้ว่าติดเชื้อเอดส์

  1. #1
    ท่องเวบ สัญลักษณ์ของ pui.lab
    วันที่สมัคร
    Jul 2006
    ที่อยู่
    โสดไม่มีใครเอา หรือว่าเราไม่เอาใคร
    กระทู้
    8,954
    บล็อก
    9

    ทำอย่างไรถึงรู้ว่าติดเชื้อเอดส์

    ทำอย่างไรถึงรู้ว่าติดเชื้อเอดส์

    1. จะทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อเอดส์
    ทราบได้โดยการตรวจเลือดและน้ำลาย วัดระดับแอนติบอดีต่อเชื้อเอดส์ ซึ่งถ้าการตรวจเบื้องต้นด้วยวิธีอีไลซ่า ( Elisa : Enzyme-Linked-lmmunosorbent Assay) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจหาแอนติบอดีในเลือดว่ามีแอนติบอดีที่ทำปฏิกิริยากับเชื้อเอดส์เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีก็จะทำให้น้ำยาที่ใช้ทดสอบเปลี่ยนสีแดงว่าเลือดมีผลเป็นบวก คือมีการติดเชื้อเอดส์ ซึ่งจะต้องทำการตรวจสอบด้วยวิธีเวสเทิร์นบลอท (Western Blot) ซ้ำอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่ามีแอนติบอดีต่อเชื้อเอดส์จริง ถ้ามีผลเป็นบวกอีกก็แสดงว่ามีการติดเชื้อเอดส์ แต่การตรวจอาจให้ผลเป็นลบ(negative หรือไม่พบแอนติบอดี) ในกรณีที่เพิ่งได้รับเชื้อ และร่างกายยังไม่ได้สร้างแอนติบอดี ดังนั้นในการศึกษาวิจัยนักวิทยาศาสตร์จะใช้วิธีการหาโปรตีนชนิดp24 ซึ่งเป็นแอนติเจนของตัวเชื้อเอดส์วิธีนี้จะให้ผลการตรวจที่แม่นยำและตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะติดเชื้อใหม่ๆ
    แอนติบอดี : สารโปรตีนที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อต่อสู้หรือกำจัดเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย
    แอนติเจน : เชื้อโรคหรือโมเลกุลแปลกปลอม ที่เข้ามาในร่างกาย
    P24 : โปรตีนในส่วนแกนกลางของไวรัส

    2. เมื่อใดจึงสงสัยว่าตนเองติดเชื้อเอดส์
    เมื่อตนเองมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ เช่น เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ หรือคนที่สงสัยว่าจะเป็นเอดส์ หรือเคยใช้เข็มฉีดยาไม่สะอาดร่วมกับผู้อื่น หากไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่กล่าวมาแล้ว แต่มีอาการผิดปกติที่สงสัย ก็ไม่ควรสรุปว่าตนเองติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ได้รับการตรวจเลือดยืนยันแน่นอนจากแพทย์ก่อน

    3. หลังจากไปมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์แล้ว ใช้เวลานานเท่าใด จึงจะตรวจเลือดหาเชื้อเอดส์ได้
    โดยทั่วไปเมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะต้องใช้เวลาหลังจากนั้นประมาณ 6 สัปดาห์-3 เดือน จึงจะเริ่มตรวจพบหรือทราบได้ว่ามีการติดเชื้อเอดส์ ถ้าตรวจเลือดทันทีหลังสัมผัสโรคแล้วได้ผลเป็นลบอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าไม่ติดโรคมาก็ได้ อย่างไรก็ตามถ้าไม่แน่ใจควรตรวจซ้ำใหม่ภายหลัง 3 เดือน

    4. ถ้าผลเลือดเป็นบวกต่อเชื้อเอดส์แล้ว มีโอกาสเปลี่ยนเป็นลบได้หรือไม่
    ไม่ได้ เพราะว่าคนที่ผลเลือดเป็นบวกหลังจากการตรวจยืนยันเป็นครั้งที่ 2 แล้วก็จะยังคงมีผลบวกเช่นนั้นไปตลอดชีวิต

    5. ทำไมจึงไม่ตรวจเลือดทุกๆคนเพื่อจะได้ทราบว่าใครมีเชื้อเอดส์บ้าง
    การตรวจเลือดทุกคนเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะมีปัญหาหลายด้านทั้งอุปกรณ์ กำลังคน งบประมาณ นอกจากนี้การบังคับตรวจ อาจทำให้คนที่ไม่เต็มใจพยายามหลบซ่อนตัวอีกด้วยซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว จึงไม่เป็นผลดีต่อใคร อีกประการหนึ่งสำหรับผู้ที่ตรวจเลือดแล้วได้ผลลบ ถ้าเขายังมีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงอยู่อีกเขาก็จะมีเลือดบวกในที่สุด จึงไม่มีประโยชน์ในการตรวจเลือดทุกคน

    6. การตรวจเลือด ไม่ได้หยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์แต่อย่างใดใช่หรือไม่
    การตรวจเลือดหาเชื้อเอดส์ ควรใช้หลักความสมัครใจ โดยเจ้าหน้าที่คอยให้ความสะดวก มีการติดตามผล ให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีการป้องกันตนเอง และเลิกพฤติกรรมเสี่ยง จะป้องการแพร่ระบาดของเชื้อได้ดีกว่า

    7. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องตรวจเลือดหาเชื้อเอดส์
    ไม่จำเป็น นอกจากมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น มีคู่นอนหลายคน ชอบเที่ยวผู้หญิงหรือเป็นหญิงบริการหรือเคยใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ก่อนการตรวจเลือดควรจะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อน ถ้าผลการตรวจเลือดเป็นบวกต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดระมัดระวังตนเองไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น แม้จะตรวจเลือดได้ผลลบ ก็ควรเลิกพฤติกรรมเสี่ยงไม่ประพฤติปฏิบัติต่อไป

    8. ถ้าต้องการตรวจเลือดแต่ไม่ต้องการให้ใครทราบจะทำอย่างไร
    ไปตรวจตามสถานบริการตรวจเลือดที่เรียกว่า คลินิกนิรนาม หมายความว่า การตรวจเลือดซึ่งไม่ต้องบอกชื่อ และที่อยู่จริงเพียงแต่แจ้งรหัสหรือหมายเลขกับคลินิก ขณะนี้ที่สภากาชาดไทยได้เปิดให้บริการแล้ว

    ขอบคุณที่มา
    โค้ด PHP:
    http://www.srp.ac.th/aids48/web/1/aids_07.htm 
    บ้านมหาดอทคอม เว็บไซต์ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทย ศิลปิน ความรู้ออนไลน์
    st1: มิตรภาพและรอยยิ้ม กับดีเจคนไกลบ้าน st1:

  2. #2
    ดูแลตรวจสอบเนื้อหา สัญลักษณ์ของ pcalibration
    วันที่สมัคร
    Nov 2008
    ที่อยู่
    เมืองฉะเชิงเทรา(แปดริ้ว)
    กระทู้
    1,883
    บล็อก
    1
    ขอบคุณครับเจ๊ปุ้ย(Djpui)
    สำหรับข้อมูลดีดีที่นำมาเสนอ
    เรื่องโรคเอดส์ซึ่งเป็นโรคชนิดที่เป็นแล้ว
    ถึงแม้จะยังไม่ตายแต่ก็ยังไม่มีทางรักษาให้หายได้ในปัจุบัน
    ปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับ ตัวบุคล พฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยง และความรู้ความเข้าใจ

  3. #3
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ข้าวต้มมัด
    วันที่สมัคร
    Aug 2010
    กระทู้
    986
    ดีค่ะที่พี่ปุ้ยลงกะทู้นี้ เพราะนานแล้วที่คนไม่พูดถึงโรคเอคส์
    จนลืมนึกไปว่ามันมีอยู่และกลับมาให้ความสำคัญอีกครั้งหนึ่ง
    ถึงจะมียาที่ชะลอชีวิตได้บ้างแต่คงไม่โชคดีทุกคน

  4. #4
    ฝ่ายบริหารระดับสูง สัญลักษณ์ของ พล พระยาแล
    วันที่สมัคร
    Mar 2008
    กระทู้
    6,430
    อย่าเว่าน๊า ว่าสิลืมไปแล้วแมะ พยายามจะไม่พูดถึงมันครับ ...ก๊ากกกกกก

  5. #5
    บ่เว้าถึงคนกะลืมไปเนาะจ้าที่รัก สมัยนี่ออกไปฮอดบ้านนอกบ้านนาแล้วใด๋...

    ผู้ใด๋ฮู้โตว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงกะขอให้ไปตรวจเลือดดีกว่าค่ะ...สิได้บ่ค้างคาใจคึดมาก บั่นทอนสุขภาพจิตเจ้าของเปล่าๆ....
    คั่นผลตรวจเป็นnegativeกะมีเฮสบายใจ...
    คั่นผลออกมาเป็นpositive กะต้องทำใจ คนรอบข้าง..ครอบครัวคือกำลังใจที่ดีที่สุดสำหรับคนป่วย....
    คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น...ที่จะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่

  6. #6
    ศิลปิน นักแสดง นักจัดรายการ สัญลักษณ์ของ ดีเจป้านวลม่วนโสตาย
    วันที่สมัคร
    Sep 2010
    กระทู้
    298
    กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ พล พระยาแล
    อย่าเว่าน๊า ว่าสิลืมไปแล้วแมะ พยายามจะไม่พูดถึงมันครับ ...ก๊ากกกกกก
    ย่านเบาะอ้ายพล

  7. #7
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ สาวเมืองกะสิน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    584
    COLOR="Blue"]เป็นกระทู้ที่ให้สาระดีมากๆเลยจ้าพี่ปุ้ย ขอบคุณที่นำมาลงจ้า[/COLOR]

    เป็นโรคที่ใช้ประเมินความซื่อสัตย์ต่อคู่ครองของตนเองอีกทางหนึ่งเลยหล่ะจ้าสำหรับผู้ที่มีครอบครัวแล้ว ถ้าไผ๋บ่ซื่อสัตย์ต่อคู่ครองของตนเอง หรือว่าบ่รู้จักป้องกันตนเองกับโรคนี้ ก็อาจจะเสี่ยงและก็นำความเสี่ยงนั่นมาสู่ภรรยา สามีหรือว่าลูกในท้องที่จะเกิดตามมาก็ได้น้อจ้า

    สาวเมืองกะสินเคยเจอเคสแบบนี้มาหลายเคสอยู่จ้า ตอนที่ยังทำงานอยู่กับหน่วยงานด้านสังคมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ สามีไปอะไรนอกบ้านแล้วนำมาติดให้ภรรยาโดยบ่ได้ป้องกันตัว และมีผลต่อลูกที่จะเกิดมาภายหลังนำ นั่นก็คือทั้งภรรยาและลูกที่เกิดมาติดเชื้อ HIV ไปด้วย เหมือนตายทั้งเป็นทั้งครอบครัว ถ้าทำใจรับได้ เข้าใจกัน และรู้จักป้องกันบ่รับเชื้อเพิ่ม และรู้วิธีดูแลตัวเอง ก็จะมีชีวิตที่ปกติเหมือนคนทั่วไปได้ยาวนานจ้า แต่ถ้ารับบ่ได้ก็จะทำให้มีปัญหาครอบครัว ญาติมิตร ตามมา ซึ่งทั้งปวง ก็เกิดจากการประมาท ขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากโรคนี่นั่นเองจ้า

    หน่วยงานที่เพิ่นทำเรื่องนี่โดยตรงมาหลายปีในหลายประเทศ เพิ่นแนะนำว่า ทางที่ดีเฮาต้องประเมินตัวเองว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเสมอ เพื่อจะได้ไม่ประมาทและรู้จักป้องตนเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะโสดหรือว่าแต่งงานแล้ว คนที่ยังบ่แต่งงาน หรือว่าดูดี ก็ใช่ว่าจะไม่เสี่ยง เพราะว่าเราไม่รู้ว่าคนที่เราคบอยู่ทุกมื่อนี่ เขาจะเคยคบใครมาก่อนหรือไม่ และก่อนหน้านั้นอีกหล่ะ คนที่เขาคบจะเคยคบกับใครมาอีกหรือไม่ (เหมือนโดมิโน ที่โยงกันมาเรี่อยๆ) กว่าเขาจะมาคบเราเขาเสี่ยงจากโรคอะไรมาบ้างก็ไม่รู้(เพราะคงไม่มีใครมาบอกเราหรอกว่า ตัวเองผ่านใคร อะไรมาบ้างเช่นกัน)


    ฉะนั้นเพิ่นแนะนำว่า ให้เฮาประเมินว่า เราก็คือกลุ่มเสี่ยงคือกัน นั่นคือให้รู้จักป้องกันตัวเอง ไม่มักง่าย ป้องกันทุกครั้งเมื่อมีความสัมพันธ์ และทางป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับสามีภรรยา นั่นก็คือ การซี่อสัตย์ต่อกัน รักเดียวใจเดียว บ่ยุ่งเกี่ยวกับคนอื่น ก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคนี่ได้ที่สุดจ้า (จากข้อมูล การติดเชื้อ HIV มีมากในกลุ่มหญิงที่มีครอบครัวแล้ว นั่นก็คือการติดเชื้อมาจากสามีที่ไปมีความสัมพันธ์นอกบ้านโดยไม่ได้ป้องกันตัว แต่ว่าในปัจจุบัน กลุ่มเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดที่ไม่ป้องกันตนเอง เพราะคิดว่าจะปลอดภัย นั่นก็คือ กลุ่มเด็กนักเรียน นักศึกษา ซึ่งกลุ่มนี้ในปัจจุบัน มีสถิติติดเชื้อ HIV เพิ่มขึ้น และอายุของผู้ติดเชื้อก็น้อยลงทุกที เพราะว่าเด็กวัยรุ่นในปัจจุบัน ไม่ได้สนใจที่จะป้องกันเองเลย และไม่คิดว่าตนเองเสี่ยง และไว้ใจแฟนหรือคู่ของตนเพียงเพราะเห็นแค่หน้าตา ใสซึ่อ ก็ประเมินว่าไม่เสี่ยงนั่นเอง)


    รักตัวเอง รักครอบครัว ต้องรู้จักป้องกันตัวจากโรคนี้เด้อจ้า ขอให้โชคดีทุกคนจ้า
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สาวเมืองกะสิน; 22-02-2011 at 23:56.

  8. #8
    พ่อครัวแม่ครัวบ้านมหา สัญลักษณ์ของ สาวบ้านแต้
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    กระทู้
    1,024
    บล็อก
    28

    วันนี้เสนอcase เจ้าสัวออกผื่น

    เจ้าสัวที่ว่านี้ออกผื่นเพราติดเชื้อHIVจ้า

    วันนี้น้องอีีทนำเสนอcaseเจ้าสัวออกผื่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเอชไอวี(HIV)
    HIV ย่อมาจากคำว่า Human Immunodeficiency virus พบครั้งแรกเมื่อ ปี 2524 ในชายรักร่วมเพศที่สุขภาพดี ในสหรัฐอเมริกา ต่อมาถูกค้นพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน ชื่อ L. Montagnier ชาวฝรั่งเศส และ R. Gllo ชาวสหรัฐอเมริกา ไวรัสนี้อยู่ใน แฟมมิรี่ Retroviridae คุณสมบัติคือ มันสามารถเพิ่มจำนวนได้ จาก RNA เป็น DNA ซึ่งเมื่อเชื้อนี้เข้าไปในเซลล์ที่เป็นเซลล์เป้าหมายของมันคือ CD4+ ก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และก่อให้เกิดภูมิคุ้มกัยบกพร่อง ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตเพราะโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
    การติดต่อ สามาถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การรับเลือดแะส่วนประกอบของเลือด และการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

    หากใครสงสัยสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกที่ทั่วประเทศค่ะ

  9. #9
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ สาวเมืองกะสิน
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    กระทู้
    584
    น้องอีท มีเคสเรียนรู้ดีๆกะเอามาแลกเปลี่ยนแนเด้อจ้า เผื่อไว้ศึกษาและก็ให้พี่น้องบ้านเฮาได้ระมัดระวังกันจ้า ป้องกันดีกว่ามาแก้ไขทีหลังน้อจ้า โดยเฉพาะเรื่องคำว่า ผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วย ซึ่งคนยังบ่รู้กันน้อจ้าว่าเป็นจังได๋

  10. #10
    พ่อครัวแม่ครัวบ้านมหา สัญลักษณ์ของ สาวบ้านแต้
    วันที่สมัคร
    Jun 2007
    กระทู้
    1,024
    บล็อก
    28

    ระยะของการติดเชื้อHIV

    ระยะของการติดเชื้อ เอชไอวี มี 4 ระยะ
    ระยะที่ 1 ระยะติดเชื้อฉับพลัน
    ผู้ได้รับเชื้อจะแสดงอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่ ระยะนี้ร่างกายมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเพราะว่ามีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไป จะเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 สัปดาห์ ค่ะ

    ระยะที่ 2 ระยะติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ
    ระยะนี้นับเวลาตั้งแต่รับเชื้อก็นานหลายสัปดาห์อย่างน้อยก็ 3 สัปดาห์ขึ้นไปจนเป็นปี โดยระยะนี้ามารถตรวจวินิจฉัยได้ ว่ามีเชื้อ HIV หรือไม่โดยการตรวจหาAntibody หรือภูมิคุ้มกัน แต่ไม่มีอาการทางทางคลินิก

    ระยะที่ 3 ระยะที่มีความสัมพันธ์กับโรคเอดส์
    คือเป็นระยะที่ร่างขาดมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จะมีอาการทางคลินิคคือ เป็นไข้ ไข้ต่ำๆ น้ำหนักลด ท้องเสียบ่อยๆ มีติดเชื้อโรคได้ง่าย ตรวจทางห้องปฏิบัติการก็จะพบว่า มี CD4-T cell count (จำนวนเม็ดเลือดขาว CD4) น้อยกว่า 500 ตัว/ลบ.มม.

    ระยะที 4 ระยะสุดท้ายของโรคเอดส์
    จำนวน CD4 น้อยกว่า 200 ตัว/ลบ.มม. จำนวนไวรัสจะเพิ่มมากขึ้น มากกว่า 10,000 coppies/ml เข้าสู่ภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรงมีโอกาสเกิดโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหรือเป็นมะเร็ง คนไข้จะเสียชีวิตด้วยโรคฉวยโอกาส

    เชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic infection)
    คือเชื้อที่คนมีสุขภาพดี คนทั่วๆไป ไม่ติดเชื้อนี้ จะติดเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันบกพร่องค่ะ
    เชื้อที่พบมากที่สุดอันดับ 1 คือ วัณโรค (Mycobacterium tuberculosis
    ตามมาด้วย เชื้อรา Pnemocystis carinii
    Cryptococcosis Candidiasis


    ผู้ติดเชื้อคือผู้ที่มีเชื้อไวรัสHIV แต่ไม่มีอาการ สามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้
    ผู้ป่วยคือผู้ที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ สามารถติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย
    ไม่เหมือนกันนะคะ

Tags for this Thread

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •