โรคผิวหนัง จากเชื้อรา...

โรคผิวหนัง ที่เกิดจาก เชื้อรา เป็นได้ทุกแห่งของ ผิวกาย ตั้งแต่ หนังศรีษะ ใบหน้า ลำตัว แขนขา มือ เท้า จนถึงเล็บมือ ซึ่งมีคำเรียกตามภาษาชาวบ้าน เช่น ชันตุ กลาก สังคัง หรือ น้ำกัดเท้า เป็นต้น...

ลักษณะของผื่นผิวหนังจากเชื้อรา จะมีลักษณะต่างๆ กันไป

หนังศรีษะ (Tinea Capitis)

เกิดเป็นหย่อมๆ ของ หนังศรีษะ มีการ อักเสบของผิว และ มีขุย ถ้า อักเสบ มากๆ อาจมี น้ำเหลือง และ เส้นผม หัก หรือ หลุดร่วงได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ

ผิวทั่วไป เช่น ใบหน้า ลำตัว ขาหนีบ แขน ขา และมีลักษณะ ผื่น เป็นวง ขอบนูนแดง ตรงกลางดูค่อนข้างปกติ แต่เห็น แห้งๆ และ มีขุย ชัดเจน ผื่นจะลามออกช้าๆ มักมีอาการ คัน มากพอควรบริเวณขาหนีบ เมื่อหายแล้วมักจะเหลือ รอยดำคล้ำ ไว้

ฝ่ามือฝ่าเท้า เห็นเป็น ขุย หยาบชัด บางครั้งจะเป็นหนังหนาๆ ถ้ามีอาการ อักเสบ รุนแรงมาก จะเห็นเป็น ตุ่มน้ำ ได้ บริเวณง่ามนิ้ว มักเกิดเป็นผิวยุ่ยๆ หรือ หนัง อาจหลุดจนเห็น ผิวชั้นใน แดงๆ และมักมีการติดเชื้อ แบคทีเรีย ร่วมด้วย

เล็บ พบหลายแบบ เช่น เล็บขาว หรือ เหลือง เป็นบางส่วน มี ขุย ใต้เล็บ หรือ มีการแยกของแผ่นเล็บจากเนื้อด้านล่าง

โรคผิวหนัง จาก เชื้อราเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ ถ้ามีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และได้รับการรักษาที่นานพอ เช่น เชื้อรา บน หนังศรีษะ ต้องรักษาอย่างน้อย 3 เดือน ในขณะที่ เชื้อรา ของ เล็บ ต้องรักษานาน 6 – 18 เดือน ฉะนั้นการหยุดยาขณะที่รู้สึกดีขึ้น จะทำให้โรคกำเริบขึ้นอีกได้


ที่มา
108สุขภาพดอทคอม