จักรพรรดิยงจิ้น (จีน: 雍正; พินอิน: Yōngzhèng) ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17 ค.ศ.1678) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิง (ภาษาจีน : 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ)

เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้นขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำ คือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาท จากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีต เป็นทรงแต่งตั้งโดยเป็นความลับ โดยทรงเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรง และจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เอง อีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคต แต่ในระหว่างที่ทรงครองราชย์ต้องทรงพบกับปัญหากบฎหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกัน ยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครอง การบริหารเอาไว้หลายด้าน กิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำ คือ ทรงตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น ทรงรวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ

ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง

ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างกระทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีอ่องเต้ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังค์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง
คังซีเป็นฮ่องเต้ที่มีความสามารถ และครองราชย์อย่างยาวนาน มีโอรสหลายองค์ ทำให้ปลายรัชสมัย ก็มีความกังวลว่าบุตรจะแย่งชิงราชบัลลังก์กัน

ก่อนที่องค์คังซีจะสิ้นพระชนม์ ไดเรียกให้องค์ชายสี่ผู้ที่พระองค์หมายมั่นว่าจะให้ขึ้นเป็นฮ่องเต้องค์ต่อไปขึ้นเฝ้า โดยได้สั่งเสียไว้ก่อนสิ้นพระชมน์ในสิ่งที่พระองค์ยังทรงเป็นห่วง คือ

1. ให้พี่น้องรักใคร่ ปรองดองกัน
2. ให้ดำเนินการปฎิรูปให้สำเร็จด้วย

การปฎิรูปในที่นี้คือ การสร้างระบบเก็บภาษีอากรแบบใหม่เนื่องจากในรัชสมัยของคังซี ท้องพระคลังมีเงินลดลงจนอยู่ในขั้นวิกฤต จนต้องมีราชองค์การให้องค์ชายสี่ (หย่งเจิ้น) เป็นคนจัดเก็บเงินกู้ที่ทั้งเชื้อพระวงศ์และข้าราชการที่กู้เงินจากท้องพระคลังไป
ในรัชสมัยของคังซีได้มีการตั้งแต่องค์รัชทายาทขึ้น ก็คือองค์ชายสอง ซึ่งต่อมาก็ถูกปลดเนื่องจากมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม และคังซีมีราชประสงค์ที่จะปกปิดชื่อขององค์ชายที่ทรงจะแต่ตั้งขึ้นเป็นรัชทายาท เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างเหล่าองค์ชาย โดยราชองค์การแต่งตั้งฮ่องเต้องค์ใหม่นี้ถูกร่างไว้โดยมี หลงเค้อตัว ถูกเลือกไว้ให้เป็นผู้นำราชองค์การนี้ไปประกาศเมื่อองค์คังซีสวรรคต
ในสมัยกลางค่อนปลายของรัชกาลคังซี (ค.ศ. 1704) แม่น้ำฮวงโหเกิดน้ำท่วมใหญ่ขึ้น ประชาชนประสบกับความลำบากอย่างแสนสาหัส องค์คังซีจึงมีราชโองการให้องค์ชายสี่ และองค์ชายสิบสามเป็นผู้แทนพระองค์ลงไปช่วยชาวใต้ผู้ซึงประสบกับวาตภัยครั้งนี้ แต่ปัญหาที่สำคัญก็คือท้องพระคลังในตอนนั้นแทบจะไม่มีเงินเหลืออยู่เนื่องจากถูกให้ยืมแก่มณฑลต่างๆ และเหล่าขุนนางหรือเชื้อพระวงศ์ องค์ชายสี่จึงได้รับหน้าที่ในการจัดท้วงหนี้เหล่านี้ให้คืนมาด้วย ซึ่งเป็นการกระทำที่แม้จะต้องขัดแย้งกับเหล่าผู้มีอิทธิพลในสมัยนั้น แต่ก็ดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์และยุติธรรม ภายหลังจึงได้รับการเลื่อนขึ้นให้เป็นอ๋องหย่งเจิ้น

คังซีมองเห็นว่าราชสำนักมีเงินในท้องพระคลังไม่พอเพียง จะต้องทำการปฎิรูประบบการจัดเก็บรายได้ใหม่ แต่การปฏิรูปนี้มิได้เกิดขึ้นทันในสมัยคังซี หน้าที่นี้จึงได้ถูกมอบหมายให้หย่งเจิ้นเป็นผู้สานต่อ

เนื่องจากการในระบบการจัดเก็บภาษีของราชสำนักเดิมนั้นผู้เสียภาษีส่วนใหญ่คือ ราษฎรทั่วไป แต่เหล่าบัณฑิตและขุนนางนั้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งหย่งเจิ้นมองว่า ขุนนางควรจะเสียภาษีด้วย หย่งเจิ้น ไม่เป็นที่ชอบ พอใจของขุนนางในยุคนั้นมากนัก เนื่องจากการปกครองที่เข้มงวด ทำให้ขุนนางใส่ร้ายว่าปลอมแปลงราชโองการ
อีกข้อหนึ่ง ช่วงก่อนที่องค์คังซีจะสววรคตนั้นองค์ชายสิบสี่(หยิ่งถี้) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพควบคุมกองกำลังที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ นักประวัติศาตร์บ้างท่านได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า การส่งองค์ชายสิบสี่ไปเป็นแม่ทัพในครั้งนี้เพื่อต้องการฝึกฝนองค์ชายสิบสี่เพื่อต่อไปจะได้ขี้นเป็นฮ่องเต้องค์ต่อไป หรือในทางตรงกันข้าม เพื่อให้องค์ชายสี่(หย่งเจิ้น) ขึ้นครองบัลลังก์ได้อย่างสะดวก จึงส่งองค์ชายสิบสี่ไปเป็นแม่ทัพในที่ที่ห่างไกลจากปักกิ่ง
ละครอีกเรื่องหนึ่งที่สร้างโดยจีนแผ่นดินใหญ่ โดยใช้ราชวังต้องห้ามของจริงในการถ่ายทำ นั้นคือเรื่อง หย่งเจิ้นจอมราชันย์ ซึ่งมีเนื้อหาต่างออกไปจากเรื่องศึกสายเลือดอย่างมาก โดยเฉพาะ เหนียนเกินเหย้า ในเรื่องหย่งเจิ้นจอมราชันย์ เหนียนเกินเหย้า เป็นคนที่ค่อนข้างยโส ทำอะไรหลายๆ อย่างด้วยความเหี้ยโหด - ไร้ปราณี โดยหลังจากเสร็จศึกที่ชิงไห่ ซึ่งทำให้ เหนียนเกินเหย้า ได้รับเลื่อนตำแหน่งเป็นแม่ทัพอันดับ 1 และหย่งเจิ้นยังพระราชทาน เสื้อทองพระราชทานให้แก่ เหนียนเกินเหย้า ซึ่งเพิ่มความหึกเหิ้มให้แก่แม่ทัพอันดับ 1 ผู้นี้เป็นอันมาก

ในช่วงที่เกิดการสู่รบที่ชิงไห่นั้น กองทัพของเหนียนเกินเหย้ามีการใช้ทั้งกำลังพลและกำลังเงินเป็นจำนวนมาก หย่งเจิ้นจึงเห็นว่าควรส่งคนที่มีความสามารถทางการจัดการบริหาร โดยเฉพาะเรื่องการคลัง คือ ซุนเจียเฉิน โดยขุนนางระดับสี่ผู้นี้ ในอดีตเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่มีตำแหน่งเพียงคนเฝ้าหอบัณฑิต แต่ด้วยความสามารถและวิสัยทัศน์ทางการคลังที่แสดงให้หย่งเจิ้นเห็น จึงได้รับเลื่อนตำแหน่ง ดังนั้น หย่งเจิ้นจึงส่งให้ ซุนเจียเฉินไปร่วมกับเหนียนเกินเหย้าในการบริหารกองทัพที่ชิงไห่ กอปรด้วยกับความตรงไปตรงมาของซุนเจียเฉินที่ไปขัดแย้งกับเหนียนเกินเหย้าอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการใช้งบประมาณทางทหารสูงเกินกว่าไม่จำเป็น เหนียนเกินเหย้าจึงใช้อำนาจในฐานะแม่ทัพปราบศึก ประหารซุนเจียเฉิน ซึ่งทำให้หย่งเจิ้นและเหล่าบรรดาขุนนางน้อยใหญ่ไม่พอใจและส่งฎีกาฟ้องเหนียนเกินเหย้า หย่งเจิ้นจึงลดตำแหน่งของเหนียนเกินเหย้าจากแม่ทัพใหญ่ไปเป็นแม่ทัพชายแดนฮังโจว ที่มีกำลังเพียง 4,000 คน แต่ตัวเหนียนเกินเหย้ายังอวดดี ยโส และวางตนว่าเป็นคนโปรดของหย่งเจิ้น จนหย่างเจิ้นลดตำแหน่งของเหนียนเกินเหย้าลงเรื่อย ๆ เป็นนายกอง จนกระทั่งเป็นทหารเลวเฝ้าประตูเมือง

แต่ตัวเหนียนเกินเหย้าเองยังกลับไม่สำนึก มิหน้ำซ้ำยังใช้เสื้อทองพระราชทานที่หย่งเจิ้นเคยมอบให้ อวดอ้างตนเองทำให้เกิดความเดือดร้อน จนตั้งถูกตั้งข้อหาเป็นอาญาแผ่นดินและหมิ่นพระเกียรติ์ฮ่องเต้ โดยต้องโทษประหารชีวิต แต่หย่งเจิ้นได้มอบสิทธิพิเศษให้เหนียนเกินเหย้าปลิดชีวิตตนเองได้ อันเป็นจุดจบอันน่าเศร้า

ส่วน เหนียนเกินเหย้า ในศึกสายเลือด เป็นขุนพลคนสนิทที่ช่วยให้หย่งเจิ้นได้ขึ้นครองราชย์ หย่งเจิ้น มีความประสงค์ที่จะขยายดินแดนไปทางทิศตะวันตกเพื่อจรดซินเจียงอุยเกอร์ จึงมอบหมายให้ เหนียนเกินเหย้า ให้เป็นผู้จัดการเรื่องนี้ พร้อมกันนี้ก็ได้มอบกำลังพลหนึ่งหมื่นนาย เพื่อให้ฝึกฝน สำหรับไปทำศึกฝั่งตะวันตก
เมื่อฝึกฝนกำลังพลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระเบียบวินัยสูง อีกทั้งเชื่อฟังคำสั่งอย่างเคร่งครัด จนเมื่อฝึกฝนจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว จึงได้พากำลังพลทั้งหนึ่งหมื่นนายไปเข้าเฝ้าหย่งเจิ้น เพื่อให้หย่งเจิ้นได้ตรวจกองทหารทั้งหนึ่งหมื่นนายนี้
เมื่อหย่งเจิ้นปรากฎตัวและขึ้นยืนบนแท่นประทับ กำลังพลทั้งหนึ่งหมื่นนายก็ได้ยืนถวายพระพรหย่งเจิ้น หย่งเจิ้นจึงสั่งให้ทุกคนนั่งลง แต่กำลังพลทั้งหนึ่งหมื่นนายนิ่งเฉย ไม่ยอมนั่งลงแต่อย่างใด
แม่ทัพคนดังกล่าวเมื่อเห็นดังนั้น จึงโบกมือโดยไม่ได้ปริปากเพื่อสั่งให้ทหารทุกคนนั่งลง พริบตานั้นกำลังทหารทั้งหนึ่งหมื่นนายก็นั่งลงพร้อมเพรียงกันในทันที
มันดูเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่กำลังพลทั้งหนึ่งหมื่นนายนั้นมีประสิทธิภาพ และมีวินัยที่ดีมาก แต่สำหรับหย่งเจิ้นแล้ว มันคงเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างยิ่ง ที่ทหารหนึ่งหมื่นนายนั่งลงอย่างพร้อมเพรียงกัน แต่ไม่ได้มาจากคำสั่งของตนเอง หากแต่มาจากการโบกมือเพียงครั้งเดียวของแม่ทัพของตน
ด้วยความกลัวที่จับใจนี้ ทำให้หย่งเจิ้นตัดสินใจลดขั้นแม่ทัพคนนี้ลง 18 ขั้น แล้วให้ไปเฝ้าประตูเมืองหลวง แต่ก็ยังไม่ทำให้หย่งเจิ้นลดความคลางแคลงใจลงได้ สุดท้ายเหนียนเกินเหย้า ก็ต้องดื่มยาพิษ ที่หย่งเจิ้นประทานไปให้ เพื่อแสดงความจงรักภักดีที่มีต่อหย่งเจิ้น
นี่คือความขัดแย้งในหน้าประวัติศาสตร์ของจีนในยุคหย่งเจิ้นฮ่องเต้ ที่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมองมุมไหน

เเม้หย่งเจิ้นจาถูกมองว่าเป็นทรราชย์ เเต่ก้อนับว่าเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่ง ให้ขุนนางถูกเกณฑ์เเรงงานเเละเสียภาษี ทำให้ท้องพระคลังมีเงินเหลือ ทำให้ราษฎรไม่ต้องรับภาระหนักเหมือนเเต่ก่อน มีทั้งภาษีที่นา เเละขุนนางมีรายได้ก้อต้องเสียภาษี ซึ่งอันนี้ เรียกว่าเปลี่ยนกฎบรรพชนเลยก้อว่าได้
สมัยคังซีเงินกองคลังเหลือไม่ถึง7ล้านตำลึง เเต่สมัยสิ้นรัชสมัยหย่งเจิ้น เงินมีกว่า50ล้านตำลึง

ถ้ามองอึกมุมหนึ่งหย่งเจิ้นเป็นกษัตริย์ที่น่ายกย่ององค์หนึ่ง

อันนี้ความเห็นส่วนตัว เเต่ถ้าท่านใดชอบอยากศึกษาประวัติหย่งเจิ้น มันมีสองมุมให้น่าศึกษา
เรื่องศึกสายเลือดสร้างหย่งเจิ้นเป็นทรราช เเต่เรื่องนี้ไม่ค่อยเน้นเรื่องอิงประวัติศาสตร์เท่าไร เน้นไปที่ฉากบู๊ เเนวหนังกำลังภายใน
อีกเรื่อง คือจอมจักรพรรดิ์หย่งเจิ้น อันนี้ เน้นไปที่การเมืองการปกครองเป็นส่วนใหญ่ เป็นเเนวหนังการเมือง เรื่องนี้ เเบบว่าหย่งเจิ้น เป็นพระเอกดีเลิศperfect มีสองมุม
สนุกทั้งสองเรื่องเเหละ



ลิขสิทธิ์บน YouTube Credit By : https://www.youtube.com/watch?v=7eCM9Q5Pej4

ข้อมูลจาก หนังสือประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงค์ชิงและวิกิพีเดีย