หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย
กำลังแสดงผล 1 ถึง 10 จากทั้งหมด 12

หัวข้อ: พิธีเลี้ยงผีตาแฮก

  1. #1
    บ่าวสายฟ้า
    Guest

    พิธีเลี้ยงผีตาแฮก

    ผีตาแฮก : ความเชื่อของชาวนาอีสาน
    การปลูกข้าวในยุคสมัยต่าง ๆ ตามแบบแผนวิถีชีวิตของคนไทย มุ่งปลูกข้าวเพื่อบริโภค เป็นหลัก เหลือบริโภคก็เก็บไว้ในยุ้งฉาง จะนำไปแลกเปลี่ยนกับปัจจัยอื่น ๆ บ้าง ก็เฉพาะสิ่งที่จำเป็น จริง ๆ เช่น แลกกับเสื้อผ้า อาหาร เกลือ ยารักษาโรค แต่ไม่นิยมขายข้าว ไม่แลกเปลี่ยนข้าวกับ เครื่องประหัตประหาร ทั้งนี้เพราะคนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดา ชื่อว่า "แม่โพสพ" ประจำอยู่ ในท้องถิ่นบางแห่งเรียกว่า "นางโคสก" หรือ "แม่โคสก" เชื่อกันว่า นางมีอิทธิฤทธิ์สามารถดลบันดาลความสมบูรณ์พูนสุขแก่ผู้ปฏิบัติชอบต่อนางได้ และถ้าปฏิบัติ ไม่ดีจะได้ผลตรงข้าม ในอดีตหลังการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแต่ละปี ชาวบ้านจึงต้องจัดพิธีบายศรี สู่ขวัญให้นาง และปฏิบัติต่อนางอย่างเคารพนอบน้อม
    พิธีเลี้ยงผีตาแฮก
    เทพเจ้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการทำนา
    การทำนาให้ได้ผลดีนั้นจะต้องถือปฏิบัติเคารพบูชาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของ ชาวบ้านแต่ละท้องถิ่น เทพเจ้า เทวดาอารักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนาก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการปฏิบัติบูชาเซ่นไหว้ก็จะทำในโอกาสหรือวาระต่าง ๆ กัน เช่น พิธีจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีหลวง จัดขึ้นเพื่อให้เป็นขวัญกำลังใจแก่คนในชาติ ส่วนคนในท้องถิ่นอื่นก็จะมีพิธีกรรม แตกต่างกัน สำหรับคนอีสานแล้วจะยึดถือเทวดา ภูตผี ดังนี้


    ตาแฮก หรือ ผีตาแฮก
    ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผีเฝ้าไร่นา เมื่อชาวบ้านเข้าหักร้างถางพง เพื่อแปรสภาพที่ดินไปเป็น ที่นา พวกเขาจะทำพิธีเชิญผีตาแฮกตนหนึ่งมาเป็นผู้เฝ้ารักษาที่นาและข้าวกล้า แต่ละปีเจ้าของนา จะต้องทำพิธีเซ่นสังเวยก่อนลงไถนา และเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว จะต้องแบ่งข้าวสี่เกวียน (จำลอง เล็กๆ) ให้แก่ผีตาแฮกด้วย
    ตาปู่ หรือ ปู่ตา
    เป็นผีประจำหมู่บ้านอันเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน การสร้างหมู่บ้านจะต้องทำศาล ปู่ตา แล้วทำพิธีอัญเชิญปู่ตาซึ่งถือเป็นผีบรรพบุรุษ ให้มาอยู่ทำหน้าที่คอยพิทักษ์รักษามนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารในหมู่บ้านให้ปลอดภัย การติดต่อระหว่างปู่ตากับชาวบ้านจะผ่านตัวแทน คือ คนทรง หรือที่เรียกว่า "จ้ำ" เมื่อถึงเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) ทุกปีจะมีพิธีบวงสรวง ปู่ตา และเสี่ยงทายเรื่องความสุขสบาย ความอุดมสมบูรณ์ของหมู่บ้าน และทำนายปริมาณน้ำฝน ในปีนั้น ๆ
    แถน
    เป็นเทวดาหรือผีฟ้าอยู่บนสวรรค์ มีอำนาจบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ แก่มนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์ธัญญาหารบนโลกได้ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือแถนมาก ยามทุกข์ร้อนสิ่งใด มักจะบนบานให้แถนช่วยเหลือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนา คือ ชาวบ้านเชื่อว่า แถนมีอำนาจสั่ง ให้ฝนตกได้ แต่ละปีจึงมีพิธีจุดบั้งไฟบูชาแถน เพื่อให้แถนสั่งให้ผู้มีหน้าที่ทำให้ฝนตก เช่น นาค พระพิรุณ ประทานฝนลงมาให้



    เรื่องที่เกี่ยวข้อง บุญบั้งไฟ

    นาค
    เป็นสัตว์ในอุดมคติที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในโลกบาดาล งานหรือหน้าที่ของนาค คือ การพ่น ฝนให้ตกลงในจักรวาลนี้ อันประกอบด้วยมหาสมุทร มนุษย์โลก และป่าหิมพานต์ นาคเกี่ยวข้องกับ การทำนาในส่วนที่เป็นผู้ทำให้น้ำฝนตกลงในมนุษยโลก ทำให้มนุษย์ได้ทำนา นอกจากนี้ยังมีนาค อีกจำพวกหนึ่งที่เรียกว่า "นาคทรงแผ่นดิน" เมื่อทำพิธีแรกไถนา ชาวนาต้องดูวัน เดือน ปี และทิศ ที่จะบ่ายหน้าควาย ต้องไม่ให้ควายลากไถไปในทิศที่ทวนเกล็ดนาคหรือเสาะเกล็ดนาค เพราะถ้า เป็นอย่างนั้นการทำนาในปีนั้นจะทำให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ ขึ้น

    นางธรณี
    ชาวบ้านเชื่อกันว่า นางธรณีหรือแม่ธรณีเป็นเทพเจ้าแห่งพื้นดิน ก่อนจะไถนาหรือปลูก ข้าว ต้องบอกกล่าวขออนุญาตต่อนางเสียก่อน และทำพิธีเซ่นไหว้ด้วยพาหวาน (มีข้าวนึ่ง ไข่ไก่) 1 พา และขอให้นางธรณีช่วยปกป้องรักษาข้าวในนา อย่าให้มีศัตรูมาเบียดเบียน และขอให้ได้ทำนา ด้วยความสะดวกสบายตลอดฤดูกาล


    --------------------------------------------------------------------------------



    พิธีแฮกไถนา

    การแรกไถนาทำในเดือนหกวันฟูเวลาเช้า เจ้าของนาเป็นผู้ทำพิธี เทพเจ้าหลักที่อ้างถึงใน พิธีนี้คือ นางธรณี หรือ ผีตาแฮก แล้วแต่ใครจะนับถือองค์ไหน เทพเจ้าประกอบได้แก่ พระภูมิเจ้าที่ และ รุกขเทวดา กระทำพิธีในนาแปลงใดก็ได้ องค์ประกอบในพิธีมี พาหวาน 4 และ พายา 4 กอก (กรณี นับถือตาแฮก) องค์ประกอบนี้เปลี่ยนแปลงไปตามข้อปฏิบัติของแต่ละบุคคล
    วิธีทำ นำเอาเครื่องประกอบเหล่านี้ไปเซ่นสังเวยบอกกล่าวว่า มื้อนี้เป็นมื้อสันต์วันดี จะทำการแฮกไถนา ขอให้เทพเจ้า (ออกชื่อ) จงช่วยคุ้มกันรักษา ขยับขยายที่ให้ได้ทำนา อย่างสุขสบาย แล้วเริ่มไถนาในทิศทางที่ตามเกล็ดนาค (ห้ามไถทวนเกล็ดนาค) ไถวน จำนวน 3 รอบแล้วหยุด ปล่อยควาย เป็นการเสร็จพิธี วันต่อไปจึงเริ่มไถเป็นปกติได้ พิธีนี้มีเป้าหมายเพื่อให้เทพเจ้าคุ้มครองรักษาทั้งคน สัตว์ ข้าวกล้า และขออนุญาตต่อเทพเจ้า เพื่อเตรียมดินปลูกข้าวในปีนั้น ๆ ตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมา



    พิธีแฮกดำนา หรือปลูกข้าวตาแฮก

    พิธีเลี้ยงผีตาแฮก

    จัดขึ้นประมาณเดือนเจ็ดหรือเดือนแปด (มิถุนายน - กรกฎาคม) วันประกอบพิธีต้องเป็น วันฟู หรือวันจันทร์ หรือวันพฤหัสบดี หรือวันเกิดของเจ้าของนา แล้วแต่ใครจะเลือกนับถือ ทำพิธี เวลาเช้า พ่อบ้านหรือแม่บ้านเป็นผู้กระทำ เทพเจ้าที่อ้างถึงได้แก่ ผีตาแฮก หรือ นางธรณี แล้วแต่ ใครจะนับถือรูปใดก็บูชารูปนั้น สถานที่ที่ปลูกข้าวตาแฮกนั้นให้เลือกเอาบริเวณที่ใกล้ ๆ กับโพนนา (จอมปลวก) หรือใกล้กกไม้

    พิธีเลี้ยงผีตาแฮก

    วิธีทำ เตรียมดินให้กว้างพอจะปลูกข้าวแฮกประมาณ 7 หรือ 14 กอ แล้วสร้างร้านสี่เสา เล็ก ๆ ขึ้นพอจะเป็นที่วางเครื่องสังเวยได้ เอาเครื่องสังเวยซึ่งเป็นเช่นเดียวกับพิธีแฮกไถนาวางบน ร้าน จากนั้นจึงกล่าวคำอ้อนวอนว่า "มื้อนี้มื้อสันต์วันดี พวกข้าจะมาปักแฮก ขอให้ตาแฮก (หรือนางธรณี) ช่วยคุ้มครองรักษาให้ข้าวกล้าในนางอกงาม ไม่มีพวกช้าง พวกควาย หรือ ไพร่พลมาทำลาย" แล้วจึงปักข้าวแฮก 7 หรือ 14 กอ ตามแต่นับถือ เป็นอันเสร็จพิธี
    เป้าหมายของพิธี คือ ต้องการให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองข้าวกล้าให้งอกงาม ไม่มีโรคภัยมา เบียดเบียน สำหรับกรณีผู้นับถือตาแฮกจะบนบานว่า หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วจะแบ่งข้าวที่ได้ให้ ตาแฮก 4 เกวียน (เกวียนจำลอง)


    พิธีเลี้ยงผีปู่ตาหรือผีตาปู่

    พิธีเลี้ยงผีตาแฮก
    จัดขึ้นในเดือนหก (ประมาณเดือนพฤษภาคม) วันพุธ (จะเป็นวันพุธสัปดาห์ไหนก็ได้) ตอนเช้า พิธีนี้มี "จ้ำ" เป็นผู้ดำเนินการ โดยป่าวประกาศให้ลูกบ้านทราบว่าจะทำพิธีวันไหน และให้ ลูกบ้านบริจาคเงิน ข้าวของตามศรัทธาให้แก่จ้ำ เพื่อจะได้นำไปซื้อเครื่องเซ่นมาทำพิธี ซึ่งมีไก่ 3 ตัว เหล้า 1 ขวด บุหรี่ ยาสูบ หมาก ผ้าซิ่น ดอกไม้ และธูปเทียน
    เมื่อถึงวันพิธี ชาวบ้านทุกครอบครัวไปร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นเวลาเช้า ณ ศาลปู่ตาประจำ หมู่บ้าน ในพิธีมีการเสี่ยงทายโดยใช้ไก่ 3 ตัว เป็นเครื่องเสี่ยงทาย 3 กรณี คือ
    ไก่ตัวที่ 1 เสี่ยงทายเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์
    ไก่ตัวที่ 2 เสี่ยงทายเกี่ยวกับฝนฟ้าอากาศ
    ไก่ตัวที่ 3 เสี่ยงทายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงและพืชพันธุ์
    โดยดูจากลักษณะปลายขากรรไกรล่างทั้งสองข้างของไก่ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง การเสี่ยงทายอีกประการหนึ่ง คือ การเสี่ยงทายฟ้าฝนด้วยไม้วา โดยเอาไม้มาหนึ่งท่อนขนาดยาว 1 วาของจ้ำ (ผู้กระทำพิธี) นำมาเข้าพิธี โดยอธิษฐานว่า ถ้าฝนดีขอให้ไม้นี้ยาวกว่า 1 วาของจ้ำ ถ้า ฝนแล้งขอให้ไม้สั้นกว่า 1 วาของจ้ำ เมื่อทำพิธีอธิษฐานแล้วก็เอาไม้มาวัดเทียบกับวาของจ้ำ แล้วให้ ทำนายตามผลที่ปรากฏ
    ส่วนการทำนายตามลักษณะไก่ คือ ดึงเอาขากรรไกร (ปากล่าง) ของไก่ที่บูชาตาแล้ว ออกมา แล้วดูว่าปลายขากรรไกรทั้งสองข้าง (ซึ่งมีลักษณะเป็นสองง่าม) เป็นอย่างไร

    ถ้าปลายง่ามห้อยตกลงหรือไม่เสมอกัน หมายถึงในปีนั้นสัตว์เลี้ยงจะไม่สบาย เกิดโรค ถ้าเกี่ยวกับคนทายว่าจะแตกความสามัคคี เจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร ก็จะไม่สมบูรณ์
    ถ้าง่ามขากรรไกรทั้งสองข้างยาวเท่ากัน จะหมายถึงมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งสัตว์เลี้ยง ผู้คน และพืชพันธุ์
    ถ้าขากรรไกรมีสีขาว แสดงว่า ฝนแล้ง
    ถ้าขากรรไกรมีสีดำ แสดงว่า ฝนฟ้าดี
    พิธีเลี้ยงผีปู่ตาเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำนาปลูกข้าวอย่างใกล้ชิด ผลคำ ทำนายเป็นเช่นไร ชาวบ้านมักจะนำไปเป็นข้อมูลในการเตรียมตัวทำนาในปีนั้น ๆ นอกจากนั้นปู่ตา ยังมีความสำคัญกับหมู่บ้านเพราะเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นผู้อนุรักษ์ป่าไม้ชุมชนของหมู่บ้านนั้น ๆ ให้ ยังคงอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชุมชนตราบเท่าลูกหลาน

    ............................................................................

  2. #2
    ศิลปิน นักร้อง นักแสดง
    มิสบ้านมหา 2011
    สัญลักษณ์ของ ผู้ก่อการรัก
    วันที่สมัคร
    Feb 2006
    ที่อยู่
    HappyLand ดินแดนแห่งความสุข, Thailand
    กระทู้
    3,161

    Re: พิธีเลี้ยงผีตาแฮก

    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะคะ ^_^
    ล้มแล้วฟื้นยืนสู้ชูช่อใหม่ เพราะต้นยังสดใสผลิใบเขียว
    ลุกขึ้นต้านลมฝนต้นเป็นเกลียว รากยึดเหนี่ยวซับซ้อนกับพื้นดิน



  3. #3
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ ปลัดโตคนเดิม
    วันที่สมัคร
    Feb 2006
    กระทู้
    475

    Re: พิธีเลี้ยงผีตาแฮก

    แม้นแล้วครับความเชื่อของชาวบ้าน บ้านผมเขากะเฮ็ดตามกันมาตั้งแต่โดนนาน

  4. #4
    บ่าวสายฟ้า
    Guest

    Re: พิธีเลี้ยงผีตาแฮก

    Re: พิธีเลี้ยงผีตาแฮก กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ ผู้ก่อการรัก
    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะคะ ^_^
    มีอีกมากมายหลายเรื่องที่คุณต้องศึกษา เพื่อจะได้รู้เวลาไปอยู่จริงๆ คิคิ

  5. #5
    Super Moderator
    Guide & Photographer
    สัญลักษณ์ของ เจ้าซายน้อย
    วันที่สมัคร
    Sep 2007
    ที่อยู่
    อยู่ในใจเสมอ
    กระทู้
    1,412
    ผีตาแฮก..ในมุมมองของบ้านหนองรังกา(ปัจจุบันเรียกบ้านแสงอินทร์)
    หมู่ 5 ต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
    ผีตาแฮกแยกออกได้เป็นสองคำ
    ผี..ในความเชื่อคือสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เป็นความเชื่อในเรื่องวิญญาณว่ามีอยู่จริงของคนโบราณ
    จะเชื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล(โปรดใช้วิจารณญาณด้วย)
    แฮก...หมายความว่า ครั้งแรก คือคนอีสานส่วนมากจะมีความเชื่อในการทำนาว่า
    การปลูกต้นข้าวครั้งแรกจะต้องปลูกที่ตาแฮกก่อน..โดยจะมีพิธีกรรมสลับซับซ้อนมาก
    ต้องเตรียมเครื่องเซ่นเหล้าไฮ...ไก่ตัว...ข้าวดำ..ข้าวแดง...น้ำอ้อย..น้ำตาล...หลักเสา
    (เสาหลักเล็กๆจะมีบ่วงแขวนติดกัน 5 อัน หมายถึงพระพุทธเจ้าห้าพระองค์)..ปักไว้สี่มุมของตาแฮก
    ผีตาแฮกเป็นผีเฝ้าไร่เฝ้านา ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ผีตาแฮก เป็นผีที่ให้คุณมากกว่าให้โทษ
    มีหน้าที่ดูแลและเฝ้าไร่นา และเลือกสวน วัวควาย คอยดูแลต้นข้าวในนาให้งอกงาม
    ผีตาแฮกจะอยู่ในที่นา..โดยเจ้าของนาจะทำมุมให้อยู่ในที่อันควร..มีเนื้อที่ประมาณ
    กว้างวา..ยาววา..จะทำที่กั้นไม่ให้คนเข้าไปเหยียบย่ำ ถ้าย่ำจะถือว่าลบหลู่
    และจะปลูกต้นข้าวไว้ให้เต็มตาแฮก การปักต้นข้าวลงตาแฮก จะมีคำกล่าวเป็นภาษาอีสานยาวมาก
    จะเขียนไว้ให้ดูเท่าที่พอจำได้ ว่า
    “จ้ำจ้อ ข้าวหน่วยดอ ละดอ”..หมายความว่า หนึ่งดอกจะต้องเป็นเมล็ดหนึ่งผล
    ความหมายคือเมื่อเป็นดอกแล้วจะต้องเป็นเมล็ดข้าว จะต้องไม่ลีบให้เกิดความเสียหาย
    ผู้ข้าขอฝากข้าวกับแม่ธรณี แปลว่า ขอฝากต้นข้าวกับพระแม่ธรณี
    ขอฝากผีนำนาฝากปูปลาน้ำพร้อม แปลว่า ขอฝากต้นข้าวกับผีนากับปูและปลา
    ให้ลอมข้าวสูงท่วมหลังซ้างใหญ่ แปลว่า ให้กองข้าวที่จะได้นั้นสูงท่วมหลังช้าง
    ทั้งคนไกลคนใกล้เห็นแล้วให้สะออน...แท้แหลว ..แปลว่า..คนไกลใกล้จะได้ชื่นชมด้วย

  6. #6
    นักปราชญ์เมืองอีสาน
    ศิลปินนักแต่ง ผญา
    สัญลักษณ์ของ ศรีสะท้าน
    วันที่สมัคร
    Aug 2006
    กระทู้
    4,179
    ดี ดี จารีตประเพณี วิถีชีวิตอีกอย่างหนึ่งของคนอีสานบ้านเฮา ยอมรับอยู่ว่าศรีบ่ค่อยฮู้เรื่องตาแฮกเท่าที่ควร(อิหลี) บังเอิญว่าอยู่ทางบ้านเพิ่นเลิกประเพณีนับถือผีมาดนแล้ว เลยบ่ค่อยได้เกี่ยวข้อง ฮู้เรื่องท่อใด๋ บ่คือทางบ้านไก่น้อย ผีหลายอยู่ เฮ่อ ๆ ๆ
    วรรณคดีล้ำลำนำเอื้อนเอ่ย เขยภาษาพากษ์เว้าลาวพื้นกล่าวไกล

  7. #7
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Mong
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    6

    ประเพณีบ้านเฮา

    ทุกมื้อนี้ประเพณีบ้านเฮาหลายๆ อย่าง กะมักสิถืกลบเลือนไปแล้ว เนื่องจากความเจริญทางด้านวัตถุ ในขณะเดียวกันจิตใจของคนก็ต่ำลงไปเรื่อยๆ รับเอาแต่แนวบ่อดีความเข้ามา มีคนเพียงน้อยที่หยังรักษาไว้

  8. #8
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ Mong
    วันที่สมัคร
    Aug 2008
    กระทู้
    6

    ผีตาแฮก

    แถวบ้านผมทุกมื้อนี้สิบ่อค่อยนึกถึงพวกนี้แล้ว อาจสิเป็นเพราะว่าความเจริญของบ้านเมืองครับ ความเจริญทางวิทยาศาสตร์กะว่าได้ครับ

  9. #9
    Queenie
    Guest
    อ้ายบ่าวสายฟ้า ขอบคุณหลายเด้อ ที่เอาความรู้มาให้ ฟ้า จำบ้ได๋แล้ว โดนแล้ว ที่เหง
    ก็ปู่ยาตายาย เฮ็ด เดี่ยวนี้ บ่ได้ยินเลย สงสัยประเพณี อันนี้ แถวบ้านลืมกันไปหมดแล้ว
    เห็งฝนตกมากะว่านกล้า ไถนา เตรียมปักดำนาเลย ขอบคุณหลายที่ให้ความรู้ ดีใจที่ได้
    เข้ามาเวป นี้ ได้รู้ในสิ่งดี ๆๆ มีอะไรดีๆๆ เอามาลงให้อ่านเด้อค่ะ :g:g:g:g:g:g:g:g:g

  10. #10
    ร่วมถ่ายทอดความรู้สู่สังคม สัญลักษณ์ของ หนุ่มน้อยเมืองเพชร
    วันที่สมัคร
    Jun 2008
    กระทู้
    777
    8) ขอบคุณบ่าวสายฟ้า และซายน้อยครับ ที่นำความรู้แปลกใหม่มา
    ให้ครับ ผมว่ามีอีกหลายท่านทียังไม่รู้เรื่องแบบนี้ครับ หรืออาจจะลืม
    กันไปบ้างแล้วก้อได้ เหมือนกับที่คุณ mong ว่าแหละครับ แต่ผมว่า
    ถ้าไปถามผู้เฒ่า ผู้แก่ คนเก่า ๆ ในหมู่บ้านดูคงทราบความเป็นมาแน่ครับ
    :g

หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า 12 หน้าสุดท้ายหน้าสุดท้าย

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •