กำลังแสดงผล 1 ถึง 2 จากทั้งหมด 2

หัวข้อ: มาร์ติน ลูเทอร์ .. ผู้ไม่เห็นด้วยกับการซื้อใบฎีกาไถ่บาป

Hybrid View

คำตอบที่แล้วมา คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป คำตอบถัดไป
  1. #1
    Moderators สัญลักษณ์ของ สาวชัยภูมิ ลูกพ่อขุน
    วันที่สมัคร
    Feb 2010
    ที่อยู่
    เกาหลี
    กระทู้
    750
    บล็อก
    30

    บ้านมหาโพสต์ มาร์ติน ลูเทอร์ .. ผู้ไม่เห็นด้วยกับการซื้อใบฎีกาไถ่บาป

    มาร์ติน ลูเทอร์ (เยอรมัน: Martin Luther) (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2026 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2088) เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนท์

    เพราะไม่เห็นด้วยกับคำสอนของโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา


    การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์

    มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) เกิดที่เมือง ไอสเลเบน นครแซกโซนี ประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483 บิดามารดาเป็นคนยากจนและไม่ได้รับศึกษา

    เมื่อเติบโตขึ้นก็ไม่มีเงินจะให้ลูเทอร์เข้าโรงเรียน ลูเธอร์ต้องเที่ยวร้องเพลงขอทานตามบ้านต่างๆ เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนในโรงเรียน เผอิญมีหญิงมั่งคั่งคนหนึ่งเกิดความเมตตา ได้ช่วยเหลือให้เข้าอยู่ในมหาวิทยาลัยเมื่อ ค.ศ. 1500

    ลูเธอร์ได้ศึกษาศาสนศาสตร์ วรรณคดี ดนตรี และที่เอาใจใส่มากที่สุดคือกฎหมาย บิดาของลูเธอร์ก็ปรารถนาให้ลูเธอร์เป็นนักกฎหมาย แต่เมื่ออายุ 22 ปีเกิดเหตุการณ์หนึ่ง คือเพื่อนของลูเธอร์ถูกฆ่าตายในเวลาดวลต่อสู้กับบุคคลหนึ่ง

    ทำให้ลูเธอร์กลายเป็นคนกลัวผี ขี้ขลาด ต่อมาอีก 2-3 วันลูเธอร์จะเข้าประตูมหาวิทยาลัย ก็เกิดฝนตกฟ้าร้อง ฟ้าผ่ามาใกล้ๆ ลูเธอร์ได้อธิษฐานว่า ถ้ารอดพ้นไปได้จะบวชเป็นพระ

    ในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1505 ลูเธอร์ก็เข้าไปอยู่ในอารามออกัสติเนียน (Augustinian Monastery) ในมหาวิทยาลัยวิตเตนเบิร์ก ตั้งหน้าศึกษาพระคัมภีร์อย่างเอาใจใส่ เป็นคนเฉลียวฉลาด พูดเก่ง จนในที่สุดก็ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น

    ในปี ค.ศ. 1511 ขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในอาราม ลูเทอร์ได้มีโอกาสไปแสวงบุญที่โรม และได้พบเห็นชีวิตของสันตะปาปาโอ่โถง หรูหราจนเกือบไม่มีกษัตริย์องค์ใดสู้ได้ และเห็นว่าพระไม่ควรดำเนินชีวิตอย่างนั้น

    จนในปีค.ศ. 1515 สันตะปาปาเลโอที่ 20 อยากจะสร้างโบสถ์ให้งดงามสมตำแหน่งจึงได้ตั้งบัญญัติใหม่ว่า ถึงแม้จะทำความผิดเป็นอุกฉกรรจ์มหันตโทษเพียงไร ก็สามารถล้างบาปได้โดยซื้อใบฎีกาไถ่บาป

    และบรรดานายธนาคารทั้งหลายในประเทศต่างๆ ก็ตกลงเป็นเอเยนต์รับฝากเงินที่คนทั้งหลาย จะชำระล้างบาปโดยไม่ต้องส่งไปโรม ลูเธอร์ได้เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลายมาปรึกษา โต้เถียงกับบัญญัติใหม่

    จนในปีค.ศ. 1917 เดือนตุลาคม ลูเธอร์ได้นำประกาศที่เรียกว่า”วิทยานิพนธ์ 95 เรื่อง” (The 95 Theses) ไปปิดไว้ที่ประตู้หน้าโบสถ์เมืองวิตเตนเบิร์ก ซึ่งมีเนื้อหาประณามการขายใบไถ่บาปของสันตะปาปา และการกระทำที่เหลวแหลกอื่นๆ

    ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1520 ลูเธอร์ได้รับหมาย ”ขับออกจากการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร” (Excommunication) โดยที่ลูเธอร์ต้องออกจากเขตปกครองของจักรพรรดิ ไปหลบที่วอร์มส์พร้อมกับผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง

    ที่นั่นท่านได้แปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนงานเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมีทั้งมิซซาและศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ซึ่งลูเธอร์ตั้งใจที่จะให้ชาวบ้าน ซึ่งไม่เข้าใจภาษาละติน สามารถเข้าถึงหลักคำสอนและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่างๆ ได้

    ผลงานของลูเธอร์นี้ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือละติน ได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเธอร์ที่ต้องการให้บุคคลสามารถ รับผิดชอบในความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น พระหรือนักบวช

    กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในศาสนาเป็นเพียงสิ่งเปลือกนอก ที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้าต่อพระพักตร์พระเจ้าด้วยตนเอง นิกายนี้จึงได้ตัดประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนศีลศักดิ์สิทธิ์บางเรื่องออกไป เหลือแต่ศีลล้างบาปและศีลมหาสนิท

    และสนับสนุนให้บุคคลเอาใจใส่ต่อพระคัมภีร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า ที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงความรอดส่วนบุคคล ภายในโบสถ์ของโปรเตสแตนต์ จึงไม่มีรูปเคารพและศิลปกรรมที่ตกแต่งดังเช่นโบสถ์คาทอลิค

    บนแท่นบูชามีเพียงพระคัมภีร์เท่านั้น ที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้เป็นเพียงเปลือกนอก ที่มาจากตัณหาของมนุษย์ และทำให้เราเกิดความยึดถือยึดติดไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้


    ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

  2. #2
    ศึกษาหาความรู้ สัญลักษณ์ของ ข้าวต้มมัด
    วันที่สมัคร
    Aug 2010
    กระทู้
    986
    อาเมนท์ ขอให้มาร์ตินน้อยของฉันได้มีตริปัญญา ฉลาดเฉียบแหลมอย่างนี้บ้างเถิด t อาเมนท์ (มัยชอบแต่ คาราเต้)

กฎการส่งข้อความ

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •